ภายใต้นโยบายส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอีของรัฐบาลซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักไปดำเนินการในการพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในปี 2547 โดยได้วางกรอบยุทธศาสตร์พัฒนาสร้างผู้ประกอบการใหม่จำนวน 50,000 รายทั่วประเทศ ให้ได้ภายในระยะเวลา 18 เดือน (2547-2548) เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ โดยใช้งบประมาณดำเนินการ 1,495 ล้านบาท และคาดว่าจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินทุนในเศรษฐกิจกว่า 20,000 ล้านบาท ในช่วงปีแรกและก่อให้เกิดการจ้างงาน 200,000 คน โดยมุ่งเน้นการสร้างผู้ประกอบการที่มีคุณภาพและรู้ลึกมากกว่าปริมาณ ซึ่งผู้ประกอบการใหม่ต้องมีความรู้ด้านการจัดการสมัยใหม่เพื่อใช้เงินทุนให้มีประสิทธิภาพ มีความรู้ด้านการตลาดและคู่แข่ง, เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม เพราะการแข่งขันทางการค้าในปัจจุบันขึ้นอยู่กับความรู้, ต้นทุนต่ำ, ความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้า, การออกแบบและบรรจุภัณฑ์ จึงจะสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
การตั้งเป้าหมายสร้างผู้ประกอบการดังกล่าว ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้ปรับแผนใหม่ โดยดึงภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีฐานที่มั่นคงมาเข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยงและร่วมกันทำงานในเชิงบูรณการเพื่อให้ผู้ประกอบการน้องใหม่สามารถเข้าสู่ภาคธุรกิจได้ง่ายขึ้น และหวังให้แผนงานประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดด จึงเกิดเป็น “แผนงานเสริมสร้างผู้ประกอบใหม่แห่งชาติ”หรือ”โครงการพี่เลี้ยงน้อง” เป็นโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการใหม่โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะเป็นผู้บริหารแผนงานและประชาสัมพันธ์โครงการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) เป็นผู้จัดทำฐานข้อมูลอำนวยความสะดวกด้านการจัดหาพี่เลี้ยงและสร้างน้อง ส่วนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ เพราะเป็นผู้ที่ทราบข้อมูลความต้องการด้านอุตสาหกรรมและการค้าเป็นอย่างดี ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถรองรับผู้ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการใหม่ ลดอัตราความล้มเหลวในการเริ่มต้นธุรกิจ สร้างสังคมผู้ประกอบการให้เข้มแข็งเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างซัพพลายเชนของวิสาหกิจขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี
สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการใหม่ได้แก่ ผู้มีความรู้วิชาชีพเฉพาะทาง ผู้ที่เพิ่งเริ่มธุรกิจได้ไม่เกิน 2 ปี ทายาททางธุรกิจ ผู้ว่างงาน บัณฑิตใหม่ ผู้เกษียณอายุ ผู้ถูกเลิกจ้าง และกลุ่มคนที่เริ่มทำธุรกิจแต่ยังไม่มั่นคง เพื่อสร้างเป็นผู้ประกอบการใหม่ 5 หมื่นราย โดยแบ่งเป็น ผู้ประกอบการด้านยานยนต์และชิ้นส่วน 2,000 ราย ด้านแฟชั่น 10,000 ราย ด้านอาหาร 15,000 ราย ด้านไอที 3,000 ราย ด้านท่องเที่ยว 9,000 ราย ด้านก่อสร้างและตกแต่ง 3,500 ราย และสาขาอื่นๆ ที่มีศักยภาพอีก 7,500 ราย โดยนำมาอบรมพร้อมจัดพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาตั้งแต่เรื่องระบบการผลิต การตลาด ช่วยจัดหาสถาบันการเงิน จนสามารถทำธุรกิจได้ด้วยตนเอง
การแบ่งกลุ่มเป้าหมายการสร้างผู้ประกอบการใหม่ในครั้งนี้ได้ให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบทำหน้าที่ชักชวนพี่ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอยู่แล้วซึ่งมีความเข้มแข็งและประสบความสำเร็จมารับสมัครและคัดเลือกน้องน้องมาจับคู่กับพี่ที่จะมาเป็นพี่เลี้ยง โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยรับผิดชอบสร้างน้อง 25,000 ราย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 20,000 ราย ส่วนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างน้องใหม่จำนวน 5,000 ราย โดยผ่านทางสมาคมธุรกิจ 7 สมาคม เป็นผู้ดำเนินการ ได้แก่ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย, สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย, สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย สมาคมชาวโบ๊เบ๊ และสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิต
แผนการดำเนินการ โดยเริ่มจากการชักชวนพี่ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่เดิมที่มีความเข้มแข็ง พร้อมกับคัดเลือกน้องซึ่งเป็นผู้ที่สนใจลงทุนทำธุรกิจมาจับคู่กับพี่ โดยพี่เลี้ยงจะให้โอกาสทางการตลาดในเบื้องต้นแก่น้อง เช่น การจ้างผลิต รับซื้อวัตถุดิบ ซึ่งให้น้องเป็นผู้จัดจำหน่าย ตัวอย่างเช่น งานตัดเย็บเสื้อผ้า ทำชิ้นส่วนพลาสติก แพ็คเกจจิ้ง เปิดร้านอาหารในโรงงานพี่ และนอกจากนี้ พี่จะเป็นผู้ให้ความรู้ทางด้านเทคนิคการผลิต การดำเนินธุรกิจ การขาย และหลักการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ส่วนภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือทั้งพี่และน้องในเรื่องการทำระบบบัญชี ภาษี และการติดต่อกับสถาบันการเงิน เช่น เอสเอ็มอีแบงก์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ไอเอฟซีที) เป็นต้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้น้องสามารถทำธุรกิจคู่กับพี่ได้ ทำให้น้องใหม่สามารถตั้งธุรกิจได้ง่าย และลดความล้มเหลวในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ทำให้ธุรกิจมีความมั่นคงและยั่งยืน ส่วนผู้ประกอบการรุ่นพี่ก็จะได้รับผลตอบแทนจากภาครัฐ เช่น ประกาศเกียรติคุณโดยขอเครื่องราชฯให้ ให้สิ่งอำนวยความสะดวกและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การขอรับการส่งเสริมการลงทุน ได้ลดหย่อนภาษีเงินได้ หรือการส่งเสริมการพัฒนา การขอรับบริการจากหน่วยงานและโครงการต่างๆ จากกระทรวงอุตสาหกรรม และที่สำคัญพี่จะได้น้องที่เป็นคู่ค้าที่ดี ได้ประโยชน์ในการลดต้นทุน การขยายการลงทุนเป็นต้น
นอกจากนี้สภาอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัด CEO แบบบูรณาการอีก 19 clusters ในการผลักดันให้มีการสร้างผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้นของแต่ละกลุ่ม cluster ตัวอย่างเช่น จังหวัดสกลนครมีผู้แสดงความสนใจเป็นผู้ประกอบการจำนวน 800 ราย ซึ่งต้องมีการพิจารณาคัดเลือกผู้ที่สนใจจริงๆ และมีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจและมีคุณธรรม เพราะกระทรวงฯ เน้นการสร้างผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ ซึ่งผู้ประกอบการได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือผู้ประกอบการใหม่ กับผู้ประกอบการรายเดิมที่ต้องการขยายธุรกิจ ในกรณีนี้ทางกระทรวงจะต้องมาช่วยเหลือด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การค้า การออกแบบให้ดีขึ้นไปอีก ในขณะที่ผู้ประกอบการใหม่ต้องมีความรู้ที่ดีและรู้ลึกก่อนจะดำเนินธุรกิจ หากโครงการ “พี่เลี้ยงน้อง” ประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้ นอกจากภาครัฐจะได้ผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้นในทุกภาคธุรกิจ และบรรลุความคาดหวังที่ตั้งไว้ดังกล่าวแล้ว ยังช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศดีขึ้น ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการทั้งพี่ใหญ่และน้องเอสเอ็มอีทั้งหลายจงร่วมมือร่วมใจช่วยกันให้โครงการนี้สัมฤทธิผลภายใน 18 เดือนเพื่อความเเข็งแกร่งของธุรกิจเอสเอ็มอีไทย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
การตั้งเป้าหมายสร้างผู้ประกอบการดังกล่าว ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้ปรับแผนใหม่ โดยดึงภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีฐานที่มั่นคงมาเข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยงและร่วมกันทำงานในเชิงบูรณการเพื่อให้ผู้ประกอบการน้องใหม่สามารถเข้าสู่ภาคธุรกิจได้ง่ายขึ้น และหวังให้แผนงานประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดด จึงเกิดเป็น “แผนงานเสริมสร้างผู้ประกอบใหม่แห่งชาติ”หรือ”โครงการพี่เลี้ยงน้อง” เป็นโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการใหม่โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะเป็นผู้บริหารแผนงานและประชาสัมพันธ์โครงการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) เป็นผู้จัดทำฐานข้อมูลอำนวยความสะดวกด้านการจัดหาพี่เลี้ยงและสร้างน้อง ส่วนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ เพราะเป็นผู้ที่ทราบข้อมูลความต้องการด้านอุตสาหกรรมและการค้าเป็นอย่างดี ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถรองรับผู้ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการใหม่ ลดอัตราความล้มเหลวในการเริ่มต้นธุรกิจ สร้างสังคมผู้ประกอบการให้เข้มแข็งเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างซัพพลายเชนของวิสาหกิจขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี
สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการใหม่ได้แก่ ผู้มีความรู้วิชาชีพเฉพาะทาง ผู้ที่เพิ่งเริ่มธุรกิจได้ไม่เกิน 2 ปี ทายาททางธุรกิจ ผู้ว่างงาน บัณฑิตใหม่ ผู้เกษียณอายุ ผู้ถูกเลิกจ้าง และกลุ่มคนที่เริ่มทำธุรกิจแต่ยังไม่มั่นคง เพื่อสร้างเป็นผู้ประกอบการใหม่ 5 หมื่นราย โดยแบ่งเป็น ผู้ประกอบการด้านยานยนต์และชิ้นส่วน 2,000 ราย ด้านแฟชั่น 10,000 ราย ด้านอาหาร 15,000 ราย ด้านไอที 3,000 ราย ด้านท่องเที่ยว 9,000 ราย ด้านก่อสร้างและตกแต่ง 3,500 ราย และสาขาอื่นๆ ที่มีศักยภาพอีก 7,500 ราย โดยนำมาอบรมพร้อมจัดพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาตั้งแต่เรื่องระบบการผลิต การตลาด ช่วยจัดหาสถาบันการเงิน จนสามารถทำธุรกิจได้ด้วยตนเอง
การแบ่งกลุ่มเป้าหมายการสร้างผู้ประกอบการใหม่ในครั้งนี้ได้ให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบทำหน้าที่ชักชวนพี่ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอยู่แล้วซึ่งมีความเข้มแข็งและประสบความสำเร็จมารับสมัครและคัดเลือกน้องน้องมาจับคู่กับพี่ที่จะมาเป็นพี่เลี้ยง โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยรับผิดชอบสร้างน้อง 25,000 ราย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 20,000 ราย ส่วนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างน้องใหม่จำนวน 5,000 ราย โดยผ่านทางสมาคมธุรกิจ 7 สมาคม เป็นผู้ดำเนินการ ได้แก่ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย, สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย, สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย สมาคมชาวโบ๊เบ๊ และสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิต
แผนการดำเนินการ โดยเริ่มจากการชักชวนพี่ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่เดิมที่มีความเข้มแข็ง พร้อมกับคัดเลือกน้องซึ่งเป็นผู้ที่สนใจลงทุนทำธุรกิจมาจับคู่กับพี่ โดยพี่เลี้ยงจะให้โอกาสทางการตลาดในเบื้องต้นแก่น้อง เช่น การจ้างผลิต รับซื้อวัตถุดิบ ซึ่งให้น้องเป็นผู้จัดจำหน่าย ตัวอย่างเช่น งานตัดเย็บเสื้อผ้า ทำชิ้นส่วนพลาสติก แพ็คเกจจิ้ง เปิดร้านอาหารในโรงงานพี่ และนอกจากนี้ พี่จะเป็นผู้ให้ความรู้ทางด้านเทคนิคการผลิต การดำเนินธุรกิจ การขาย และหลักการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ส่วนภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือทั้งพี่และน้องในเรื่องการทำระบบบัญชี ภาษี และการติดต่อกับสถาบันการเงิน เช่น เอสเอ็มอีแบงก์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ไอเอฟซีที) เป็นต้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้น้องสามารถทำธุรกิจคู่กับพี่ได้ ทำให้น้องใหม่สามารถตั้งธุรกิจได้ง่าย และลดความล้มเหลวในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ทำให้ธุรกิจมีความมั่นคงและยั่งยืน ส่วนผู้ประกอบการรุ่นพี่ก็จะได้รับผลตอบแทนจากภาครัฐ เช่น ประกาศเกียรติคุณโดยขอเครื่องราชฯให้ ให้สิ่งอำนวยความสะดวกและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การขอรับการส่งเสริมการลงทุน ได้ลดหย่อนภาษีเงินได้ หรือการส่งเสริมการพัฒนา การขอรับบริการจากหน่วยงานและโครงการต่างๆ จากกระทรวงอุตสาหกรรม และที่สำคัญพี่จะได้น้องที่เป็นคู่ค้าที่ดี ได้ประโยชน์ในการลดต้นทุน การขยายการลงทุนเป็นต้น
นอกจากนี้สภาอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัด CEO แบบบูรณาการอีก 19 clusters ในการผลักดันให้มีการสร้างผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้นของแต่ละกลุ่ม cluster ตัวอย่างเช่น จังหวัดสกลนครมีผู้แสดงความสนใจเป็นผู้ประกอบการจำนวน 800 ราย ซึ่งต้องมีการพิจารณาคัดเลือกผู้ที่สนใจจริงๆ และมีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจและมีคุณธรรม เพราะกระทรวงฯ เน้นการสร้างผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ ซึ่งผู้ประกอบการได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือผู้ประกอบการใหม่ กับผู้ประกอบการรายเดิมที่ต้องการขยายธุรกิจ ในกรณีนี้ทางกระทรวงจะต้องมาช่วยเหลือด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การค้า การออกแบบให้ดีขึ้นไปอีก ในขณะที่ผู้ประกอบการใหม่ต้องมีความรู้ที่ดีและรู้ลึกก่อนจะดำเนินธุรกิจ หากโครงการ “พี่เลี้ยงน้อง” ประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้ นอกจากภาครัฐจะได้ผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้นในทุกภาคธุรกิจ และบรรลุความคาดหวังที่ตั้งไว้ดังกล่าวแล้ว ยังช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศดีขึ้น ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการทั้งพี่ใหญ่และน้องเอสเอ็มอีทั้งหลายจงร่วมมือร่วมใจช่วยกันให้โครงการนี้สัมฤทธิผลภายใน 18 เดือนเพื่อความเเข็งแกร่งของธุรกิจเอสเอ็มอีไทย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-