สศอ.เตรียมดันโพรเจกต์ จัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมหล่อโลหะ แนะผู้ประกอบการหันมารวมกลุ่มธุรกิจ ลดพึ่งพาการนำเข้า ผนึกกำลังฝ่าวิกฤตการแข่งขันด้านราคา มุ่งยกระดับผลิตภัณฑ์งานโลหะไทย สู่คุณภาพและความทันสมัย ป้อนอุตสาหกรรมเครื่องจักรและรถยนต์
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)ได้ศึกษาจัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมหล่อโลหะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมหล่อโลหะของไทย โดยมีกรอบแนวทางในการดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมหล่อโลหะให้มีฐานการผลิตที่เข้มแข็ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างชาติ เพื่อลดการสูญเสียเงินตราของประเทศได้เป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมงานหล่อโลหะเป็นซัพพลายเออร์ให้กับอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญหลายประเภท อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่ม[Value added
]สูง อุตสาหกรรมเครื่องจักร ซึ่งผลิตสินค้าทุนที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรม หล่อโลหะและการรวมกลุ่มธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงให้ทั่วถึงในทุกประเภทโลหะจึงมีความสำคัญต่อความอยู่รอดและการเติบโตอย่างยั่งยืนทางธุรกิจ ในภาวะที่มีการแข่งขันภายใต้ระบบ การค้าเสรีที่ทวีความรุนแรงขึ้น
ในการศึกษา และสำรวจสภาวะของอุตสาหกรรมงานหล่อโลหะพบว่า มีการดำเนินธุรกิจ ในลักษณะกระจัดกระจาย ขาดการเชื่อมโยง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่รับงานเป็นครั้งคราวตามแต่ผู้สั่ง โดยไม่มีแบรนด์เป็นของตนเอง ประกอบกับ มีการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง และไทยยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ส่งผลให้ศักยภาพการผลิตไม่เพียงพอต่อการแข่งขัน กับตลาดต่างประเทศ
สำหรับ การจัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมหล่อโลหะ สศอ. ได้จัดจ้างสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยเป็นที่ปรึกษาดำเนินงานโครงการและได้รับความร่วมมือจากกลุ่มผู้ประกอบการ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการระดมสมอง เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ และมาตรการในการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ มาตรการระยะสั้น 3 ปี และมาตรการระยะยาว 4-10 ปี ทั้งนี้ ผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) อันเป็น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมหล่อโลหะ จะได้ทราบถึง กลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า แนวโน้มของอุตสาหกรรมหล่อโลหะไทยมีโอกาสเติบโตต่อไปได้ แต่ไทยยังขาดแหล่งวัตถุดิบที่มีความสำคัญต่อต้นทุนการผลิตอยู่มาก ทำให้ไทยยังมีความเสียเปรียบในการแข่งขันด้านต้นทุนกับประเทศที่มีความพร้อมด้านวัตถุดิบและแรงงาน จึงเป็นประเด็นที่มีความท้าทายเป็นอย่างมากสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมงานโลหะส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง ขนาดย่อม (SMEs) ที่มีบทบาทสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศโดยรวม ซึ่งในปี 2546 ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์งานหล่อโลหะ เฉพาะเหล็กหล่อมีจำนวน 5,499 ตัน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลี มาเลเซีย ไต้หวัน และญี่ปุ่น ในขณะที่ ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์งานหล่อโลหะ เฉพาะเหล็กหล่อมีจำนวนทั้งสิ้น 42,140 ตัน ตลาดรองรับสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ตุรกี เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ p> โดยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมงานหล่อโลหะ ส่วนใหญ่จะกระจายตัวอยู่ทั่วไปในทุก ภูมิภาค แต่จะพบว่า ภาคกลางเป็นบริเวณที่มีการกระจุกตัวของกลุ่มผู้ประกอบการหนาแน่นที่สุด รองลงมาจะเป็นภาคตะวันออก จากการศึกษาพบว่า จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบริเวณที่มีจำนวน โรงหล่อมากที่สุด โดยผู้ประกอบการเหล่านี้ย้ายมาจากบริเวณกรุงเทพฯ เนื่องจาก สาเหตุหลายประการ เช่น ที่ดินที่มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หมดสัญญาเช่าที่ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)ได้ศึกษาจัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมหล่อโลหะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมหล่อโลหะของไทย โดยมีกรอบแนวทางในการดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมหล่อโลหะให้มีฐานการผลิตที่เข้มแข็ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างชาติ เพื่อลดการสูญเสียเงินตราของประเทศได้เป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมงานหล่อโลหะเป็นซัพพลายเออร์ให้กับอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญหลายประเภท อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่ม[Value added
]สูง อุตสาหกรรมเครื่องจักร ซึ่งผลิตสินค้าทุนที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรม หล่อโลหะและการรวมกลุ่มธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงให้ทั่วถึงในทุกประเภทโลหะจึงมีความสำคัญต่อความอยู่รอดและการเติบโตอย่างยั่งยืนทางธุรกิจ ในภาวะที่มีการแข่งขันภายใต้ระบบ การค้าเสรีที่ทวีความรุนแรงขึ้น
ในการศึกษา และสำรวจสภาวะของอุตสาหกรรมงานหล่อโลหะพบว่า มีการดำเนินธุรกิจ ในลักษณะกระจัดกระจาย ขาดการเชื่อมโยง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่รับงานเป็นครั้งคราวตามแต่ผู้สั่ง โดยไม่มีแบรนด์เป็นของตนเอง ประกอบกับ มีการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง และไทยยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ส่งผลให้ศักยภาพการผลิตไม่เพียงพอต่อการแข่งขัน กับตลาดต่างประเทศ
สำหรับ การจัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมหล่อโลหะ สศอ. ได้จัดจ้างสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยเป็นที่ปรึกษาดำเนินงานโครงการและได้รับความร่วมมือจากกลุ่มผู้ประกอบการ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการระดมสมอง เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ และมาตรการในการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ มาตรการระยะสั้น 3 ปี และมาตรการระยะยาว 4-10 ปี ทั้งนี้ ผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) อันเป็น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมหล่อโลหะ จะได้ทราบถึง กลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า แนวโน้มของอุตสาหกรรมหล่อโลหะไทยมีโอกาสเติบโตต่อไปได้ แต่ไทยยังขาดแหล่งวัตถุดิบที่มีความสำคัญต่อต้นทุนการผลิตอยู่มาก ทำให้ไทยยังมีความเสียเปรียบในการแข่งขันด้านต้นทุนกับประเทศที่มีความพร้อมด้านวัตถุดิบและแรงงาน จึงเป็นประเด็นที่มีความท้าทายเป็นอย่างมากสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมงานโลหะส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง ขนาดย่อม (SMEs) ที่มีบทบาทสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศโดยรวม ซึ่งในปี 2546 ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์งานหล่อโลหะ เฉพาะเหล็กหล่อมีจำนวน 5,499 ตัน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลี มาเลเซีย ไต้หวัน และญี่ปุ่น ในขณะที่ ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์งานหล่อโลหะ เฉพาะเหล็กหล่อมีจำนวนทั้งสิ้น 42,140 ตัน ตลาดรองรับสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ตุรกี เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ p> โดยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมงานหล่อโลหะ ส่วนใหญ่จะกระจายตัวอยู่ทั่วไปในทุก ภูมิภาค แต่จะพบว่า ภาคกลางเป็นบริเวณที่มีการกระจุกตัวของกลุ่มผู้ประกอบการหนาแน่นที่สุด รองลงมาจะเป็นภาคตะวันออก จากการศึกษาพบว่า จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบริเวณที่มีจำนวน โรงหล่อมากที่สุด โดยผู้ประกอบการเหล่านี้ย้ายมาจากบริเวณกรุงเทพฯ เนื่องจาก สาเหตุหลายประการ เช่น ที่ดินที่มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หมดสัญญาเช่าที่ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-