สินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นสินค้ากลุ่มหลักในอุตสาหกรรมอาหารของไทย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่ภาครัฐมีนโยบายให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยได้มีโครงการส่งเสริมต่างๆ เช่น โครงการครัวไทยสู่โลก ซึ่งเป็นโครงการที่มีส่วนช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารของไทยโดยตรง นอกจากนี้สินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรยังเป็นสินค้าที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก สามารถนำรายได้เข้าประเทศได้ปีละหลายแสนล้านบาท ตามข้อมูลสภาวะในด้านต่างๆ ของสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ด้านภาวะการผลิตของสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรในปี 2546 มีปริมาณการผลิตรวมทั้งหมดประมาณ 9,687,240.2 ตัน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ประมาณร้อยละ 8.81 โดยเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์จากข้าวรวมประมาณ 207,034.5 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.14 ของปริมาณการผลิตสินค้า
อุตสาหกรรมการเกษตรรวมทั้งหมด และมีอัตราการขยายการผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2545 คิดเป็นร้อยละ 6.35 ส่วนปริมาณการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเท่ากับ 137,425.4 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 1.42 และมีอัตราการขยายการผลิตลดลงร้อยละ 8.73 จากปี 2545 (ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม)
สำหรับปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศในปี 2546 มีปริมาณการจำหน่ายรวมทั้งหมด 7,761,559.4 ตัน โดยมีความต้องการของตลาดภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545 เป็นผลจากความมั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศของประชาชนเพิ่มขึ้น และการที่อัตราดอกเบี้ยโดยรวมลดต่ำลง จึงส่งผลให้ประชาชนตัดสินใจในการบริโภคมากขึ้น โดยมีปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวประมาณ 223,820.5 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.88 ของปริมาณการจำหน่ายรวมทั้งหมด และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 9.52 ส่วนปริมาณการจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปประมาณ 107,994.4 ตัน มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 9.81 (ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม)
ด้านภาวะการส่งออกสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารของไทยตั้งแต่ปี 2541-2545 มีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 2 แสนล้านบาททุกปี โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 284,687.80 ล้านบาท, 276,679.80 ล้านบาท, 307,757.60 ล้านบาท, 344,379.2 ล้านบาท และ 330,691.1 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในปี 2546 มีการมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 367,564.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ถึงร้อยละ 11.15 โดยสามารถจำแนกกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่ส่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ โดยสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2546 มากที่สุดเท่ากับ 247,750.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 67.4 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมอาหารทั้งหมด รองลงมาได้แก่สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ โดยมีมูลค่าการส่งออก 73,772.9 ล้านบาท และ 46,040.6 ล้านบาท
ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ข้าว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซึ่งเป็นสินค้ากลุ่มอุตสากรรมการเกษตรที่มีผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีในปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 5,633.4 ล้านบาท และ 10,668.1 ล้านบาทตามลำดับ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.27 และร้อยละ 4.3 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรทั้งหมด โดยผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีการส่งออกที่สำคัญๆ ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว เส้นหมี่ก๋วยเตี๋ยว ขนมปังอบกรอบ และแป้งแผ่น เป็นต้น ทั้งนี้เป็นมูลค่าการส่งออกของขนมปังอบกรอบมากที่สุดประมาณ 2,341.4 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 41.56 รองลงมาคือแป้งข้าวเหนียว และเส้นหมี่ก๋วยเตี๋ยว โดยมีมูลค่าการส่งออก 1,403.6 ล้านบาท และ 1,366.5 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวของไทย ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2546 มากที่สุดประมาณ 1,630.4 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 28.94 แต่มีอัตราการขยายตัวลดลงจากปี 2545 ร้อยละ 4.35 ประเทศรองลงมาคือสหรัฐอเมริกา มาเลเชีย ฮ่องกง และออสเตรเลีย มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 758.5 ล้านบาท, 551.7 ล้านบาท, 420.6 ล้านบาท และ 380.6 ล้านบาท ตามลำดับ และตลาดที่มีศักยภาพในการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวไทยในอนาคตซึ่งไทยต้องหันมาให้ความสนใจในการขยายตลาดส่งออกให้มากขึ้น ได้แก่ กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า เวียดนาม รวมทั้งประเทศอินเดีย เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกในปี 2546 เพิ่มขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้นสูง
ส่วนตลาดส่งออกที่สำคัญของการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทย ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2546 มากที่สุดประมาณ 1,897.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 17.79 และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 25.11 รองลงมาได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และออสเตรเลีย โดยมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1,583.2 ล้านบาท 1, 515.8 ล้านบาท 694.9 ล้านบาท และ 660.4 ล้านบาท ตามลำดับ และตลาดที่มีศักยภาพในการขยายตลาดเพื่อการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในอนาคตได้แก่ ประเทศพม่า สหราชอาณาจักร ซาอุดิอาระเบีย ตุรกี บังกลาเทศ และแอฟริกาใต้ เป็นต้น
แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมอาหารในปี 2547 ทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม คาดว่าทั้งภาคการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารจะเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ประมาณร้อยละ 8 และร้อยละ 12 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าแนวโน้มการผลิต และการส่งออกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารจะเพิ่มสูงขึ้น และเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยเฉพาะอาหารไทยซึ่งเป็นที่รู้จักของต่างชาติจนติดอันดับ 1 ใน 5 ของอาหารที่ได้รับความนิยมของโลก ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นจำนวนมาก ก็ต้องมุ่งเน้นพัฒนาการควบคุมคุณภาพของสินค้าให้ได้มาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับของต่างชาติ มีความปลอดภัยมากที่สุด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนต้องมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
ด้านภาวะการผลิตของสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรในปี 2546 มีปริมาณการผลิตรวมทั้งหมดประมาณ 9,687,240.2 ตัน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ประมาณร้อยละ 8.81 โดยเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์จากข้าวรวมประมาณ 207,034.5 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.14 ของปริมาณการผลิตสินค้า
อุตสาหกรรมการเกษตรรวมทั้งหมด และมีอัตราการขยายการผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2545 คิดเป็นร้อยละ 6.35 ส่วนปริมาณการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเท่ากับ 137,425.4 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 1.42 และมีอัตราการขยายการผลิตลดลงร้อยละ 8.73 จากปี 2545 (ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม)
สำหรับปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศในปี 2546 มีปริมาณการจำหน่ายรวมทั้งหมด 7,761,559.4 ตัน โดยมีความต้องการของตลาดภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545 เป็นผลจากความมั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศของประชาชนเพิ่มขึ้น และการที่อัตราดอกเบี้ยโดยรวมลดต่ำลง จึงส่งผลให้ประชาชนตัดสินใจในการบริโภคมากขึ้น โดยมีปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวประมาณ 223,820.5 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.88 ของปริมาณการจำหน่ายรวมทั้งหมด และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 9.52 ส่วนปริมาณการจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปประมาณ 107,994.4 ตัน มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 9.81 (ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม)
ด้านภาวะการส่งออกสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารของไทยตั้งแต่ปี 2541-2545 มีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 2 แสนล้านบาททุกปี โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 284,687.80 ล้านบาท, 276,679.80 ล้านบาท, 307,757.60 ล้านบาท, 344,379.2 ล้านบาท และ 330,691.1 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในปี 2546 มีการมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 367,564.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ถึงร้อยละ 11.15 โดยสามารถจำแนกกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่ส่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ โดยสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2546 มากที่สุดเท่ากับ 247,750.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 67.4 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมอาหารทั้งหมด รองลงมาได้แก่สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ โดยมีมูลค่าการส่งออก 73,772.9 ล้านบาท และ 46,040.6 ล้านบาท
ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ข้าว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซึ่งเป็นสินค้ากลุ่มอุตสากรรมการเกษตรที่มีผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีในปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 5,633.4 ล้านบาท และ 10,668.1 ล้านบาทตามลำดับ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.27 และร้อยละ 4.3 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรทั้งหมด โดยผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีการส่งออกที่สำคัญๆ ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว เส้นหมี่ก๋วยเตี๋ยว ขนมปังอบกรอบ และแป้งแผ่น เป็นต้น ทั้งนี้เป็นมูลค่าการส่งออกของขนมปังอบกรอบมากที่สุดประมาณ 2,341.4 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 41.56 รองลงมาคือแป้งข้าวเหนียว และเส้นหมี่ก๋วยเตี๋ยว โดยมีมูลค่าการส่งออก 1,403.6 ล้านบาท และ 1,366.5 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวของไทย ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2546 มากที่สุดประมาณ 1,630.4 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 28.94 แต่มีอัตราการขยายตัวลดลงจากปี 2545 ร้อยละ 4.35 ประเทศรองลงมาคือสหรัฐอเมริกา มาเลเชีย ฮ่องกง และออสเตรเลีย มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 758.5 ล้านบาท, 551.7 ล้านบาท, 420.6 ล้านบาท และ 380.6 ล้านบาท ตามลำดับ และตลาดที่มีศักยภาพในการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวไทยในอนาคตซึ่งไทยต้องหันมาให้ความสนใจในการขยายตลาดส่งออกให้มากขึ้น ได้แก่ กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า เวียดนาม รวมทั้งประเทศอินเดีย เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกในปี 2546 เพิ่มขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้นสูง
ส่วนตลาดส่งออกที่สำคัญของการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทย ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2546 มากที่สุดประมาณ 1,897.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 17.79 และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 25.11 รองลงมาได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และออสเตรเลีย โดยมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1,583.2 ล้านบาท 1, 515.8 ล้านบาท 694.9 ล้านบาท และ 660.4 ล้านบาท ตามลำดับ และตลาดที่มีศักยภาพในการขยายตลาดเพื่อการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในอนาคตได้แก่ ประเทศพม่า สหราชอาณาจักร ซาอุดิอาระเบีย ตุรกี บังกลาเทศ และแอฟริกาใต้ เป็นต้น
แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมอาหารในปี 2547 ทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม คาดว่าทั้งภาคการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารจะเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ประมาณร้อยละ 8 และร้อยละ 12 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าแนวโน้มการผลิต และการส่งออกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารจะเพิ่มสูงขึ้น และเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยเฉพาะอาหารไทยซึ่งเป็นที่รู้จักของต่างชาติจนติดอันดับ 1 ใน 5 ของอาหารที่ได้รับความนิยมของโลก ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นจำนวนมาก ก็ต้องมุ่งเน้นพัฒนาการควบคุมคุณภาพของสินค้าให้ได้มาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับของต่างชาติ มีความปลอดภัยมากที่สุด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนต้องมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-