กรุงเทพ--21 เม.ย.--กระทรวงการต่าง
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป (อาเซ็ม) ครั้งที่ 6 ซึ่งไอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 17-18 เมษายน 2547 ณ โรงแรม Kildare Club เขต Kildare ซึ่ง ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ไทยเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ที่ประชุมได้หารือกันเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือ ด้านอื่นๆ และ ได้รับรองเอกสารสองฉบับ คือ ถ้อยแถลงของประธาน และ ASEM Declaration on Multilateralism
2. ในส่วนที่เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเมืองนั้น ประเด็นที่ได้รับความสนใจมาก คือ เรื่องการขยายสมาชิกภาพของอาเซ็มโดยเฉพาะการรับพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซ็ม ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบว่าสถานการณ์ในพม่ามีความคืบหน้าที่ดี และทุกฝ่ายได้แสดงความเห็นว่าพัฒนาการที่ดีนี้จะต้องดำเนินต่อไป และแสดงความชื่นชมบทบาทและความพยายามของไทยที่ช่วยให้สถานการณ์ในพม่าเป็นไปในทางที่ดีขึ้นด้วย ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำให้ที่ประชุมทราบว่าการประชุมอาเซมเป็นเวทีการหารือเรื่องความร่วมมือระหว่างเอเชียและยุโรป มิใช่เวทีการหารือเรื่องพม่าเพียงประการเดียว ดังนั้น จึงไม่ควรให้เรื่องพม่าเป็นอุปสรรคขัดขวางกระบวนการความร่วมมือของอาเซ็ม ซึ่งที่ประชุมก็ได้เห็นพ้องกับแนวความคิดนี้ และประสงค์จะให้กระบวนการของอาเซ็มคืบหน้าต่อไป ซึ่งท่าทีนี้ก็ได้ปรากฏอยู่ในถ้อยแถลงของประธาน พร้อมทั้งระบุว่าหากมีความ คืบหน้าที่เป็นรูปธรรม บรรดาประเทศสมาชิกอาเซ็มก็พร้อมจะให้ความช่วยเหลือพม่าด้านมนุษยธรรม รวมทั้งจะสนับสนุนให้กระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่าดำเนินไปตามขั้นตอนของ Roadmap ของพม่าด้วย ซึ่งนับว่าการหารือเรื่องพม่าในครั้งนี้เป็นไปด้วยดี และมีความสร้างสรรค์ แม้ว่าสหภาพยุโรป จะยังคงมีเงื่อนไข 2 ประการในการรับพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซ็ม คือการปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี และการมีส่วนร่วมในการประชุมสมัชชาแห่งชาติของพรรคเอ็นแอลดี ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโส อาเซ็มเป็นผู้พิจารณาประเมินสถานการณ์และความคืบหน้าของสถานการณ์ในพม่าอีกครั้งหนึ่งต่อไป ซึ่งคาดว่าหากสถานการณ์ในพม่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาในการรับสมาชิกใหม่ของ อาเซ็มก็จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นและจะได้ข้อสรุปก่อนการประชุมผู้นำอาเซ็มที่กรุงฮานอย ประเทศ เวียดนาม ในเดือนตุลาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเอเชียยังคงยึดมั่นในหลักการที่ว่าการรับสมาชิกใหม่ของ อาเซ็มต้องเป็นไปโดยไม่มีเงื่อนไข และพม่า ลาว รวมทั้งกัมพูชาควรจะได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซ็มพร้อมกัน
3. นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือกันเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ รวมทั้ง การสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบพหุภาคี โดยเฉพาะการเน้นบทบาทของสหประชาชาติ และองค์การ การค้าโลก รวมทั้งการพิจารณาแนวทางที่จะลดช่องว่างของความแตกต่างด้านวัฒนธรรม และส่งเสริม ความเข้าใจในความแตกต่างทางอารยธรรมระหว่างประเทศและสังคมต่างๆ ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป (อาเซ็ม) ครั้งที่ 6 ซึ่งไอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 17-18 เมษายน 2547 ณ โรงแรม Kildare Club เขต Kildare ซึ่ง ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ไทยเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ที่ประชุมได้หารือกันเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือ ด้านอื่นๆ และ ได้รับรองเอกสารสองฉบับ คือ ถ้อยแถลงของประธาน และ ASEM Declaration on Multilateralism
2. ในส่วนที่เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเมืองนั้น ประเด็นที่ได้รับความสนใจมาก คือ เรื่องการขยายสมาชิกภาพของอาเซ็มโดยเฉพาะการรับพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซ็ม ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบว่าสถานการณ์ในพม่ามีความคืบหน้าที่ดี และทุกฝ่ายได้แสดงความเห็นว่าพัฒนาการที่ดีนี้จะต้องดำเนินต่อไป และแสดงความชื่นชมบทบาทและความพยายามของไทยที่ช่วยให้สถานการณ์ในพม่าเป็นไปในทางที่ดีขึ้นด้วย ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำให้ที่ประชุมทราบว่าการประชุมอาเซมเป็นเวทีการหารือเรื่องความร่วมมือระหว่างเอเชียและยุโรป มิใช่เวทีการหารือเรื่องพม่าเพียงประการเดียว ดังนั้น จึงไม่ควรให้เรื่องพม่าเป็นอุปสรรคขัดขวางกระบวนการความร่วมมือของอาเซ็ม ซึ่งที่ประชุมก็ได้เห็นพ้องกับแนวความคิดนี้ และประสงค์จะให้กระบวนการของอาเซ็มคืบหน้าต่อไป ซึ่งท่าทีนี้ก็ได้ปรากฏอยู่ในถ้อยแถลงของประธาน พร้อมทั้งระบุว่าหากมีความ คืบหน้าที่เป็นรูปธรรม บรรดาประเทศสมาชิกอาเซ็มก็พร้อมจะให้ความช่วยเหลือพม่าด้านมนุษยธรรม รวมทั้งจะสนับสนุนให้กระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่าดำเนินไปตามขั้นตอนของ Roadmap ของพม่าด้วย ซึ่งนับว่าการหารือเรื่องพม่าในครั้งนี้เป็นไปด้วยดี และมีความสร้างสรรค์ แม้ว่าสหภาพยุโรป จะยังคงมีเงื่อนไข 2 ประการในการรับพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซ็ม คือการปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี และการมีส่วนร่วมในการประชุมสมัชชาแห่งชาติของพรรคเอ็นแอลดี ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโส อาเซ็มเป็นผู้พิจารณาประเมินสถานการณ์และความคืบหน้าของสถานการณ์ในพม่าอีกครั้งหนึ่งต่อไป ซึ่งคาดว่าหากสถานการณ์ในพม่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาในการรับสมาชิกใหม่ของ อาเซ็มก็จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นและจะได้ข้อสรุปก่อนการประชุมผู้นำอาเซ็มที่กรุงฮานอย ประเทศ เวียดนาม ในเดือนตุลาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเอเชียยังคงยึดมั่นในหลักการที่ว่าการรับสมาชิกใหม่ของ อาเซ็มต้องเป็นไปโดยไม่มีเงื่อนไข และพม่า ลาว รวมทั้งกัมพูชาควรจะได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซ็มพร้อมกัน
3. นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือกันเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ รวมทั้ง การสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบพหุภาคี โดยเฉพาะการเน้นบทบาทของสหประชาชาติ และองค์การ การค้าโลก รวมทั้งการพิจารณาแนวทางที่จะลดช่องว่างของความแตกต่างด้านวัฒนธรรม และส่งเสริม ความเข้าใจในความแตกต่างทางอารยธรรมระหว่างประเทศและสังคมต่างๆ ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-