ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การลดเวลาทำการของตลาดอาร์พีลงเหลือวันละหนึ่งรอบ ผู้อำนวย
การอาวุโสสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกประกาศฉบับใหม่
ถึงสถาบันที่เป็นสมาชิกตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์พี) โดยลดเวลาทำการของตลาดอาร์พีเหลือวันละหนึ่งรอบ คือ
ช่วงเวลา 15.30-16.30 น. จากเดิมเปิดทำการวันละ 2 รอบ เพื่อเป็นการลดบทบาทของตลาดอาร์พีลง
และสนับสนุนให้ตลาดซื้อคืน พธบ.ภาคเอกชน (Private Repo) ขยายตัวและเติบโตขึ้น รองรับการแข่งขัน
เสรีทางการเงินและการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่ ก.คลังและตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังดำเนินการ นอกจากนี้
ธปท.ได้กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มปริมาณในการทำธุรกรรมต่อครั้งที่โทรเข้า (amount per call) จาก 2,000
ล.บาท เป็น 3,000 ล.บาท (โลกวันนี้, ไทยโพสต์)
2. ผลประกอบการของ ธพ.ไทยในช่วงไตรมาสแรกปี 47 ส่วนหนึ่งปรับตัวดีขึ้น รายงานข่าว
จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กลุ่ม ธพ.ได้ทยอยแจ้งผลประกอบการประจำไตรมาสแรก
สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มี.ค.47 พบว่า มีผลประกอบการดีขึ้น เนื่องจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลด
ลง โดย ธ.ไทยพาณิชย์ มีกำไรสุทธิสูงสุดถึง 6,858 ล.บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ
3,077 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้น 122.88% และ ธ.ดีบีเอส ไทยทนุ มีกำไรสุทธิ 324.68 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากปี
ก่อนที่มีกำไรสุทธิ 98.32 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้น 230.23% ขณะที่ ธ.กรุงศรีอยุธยา มีกำไรสุทธิ 1,214 ล.บาท
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 30% (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปี งปม.47 สูงกว่าประมาณการ 23.6%
โฆษก ก.คลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปี งปม.47 ว่า ขยายตัวใน
อัตราสูง โดยมีรายได้รวม 566,953 ล.บาท สูงกว่าประมาณการ 108,084 ล.บาทหรือ 23.6% และสูง
กว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 83,987 ล.บาทหรือ 17.4% ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บรายได้สูงกว่า
ประมาณการในอัตราสูง เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจของประเทศปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปี 46 ทั้งอัตรา
การเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ระดับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ การนำเข้า การส่งออก
การผลิต การลงทุน และการจ้างงาน แม้จะมีผลกระทบจากปัจจัยลบ เช่น โรคไข้หวัดนก และสถานการณ์
ความไม่สงบในภาคใต้ก็ตาม ประกอบกับการจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคที่ดีขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของ
การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธ.ออมสินเตรียมประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยในโครงการธนาคารประชาชนลง 0.25% ภาย
ในเดือน มิ.ย.47 ผู้อำนวยการ ธ.ออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารจะประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับ
ลูกค้าในโครงการธนาคารประชาชนลง 0.25% ภายในเดือน มิ.ย.47 โดยเป็นการปรับลดสำหรับลูกค้าที่มี
วินัยในการจ่ายหนี้คืน (ลูกค้าชั้นดี) หรือลูกค้าที่ชำระหนี้ภายในเวลา 6 เดือน พร้อมกันทั่วประเทศ จากเดิมที่
ลูกค้าจะได้รับการปรับลดดอกเบี้ยต่อเมื่อต้องชำระหนี้ตรงตามเวลาไปแล้ว 1-2 ปี ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อฐานะของธนาคารหรือทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียเพิ่มขึ้น เนื่องจากที่ผ่าน
มาธนาคารประชาชนมีภาระหนี้เสียเพียงเล็กน้อย (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.โลกคาดว่าในปี 47 แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาจะมีทิศทางบวก รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 47 ธ.โลกคาดว่าในปี 47 เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาจะเติบโต
ร้อยละ 5.4 จากร้อยละ 4.8 เมื่อปี 46 ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในรอบ 2 ทศวรรษโดยได้รับผลจากการฟื้น
ตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้มีเงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนสูงถึง 228 พันล.ดอลลาร์สรอ.ในปี 46 เพิ่มขึ้น
จาก 191 พันล.ดอลลาร์สรอ.ในปี 45 และสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 41 ส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมและ
มุ่งลงทุนในจีน เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนได้กลับคืนมาอีกครั้ง แต่เตือนว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
อย่างฉับพลันจะส่งผลร้ายต่อแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว สำหรับการพัฒนาด้านการเงินของโลก
นั้นธ.โลกกล่าวว่าอาจจะเป็นไปได้ที่ผู้ดำเนินนโยบายอาจจะกำลังพิจารณาปรับเพิ่มอัตราเงินกู้ยืมเพื่อหลีกเลี่ยง
หนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่จะมีมากเกินไปและจากการไม่สมดุลของดุลบัญชีเดินสะพัด อาทิ สรอ.ที่มีการขาด
ดุลการค้าและดุลงบประมาณ แต่สำหรับประเทศสรอ. อาจจะไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากถูกชดเชยจากเปลี่ยน
แปลงของตลาดเงินและอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจุบันสรอ.ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่าร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์
มวลรวมประชาชาติ ความไม่แน่นอนของนักลงทุนภาคเอกชนทำให้ค่าเงินดอลลาร์สรอ. อ่อนค่าลงอย่างมาก
เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลสำคัญส่วนใหญ่ ธ.โลกเห็นว่านโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะเป็นการลดความเสี่ยง
จากการก่อหนี้ที่มากจนเกินไป (รอยเตอร์)
2. ธ.โลกคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกในปีนี้จะขยายตัวเร็วสุดตั้งแต่ปี 43
รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 19 เม.ย.47 รายงานเอเชียตะวันออกและแปซิฟิคของ ธ.โลกซึ่งจัดทำทุก
2 ปี และมีกำหนดจะเผยแพร่ในวันที่ 20 เม.ย.47 นี้ ได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกซึ่งประกอบด้วย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์
เกาหลีใต้ ไทย ไต้หวัน และประเทศเล็ก ๆ อีกหลายประเทศในปีนี้ว่าจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 6.0 สูงสุด
นับตั้งแต่ต้นปี 43 เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนเมื่อเดือน ต.ค.46 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.7 จาก
ปัจจัยสนับสนุนด้านการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ และจากการลงทุนทั้งจากใน
และต่างประเทศซึ่งคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคนี้ โดยคาดว่าในปี 46 มียอดเงินทุนไหลเข้าสุทธิมายัง
จีน อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยประมาณ 33 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่ในปี 45
มียอดเงินทุนไหลออกสุทธิจากภูมิภาคนี้จำนวน 9.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของ สรอ. ในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อ 19 เม.ย.47 The U.S. Energy Information Administration (EIA) เปิดเผยว่า
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของ สรอ.ในสัปดาห์นี้อยู่ที่ระดับ 1.813 ดอลลาร์ สรอ.ต่อแกลลอน หรือเพิ่มขึ้น 2.7
เซนต์ เทียบกับสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 โดยระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สรอ.
ล่าสุดสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 29 เซนต์ ทั้งนี้ ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้บริโภคทีมี
จำนวนมากประกอบกับการที่ผู้ผลิตลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น แต่หาก
ปรับด้วยภาวะเงินเฟ้อของปี 47 ราคาน้ำมันสูงสุดคือระดับ 2.99 ดอลลาร์ สรอ. ต่อแกลลอน ในเดือน
มี.ค.24 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาน้ำมันของ สรอ.จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังต่ำกว่าเมื่อเทียบกับใน
ยุโรปที่ราคาน้ำมันของบางประเทศสูงถึง 5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อแกลลอน (รอยเตอร์)
4. ราคาบ้านในอังกฤษและเวลส์ยังคงเพิ่มสูงขึ้นในเดือน มี.ค.47 รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่
19 เม.ย.47 Royal Institute of Chartered Surveyors เปิดเผยผลการสำรวจว่า การลดลงใน
อุปทานของบ้านและสินทรัพย์ รวมทั้งความเข้าใจว่าการซื้อบ้านเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด ทำให้ราคาบ้านในอังกฤษ
และเวลส์ในช่วง 3 เดือน นับถึงเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบปีนับตั้งแต่เดือน ต.ค.45 ถึง
แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามลดระดับความร้อนแรงด้วยการขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง ในเดือน พ.ย.46 และ ก.พ.47
ก็ยังไม่สามารถลดการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยจำนวนผู้ต้องการซื้อบ้านครั้งแรกที่เพิ่มขึ้นทำให้
ราคาบ้านสูงเกินกว่าราคาตลาด ประกอบกับการขาดแคลนบ้านและตลาดหุ้นที่ไม่สดใสนักในช่วงหลายปีมานี้ทำ
ให้สินทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยกลายเป็นสินทรัพย์ชั้นดีสำหรับการลงทุน ทั้งนี้ ราคาบ้านได้ถูกจับตามองอย่าง
ใกล้ชิดในฐานะดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจอันหนึ่งของประเทศ ซึ่ง 2 ใน 3 ของครอบครัวมีบ้านเป็นของตนเอง
(รอยเตอร์)
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคปี 47 ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้น รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 19 เม.ย.47
ดัชนีราคาผู้บริโภคปี 47 ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นพร้อมกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลปรับตัวเลขการคาด
การณ์ภาวะเงินเฟ้อในปีนี้ รวมถึงเข้มงวดนโยบายด้านการเงินด้วย โดยอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล
แล้วในเดือน ก.พ.47 ลดลง 0.2% จากเดือน ม.ค.47 แต่เพิ่มขึ้นถึง 1.5% เมื่อเทียบปีต่อปี ทั้งนี้ เนื่อง
จากการเพิ่มขึ้นของภาษีการขายและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และนับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงเวลาเกือบ 3
ปี และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 8 เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวหลังจากเกิดการระบาดของไข้
หวัดนกและโรคระบบทางเดินใจล้มเหลวเฉียบพลัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20/4/47 19/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.338 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1386/39.4231 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 704.65/22.01 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,500/7,600 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.89 32.24 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การลดเวลาทำการของตลาดอาร์พีลงเหลือวันละหนึ่งรอบ ผู้อำนวย
การอาวุโสสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกประกาศฉบับใหม่
ถึงสถาบันที่เป็นสมาชิกตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์พี) โดยลดเวลาทำการของตลาดอาร์พีเหลือวันละหนึ่งรอบ คือ
ช่วงเวลา 15.30-16.30 น. จากเดิมเปิดทำการวันละ 2 รอบ เพื่อเป็นการลดบทบาทของตลาดอาร์พีลง
และสนับสนุนให้ตลาดซื้อคืน พธบ.ภาคเอกชน (Private Repo) ขยายตัวและเติบโตขึ้น รองรับการแข่งขัน
เสรีทางการเงินและการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่ ก.คลังและตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังดำเนินการ นอกจากนี้
ธปท.ได้กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มปริมาณในการทำธุรกรรมต่อครั้งที่โทรเข้า (amount per call) จาก 2,000
ล.บาท เป็น 3,000 ล.บาท (โลกวันนี้, ไทยโพสต์)
2. ผลประกอบการของ ธพ.ไทยในช่วงไตรมาสแรกปี 47 ส่วนหนึ่งปรับตัวดีขึ้น รายงานข่าว
จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กลุ่ม ธพ.ได้ทยอยแจ้งผลประกอบการประจำไตรมาสแรก
สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มี.ค.47 พบว่า มีผลประกอบการดีขึ้น เนื่องจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลด
ลง โดย ธ.ไทยพาณิชย์ มีกำไรสุทธิสูงสุดถึง 6,858 ล.บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ
3,077 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้น 122.88% และ ธ.ดีบีเอส ไทยทนุ มีกำไรสุทธิ 324.68 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากปี
ก่อนที่มีกำไรสุทธิ 98.32 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้น 230.23% ขณะที่ ธ.กรุงศรีอยุธยา มีกำไรสุทธิ 1,214 ล.บาท
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 30% (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปี งปม.47 สูงกว่าประมาณการ 23.6%
โฆษก ก.คลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปี งปม.47 ว่า ขยายตัวใน
อัตราสูง โดยมีรายได้รวม 566,953 ล.บาท สูงกว่าประมาณการ 108,084 ล.บาทหรือ 23.6% และสูง
กว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 83,987 ล.บาทหรือ 17.4% ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บรายได้สูงกว่า
ประมาณการในอัตราสูง เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจของประเทศปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปี 46 ทั้งอัตรา
การเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ระดับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ การนำเข้า การส่งออก
การผลิต การลงทุน และการจ้างงาน แม้จะมีผลกระทบจากปัจจัยลบ เช่น โรคไข้หวัดนก และสถานการณ์
ความไม่สงบในภาคใต้ก็ตาม ประกอบกับการจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคที่ดีขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของ
การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธ.ออมสินเตรียมประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยในโครงการธนาคารประชาชนลง 0.25% ภาย
ในเดือน มิ.ย.47 ผู้อำนวยการ ธ.ออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารจะประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับ
ลูกค้าในโครงการธนาคารประชาชนลง 0.25% ภายในเดือน มิ.ย.47 โดยเป็นการปรับลดสำหรับลูกค้าที่มี
วินัยในการจ่ายหนี้คืน (ลูกค้าชั้นดี) หรือลูกค้าที่ชำระหนี้ภายในเวลา 6 เดือน พร้อมกันทั่วประเทศ จากเดิมที่
ลูกค้าจะได้รับการปรับลดดอกเบี้ยต่อเมื่อต้องชำระหนี้ตรงตามเวลาไปแล้ว 1-2 ปี ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อฐานะของธนาคารหรือทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียเพิ่มขึ้น เนื่องจากที่ผ่าน
มาธนาคารประชาชนมีภาระหนี้เสียเพียงเล็กน้อย (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.โลกคาดว่าในปี 47 แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาจะมีทิศทางบวก รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 47 ธ.โลกคาดว่าในปี 47 เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาจะเติบโต
ร้อยละ 5.4 จากร้อยละ 4.8 เมื่อปี 46 ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในรอบ 2 ทศวรรษโดยได้รับผลจากการฟื้น
ตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้มีเงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนสูงถึง 228 พันล.ดอลลาร์สรอ.ในปี 46 เพิ่มขึ้น
จาก 191 พันล.ดอลลาร์สรอ.ในปี 45 และสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 41 ส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมและ
มุ่งลงทุนในจีน เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนได้กลับคืนมาอีกครั้ง แต่เตือนว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
อย่างฉับพลันจะส่งผลร้ายต่อแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว สำหรับการพัฒนาด้านการเงินของโลก
นั้นธ.โลกกล่าวว่าอาจจะเป็นไปได้ที่ผู้ดำเนินนโยบายอาจจะกำลังพิจารณาปรับเพิ่มอัตราเงินกู้ยืมเพื่อหลีกเลี่ยง
หนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่จะมีมากเกินไปและจากการไม่สมดุลของดุลบัญชีเดินสะพัด อาทิ สรอ.ที่มีการขาด
ดุลการค้าและดุลงบประมาณ แต่สำหรับประเทศสรอ. อาจจะไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากถูกชดเชยจากเปลี่ยน
แปลงของตลาดเงินและอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจุบันสรอ.ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่าร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์
มวลรวมประชาชาติ ความไม่แน่นอนของนักลงทุนภาคเอกชนทำให้ค่าเงินดอลลาร์สรอ. อ่อนค่าลงอย่างมาก
เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลสำคัญส่วนใหญ่ ธ.โลกเห็นว่านโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะเป็นการลดความเสี่ยง
จากการก่อหนี้ที่มากจนเกินไป (รอยเตอร์)
2. ธ.โลกคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกในปีนี้จะขยายตัวเร็วสุดตั้งแต่ปี 43
รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 19 เม.ย.47 รายงานเอเชียตะวันออกและแปซิฟิคของ ธ.โลกซึ่งจัดทำทุก
2 ปี และมีกำหนดจะเผยแพร่ในวันที่ 20 เม.ย.47 นี้ ได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกซึ่งประกอบด้วย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์
เกาหลีใต้ ไทย ไต้หวัน และประเทศเล็ก ๆ อีกหลายประเทศในปีนี้ว่าจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 6.0 สูงสุด
นับตั้งแต่ต้นปี 43 เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนเมื่อเดือน ต.ค.46 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.7 จาก
ปัจจัยสนับสนุนด้านการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ และจากการลงทุนทั้งจากใน
และต่างประเทศซึ่งคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคนี้ โดยคาดว่าในปี 46 มียอดเงินทุนไหลเข้าสุทธิมายัง
จีน อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยประมาณ 33 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่ในปี 45
มียอดเงินทุนไหลออกสุทธิจากภูมิภาคนี้จำนวน 9.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของ สรอ. ในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อ 19 เม.ย.47 The U.S. Energy Information Administration (EIA) เปิดเผยว่า
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของ สรอ.ในสัปดาห์นี้อยู่ที่ระดับ 1.813 ดอลลาร์ สรอ.ต่อแกลลอน หรือเพิ่มขึ้น 2.7
เซนต์ เทียบกับสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 โดยระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สรอ.
ล่าสุดสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 29 เซนต์ ทั้งนี้ ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้บริโภคทีมี
จำนวนมากประกอบกับการที่ผู้ผลิตลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น แต่หาก
ปรับด้วยภาวะเงินเฟ้อของปี 47 ราคาน้ำมันสูงสุดคือระดับ 2.99 ดอลลาร์ สรอ. ต่อแกลลอน ในเดือน
มี.ค.24 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาน้ำมันของ สรอ.จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังต่ำกว่าเมื่อเทียบกับใน
ยุโรปที่ราคาน้ำมันของบางประเทศสูงถึง 5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อแกลลอน (รอยเตอร์)
4. ราคาบ้านในอังกฤษและเวลส์ยังคงเพิ่มสูงขึ้นในเดือน มี.ค.47 รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่
19 เม.ย.47 Royal Institute of Chartered Surveyors เปิดเผยผลการสำรวจว่า การลดลงใน
อุปทานของบ้านและสินทรัพย์ รวมทั้งความเข้าใจว่าการซื้อบ้านเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด ทำให้ราคาบ้านในอังกฤษ
และเวลส์ในช่วง 3 เดือน นับถึงเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบปีนับตั้งแต่เดือน ต.ค.45 ถึง
แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามลดระดับความร้อนแรงด้วยการขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง ในเดือน พ.ย.46 และ ก.พ.47
ก็ยังไม่สามารถลดการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยจำนวนผู้ต้องการซื้อบ้านครั้งแรกที่เพิ่มขึ้นทำให้
ราคาบ้านสูงเกินกว่าราคาตลาด ประกอบกับการขาดแคลนบ้านและตลาดหุ้นที่ไม่สดใสนักในช่วงหลายปีมานี้ทำ
ให้สินทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยกลายเป็นสินทรัพย์ชั้นดีสำหรับการลงทุน ทั้งนี้ ราคาบ้านได้ถูกจับตามองอย่าง
ใกล้ชิดในฐานะดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจอันหนึ่งของประเทศ ซึ่ง 2 ใน 3 ของครอบครัวมีบ้านเป็นของตนเอง
(รอยเตอร์)
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคปี 47 ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้น รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 19 เม.ย.47
ดัชนีราคาผู้บริโภคปี 47 ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นพร้อมกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลปรับตัวเลขการคาด
การณ์ภาวะเงินเฟ้อในปีนี้ รวมถึงเข้มงวดนโยบายด้านการเงินด้วย โดยอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล
แล้วในเดือน ก.พ.47 ลดลง 0.2% จากเดือน ม.ค.47 แต่เพิ่มขึ้นถึง 1.5% เมื่อเทียบปีต่อปี ทั้งนี้ เนื่อง
จากการเพิ่มขึ้นของภาษีการขายและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และนับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงเวลาเกือบ 3
ปี และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 8 เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวหลังจากเกิดการระบาดของไข้
หวัดนกและโรคระบบทางเดินใจล้มเหลวเฉียบพลัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20/4/47 19/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.338 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1386/39.4231 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 704.65/22.01 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,500/7,600 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.89 32.24 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-