ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้คงดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วันไว้ที่ระดับร้อยละ 1.25 เช่น
เดิม ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ
นโยบายการเงินได้พิจารณาถึงภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านมา รวมทั้งแนวโน้มในอนาคต เพื่อกำหนดนโยบายการเงิน
ที่เหมาะสม โดยคณะกรรมการประเมินเศรษฐกิจในประเทศว่ามีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุน
ทั้งด้านการใช้จ่ายในประเทศและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แม้แรงกดดันราคามีแนวโน้มสูงขึ้น แต่อัตราเงิน
เฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในเป้าหมาย ดังนั้น จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ระยะ 14 วัน
ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.25 คงเดิม อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการมีความเห็นว่า ควรติดตามเรื่องหลัก 3 ประเด็น
คือ แนวโน้มเงินเฟ้อต่างประเทศ ราคาน้ำมัน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างใกล้ชิด เพราะอาจมีผลต่อระดับ
ราคาในประเทศในระยะต่อไป ทั้งนี้ ราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้ต้องปรับ
ประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจใหม่ตามการกำหนดแบบจำลองเศรษฐกิจ ส่วนแนวโน้มที่ ธ.กลางสหรัฐจะปรับ
อัตราดอกเบี้ยขึ้นจากเดิมนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยของไทยแต่อย่างใด เนื่องจากดอกเบี้ยของ
ไทยไม่ได้ผูกติดกับอัตราดอกเบี้ยของเฟด แต่อาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อของโลกและของไทย ซึ่งคณะกรรมการ
ให้ ธปท.ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์)
2. ก.คลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำกรอบตัวเลขเศรษฐกิจอีก 5 ปีข้างหน้าใหม่ รมว.คลัง
เปิดเผยว่า ในการหารือร่วมกับผู้บริหารทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า
ในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2548-2551) จะให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 7-8 โดยมี
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยประมาณร้อยละ 2-3 รวมถึงจะมีการจัดทำงบประมาณแบบสมดุลได้ตั้งแต่ปี 48 ไปตลอด 5
ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ให้ระดับภาระหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศไม่เกินร้อยละ 50 โดย
จะควบคุมให้อยู่ประมาณร้อยละ 40 ส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15 โดยจะควบคุมให้อยู่ประมาณ
ร้อยละ 12 และมีสัดส่วนงบการลงทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของงบประมาณ โดยที่การจัดเก็บภาษีจะไม่เป็น
ปัญหา และสัดส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติจะไม่เกินร้อยละ 50 (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยรัฐ)
3. ครม.มีมติให้ต่ออายุมาตรการภาษีสำหรับบริษัทที่จะจดทะเบียนใน ตลท. และตลาดหลักทรัพย์ใหม่
รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้ ก.คลังต่ออายุมาตรการภาษีสำหรับบริษัทที่
จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ออกไปอีก 1 ปี จากเดิม
ที่จะหมดอายุในวันที่ 5 ก.ย.47 เนื่องจากเห็นว่ามีบริษัทเอกชนกว่า 140 บริษัทที่อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดง
รายการ (ไฟล์ลิ่ง) ข้อมูล เพื่อเสนอขายหุ้นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวเป็นการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับบริษัทเอกชนที่จะเข้าจดทะเบียนใน ตลท.จากเดิม
ที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 เหลือเพียงร้อยละ 25 และบริษัทเอกชนที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่
จะได้รับการลดภาษีนิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 เป็นระยะเวลา 5 รอบบัญชีนับจากวันที่เข้าจด
ทะเบียน (เดลินิวส์, ผู้จัดการรายวัน)
4. ผลประกอบการของ ธพ.ไทยในไตรมาสแรกของปี 47 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 86.98
เทียบต่อไตรมาส รายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ผลประกอบการของ
ธพ.ไทยทั้ง 13 แห่ง มีกำไรสุทธิ 25,795.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 12,000.02 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 86.98 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 13,795.71 ล้านบาท โดย ธ.ไทย
ธนาคารมีกำไรสุทธิเติบโตมากที่สุดคือ 183.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 148.17 ล้านบาท หรือร้อยละ 425.04
รองลงมา คือ ธ.ยูโอบี รัตนสิน มีกำไรสุทธิ 14.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.85 ล้านบาท หรือร้อยละ 236.07
เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 46 ที่ขาดทุนสุทธิ 10.95 ล้านบาท (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
5. ธ.ไทยธนาคารคาดการณ์การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 16-20
ธ.ไทยธนาคารได้เผยแพร่ บทวิเคราะห์เรื่อง “แนวโน้มการลงทุนในไตรมาสที่ 2” โดยคาดการณ์ว่า การลง
ทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 ปี 47 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 16-20 โดยปัจจัยสนับสนุนมาจากการที่การ
ส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่ภาคอุตสาหกรรมมีการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้น โดย
บางภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงเกินร้อยละ 100 รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ
ก็ส่งผลให้มีการลงทุนขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. กรีนสแปนกล่าวว่า ธ.กลาง สรอ.เตรียมจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแต่ไม่ระบุเวลาที่แน่นอน
จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 21 เม.ย.47 นายอลัน กรีนสแปน
ประธาน ธ.กลาง สรอ. ได้กล่าวต่อคณะกรรมาธิการร่วมด้านเศรษฐกิจของรัฐสภา สรอ.ว่า ภาวะเงินฝืดที่
สรอ.เผชิญมาเป็นเวลายาวนานได้สิ้นสุดลงแล้ว และ ธ.กลาง สรอ.กำลังติดตามภาวะเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด
เพื่อเตรียมประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเป็นเมื่อไร ประธาน ธ.กลาง สรอ.
ได้อ้างถึงการขึ้นราคาของวัตถุดิบและน้ำมันเชื้อเพลิงว่าเป็นสัญญาณแสดงถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจ สรอ.
และเศรษฐกิจโลก แต่ประสิทธิภาพในการผลิตที่เพิ่มขึ้นทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้โดยไม่ต้องขึ้นค่าแรงซึ่งเป็น
สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ผลิตต้องขึ้นราคาสินค้า และช่วยให้ภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม จึงไม่มีความจำ
เป็นเร่งด่วนที่ ธ.กลาง สรอ.จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของ สรอ.อยู่
ที่ร้อยละ 1.0 ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2501 หลังจาก ธ.กลาง สรอ.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย 13 ครั้ง เพื่อ
กระตุ้นเศรษฐกิจจากภาวะถดถอยในปี 44 และจากผลกระทบของการก่อวินาศกรรมเมื่อ 11 ก.ย.44 (รอยเตอร์)
2. IMF คาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 47 จะเติบโตร้อยละ 3.4 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
วันที่ 21 เม.ย.47 IMF เปิดเผยว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 47 จะเติบโตสูงสุดตามที่คาดการณ์ไว้คือ ร้อยละ
3.4 หรือร้อยละ1.9 ในปี 48 ส่วนปี 46 คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 2.7 สูงกว่าที่ IMF คาดการณ์ไว้เมื่อ
เดือน ก.ย.46 ร้อยละ 0.7 แต่ความเสี่ยงจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีเพิ่มมากขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 47 จะมีอัตราการเติบโตสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่อง
จากการเติบโตและความต้องการสินค้าของประเทศคู่ค้าหลักอย่างเช่น สรอ. และประเทศในแถบเอเชียเพิ่ม
สูงขึ้น รวมถึงการทำไรของบริษัทเอกชนยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง มีการจ่ายโบนัส ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการ
บริโภคเพิ่มขึ้น รวมทั้งความมีเสถียรภาพของตลาดแรงงาน แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่จากการแข็งตัวขึ้นของ
ค่าเงินเยนที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก อย่างไรก็ตาม IMF เตือนว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่น
คงของญี่ปุ่นมีปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความรวดเร็วในการปฏิรูปโครงสร้างภาคการธนาคารและบริษัท
เอกชน ซึ่งยังมีหลายเรื่องที่จำเป็นต้องทำให้เสร็จสิ้น โดย IMF ได้กล่าวชื่นชม ธ.กลางญี่ปุ่นในความ
พยายามที่จะปรับปรุงนโยบายการเงินเพื่อแก้ภาวะเงินฝืดของประเทศ รวมทั้งการตั้งเป้าภาวะเงินเฟ้อใน
ระยะปานกลางด้วย ส่วนการปรับโครงสร้างการขาดดุลงบประมาณของญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 46 และ 47 ที่ไม่
รวมการสนับสนุนจากภาคการธนาคารคาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.75 ของจีดีพี (รอยเตอร์)
3. จีนต้องการดำเนินนโยบายค่าเงินหยวนลอยตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินในตะกร้า รายงาน
จากลอนดอน เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 47 ผู้บริหารอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของจีนกล่าวว่า จีนไม่
ต้องการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อีกต่อไปและกำลังวางแผนที่จะดำเนินนโยบายค่าเงินหยวนลอยตัวเมื่อ
เทียบกับสกุลเงินสำคัญในตะกร้าเงิน แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่จะเริ่มดำเนินการ โดยเขาไม่คิดว่าระบบ
อัตราแลกเปลี่ยนคงที่จะดี แต่คิดว่าระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเป็นทางเลือกที่ดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการปฎิรูป
เพื่อการควบคุมเงินทุนและใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมตลาดด้วย ซึ่งในอดีตจีนก็เคยดำเนินนโยบายในระบบนี้
ระบบลอยตัวจะใช้อ้างอิงจากสกุลเงินในตะกร้าเงิน ทั้งนี้ทางการสรอ. ได้กดดันจีนให้ปรับค่าเงินหยวนจากที่
เคยผูกค่าเงินหยวนไว้กับเงินดอลลาร์สรอ.ที่ระดับประมาณ 8.28 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้สินค้าส่ง
ออกของจีนมีราคาถูกซึ่งไม่เป็นธรรมเมื่อเทียบต้นทุนกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสรอ. ซึ่งรัฐบาลจีนได้ต่อ
ต้านการกดดันดังกล่าว และกล่าวว่าจะดำเนินการปรับค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นมากขึ้น แต่จะไม่ปรับค่าเงินหยวน
ให้แข็งขึ้นเนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนว่าเงินหยวนมีค่าต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่ นอกจากนั้นในไตรมาส
แรกปีนี้การขาดดุลการค้าของจีนอาจจะถูกชดเชยจากเงินทุนไหลเข้า และ ธ.กลางสรอ. อาจจะปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยในปีนี้ซึ่งจะลดแรงกดดันที่มีต่อค่าเงินหยวนของจีนด้วย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 เม.ย. 47 21 เม.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.519 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.3016/39.5849 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 706.65/26.17 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,350/7,450 7,350/7,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.3 31.4 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้คงดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วันไว้ที่ระดับร้อยละ 1.25 เช่น
เดิม ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ
นโยบายการเงินได้พิจารณาถึงภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านมา รวมทั้งแนวโน้มในอนาคต เพื่อกำหนดนโยบายการเงิน
ที่เหมาะสม โดยคณะกรรมการประเมินเศรษฐกิจในประเทศว่ามีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุน
ทั้งด้านการใช้จ่ายในประเทศและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แม้แรงกดดันราคามีแนวโน้มสูงขึ้น แต่อัตราเงิน
เฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในเป้าหมาย ดังนั้น จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ระยะ 14 วัน
ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.25 คงเดิม อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการมีความเห็นว่า ควรติดตามเรื่องหลัก 3 ประเด็น
คือ แนวโน้มเงินเฟ้อต่างประเทศ ราคาน้ำมัน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างใกล้ชิด เพราะอาจมีผลต่อระดับ
ราคาในประเทศในระยะต่อไป ทั้งนี้ ราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้ต้องปรับ
ประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจใหม่ตามการกำหนดแบบจำลองเศรษฐกิจ ส่วนแนวโน้มที่ ธ.กลางสหรัฐจะปรับ
อัตราดอกเบี้ยขึ้นจากเดิมนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยของไทยแต่อย่างใด เนื่องจากดอกเบี้ยของ
ไทยไม่ได้ผูกติดกับอัตราดอกเบี้ยของเฟด แต่อาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อของโลกและของไทย ซึ่งคณะกรรมการ
ให้ ธปท.ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์)
2. ก.คลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำกรอบตัวเลขเศรษฐกิจอีก 5 ปีข้างหน้าใหม่ รมว.คลัง
เปิดเผยว่า ในการหารือร่วมกับผู้บริหารทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า
ในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2548-2551) จะให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 7-8 โดยมี
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยประมาณร้อยละ 2-3 รวมถึงจะมีการจัดทำงบประมาณแบบสมดุลได้ตั้งแต่ปี 48 ไปตลอด 5
ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ให้ระดับภาระหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศไม่เกินร้อยละ 50 โดย
จะควบคุมให้อยู่ประมาณร้อยละ 40 ส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15 โดยจะควบคุมให้อยู่ประมาณ
ร้อยละ 12 และมีสัดส่วนงบการลงทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของงบประมาณ โดยที่การจัดเก็บภาษีจะไม่เป็น
ปัญหา และสัดส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติจะไม่เกินร้อยละ 50 (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยรัฐ)
3. ครม.มีมติให้ต่ออายุมาตรการภาษีสำหรับบริษัทที่จะจดทะเบียนใน ตลท. และตลาดหลักทรัพย์ใหม่
รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้ ก.คลังต่ออายุมาตรการภาษีสำหรับบริษัทที่
จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ออกไปอีก 1 ปี จากเดิม
ที่จะหมดอายุในวันที่ 5 ก.ย.47 เนื่องจากเห็นว่ามีบริษัทเอกชนกว่า 140 บริษัทที่อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดง
รายการ (ไฟล์ลิ่ง) ข้อมูล เพื่อเสนอขายหุ้นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวเป็นการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับบริษัทเอกชนที่จะเข้าจดทะเบียนใน ตลท.จากเดิม
ที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 เหลือเพียงร้อยละ 25 และบริษัทเอกชนที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่
จะได้รับการลดภาษีนิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 เป็นระยะเวลา 5 รอบบัญชีนับจากวันที่เข้าจด
ทะเบียน (เดลินิวส์, ผู้จัดการรายวัน)
4. ผลประกอบการของ ธพ.ไทยในไตรมาสแรกของปี 47 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 86.98
เทียบต่อไตรมาส รายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ผลประกอบการของ
ธพ.ไทยทั้ง 13 แห่ง มีกำไรสุทธิ 25,795.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 12,000.02 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 86.98 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 13,795.71 ล้านบาท โดย ธ.ไทย
ธนาคารมีกำไรสุทธิเติบโตมากที่สุดคือ 183.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 148.17 ล้านบาท หรือร้อยละ 425.04
รองลงมา คือ ธ.ยูโอบี รัตนสิน มีกำไรสุทธิ 14.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.85 ล้านบาท หรือร้อยละ 236.07
เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 46 ที่ขาดทุนสุทธิ 10.95 ล้านบาท (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
5. ธ.ไทยธนาคารคาดการณ์การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 16-20
ธ.ไทยธนาคารได้เผยแพร่ บทวิเคราะห์เรื่อง “แนวโน้มการลงทุนในไตรมาสที่ 2” โดยคาดการณ์ว่า การลง
ทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 ปี 47 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 16-20 โดยปัจจัยสนับสนุนมาจากการที่การ
ส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่ภาคอุตสาหกรรมมีการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้น โดย
บางภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงเกินร้อยละ 100 รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ
ก็ส่งผลให้มีการลงทุนขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. กรีนสแปนกล่าวว่า ธ.กลาง สรอ.เตรียมจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแต่ไม่ระบุเวลาที่แน่นอน
จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 21 เม.ย.47 นายอลัน กรีนสแปน
ประธาน ธ.กลาง สรอ. ได้กล่าวต่อคณะกรรมาธิการร่วมด้านเศรษฐกิจของรัฐสภา สรอ.ว่า ภาวะเงินฝืดที่
สรอ.เผชิญมาเป็นเวลายาวนานได้สิ้นสุดลงแล้ว และ ธ.กลาง สรอ.กำลังติดตามภาวะเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด
เพื่อเตรียมประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเป็นเมื่อไร ประธาน ธ.กลาง สรอ.
ได้อ้างถึงการขึ้นราคาของวัตถุดิบและน้ำมันเชื้อเพลิงว่าเป็นสัญญาณแสดงถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจ สรอ.
และเศรษฐกิจโลก แต่ประสิทธิภาพในการผลิตที่เพิ่มขึ้นทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้โดยไม่ต้องขึ้นค่าแรงซึ่งเป็น
สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ผลิตต้องขึ้นราคาสินค้า และช่วยให้ภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม จึงไม่มีความจำ
เป็นเร่งด่วนที่ ธ.กลาง สรอ.จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของ สรอ.อยู่
ที่ร้อยละ 1.0 ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2501 หลังจาก ธ.กลาง สรอ.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย 13 ครั้ง เพื่อ
กระตุ้นเศรษฐกิจจากภาวะถดถอยในปี 44 และจากผลกระทบของการก่อวินาศกรรมเมื่อ 11 ก.ย.44 (รอยเตอร์)
2. IMF คาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 47 จะเติบโตร้อยละ 3.4 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
วันที่ 21 เม.ย.47 IMF เปิดเผยว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 47 จะเติบโตสูงสุดตามที่คาดการณ์ไว้คือ ร้อยละ
3.4 หรือร้อยละ1.9 ในปี 48 ส่วนปี 46 คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 2.7 สูงกว่าที่ IMF คาดการณ์ไว้เมื่อ
เดือน ก.ย.46 ร้อยละ 0.7 แต่ความเสี่ยงจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีเพิ่มมากขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 47 จะมีอัตราการเติบโตสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่อง
จากการเติบโตและความต้องการสินค้าของประเทศคู่ค้าหลักอย่างเช่น สรอ. และประเทศในแถบเอเชียเพิ่ม
สูงขึ้น รวมถึงการทำไรของบริษัทเอกชนยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง มีการจ่ายโบนัส ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการ
บริโภคเพิ่มขึ้น รวมทั้งความมีเสถียรภาพของตลาดแรงงาน แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่จากการแข็งตัวขึ้นของ
ค่าเงินเยนที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก อย่างไรก็ตาม IMF เตือนว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่น
คงของญี่ปุ่นมีปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความรวดเร็วในการปฏิรูปโครงสร้างภาคการธนาคารและบริษัท
เอกชน ซึ่งยังมีหลายเรื่องที่จำเป็นต้องทำให้เสร็จสิ้น โดย IMF ได้กล่าวชื่นชม ธ.กลางญี่ปุ่นในความ
พยายามที่จะปรับปรุงนโยบายการเงินเพื่อแก้ภาวะเงินฝืดของประเทศ รวมทั้งการตั้งเป้าภาวะเงินเฟ้อใน
ระยะปานกลางด้วย ส่วนการปรับโครงสร้างการขาดดุลงบประมาณของญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 46 และ 47 ที่ไม่
รวมการสนับสนุนจากภาคการธนาคารคาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.75 ของจีดีพี (รอยเตอร์)
3. จีนต้องการดำเนินนโยบายค่าเงินหยวนลอยตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินในตะกร้า รายงาน
จากลอนดอน เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 47 ผู้บริหารอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของจีนกล่าวว่า จีนไม่
ต้องการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อีกต่อไปและกำลังวางแผนที่จะดำเนินนโยบายค่าเงินหยวนลอยตัวเมื่อ
เทียบกับสกุลเงินสำคัญในตะกร้าเงิน แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่จะเริ่มดำเนินการ โดยเขาไม่คิดว่าระบบ
อัตราแลกเปลี่ยนคงที่จะดี แต่คิดว่าระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเป็นทางเลือกที่ดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการปฎิรูป
เพื่อการควบคุมเงินทุนและใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมตลาดด้วย ซึ่งในอดีตจีนก็เคยดำเนินนโยบายในระบบนี้
ระบบลอยตัวจะใช้อ้างอิงจากสกุลเงินในตะกร้าเงิน ทั้งนี้ทางการสรอ. ได้กดดันจีนให้ปรับค่าเงินหยวนจากที่
เคยผูกค่าเงินหยวนไว้กับเงินดอลลาร์สรอ.ที่ระดับประมาณ 8.28 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้สินค้าส่ง
ออกของจีนมีราคาถูกซึ่งไม่เป็นธรรมเมื่อเทียบต้นทุนกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสรอ. ซึ่งรัฐบาลจีนได้ต่อ
ต้านการกดดันดังกล่าว และกล่าวว่าจะดำเนินการปรับค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นมากขึ้น แต่จะไม่ปรับค่าเงินหยวน
ให้แข็งขึ้นเนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนว่าเงินหยวนมีค่าต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่ นอกจากนั้นในไตรมาส
แรกปีนี้การขาดดุลการค้าของจีนอาจจะถูกชดเชยจากเงินทุนไหลเข้า และ ธ.กลางสรอ. อาจจะปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยในปีนี้ซึ่งจะลดแรงกดดันที่มีต่อค่าเงินหยวนของจีนด้วย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 เม.ย. 47 21 เม.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.519 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.3016/39.5849 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 706.65/26.17 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,350/7,450 7,350/7,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.3 31.4 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-