การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญทั่วไป)วันพฤหัสบดีที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
โดยมี นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธาน การประชุมได้ดำเนินการตามระเบียบวาระดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรงอันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
- รับทราบรายงานประจำปี ๒๕๔๖ ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เนื่องจากเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้มีหนังสือแจ้งว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้กำหนดให้มีการสัมมนาผู้ตรวจแผ่นดินของรัฐสภาพบประชาชนในส่วนภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๘-๙ เมษายน ๒๕๔๗ ที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นกำหนดการที่ได้จัดไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจึงไม่สามารถเข้าร่วมชี้แจงประกอบการอภิปรายซักถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงขอเลื่อนการชี้แจงไปในการประชุมครั้งต่อไป
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
เรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน จำนวน ๔ ญัตติ ได้แก่ ญัตติด่วน เรื่อง สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนายถาวร เสนเนียม กับคณะ เป็นผู้เสนอ ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้ร่วมกันพิจารณาศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ซึ่งพันตำรวจโทสมชาย เพศประเสริฐ เป็นผู้เสนอ ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาสอบสวนกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๒ คน ถูกซัดทอดว่าอยู่เบื้องหลังการปล้นปืนที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งนายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ และนายนัจมุดดีน อูมา เป็นผู้เสนอ และญัตติด่วน เรื่อง ขอเสนอให้ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณากรณีสมาชิกรัฐสภาถูกผู้ต้องหาซัดทอดกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องและบงการ วางแผนกับเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนายศุภชัย โพธิ์สุ กับคณะ เป็นผู้เสนอ โดยจะได้นำมาพิจารณาพร้อมกัน ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และเกิดเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ มากมาย ที่สร้างความหวั่นวิตกให้กับหลายฝ่าย อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม และภาพพจน์ของประเทศในสายตาของประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น การเผาโรงเรียน วางระเบิดสถานที่ราชการและสถานบันเทิง ปล้นค่ายทหาร ปล้นอาวุธปืน ทำร้ายผู้บริสุทธิ์ และพระภิกษุสงฆ์ รวมทั้งการปล้นระเบิดจากโรงโม่หิน ซึ่งเหตุการณ์ รุนแรงต่าง ๆ นั้น เกิดจากการมองปัญหาที่ผิดพลาดของรัฐบาล แก้ปัญหาไม่ถูกวิธี และการผิดพลาด ในเชิงนโยบาย เนื่องจากรัฐบาลได้ยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) ซึ่งเป็น องค์กรที่ทำหน้าที่ในการประสานเพื่อแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยุบกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ ๔๓ (พตท.) อีกทั้งรัฐบาลยังใช้วิธีการรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เสนอแนะให้รัฐบาลเลิกใช้วิธีการรุนแรงทุกรูปแบบในการแก้ไขปัญหา และยึดกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัด
ต่อมานายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ชี้แจงว่า ปัญหาชายแดนภาคใต้นั้นไม่ใช่ปัญหาของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่เป็นปัญหาของประเทศ ซึ่งทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้คลี่คลายไปในทางที่ดี ทั้งนี้รัฐบาลได้มีการวางแผนในการแก้ไขปัญหาโดย สันติวิธีและศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งได้มีการเดินทางไปในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อทราบข้อเท็จจริง อีกทั้งยังได้สนทนากับผู้นำทางศาสนาถึงแนวคิดของแต่ละฝ่าย และยังยืนยันว่าการยุบ ศอบต. และ พตท. นั้น ไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาอย่างแน่นอน เพราะได้มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลยังดำเนินการให้มีมาตรการในการป้องกันตนเอง โดยฝึกอบรมชาวบ้านในทุกหมู่บ้านให้รู้จักการปกป้องตนเอง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี และยังมีโครงการให้กรมการปกครองคัดเลือกเยาวชนจากแต่ละจังหวัด ๆ ละ ๒,๐๐๐ คน ให้มาศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในภาคต่าง ๆ ของไทย เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่าง อันหลากหลายในการดำเนินชีวิตของคนไทยในพื้นที่อื่น ๆ ตลอดจนสำรวจสำมะโนประชากรหรือจัดทำเป็นสมาร์ทการ์ด ซึ่งหากจัดทำให้ใช้ได้เร็วก็จะทำให้ตรวจสอบข้อมูลของประชาชนได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
ลำดับต่อมานายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส พรรค ไทยรักไทย ผู้เสนอญัตติด่วน เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาสอบสวนกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๒ คน ถูกซัดทอดว่าอยู่เบื้องหลังการปล้นปืนที่จังหวัดนราธิวาส ร่วมกับ นายนัจมุดดีน อูมา ได้ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงญัตติจากการขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นการส่งให้รัฐบาลรับไปพิจารณาดำเนินการ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
จากนั้นนายศุภชัย โพธิ์สุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พรรคไทยรักไทย ผู้เสนอญัตติด่วน เรื่อง ขอเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณากรณีสมาชิกรัฐสภาถูกผู้ต้องหาซัดทอดกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องและบงการวางแผนกับเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้อภิปรายสรุปว่า ปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้นั้น เป็นปัญหาของชาติที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน แก้ไข และขอให้ยึดพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ โดยขอให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน สามัคคี และมีความจริงใจต่อกัน และจากการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลาย ๆ ท่าน ได้อภิปรายในประเด็นต่าง ๆ ไปนั้น ขอให้ผู้ที่รับผิดชอบนำข้อมูลที่ได้ไปประมวลและสรุปเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป
ต่อจากนั้น ประธานฯ ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะส่งญัตติทั้ง ๔ ญัตติ ให้รัฐบาลรับไปดำเนินการต่อไปหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ๓๒๓ เสียง และส่งเรื่องดังกล่าวให้รัฐบาลรับไปดำเนินการต่อไป
จากนั้นได้มีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
สุพรรณบุรี พรรคชาติไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวนาและผู้เลี้ยงสัตว์ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) ได้ตอบกระทู้ว่า ตั้งแต่เกิดสถานการณ์โรคไข้หวัดนกระบาดมาจนถึงขณะนี้ รัฐบาลได้มีการดูแลมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการของดอกเบี้ยนั้น รัฐบาลได้มีมาตรการและหลักเกณฑ์ในการพักชำระหนี้และพักชำระดอกเบี้ย โดยมีผลตั้งแต่ ๑ มีนาคม - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบจะต้องได้รับการตรวจสอบจากสาธารณสุขจังหวัดก่อนว่าได้รับความเดือดร้อนจริง และจะย้อนหลังไปดูแลให้อย่างทั่วถึง แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา ๖ เดือน ตามที่กำหนดไว้ โดยเท่าเทียมกัน ถ้าสาธารณสุขจังหวัดได้ตรวจสอบแล้วว่าได้รับความเดือดร้อนจริงจะส่งรายชื่อมายังส่วนกลาง และจะดูแลเรื่องการพักชำระดอกเบี้ยและพักชำระหนี้ ๖ เดือนให้ด้วย รวมทั้งได้มีการประสานงานกับสถาบันการเงินของเอกชนที่ไม่ใช่ของรัฐและธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ประสานงานและช่วยดูแลอยู่เช่นกันเพื่อใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับรัฐบาลในการผ่อนปรนและชำระหนี้ดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรผู้ได้รับความเดือดร้อนจากโรคไข้หวัดนก
๒. กระทู้ถามสดของนายสนั่น สุธากุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล พรรค
ประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ ติดภารกิจราชการสำคัญ จึงได้เลื่อนตอบกระทู้ออกไปในสัปดาห์หน้า
๓. กระทู้ถามสดของนายวิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการประกาศกฎอัยการศึกษาใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ ติดภารกิจ จึงได้เลื่อนตอบกระทู้ออกไปในสัปดาห์หน้า
ปิดการประชุมเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
-------------------------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
โดยมี นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธาน การประชุมได้ดำเนินการตามระเบียบวาระดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรงอันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
- รับทราบรายงานประจำปี ๒๕๔๖ ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เนื่องจากเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้มีหนังสือแจ้งว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้กำหนดให้มีการสัมมนาผู้ตรวจแผ่นดินของรัฐสภาพบประชาชนในส่วนภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๘-๙ เมษายน ๒๕๔๗ ที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นกำหนดการที่ได้จัดไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจึงไม่สามารถเข้าร่วมชี้แจงประกอบการอภิปรายซักถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงขอเลื่อนการชี้แจงไปในการประชุมครั้งต่อไป
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
เรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน จำนวน ๔ ญัตติ ได้แก่ ญัตติด่วน เรื่อง สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนายถาวร เสนเนียม กับคณะ เป็นผู้เสนอ ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้ร่วมกันพิจารณาศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ซึ่งพันตำรวจโทสมชาย เพศประเสริฐ เป็นผู้เสนอ ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาสอบสวนกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๒ คน ถูกซัดทอดว่าอยู่เบื้องหลังการปล้นปืนที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งนายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ และนายนัจมุดดีน อูมา เป็นผู้เสนอ และญัตติด่วน เรื่อง ขอเสนอให้ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณากรณีสมาชิกรัฐสภาถูกผู้ต้องหาซัดทอดกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องและบงการ วางแผนกับเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนายศุภชัย โพธิ์สุ กับคณะ เป็นผู้เสนอ โดยจะได้นำมาพิจารณาพร้อมกัน ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และเกิดเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ มากมาย ที่สร้างความหวั่นวิตกให้กับหลายฝ่าย อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม และภาพพจน์ของประเทศในสายตาของประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น การเผาโรงเรียน วางระเบิดสถานที่ราชการและสถานบันเทิง ปล้นค่ายทหาร ปล้นอาวุธปืน ทำร้ายผู้บริสุทธิ์ และพระภิกษุสงฆ์ รวมทั้งการปล้นระเบิดจากโรงโม่หิน ซึ่งเหตุการณ์ รุนแรงต่าง ๆ นั้น เกิดจากการมองปัญหาที่ผิดพลาดของรัฐบาล แก้ปัญหาไม่ถูกวิธี และการผิดพลาด ในเชิงนโยบาย เนื่องจากรัฐบาลได้ยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) ซึ่งเป็น องค์กรที่ทำหน้าที่ในการประสานเพื่อแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยุบกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ ๔๓ (พตท.) อีกทั้งรัฐบาลยังใช้วิธีการรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เสนอแนะให้รัฐบาลเลิกใช้วิธีการรุนแรงทุกรูปแบบในการแก้ไขปัญหา และยึดกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัด
ต่อมานายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ชี้แจงว่า ปัญหาชายแดนภาคใต้นั้นไม่ใช่ปัญหาของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่เป็นปัญหาของประเทศ ซึ่งทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้คลี่คลายไปในทางที่ดี ทั้งนี้รัฐบาลได้มีการวางแผนในการแก้ไขปัญหาโดย สันติวิธีและศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งได้มีการเดินทางไปในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อทราบข้อเท็จจริง อีกทั้งยังได้สนทนากับผู้นำทางศาสนาถึงแนวคิดของแต่ละฝ่าย และยังยืนยันว่าการยุบ ศอบต. และ พตท. นั้น ไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาอย่างแน่นอน เพราะได้มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลยังดำเนินการให้มีมาตรการในการป้องกันตนเอง โดยฝึกอบรมชาวบ้านในทุกหมู่บ้านให้รู้จักการปกป้องตนเอง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี และยังมีโครงการให้กรมการปกครองคัดเลือกเยาวชนจากแต่ละจังหวัด ๆ ละ ๒,๐๐๐ คน ให้มาศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในภาคต่าง ๆ ของไทย เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่าง อันหลากหลายในการดำเนินชีวิตของคนไทยในพื้นที่อื่น ๆ ตลอดจนสำรวจสำมะโนประชากรหรือจัดทำเป็นสมาร์ทการ์ด ซึ่งหากจัดทำให้ใช้ได้เร็วก็จะทำให้ตรวจสอบข้อมูลของประชาชนได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
ลำดับต่อมานายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส พรรค ไทยรักไทย ผู้เสนอญัตติด่วน เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาสอบสวนกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๒ คน ถูกซัดทอดว่าอยู่เบื้องหลังการปล้นปืนที่จังหวัดนราธิวาส ร่วมกับ นายนัจมุดดีน อูมา ได้ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงญัตติจากการขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นการส่งให้รัฐบาลรับไปพิจารณาดำเนินการ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
จากนั้นนายศุภชัย โพธิ์สุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พรรคไทยรักไทย ผู้เสนอญัตติด่วน เรื่อง ขอเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณากรณีสมาชิกรัฐสภาถูกผู้ต้องหาซัดทอดกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องและบงการวางแผนกับเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้อภิปรายสรุปว่า ปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้นั้น เป็นปัญหาของชาติที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน แก้ไข และขอให้ยึดพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ โดยขอให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน สามัคคี และมีความจริงใจต่อกัน และจากการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลาย ๆ ท่าน ได้อภิปรายในประเด็นต่าง ๆ ไปนั้น ขอให้ผู้ที่รับผิดชอบนำข้อมูลที่ได้ไปประมวลและสรุปเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป
ต่อจากนั้น ประธานฯ ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะส่งญัตติทั้ง ๔ ญัตติ ให้รัฐบาลรับไปดำเนินการต่อไปหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ๓๒๓ เสียง และส่งเรื่องดังกล่าวให้รัฐบาลรับไปดำเนินการต่อไป
จากนั้นได้มีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
สุพรรณบุรี พรรคชาติไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวนาและผู้เลี้ยงสัตว์ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) ได้ตอบกระทู้ว่า ตั้งแต่เกิดสถานการณ์โรคไข้หวัดนกระบาดมาจนถึงขณะนี้ รัฐบาลได้มีการดูแลมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการของดอกเบี้ยนั้น รัฐบาลได้มีมาตรการและหลักเกณฑ์ในการพักชำระหนี้และพักชำระดอกเบี้ย โดยมีผลตั้งแต่ ๑ มีนาคม - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบจะต้องได้รับการตรวจสอบจากสาธารณสุขจังหวัดก่อนว่าได้รับความเดือดร้อนจริง และจะย้อนหลังไปดูแลให้อย่างทั่วถึง แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา ๖ เดือน ตามที่กำหนดไว้ โดยเท่าเทียมกัน ถ้าสาธารณสุขจังหวัดได้ตรวจสอบแล้วว่าได้รับความเดือดร้อนจริงจะส่งรายชื่อมายังส่วนกลาง และจะดูแลเรื่องการพักชำระดอกเบี้ยและพักชำระหนี้ ๖ เดือนให้ด้วย รวมทั้งได้มีการประสานงานกับสถาบันการเงินของเอกชนที่ไม่ใช่ของรัฐและธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ประสานงานและช่วยดูแลอยู่เช่นกันเพื่อใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับรัฐบาลในการผ่อนปรนและชำระหนี้ดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรผู้ได้รับความเดือดร้อนจากโรคไข้หวัดนก
๒. กระทู้ถามสดของนายสนั่น สุธากุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล พรรค
ประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ ติดภารกิจราชการสำคัญ จึงได้เลื่อนตอบกระทู้ออกไปในสัปดาห์หน้า
๓. กระทู้ถามสดของนายวิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการประกาศกฎอัยการศึกษาใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ ติดภารกิจ จึงได้เลื่อนตอบกระทู้ออกไปในสัปดาห์หน้า
ปิดการประชุมเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
-------------------------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร