การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 22, 2004 10:56 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

          การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ระหว่างวันที่ 20-21 
เมษายน 2547 ณ เกาะเซนโทซา สิงคโปร์
นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะนำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วม
การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Economic Ministers Retreat:
AEM Retreat) ครั้งที่ 10 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 เมษายน 2547 ณ เกาะเซนโทซา ประเทศ
สิงคโปร์ โดยก่อนหน้าจะมีการประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน
(High-Level Task Force on ASEAN Economic Integration) ซึ่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายการุณ
กิตติสถาพร) เป็นประธานการประชุม HLTF ในวันที่ 20 เมษายน 2547 เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการเร่ง
รัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน
ในการประชุมครั้งนี้ AEM จะพิจารณากำหนดแนวนโยบายการดำเนินการสู่การเป็นประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ดังนี้
1. การเร่งรัดการเปิดเสรีของสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา AEM จะพิจารณากำหนดแนว
นโยบายการจัดทำ roadmap สำหรับการรวมกลุ่มสินค้าและบริการของอาเซียน 11 สาขา ได้แก่ สินค้าเกษตร
สินค้าประมง (พม่า) ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ (อินโดนีเซีย) ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ (มาเลเซีย) อิเล็กทรอนิกส์
(ฟิลิปปินส์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพ (สิงคโปร์) การท่องเที่ยว และการบิน
(ไทย) เพื่อให้สามารถสรุปผลการดำเนินงานให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียนที่จะจัดขึ้นในเดือน
พฤศจิกายน 2547 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อเสนอผู้นำพิจารณาลงนามความตกลงการ
รวมกลุ่มสินค้าและบริการรายสาขา ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติโดยเร็ว
2. การปรับปรุงสถาบัน/กลไกการดำเนินงานของอาเซียน ในการปรับกลไกการระงับข้อพิพาท
ของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากอาเซียนได้เริ่มจัดตั้งหน่วยงานเพื่อดูแลแก้ไขปัญหาของเอกชน
(ASEAN Consultation to Solve Trade and Investment Issues: ACT) ขึ้นในแต่ประเทศ
สมาชิกแล้ว AEM จะพิจารณาให้การรับรองขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานติดตามตรวจสอบการ
ดำเนินงานของสมาชิกอาเซียน (ASEAN Compliance Body: ACB) และรับทราบความคืบหน้าการยกร่าง
พิธีสารแก้ไขความตกลงการระงับข้อพิพาทของอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเสนอร่างพิธีสารดังกล่าวให้ AEM
พิจารณาลงนามได้ในเดือนกันยายน 2547 นี้
3. ประเด็นที่ทำให้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนไม่สามารถคืบหน้าได้ เช่น การ
ขยายขอบข่ายความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA) ให้คลุมสาขาบริการ
ต่างๆ จะมีการหารือกันระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) และรัฐมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน (AIA
Minister) เพื่อหาข้อสรุปและแนวทางดำเนินการ สำหรับคณะกรรมการประสานงานด้านการบริการ
(Coordinating Committee on Services: CCS) และด้านการลงทุน (Coordinating Committee
on Investment:CCI) ใช้เป็นหลักปฏิบัติต่อไป
4. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ที่ประชุมจะพิจารณาแนว
นโยบายในการกำหนดรูปแบบการลดภาษีสำหรับการเจรจาเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน การผลักดันให้ญี่ปุ่นให้
ความสำคัญต่อการจัดทำความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าอย่างใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น และกำหนดทิศ
ทางความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ (CER)
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะเข้าร่วมลงนามในพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงพื้นฐานว่า
ด้วยโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (Basic Agreement on the ASEAN
Industrial Cooperation Scheme: AICO) ซึ่งสมาชิกอาเซียนจะให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากร
สำหรับผลิตภัณฑ์ภายใต้ AICO เป็นร้อยละ 0 ภายในปี 2005 (ยกเว้นเวียดนาม ภายในปี 2006) ซึ่งจะมี
ส่วนสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมทางด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนในภูมิภาคอาเซียนให้
กว้างขวางมากยิ่งขึ้น และสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community:
AEC) ในระยะต่อไป
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวร
นิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ