ในปี 2546 ที่ผ่านมา สินค้าโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product) หรือสินค้า OTOP เริ่มแพร่หลายและได้รับความนิยมจากทั้งในและต่างประเทศ โดยไทยสามารถส่งออกสินค้า OTOP คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3.35 หมื่นล้านบาท และคาดว่าในปี 2547 มูลค่าการส่งออกของไทยจะสูงขึ้นกว่าปีก่อนมาก เนื่องจากสินค้า OTOP ผลิตขึ้นโดยอาศัยวัตถุดิบหรือทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาผสมผสานกับภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่น ทำให้สินค้า OTOP เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนสินค้า OTOP ด้วยการเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลกและเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้แก่สินค้าด้วยการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP ทั้งในไทยและในต่างประเทศ การลงนามความร่วมมือขายสินค้า OTOP ให้กับบริษัทในสหรัฐอเมริกา การร่วมมือกับ Intertrader ไทยในสหรัฐอเมริกาเพื่อกระจายสินค้าเข้าสู่ภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ฯลฯ รวมทั้งการร่วมมือกับสถาบันการเงินในประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า OTOP ด้วย นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อให้ความรู้และให้คำแนะนำแก่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น อาทิ
โครงการการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ รัฐบาลได้จัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสินค้า OTOP หลายโครงการ อาทิ โครงการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ในภูมิภาค โครงการให้คำแนะนำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ โครงการพัฒนาศักยภาพสินค้า OTOP ในภูมิภาค โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าสุขภาพและความงาม เป็นต้น ซึ่งผู้ผลิตที่สนใจสามารถติดต่อขอเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตที่มีตลาดเป้าหมายชัดเจนจำเป็นต้องทราบรูปแบบสินค้าที่เป็นที่ต้องการในแต่ละประเทศไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ของสินค้า สีสัน หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และตรงตามความต้องการของตลาดด้วย โครงการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ได้จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (มผช.) ขึ้นเพื่อส่งเสริม พัฒนา และรับรองคุณภาพของสินค้า OTOP ว่าได้มาตรฐานเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศในการเลือกซื้อสินค้าผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกสินค้า OTOP สามารถขอรับใบรับรองแสดงเครื่องหมาย มผช. ได้ที่ สมอ. โดยตรง และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ โดยในปัจจุบัน สมอ. ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้นแล้วจำนวน 211 มาตรฐาน และตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2547 จะจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 94 มาตรฐาน ซึ่งจะครอบคลุมสินค้าอีกหลายประเภท อาทิ ผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จักสานและเส้นใยพืช ผลิตภัณฑ์อาหารและสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ศิลปะประดิษฐ์และหัตถกรรม และเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
ผู้ที่สามารถขอรับใบรับรองแสดงเครื่องหมาย มผช. ได้แก่ ผู้ผลิตที่อยู่ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์และได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ. นตผ.) หรือเป็นกลุ่มหรือสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์อื่นๆ ตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน โดยในปี 2546 สมอ. รายงานว่ามีผู้ผลิตสินค้าที่ได้รับการรับรองเครื่องหมาย มผช. แล้วทั้งสิ้น 341 ราย และคาดว่าในปี 2547 จะมีผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ราย
ใบรับรองดังกล่าวจะมีอายุ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบรับรอง และเมื่อสินค้าได้รับการรับรองแล้ว สมอ. จะทำการติดตามผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยการสุ่มซื้อสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถานที่จัดจำหน่ายทั่วไป
ขณะเดียวกันผู้ผลิตสินค้า OTOP ก็ควรเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้แก่สินค้าของตนด้วยการเข้าร่วมแสดงสินค้าทั้งในและต่างประทศ อาทิ งานแสดงสินค้า OTOP ซึ่งเป็นการนำสินค้าเข้าร่วมจัดแสดงโดยตรง หรือจะเป็นงานแสดงสินค้าของใช้และของตกแต่งบ้าน (Bangkok International Gift Fair: BIG) และงานแสดงสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป (Bangkok International Fashion Fair: BIFF) โดยอาจนำสินค้า OTOP เข้าร่วมจัดแสดงด้วย ซึ่งในงานแสดงสินค้าเหล่านั้นจะมีการเชิญผู้ซื้อจากต่างประเทศให้เดินทางมาซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ในประเทศไทย ขณะเดียวกันผู้ผลิตสินค้าควรหาโอกาสนำสินค้าไปร่วมแสดงในงานแสดงสินค้าในต่างประเทศเพื่อให้เข้าถึงผู้ซื้อโดยตรงได้อีกด้วย
นอกจากนี้ผู้ส่งออกควรเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับสินค้าของตนด้วยการขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) เพื่อขอลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีในการส่งออกไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานจากเส้นใยพืช ผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องปั้นดินเผา และผลิตภัณฑ์ศิลปะประดิษฐ์และหัตถกรรม ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถขอใช้สิทธิพิเศษทางศุลกากรภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferences on Tariff: CEPT) ซึ่งจะได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเมื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2547--
-สส-
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนสินค้า OTOP ด้วยการเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลกและเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้แก่สินค้าด้วยการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP ทั้งในไทยและในต่างประเทศ การลงนามความร่วมมือขายสินค้า OTOP ให้กับบริษัทในสหรัฐอเมริกา การร่วมมือกับ Intertrader ไทยในสหรัฐอเมริกาเพื่อกระจายสินค้าเข้าสู่ภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ฯลฯ รวมทั้งการร่วมมือกับสถาบันการเงินในประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า OTOP ด้วย นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อให้ความรู้และให้คำแนะนำแก่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น อาทิ
โครงการการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ รัฐบาลได้จัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสินค้า OTOP หลายโครงการ อาทิ โครงการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ในภูมิภาค โครงการให้คำแนะนำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ โครงการพัฒนาศักยภาพสินค้า OTOP ในภูมิภาค โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าสุขภาพและความงาม เป็นต้น ซึ่งผู้ผลิตที่สนใจสามารถติดต่อขอเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตที่มีตลาดเป้าหมายชัดเจนจำเป็นต้องทราบรูปแบบสินค้าที่เป็นที่ต้องการในแต่ละประเทศไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ของสินค้า สีสัน หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และตรงตามความต้องการของตลาดด้วย โครงการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ได้จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (มผช.) ขึ้นเพื่อส่งเสริม พัฒนา และรับรองคุณภาพของสินค้า OTOP ว่าได้มาตรฐานเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศในการเลือกซื้อสินค้าผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกสินค้า OTOP สามารถขอรับใบรับรองแสดงเครื่องหมาย มผช. ได้ที่ สมอ. โดยตรง และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ โดยในปัจจุบัน สมอ. ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้นแล้วจำนวน 211 มาตรฐาน และตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2547 จะจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 94 มาตรฐาน ซึ่งจะครอบคลุมสินค้าอีกหลายประเภท อาทิ ผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จักสานและเส้นใยพืช ผลิตภัณฑ์อาหารและสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ศิลปะประดิษฐ์และหัตถกรรม และเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
ผู้ที่สามารถขอรับใบรับรองแสดงเครื่องหมาย มผช. ได้แก่ ผู้ผลิตที่อยู่ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์และได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ. นตผ.) หรือเป็นกลุ่มหรือสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์อื่นๆ ตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน โดยในปี 2546 สมอ. รายงานว่ามีผู้ผลิตสินค้าที่ได้รับการรับรองเครื่องหมาย มผช. แล้วทั้งสิ้น 341 ราย และคาดว่าในปี 2547 จะมีผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ราย
ใบรับรองดังกล่าวจะมีอายุ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบรับรอง และเมื่อสินค้าได้รับการรับรองแล้ว สมอ. จะทำการติดตามผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยการสุ่มซื้อสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถานที่จัดจำหน่ายทั่วไป
ขณะเดียวกันผู้ผลิตสินค้า OTOP ก็ควรเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้แก่สินค้าของตนด้วยการเข้าร่วมแสดงสินค้าทั้งในและต่างประทศ อาทิ งานแสดงสินค้า OTOP ซึ่งเป็นการนำสินค้าเข้าร่วมจัดแสดงโดยตรง หรือจะเป็นงานแสดงสินค้าของใช้และของตกแต่งบ้าน (Bangkok International Gift Fair: BIG) และงานแสดงสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป (Bangkok International Fashion Fair: BIFF) โดยอาจนำสินค้า OTOP เข้าร่วมจัดแสดงด้วย ซึ่งในงานแสดงสินค้าเหล่านั้นจะมีการเชิญผู้ซื้อจากต่างประเทศให้เดินทางมาซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ในประเทศไทย ขณะเดียวกันผู้ผลิตสินค้าควรหาโอกาสนำสินค้าไปร่วมแสดงในงานแสดงสินค้าในต่างประเทศเพื่อให้เข้าถึงผู้ซื้อโดยตรงได้อีกด้วย
นอกจากนี้ผู้ส่งออกควรเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับสินค้าของตนด้วยการขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) เพื่อขอลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีในการส่งออกไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานจากเส้นใยพืช ผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องปั้นดินเผา และผลิตภัณฑ์ศิลปะประดิษฐ์และหัตถกรรม ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถขอใช้สิทธิพิเศษทางศุลกากรภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferences on Tariff: CEPT) ซึ่งจะได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเมื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2547--
-สส-