คำสัมภาษณ์ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในรายการ ข่าวยามเช้า ทางคลื่นวิทยุ 101.0 เมกะเฮิรต์ ถึงการเดินทางไปประเทศสิงคโปร์ เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารเมืองแนวใหม่
ไปดูงานที่สิงคโปร์ มีอะไรบ้าง
ผมเดินทางมาตั้งแต่เมื่อวานช่วงเช้า และได้ไปดูงานเกี่ยวกับการบริหารการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดของสิงคโปร์ ซึ่งสิงคโปร์เองก็มีสำนักงานที่เรียกว่าสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งจะดูเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นพวก Pollution Control ต่างๆ ทางด้านอากาศ ทางด้านน้ำเสีย ความสะอาด การจัดเก็บขยะต่างๆ ส่วนวันนี้ก็จะมีโอกาสดูเกี่ยวกับเรื่องแนวทางพัฒนาเมือง ซึ่งของสิงคโปร์เองก็จะมีหน่วยงานที่เรียกว่า Urban Redevelopment Authority ซึ่งจะดูแลเรื่องการพัฒนาเมืองทั้งหมดของสิงคโปร์
ตอนไปได้คุยกับคุณอภิสิทธิ์ว่าอย่างไรบ้าง
ผมคิดว่าแนวทางการทำงาน ความสำคัญคือส่วนหนึ่งนอกเหนือจากการบริหารกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือว่าจำเป็นในการที่จะใช้ประสบการณ์และวิธีการจัดการทางด้านการบริหารเมืองแนวใหม่ที่ผมเรียกว่า New Public Management ผมคิดว่านอกเหนือจากทีมงานซึ่งในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาก็ได้มีโอกาสเปิดตัวทีมผู้บริหาร ที่จะมาเป็นรองผู้ว่าฯ 2 ท่านแล้ว ก็คือแนวทางของการบริหาร ซึ่งถ้าเราสามารถมีโอกาสได้ศึกษาในเมืองหรือในประเทศที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นเมืองที่มีความน่าอยู่ มีความสะอาดเรียบร้อย แล้วก็มีการบริหารจัดการแนวใหม่ ก็จะเป็นประโยชน์ในการที่จะนำมาประยุกต์ใช้ สิงคโปร์เอง ผมคิดว่าล่าสุดที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในเอเชียด้วยซ้ำไป ตรงนี้ถือเป็นโอกาสหนึ่งในการที่จะมาพูดคุยกับผู้บริหารที่ดูแลเกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ดี เรื่องการพัฒนาเมือง
ตั้งเป้ากี่ประเทศ หรือว่าประเทศสิงคโปร์ประเทศเดียวที่จะไปดู
ถือเป็นประเทศแรก เพราะเนื่องจากที่ได้เรียนไปสิงคโปร์ไป ล่าสุดมีการจัดอันดับว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ ผมคิดว่าคนไทยที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวที่สิงคโปร์เองก็คงทราบถึงความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยร่มรื่นของเมือง ในการจัดระบบการจราจรที่มีความเชื่อมโยงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟฟ้า ระบบขนส่ง ก็จะถือว่าเป็นประเทศแรกที่มีโอกาสที่ได้ไปดู และในโอกาสต่อไป ผมคิดว่าก็คงดูตามความเหมาะสมว่าที่ไหนที่จะเป็นประโยชน์ในการนำประสบการณ์ความรู้มาช่วยพัฒนากรุงเทพมหานครต่อไป
ในช่วงกำหนดการวันแรกคือเมื่อวานนี้ได้ไปที่ไหนอย่างไรบ้าง
เมื่อวานจะดูเรื่องการบริหารงานทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยเขาก็ได้มีการจัดให้พบปะกับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานทางด้านสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสิงคโปร์โดยตรง ซึ่งก็ได้ไปเยี่ยมชมด้วย ที่โรงงานที่จำกัดเรื่องขยะโดยมีเตาเผา ผมเล่ารายละเอียดให้ฟังว่าในประเทศไทยของเรา วิธีการดูแลกำจัดขยะของเราคือมีรถเก็บขยะ แล้วก็มารวบรวมในสถานที่ที่เราจะฝังกลบ ในขณะที่สิงคโปร์เองเขาได้มีการเปลี่ยนวิธีการของเขา โดยพื้นที่ของเขาเป็นเกาะซึ่งเป็นพื้นที่น้อยไม่เหมือนกรุงเทพ เขาก็เริ่มในระบบการจัดเก็บโดยการใช้ระบบเตาเผา โดยปัจจุบันเองก็มีอยู่ 4 ที่ก็กระจายอยู่ตามจุดต่างๆของสิงคโปร์ เมื่อวานผมก็ได้ไปเยี่ยมชมระบบของโรงงานที่ดูแลในเรื่องของการจำกัดขยะด้วยวิธีการทำให้เน่าเปื่อย หรือระบบเตาเผา คือเป็นหนึ่งในสถานที่ทั้ง 4 แห่งที่สิงคโปร์มีอยู่
ระบบเตาเผาของสิงคโปร์ ควบคุม Pollution อย่างไร
เรื่องโรงงานที่ได้ไปเยี่ยมชม เป็นเพียงส่วนเดียวในการกำจัดขยะ เพราะเป็นระบบที่เขาใช้มาประมาณ 20 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นก็มีการควบคุมในแง่ของเชื้อเพลิงที่ใช้ และระบบที่ถือว่าพัฒนา ที่ดูแลในเรื่องของปริมาณมลภาวะที่สามารถควบคุมได้ แต่ว่าในการประชุมร่วมกันกับฝ่ายปฏิบัติงาน เขาก็จะมีการแบบ่งแนวทางคร่าวๆ ตั้งแต่ในเรื่องของการวางแผนเบื้องต้นว่า ในการพัฒนาเมืองสิงคโปร์ ก็จะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่ผมจะไปในวันนี้คือ Urban Redevelopment Authority พูดง่ายๆคล้ายบ้านเราคือเรื่องการวางผังเมือง เหมือนกับสำนักผังเมือง มีการวางโซนนิ่งว่าพื้นที่ไหนควรเป็นที่อยู่อาศัย พื้นที่ที่จะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมกลาง เล็ก หรือใหญ่ก็ไม่ควรอยู่ใกล้ พื้นที่ไหนที่จะเป็นพื้นที่ที่เรียกว่า Commercial Zone ในแง่ของการทำธุรกิจการค้าขาย ตรงนี้มีความเชื่อมโยงกัน
บางคนบอกว่ากรุงเทพสายไปแล้วที่จะมาวางผังเมืองทั้งในและรอบนอก หากคุณอภิรักษ์ได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. คิดว่าจะนำมาปรับใช้อย่างไร
ปัจจุบันมีตัวผังเมืองฉบับแก้ไขครั้งที่ 2 ซึ่งอยู่ในวาระที่ได้รับฟังความคิดเห็นของพี่น้องชาวกทม. สิ้นสุดไปเมื่อประมาณเดือนที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้เริ่มประมาณเดือนกรกฎาคม ประเด็นนี้ผมคิดว่าต่างจากสิงคโปร์ เพราะที่สิงคโปร์จะมีการวางผังเมืองที่ดีมาประมาณ 20-30 ปีมาแล้ว ส่วนของบ้านเราผมคิดว่า 1.ถ้าเราสามารถพยายามที่จะจัดการเรื่องของพื้นที่ต่างๆ ที่บอกว่าโรงงานอุตสาหกรรม กับที่อยู่อาศัย ตรงนี้ค่อนข้างชัดเจนว่าตอนนี้จะอยู่ในเขตกรุงเทพรอบนอก แต่สิ่งที่มีความสำคัญผมคิดว่าเป็นเรื่องของงการดูแลควบุคมทางด้านมลภาวะและสิ่งแวดล้อม เพราะปัจจุบันกรุงเทพเองส่วนใหญ่เราจะมีปัญหาจำกัดอยู่ที่กรุงเทพชั้นใน ไม่ว่าจะเป็นปัญหารถติด อากาศเสีย ขยะมูลฝอย เพราะว่าการพัฒนามันไม่กระจายออกไปรอบนอก เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะทำ ผมจะทำควบคู่กับการกระจายการพัฒนา โดยการกระจายระบบสาธารณูปโภค กระจายการพัฒนาทางด้านที่ทำมาหากิน คุณภาพของโรงเรียน คุณภาพของสถานพยาบาลต่างๆให้ครอบคลุมรอบนอก ซึ่งจะทำให้คนมีทางเลือก ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาหากิน มาส่งลูก หรือว่ามาติดต่อสถานที่ต่างๆในเขตกรุงเทพชั้นใน
ประสบการณ์ต่างๆคงจะได้มีการปรับใช้บางส่วนเท่านั้น เพราะกรุงเทพมีปัญหาที่ต้องเรียกว่าสลับซับซ้อน
เราคงไม่ได้ไปเลียนแบบเขา ก็คงจะเห็นแนวทางที่เป็นระบบ และผมคิดว่าคงได้การยอวมรับในแง่ของการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพของสิงคโปร์
นอกจากนี้ยังเห็นกำหนดการคุณอภิรักษ์จะไป สภาพัฒนาการการมีส่วนร่วมของประชาชนชาวสิงคโปร์ด้วย จะเป็นอย่างไรบ้าง
ในส่วนของหน่วยงานตรงนี้ สิงคโปร์เองค่อนข้างส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ เขาก็มีหน่วยงานที่เรียกกันว่าสภาพัฒนาการการมีส่วนร่วมของประชาชนชาวสิงคโปร์ ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีการแบ่งเป็น Community Development County คือจริงๆแล้วสิงค์โปร์เองก็ไม่ใหญ่มาก มีประชาชนแค่ 4 ล้านคน ซึ่งถ้าถามก็เล็กกว่ากรุงเทพชั้นใน แต่การแบ่งก็แบ่งเป็นเขตพื้นที่ และในแต่ละพื้นที่ที่เรียกว่า Community Development County ก็จะมี Major ซึ่งจะเรียกว่านายกเทศมนตรีในแต่ละพื้นที่ ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้ผมจะได้มีโอกาสพบกับ Major ท่านหนึ่งของ Area ที่เรียกว่า South East Community Development County กับอีกส่วนหนึ่งเขาก็จะจัดกำหนดการให้ไปดู ซึ่งเขาจัดเป็นรูปแบบใหม่เลยคือ New town ซึ่งมีการจัดระบบสาธารณูปโภค จัดระบบการศึกษา สาธารณสุขต่างๆ และสิ่งแวดล้อม และได้รับรางวัลกับทางยูเอ็นว่าเป็น New Town หรือเมืองใหม่ ได้รับการพัฒนาที่สมบูรณ์ที่สุดเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา
สิงคโปร์มีนายกเทศมนตรีกี่คน
เข้าใจว่าสไตล์การทำงานประมาณ 4-5 โซน ซึ่งในช่วงบ่ายนี้ผมจะมีโอกาสได้ ก็คงจะมีการเล่ารายละเอียดให้ฟัง แต่คงจะแตกต่างจากกรุงเทพ เพราะกรุงเทพ ถือว่าเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย แต่ที่สิงคโปร์คือประเทศ คือไม่ใช่เมืองหลวงโดยตรง แต่จะมีการแบ่งเป็นโซนโดยจะมี Major ในแต่ละ Area ด้วย
ตอนนี้ประชาธิปัตย์จะพยายามหยิบยกประเด็นที่คุณอภิรักษ์เป็นคนรุ่นใหม่ และจะมาพร้อมกับการบริหารจัดการมหานครรูปแบบใหม่ ความใหม่ที่จะนำเข้ามานอกเหนือจากการดูงานในประเทศต่างๆแล้ว คิดว่าวิธีการจัดการให้กรุงเทพเป็นมหานครรูปแบบใหม่จะเป็นอย่างไร
ทางที่มองคือ จะมองประชาชนเป็นศูนย์กลาง และในวิธีการก็จะดูว่าพี่น้องชาวกทม.ที่อาศัยอยู่ต่างพื้นที่ต่างๆ ที่มีสถานภาพต่างๆ ประกอบอาชีพที่มีความแตกต่างกัน มีความต้องการอะไรที่เป็นพื้นฐาน ในเรื่องที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และหลังจากนั้นก็จะดูในแง่ของนโยบายที่เป็นรายละเอียด ส่วนหนนึ่งในช่วง 60 วันที่ผ่านมา ผมก็มีโอกาสสำรวจทั้งในเรื่องของการทำวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างโดยตรง มีการตั้งศูนย์กรุงเทพของเรา เพื่อให้คนโทรเขามา เพราะฉะนั้นปัญหาหลักที่คนกรุงเทพเป็นห่วง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจราจรติดขัด เรื่องขยะมูลฝอย ความสะอาด สิ่งแวดล้อมต่างๆ เรื่องความปลอดภัย เรื่องคุณภาพชีวิต ผมคิดว่าจะเป็นแนวทางที่จะทำงานโดยการดึงพี่น้องประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในเรื่องของการสร้างจิตสำนึกในเรื่องของวินัยต่างๆ ที่ยังมีความจำเป็นในบางพื้นที่ และการกระจายการพัฒนาความเจริญออกไปในส่วนรอบนอกให้มากขึ้น อันนี้ก็เป็นเรื่องแรกในการบริหารงานแนวใหม่ที่จะมองประชาชนเป็นศูนย์กลาง
อีกส่วนคือการร่วมกับข้าราชการกทม.กับพนักงานทั้งหมดกว่า 8 หมื่นคน ร่วมกับทีมงานฝ่ายบริหาร ซึ่งได้เยเรียนไปแล้วว่าทีมรองผู้ว่า 4 คน ที่ปรึกษาอีก 9 คนก็จะเป็นคนที่มีประสบการณ์เฉพาะด้าน อย่าง 2 ท่านที่ได้มีโอกาสเปิดตัวแนะนำมาไม่ว่าจะเป็นดร.วัลลภ สุวรรณคีรี ก็เป็นผู้มีประสบการณ์การด้านการศึกษา เป็นกรรมการการปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติมานาน ตรงนี้ก็โดยตรงเกี่ยวกับด้านการศึกษา แล้วก็คุณธนิต วิกิตเศรษฐ์ ก็เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านการเงินมาโดยตรง อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่จะนำวิธีการจัดงานสมัยใหม่ เทคโนโลยีสมัยใหม่มาบริหารกรุงเทพ ร่วมกับกิจการกทม.ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและให้บริการที่ดีที่สุดให้กับพี่น้องประชาชน
จะเปิดตัวแบบ Full ทีมได้เมื่อไหร่
ก็คงจะทยอย อีกส่วนหนึ่งก็หวังว่าภายในเดือนพฤษภาคม ก็น่าจะมีหน้าตาหรือทีมงานผู้บริหารท่านอื่น พร้อมกับแนวทางการทำงานออกมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และหลังจากที่ผมกลับมาในวันพรุ่งนี้ (22 เม.ย.47) ก็จะมีการแถลงข่าวเวลา 13.30น.ที่ศูนย์กรุงเทพของเรา พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งแนวทางหลายอย่างงที่เป็นประโยชน์ก็จะนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นแนวนโยบายของกรุงเทพต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21/04/47--จบ--
-สส-
ไปดูงานที่สิงคโปร์ มีอะไรบ้าง
ผมเดินทางมาตั้งแต่เมื่อวานช่วงเช้า และได้ไปดูงานเกี่ยวกับการบริหารการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดของสิงคโปร์ ซึ่งสิงคโปร์เองก็มีสำนักงานที่เรียกว่าสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งจะดูเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นพวก Pollution Control ต่างๆ ทางด้านอากาศ ทางด้านน้ำเสีย ความสะอาด การจัดเก็บขยะต่างๆ ส่วนวันนี้ก็จะมีโอกาสดูเกี่ยวกับเรื่องแนวทางพัฒนาเมือง ซึ่งของสิงคโปร์เองก็จะมีหน่วยงานที่เรียกว่า Urban Redevelopment Authority ซึ่งจะดูแลเรื่องการพัฒนาเมืองทั้งหมดของสิงคโปร์
ตอนไปได้คุยกับคุณอภิสิทธิ์ว่าอย่างไรบ้าง
ผมคิดว่าแนวทางการทำงาน ความสำคัญคือส่วนหนึ่งนอกเหนือจากการบริหารกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือว่าจำเป็นในการที่จะใช้ประสบการณ์และวิธีการจัดการทางด้านการบริหารเมืองแนวใหม่ที่ผมเรียกว่า New Public Management ผมคิดว่านอกเหนือจากทีมงานซึ่งในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาก็ได้มีโอกาสเปิดตัวทีมผู้บริหาร ที่จะมาเป็นรองผู้ว่าฯ 2 ท่านแล้ว ก็คือแนวทางของการบริหาร ซึ่งถ้าเราสามารถมีโอกาสได้ศึกษาในเมืองหรือในประเทศที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นเมืองที่มีความน่าอยู่ มีความสะอาดเรียบร้อย แล้วก็มีการบริหารจัดการแนวใหม่ ก็จะเป็นประโยชน์ในการที่จะนำมาประยุกต์ใช้ สิงคโปร์เอง ผมคิดว่าล่าสุดที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในเอเชียด้วยซ้ำไป ตรงนี้ถือเป็นโอกาสหนึ่งในการที่จะมาพูดคุยกับผู้บริหารที่ดูแลเกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ดี เรื่องการพัฒนาเมือง
ตั้งเป้ากี่ประเทศ หรือว่าประเทศสิงคโปร์ประเทศเดียวที่จะไปดู
ถือเป็นประเทศแรก เพราะเนื่องจากที่ได้เรียนไปสิงคโปร์ไป ล่าสุดมีการจัดอันดับว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ ผมคิดว่าคนไทยที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวที่สิงคโปร์เองก็คงทราบถึงความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยร่มรื่นของเมือง ในการจัดระบบการจราจรที่มีความเชื่อมโยงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟฟ้า ระบบขนส่ง ก็จะถือว่าเป็นประเทศแรกที่มีโอกาสที่ได้ไปดู และในโอกาสต่อไป ผมคิดว่าก็คงดูตามความเหมาะสมว่าที่ไหนที่จะเป็นประโยชน์ในการนำประสบการณ์ความรู้มาช่วยพัฒนากรุงเทพมหานครต่อไป
ในช่วงกำหนดการวันแรกคือเมื่อวานนี้ได้ไปที่ไหนอย่างไรบ้าง
เมื่อวานจะดูเรื่องการบริหารงานทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยเขาก็ได้มีการจัดให้พบปะกับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานทางด้านสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสิงคโปร์โดยตรง ซึ่งก็ได้ไปเยี่ยมชมด้วย ที่โรงงานที่จำกัดเรื่องขยะโดยมีเตาเผา ผมเล่ารายละเอียดให้ฟังว่าในประเทศไทยของเรา วิธีการดูแลกำจัดขยะของเราคือมีรถเก็บขยะ แล้วก็มารวบรวมในสถานที่ที่เราจะฝังกลบ ในขณะที่สิงคโปร์เองเขาได้มีการเปลี่ยนวิธีการของเขา โดยพื้นที่ของเขาเป็นเกาะซึ่งเป็นพื้นที่น้อยไม่เหมือนกรุงเทพ เขาก็เริ่มในระบบการจัดเก็บโดยการใช้ระบบเตาเผา โดยปัจจุบันเองก็มีอยู่ 4 ที่ก็กระจายอยู่ตามจุดต่างๆของสิงคโปร์ เมื่อวานผมก็ได้ไปเยี่ยมชมระบบของโรงงานที่ดูแลในเรื่องของการจำกัดขยะด้วยวิธีการทำให้เน่าเปื่อย หรือระบบเตาเผา คือเป็นหนึ่งในสถานที่ทั้ง 4 แห่งที่สิงคโปร์มีอยู่
ระบบเตาเผาของสิงคโปร์ ควบคุม Pollution อย่างไร
เรื่องโรงงานที่ได้ไปเยี่ยมชม เป็นเพียงส่วนเดียวในการกำจัดขยะ เพราะเป็นระบบที่เขาใช้มาประมาณ 20 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นก็มีการควบคุมในแง่ของเชื้อเพลิงที่ใช้ และระบบที่ถือว่าพัฒนา ที่ดูแลในเรื่องของปริมาณมลภาวะที่สามารถควบคุมได้ แต่ว่าในการประชุมร่วมกันกับฝ่ายปฏิบัติงาน เขาก็จะมีการแบบ่งแนวทางคร่าวๆ ตั้งแต่ในเรื่องของการวางแผนเบื้องต้นว่า ในการพัฒนาเมืองสิงคโปร์ ก็จะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่ผมจะไปในวันนี้คือ Urban Redevelopment Authority พูดง่ายๆคล้ายบ้านเราคือเรื่องการวางผังเมือง เหมือนกับสำนักผังเมือง มีการวางโซนนิ่งว่าพื้นที่ไหนควรเป็นที่อยู่อาศัย พื้นที่ที่จะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมกลาง เล็ก หรือใหญ่ก็ไม่ควรอยู่ใกล้ พื้นที่ไหนที่จะเป็นพื้นที่ที่เรียกว่า Commercial Zone ในแง่ของการทำธุรกิจการค้าขาย ตรงนี้มีความเชื่อมโยงกัน
บางคนบอกว่ากรุงเทพสายไปแล้วที่จะมาวางผังเมืองทั้งในและรอบนอก หากคุณอภิรักษ์ได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. คิดว่าจะนำมาปรับใช้อย่างไร
ปัจจุบันมีตัวผังเมืองฉบับแก้ไขครั้งที่ 2 ซึ่งอยู่ในวาระที่ได้รับฟังความคิดเห็นของพี่น้องชาวกทม. สิ้นสุดไปเมื่อประมาณเดือนที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้เริ่มประมาณเดือนกรกฎาคม ประเด็นนี้ผมคิดว่าต่างจากสิงคโปร์ เพราะที่สิงคโปร์จะมีการวางผังเมืองที่ดีมาประมาณ 20-30 ปีมาแล้ว ส่วนของบ้านเราผมคิดว่า 1.ถ้าเราสามารถพยายามที่จะจัดการเรื่องของพื้นที่ต่างๆ ที่บอกว่าโรงงานอุตสาหกรรม กับที่อยู่อาศัย ตรงนี้ค่อนข้างชัดเจนว่าตอนนี้จะอยู่ในเขตกรุงเทพรอบนอก แต่สิ่งที่มีความสำคัญผมคิดว่าเป็นเรื่องของงการดูแลควบุคมทางด้านมลภาวะและสิ่งแวดล้อม เพราะปัจจุบันกรุงเทพเองส่วนใหญ่เราจะมีปัญหาจำกัดอยู่ที่กรุงเทพชั้นใน ไม่ว่าจะเป็นปัญหารถติด อากาศเสีย ขยะมูลฝอย เพราะว่าการพัฒนามันไม่กระจายออกไปรอบนอก เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะทำ ผมจะทำควบคู่กับการกระจายการพัฒนา โดยการกระจายระบบสาธารณูปโภค กระจายการพัฒนาทางด้านที่ทำมาหากิน คุณภาพของโรงเรียน คุณภาพของสถานพยาบาลต่างๆให้ครอบคลุมรอบนอก ซึ่งจะทำให้คนมีทางเลือก ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาหากิน มาส่งลูก หรือว่ามาติดต่อสถานที่ต่างๆในเขตกรุงเทพชั้นใน
ประสบการณ์ต่างๆคงจะได้มีการปรับใช้บางส่วนเท่านั้น เพราะกรุงเทพมีปัญหาที่ต้องเรียกว่าสลับซับซ้อน
เราคงไม่ได้ไปเลียนแบบเขา ก็คงจะเห็นแนวทางที่เป็นระบบ และผมคิดว่าคงได้การยอวมรับในแง่ของการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพของสิงคโปร์
นอกจากนี้ยังเห็นกำหนดการคุณอภิรักษ์จะไป สภาพัฒนาการการมีส่วนร่วมของประชาชนชาวสิงคโปร์ด้วย จะเป็นอย่างไรบ้าง
ในส่วนของหน่วยงานตรงนี้ สิงคโปร์เองค่อนข้างส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ เขาก็มีหน่วยงานที่เรียกกันว่าสภาพัฒนาการการมีส่วนร่วมของประชาชนชาวสิงคโปร์ ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีการแบ่งเป็น Community Development County คือจริงๆแล้วสิงค์โปร์เองก็ไม่ใหญ่มาก มีประชาชนแค่ 4 ล้านคน ซึ่งถ้าถามก็เล็กกว่ากรุงเทพชั้นใน แต่การแบ่งก็แบ่งเป็นเขตพื้นที่ และในแต่ละพื้นที่ที่เรียกว่า Community Development County ก็จะมี Major ซึ่งจะเรียกว่านายกเทศมนตรีในแต่ละพื้นที่ ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้ผมจะได้มีโอกาสพบกับ Major ท่านหนึ่งของ Area ที่เรียกว่า South East Community Development County กับอีกส่วนหนึ่งเขาก็จะจัดกำหนดการให้ไปดู ซึ่งเขาจัดเป็นรูปแบบใหม่เลยคือ New town ซึ่งมีการจัดระบบสาธารณูปโภค จัดระบบการศึกษา สาธารณสุขต่างๆ และสิ่งแวดล้อม และได้รับรางวัลกับทางยูเอ็นว่าเป็น New Town หรือเมืองใหม่ ได้รับการพัฒนาที่สมบูรณ์ที่สุดเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา
สิงคโปร์มีนายกเทศมนตรีกี่คน
เข้าใจว่าสไตล์การทำงานประมาณ 4-5 โซน ซึ่งในช่วงบ่ายนี้ผมจะมีโอกาสได้ ก็คงจะมีการเล่ารายละเอียดให้ฟัง แต่คงจะแตกต่างจากกรุงเทพ เพราะกรุงเทพ ถือว่าเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย แต่ที่สิงคโปร์คือประเทศ คือไม่ใช่เมืองหลวงโดยตรง แต่จะมีการแบ่งเป็นโซนโดยจะมี Major ในแต่ละ Area ด้วย
ตอนนี้ประชาธิปัตย์จะพยายามหยิบยกประเด็นที่คุณอภิรักษ์เป็นคนรุ่นใหม่ และจะมาพร้อมกับการบริหารจัดการมหานครรูปแบบใหม่ ความใหม่ที่จะนำเข้ามานอกเหนือจากการดูงานในประเทศต่างๆแล้ว คิดว่าวิธีการจัดการให้กรุงเทพเป็นมหานครรูปแบบใหม่จะเป็นอย่างไร
ทางที่มองคือ จะมองประชาชนเป็นศูนย์กลาง และในวิธีการก็จะดูว่าพี่น้องชาวกทม.ที่อาศัยอยู่ต่างพื้นที่ต่างๆ ที่มีสถานภาพต่างๆ ประกอบอาชีพที่มีความแตกต่างกัน มีความต้องการอะไรที่เป็นพื้นฐาน ในเรื่องที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และหลังจากนั้นก็จะดูในแง่ของนโยบายที่เป็นรายละเอียด ส่วนหนนึ่งในช่วง 60 วันที่ผ่านมา ผมก็มีโอกาสสำรวจทั้งในเรื่องของการทำวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างโดยตรง มีการตั้งศูนย์กรุงเทพของเรา เพื่อให้คนโทรเขามา เพราะฉะนั้นปัญหาหลักที่คนกรุงเทพเป็นห่วง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจราจรติดขัด เรื่องขยะมูลฝอย ความสะอาด สิ่งแวดล้อมต่างๆ เรื่องความปลอดภัย เรื่องคุณภาพชีวิต ผมคิดว่าจะเป็นแนวทางที่จะทำงานโดยการดึงพี่น้องประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในเรื่องของการสร้างจิตสำนึกในเรื่องของวินัยต่างๆ ที่ยังมีความจำเป็นในบางพื้นที่ และการกระจายการพัฒนาความเจริญออกไปในส่วนรอบนอกให้มากขึ้น อันนี้ก็เป็นเรื่องแรกในการบริหารงานแนวใหม่ที่จะมองประชาชนเป็นศูนย์กลาง
อีกส่วนคือการร่วมกับข้าราชการกทม.กับพนักงานทั้งหมดกว่า 8 หมื่นคน ร่วมกับทีมงานฝ่ายบริหาร ซึ่งได้เยเรียนไปแล้วว่าทีมรองผู้ว่า 4 คน ที่ปรึกษาอีก 9 คนก็จะเป็นคนที่มีประสบการณ์เฉพาะด้าน อย่าง 2 ท่านที่ได้มีโอกาสเปิดตัวแนะนำมาไม่ว่าจะเป็นดร.วัลลภ สุวรรณคีรี ก็เป็นผู้มีประสบการณ์การด้านการศึกษา เป็นกรรมการการปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติมานาน ตรงนี้ก็โดยตรงเกี่ยวกับด้านการศึกษา แล้วก็คุณธนิต วิกิตเศรษฐ์ ก็เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านการเงินมาโดยตรง อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่จะนำวิธีการจัดงานสมัยใหม่ เทคโนโลยีสมัยใหม่มาบริหารกรุงเทพ ร่วมกับกิจการกทม.ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและให้บริการที่ดีที่สุดให้กับพี่น้องประชาชน
จะเปิดตัวแบบ Full ทีมได้เมื่อไหร่
ก็คงจะทยอย อีกส่วนหนึ่งก็หวังว่าภายในเดือนพฤษภาคม ก็น่าจะมีหน้าตาหรือทีมงานผู้บริหารท่านอื่น พร้อมกับแนวทางการทำงานออกมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และหลังจากที่ผมกลับมาในวันพรุ่งนี้ (22 เม.ย.47) ก็จะมีการแถลงข่าวเวลา 13.30น.ที่ศูนย์กรุงเทพของเรา พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งแนวทางหลายอย่างงที่เป็นประโยชน์ก็จะนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นแนวนโยบายของกรุงเทพต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21/04/47--จบ--
-สส-