อุตสาหกรรมพลาสติกเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้า และนอกจากนี้อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยยังเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้างงานโดยตรงกว่า 130,000 คน และมีมูลค่าการส่งออกรวมติดอันดับ 1 ใน 10 ของการส่งออกของประเทศ โดยในปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 51,523.6 ล้านบาท (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยมีบทบาทในการพัฒนา และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากก็ตาม อุตสาหกรรมพลาสติกของไทยก็ยังคงประสบปัญหาอุปสรรคด้านการผลิตอยู่มากโดยมีปัญหาที่สำคัญๆ ได้แก่ 1)ขาดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตและการใช้เครื่องจักรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า 2)ขาดความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ 3)ขาดแรงงานฝีมือโดยเฉพาะทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้คอมพิวเตอร์ และ 4)ขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เนื่องจากการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตตามคำสั่งและลอกแบบเท่านั้น เป็นต้น
จากการศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกในปี 2545-2546 ของบริษัท ซี เอ อินเตอร์เนชั่นแนล อินฟอร์เมชั่น จำกัด ในภาพรวมพบว่า ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกมีการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพียงร้อยละ 30.6 เท่านั้น โดยเป็นกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์มีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์มากที่สุดถึงร้อยละ 52.5 รองลงมาคือกลุ่มผู้ผลิตเครื่องประดับและกล่องเครื่องประดับ กลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นร้อยละ 50.0 ร้อยละ 45.7 และร้อยละ 42.4 ตามลำดับ ถ้าหากพิจารณาตามขนาดของกิจการแล้ว พบว่ากิจการขนาดใหญ่ (มีจำนวนแรงงานมากกว่า 200 คนขึ้นไป) มีการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์มากที่สุดถึงร้อยละ 65.7 และโดยส่วนใหญ่เป็นกิจการร่วมทุนที่มีการใช้ถึงร้อยละ 52.0 ส่วนกิจการที่เป็นของคนไทย 100% มีสัดส่วนการใช้เพียงร้อยละ 28.7 เท่านั้น ส่วนประเภทของซอฟต์แวร์ที่มีการใช้สำหรับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์มากที่สุดคือ โปรแกรม AutoCad/Alfa CAD
หลังจากผู้ผลิตมีการลงทุนนำคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว พบว่าการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการมีทิศทางแนวโน้มดีขึ้น ทั้งยอดขาย ผลกำไร และการส่งออกมีเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อมีสัดส่วนการลงทุนในคอมพิวเตอร์และวอฟท์แวร์สูงขึ้นย่อมส่งผลให้ยอดขาย กำไร และการส่งออกเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน รวมทั้งสามารถช่วยลดระยะเวลาการดำเนินการผลิตจนถึงส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า (Lead Time) ลงได้ถึงร้อยละ 41.4 ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนการลดลงที่ค่อนข้างมากทีเดียว ทำให้การดำเนินกิจการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งทางด้านคุณภาพของสินค้าที่ได้
มาตรฐาน มีรูปแบบสินค้าที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น ตลอดจนสามารถแข่งขันกับคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการนำคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มาช่วยในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมพลาสติก จากการสำรวจในภาพรวม ยังพบว่ามีผู้ผลิตจำนวนมากที่ยังไม่มีการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์มากถึงร้อยละ 69.4 โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตรองเท้า/กระเป๋าและชิ้นส่วน มีมากถึงร้อยละ 86.1 กลุ่มของเล่นสำหรับเด็ก เครื่องใช้ในครัวเรือน และบรรจุภัณฑ์พลาสติก คิดเป็นร้อยละ 79.2 ร้อยละ72.5 และร้อยละ 70.1 ตามลำดับ เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตหรือผลิตตามแบบที่ลูกค้านำมาให้เท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือหากมีการออกแบบเพื่อผลิตเองก็มักเกิดปัญหาในเรื่องของความเสียหายจากการพิมพ์ชิ้นงาน เนื่องจากบุคลากรไม่มีความชำนาญทางด้านการออกแบบ/ไม่มีบุคลากรที่มีความชำนาญทางด้านคอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบ หรือแม่พิมพ์/ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทำแม่พิมพ์ไม่มีความเที่ยงตรง และมีราคาแพง เป็นต้น
ด้วยปัญหาดังกล่าว ทางภาครัฐโดยเฉพาะกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รวมทั้งสถาบันยานยนต์ ตลอดจนสถาบันการศึกษาต่างๆ และสมาคมที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาดูแลและสนับสนุนให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ให้มีการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น โดยทางสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มีโครงการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมฝึกอบรมแล้วจำนวนกว่า 244 ราย โครงการการสำรวจเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกปี 2546 ซึ่งอยู่ในช่วงกำลังดำเนินการสำรวจ และโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าภาครัฐหลายๆ หน่วยงานได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก มีการจัดฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านการออกแบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบมีความรู้ความสามารถ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการออกแบบรูปทรงให้ตรงกับความต้องการของตลาด รวมทั้งการให้งบประมาณและคอยให้คำปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับผู้ประกอบการ ตลอดจนมีการแนะนำลู่ทางในการส่งออก ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมมีโอกาสในการเติบโตมากขึ้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยมีบทบาทในการพัฒนา และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากก็ตาม อุตสาหกรรมพลาสติกของไทยก็ยังคงประสบปัญหาอุปสรรคด้านการผลิตอยู่มากโดยมีปัญหาที่สำคัญๆ ได้แก่ 1)ขาดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตและการใช้เครื่องจักรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า 2)ขาดความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ 3)ขาดแรงงานฝีมือโดยเฉพาะทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้คอมพิวเตอร์ และ 4)ขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เนื่องจากการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตตามคำสั่งและลอกแบบเท่านั้น เป็นต้น
จากการศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกในปี 2545-2546 ของบริษัท ซี เอ อินเตอร์เนชั่นแนล อินฟอร์เมชั่น จำกัด ในภาพรวมพบว่า ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกมีการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพียงร้อยละ 30.6 เท่านั้น โดยเป็นกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์มีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์มากที่สุดถึงร้อยละ 52.5 รองลงมาคือกลุ่มผู้ผลิตเครื่องประดับและกล่องเครื่องประดับ กลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นร้อยละ 50.0 ร้อยละ 45.7 และร้อยละ 42.4 ตามลำดับ ถ้าหากพิจารณาตามขนาดของกิจการแล้ว พบว่ากิจการขนาดใหญ่ (มีจำนวนแรงงานมากกว่า 200 คนขึ้นไป) มีการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์มากที่สุดถึงร้อยละ 65.7 และโดยส่วนใหญ่เป็นกิจการร่วมทุนที่มีการใช้ถึงร้อยละ 52.0 ส่วนกิจการที่เป็นของคนไทย 100% มีสัดส่วนการใช้เพียงร้อยละ 28.7 เท่านั้น ส่วนประเภทของซอฟต์แวร์ที่มีการใช้สำหรับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์มากที่สุดคือ โปรแกรม AutoCad/Alfa CAD
หลังจากผู้ผลิตมีการลงทุนนำคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว พบว่าการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการมีทิศทางแนวโน้มดีขึ้น ทั้งยอดขาย ผลกำไร และการส่งออกมีเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อมีสัดส่วนการลงทุนในคอมพิวเตอร์และวอฟท์แวร์สูงขึ้นย่อมส่งผลให้ยอดขาย กำไร และการส่งออกเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน รวมทั้งสามารถช่วยลดระยะเวลาการดำเนินการผลิตจนถึงส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า (Lead Time) ลงได้ถึงร้อยละ 41.4 ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนการลดลงที่ค่อนข้างมากทีเดียว ทำให้การดำเนินกิจการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งทางด้านคุณภาพของสินค้าที่ได้
มาตรฐาน มีรูปแบบสินค้าที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น ตลอดจนสามารถแข่งขันกับคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการนำคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มาช่วยในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมพลาสติก จากการสำรวจในภาพรวม ยังพบว่ามีผู้ผลิตจำนวนมากที่ยังไม่มีการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์มากถึงร้อยละ 69.4 โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตรองเท้า/กระเป๋าและชิ้นส่วน มีมากถึงร้อยละ 86.1 กลุ่มของเล่นสำหรับเด็ก เครื่องใช้ในครัวเรือน และบรรจุภัณฑ์พลาสติก คิดเป็นร้อยละ 79.2 ร้อยละ72.5 และร้อยละ 70.1 ตามลำดับ เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตหรือผลิตตามแบบที่ลูกค้านำมาให้เท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือหากมีการออกแบบเพื่อผลิตเองก็มักเกิดปัญหาในเรื่องของความเสียหายจากการพิมพ์ชิ้นงาน เนื่องจากบุคลากรไม่มีความชำนาญทางด้านการออกแบบ/ไม่มีบุคลากรที่มีความชำนาญทางด้านคอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบ หรือแม่พิมพ์/ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทำแม่พิมพ์ไม่มีความเที่ยงตรง และมีราคาแพง เป็นต้น
ด้วยปัญหาดังกล่าว ทางภาครัฐโดยเฉพาะกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รวมทั้งสถาบันยานยนต์ ตลอดจนสถาบันการศึกษาต่างๆ และสมาคมที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาดูแลและสนับสนุนให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ให้มีการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น โดยทางสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มีโครงการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมฝึกอบรมแล้วจำนวนกว่า 244 ราย โครงการการสำรวจเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกปี 2546 ซึ่งอยู่ในช่วงกำลังดำเนินการสำรวจ และโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าภาครัฐหลายๆ หน่วยงานได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก มีการจัดฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านการออกแบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบมีความรู้ความสามารถ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการออกแบบรูปทรงให้ตรงกับความต้องการของตลาด รวมทั้งการให้งบประมาณและคอยให้คำปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับผู้ประกอบการ ตลอดจนมีการแนะนำลู่ทางในการส่งออก ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมมีโอกาสในการเติบโตมากขึ้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-