ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตรียมออกหลักเกณฑ์การนำหลักประกันในการกันสำรองของ ธพ. นางธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมออกหลักเกณฑ์การนำหลักประกันใน
การกันสำรอง โดยกำหนดตามช่วงเวลา เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปรับปรุงแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็นพีแอล) ซึ่ง ธปท.มีแนวทางให้ ธพ.ทยอยลดมูลค่าหลักประกันที่นำไปหักจากเอ็นพีแอลก่อนกันสำรอง โดย
ในปีแรก ธพ.สามารถนำหลักประกันไปหักได้จำนวนร้อยละ 20-25 ส่วนในปีที่ 2 ทยอยลดสัดส่วนมูลค่าหลัก
ประกันเหลือร้อยละ 50 ของมูลค่าหลักประกัน และปีที่ 3 เป็นต้นไป ธพ.จะไม่สามารถนำหลักประกันไปหัก
ก่อนสำรองได้เลย ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในครึ่งปีหลังนี้ สำหรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวในปัจจุบันนี้ ธนาคาร
สามารถนำหลักประกันไปหักสินเชื่อก่อนกันสำรองได้ร้อยละ 100 แต่ต่อไป ธปท.จะเข้มงวดขึ้น เพื่อให้ ธพ.
เร่งปรับโครงสร้างหนี้ อย่างไรก็ตาม เอ็นพีแอล ณ ไตรมาสแรกของปี 47 ทั้งระบบมี 618,190 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 12.05 ของสินเชื่อรวม ลดลง 23,655 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังอนุญาตให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศออกบาทบอนด์ไม่เกิน 15,000 ล้านบาทในปี
งปม.47 ผู้อำนวยการสำนักเงินกู้ตลาดเงินทุนต่างประเทศ ในฐานะรองโฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า รมว.คลัง
ได้ลงนามในประกาศ ก.คลัง เรื่อง การอนุญาตให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุล
เงินบาทในประเทศไทย โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ธ.โลก
บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) และธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) โดยสถาบันการเงินเหล่านี้
จะต้องยื่นขออนุญาต ก.คลังเป็นคราว ๆ ไป ทั้งนี้ ได้กำหนดเพดานวงเงินที่จะออกได้ในปีงบประมาณ 47 ไม่
เกิน 15,000 ล้านบาท เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนและสภาพคล่องในประเทศ
(มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. สศช.เตรียมประเมินตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 47 ใหม่ เลขาธิการสำนัก
งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดะเผยว่า ในเร็ว ๆ นี้ สศช.เตรียมจะ
ประเมินตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 47 ใหม่ จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 7-8 เนื่องจาก
ปัจจัยของราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะทั้ง 2
ปัจจัยจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยแน่นอน แต่คาดว่าปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบต่อการขยายตัว
เศรษฐกิจไม่ถึงร้อยละ 1 (ไทยรัฐ)
4. สินเชื่อของ ธพ.ไทยในไตรมาสแรกปี 47 ขยายตัวร้อยละ 6.56 เทียบต่อปี บริษัทศูนย์วิจัย
กสิกรไทย รายงานตัวเลขสินเชื่อ เงินฝาก และสินทรัพย์ในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยว่า สินเชื่อในระบบ ธพ.
ไทยในเดือน มี.ค.47 มีจำนวน 3,978,691 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจำนวน 54,553 ล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.39 และหากเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.56 สำหรับทางด้านเงินฝากในระบบ ธพ.
ไทยในเดือน มี.ค.47 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 5,203,705 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจำนวน 26,362 ล้าน
บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.51 และเมื่อเทียบกับระยะเคียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.48 ส่วนสินทรัพย์
รวมในระบบ ธพ.ไทย ณ สิ้นเดือน มี.ค.47 มีจำนวน 6,157,127 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 6,278
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.1 (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจสรอ.ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งแต่ตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง รายงานจาก
นิวยอร์ก เมื่อ วันที่ 22 เม.ย. 47 นาง Susan Bies ผู้ว่าการ ธ.กลางสรอ. เห็นว่าเศรษฐกิจสรอ.มีทิศ
ทางที่ดี และสามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้ แต่สิ่งที่สำคัญและสร้างความวิตกคือการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน
เมื่อเร็วๆนี้ที่ยังคงเปราะบาง ขณะที่นาย Ben Bernanke ผู้ว่าการ ธ.กลางสรอ. อีกท่านหนึ่งกล่าวว่าไม่
วิตกเกี่ยวกับระดับราคาที่สูงขึ้นอย่างมาก แต่เห็นว่ามีแนวโน้มที่ดีในการจ้างงานที่อาจจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ตลาดแรงงานได้ปรับตัวดีขึ้นแล้ว แต่ยังคงเป็นเพียงขั้นเริ่มต้นจึงยังคงไม่แข็งแกร่ง การจ้างงานอาจจะยัง
คงชะลอตัว แต่จะมีการปรับตัวดีขึ้นในงานอื่นๆซึ่งบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจสรอ. การ
ฟื้นตัวของเศรษฐกิจสรอ. ทำให้ประชาชนเริ่มกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกครั้ง และการขยายตัวของตลาดแรง
งานทำให้สามารถรองรับคนเข้าทำงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามได้มีการคาดการณ์กันว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะทำ
ให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน และระดับราคาสินค้าที่ปรับ
ตัวสูงขึ้นด้วย (รอยเตอร์)
2. ผลสำรวจคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน เม.ย.47 อาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เร็ว
สุดในรอบ 2 ปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 22 เม.ย.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 14
คนโดยรอยเตอร์ คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน เม.ย.47 ของเยอรมนีอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.45 ซึ่งในขณะนั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และคาดว่าอาจ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.47 โดย 4 รัฐของเยอรมนีมีกำหนดจะส่งรายงานตัวเลขดัชนี
ราคาผู้บริโภคของเดือน เม.ย.47 ในวันศุกร์ที่ 23 เม.ย.47 นี้ ส่วนอีก 2 รัฐที่เหลือจะรายงานตัวเลขใน
วันจันทร์ที่จะถึงนี้ จากนั้น สนง.สถิติกลางของเยอรมนีจะนำตัวเลขของทั้ง 6 รัฐมาคำนวณอัตราเงินเฟ้อเบื้อง
ต้นของทั้งประเทศ ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 1.0 ของดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน เม.ย.47 มาจากการเพิ่มขึ้น
ของค่ารักษาพยาบาลและราคาบุหรี่ ซึ่งหากไม่รวมปัจจัยดังกล่าวแล้ว ดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
0.5 และมีแนวโน้มที่จะลดลงอีกในอนาคต นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางยุโรปจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตรา
ดอกเบี้ยอ้างอิงจนถึงเดือน มิ.ย.48 โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีซึ่งมี
ขนาดเศรษฐกิจคิดเป็น 1 ใน 3 ของเขตเศรษฐกิจยุโรปอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจนี้ซึ่งมีสมาชิก
12 ประเทศสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.0 ในเดือน เม.ย.47 จากระดับร้อยละ 1.7 ในเดือน มี.ค.47 (รอยเตอร์)
3. ภาคอุตสาหกรรมบริการของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.47 ปรับตัวลดลง 3.6% รายงานจากโตเกียว
เมื่อวันที่ 22 เม.ย.47 ก.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การลดลงของธุรกิจค้าปลีก
ค้าส่ง และธุรกิจบริการ ส่งผลให้ดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการที่เป็นตัวบอกแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค
ในเดือน ก.พ.47 ลดลงร้อยละ 3.9 เทียบเดือนต่อเดือน ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์หลายรายของรอย
เตอร์โพลคาดไว้ที่ร้อยละ 2.2 แต่คาดว่าการลดลงดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจใน
ปัจจุบัน ที่ขยายตัวจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ถึงแม้การนำเข้าในเดือน มี.ค.47 จะเพิ่มขึ้นมาก แต่
ก็เป็นสัญญาณที่ดีชี้ให้เห็นว่าภายในประเทศเริ่มมีการบริโภคเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยยืนยันว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเริ่ม
เป็นไปด้วยดี อนึ่ง ดัชนีภาคอุตสาหกรรมบริการรวมทั้งหมดซึ่งรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและดัชนีชี้วัดแนวโน้ม
ภาคบริการ ลดลงร้อยละ 3.6 มากกว่าที่รอยเตอร์โพลคาดการณ์ไว้ร้อยละ 1.0 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 เม.ย. 47 22 เม.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.63 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.4171/39.7035 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 690.96/22.50 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,350/7,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.16 31.3 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เตรียมออกหลักเกณฑ์การนำหลักประกันในการกันสำรองของ ธพ. นางธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมออกหลักเกณฑ์การนำหลักประกันใน
การกันสำรอง โดยกำหนดตามช่วงเวลา เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปรับปรุงแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็นพีแอล) ซึ่ง ธปท.มีแนวทางให้ ธพ.ทยอยลดมูลค่าหลักประกันที่นำไปหักจากเอ็นพีแอลก่อนกันสำรอง โดย
ในปีแรก ธพ.สามารถนำหลักประกันไปหักได้จำนวนร้อยละ 20-25 ส่วนในปีที่ 2 ทยอยลดสัดส่วนมูลค่าหลัก
ประกันเหลือร้อยละ 50 ของมูลค่าหลักประกัน และปีที่ 3 เป็นต้นไป ธพ.จะไม่สามารถนำหลักประกันไปหัก
ก่อนสำรองได้เลย ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในครึ่งปีหลังนี้ สำหรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวในปัจจุบันนี้ ธนาคาร
สามารถนำหลักประกันไปหักสินเชื่อก่อนกันสำรองได้ร้อยละ 100 แต่ต่อไป ธปท.จะเข้มงวดขึ้น เพื่อให้ ธพ.
เร่งปรับโครงสร้างหนี้ อย่างไรก็ตาม เอ็นพีแอล ณ ไตรมาสแรกของปี 47 ทั้งระบบมี 618,190 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 12.05 ของสินเชื่อรวม ลดลง 23,655 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังอนุญาตให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศออกบาทบอนด์ไม่เกิน 15,000 ล้านบาทในปี
งปม.47 ผู้อำนวยการสำนักเงินกู้ตลาดเงินทุนต่างประเทศ ในฐานะรองโฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า รมว.คลัง
ได้ลงนามในประกาศ ก.คลัง เรื่อง การอนุญาตให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุล
เงินบาทในประเทศไทย โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ธ.โลก
บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) และธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) โดยสถาบันการเงินเหล่านี้
จะต้องยื่นขออนุญาต ก.คลังเป็นคราว ๆ ไป ทั้งนี้ ได้กำหนดเพดานวงเงินที่จะออกได้ในปีงบประมาณ 47 ไม่
เกิน 15,000 ล้านบาท เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนและสภาพคล่องในประเทศ
(มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. สศช.เตรียมประเมินตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 47 ใหม่ เลขาธิการสำนัก
งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดะเผยว่า ในเร็ว ๆ นี้ สศช.เตรียมจะ
ประเมินตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 47 ใหม่ จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 7-8 เนื่องจาก
ปัจจัยของราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะทั้ง 2
ปัจจัยจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยแน่นอน แต่คาดว่าปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบต่อการขยายตัว
เศรษฐกิจไม่ถึงร้อยละ 1 (ไทยรัฐ)
4. สินเชื่อของ ธพ.ไทยในไตรมาสแรกปี 47 ขยายตัวร้อยละ 6.56 เทียบต่อปี บริษัทศูนย์วิจัย
กสิกรไทย รายงานตัวเลขสินเชื่อ เงินฝาก และสินทรัพย์ในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยว่า สินเชื่อในระบบ ธพ.
ไทยในเดือน มี.ค.47 มีจำนวน 3,978,691 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจำนวน 54,553 ล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.39 และหากเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.56 สำหรับทางด้านเงินฝากในระบบ ธพ.
ไทยในเดือน มี.ค.47 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 5,203,705 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจำนวน 26,362 ล้าน
บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.51 และเมื่อเทียบกับระยะเคียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.48 ส่วนสินทรัพย์
รวมในระบบ ธพ.ไทย ณ สิ้นเดือน มี.ค.47 มีจำนวน 6,157,127 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 6,278
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.1 (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจสรอ.ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งแต่ตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง รายงานจาก
นิวยอร์ก เมื่อ วันที่ 22 เม.ย. 47 นาง Susan Bies ผู้ว่าการ ธ.กลางสรอ. เห็นว่าเศรษฐกิจสรอ.มีทิศ
ทางที่ดี และสามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้ แต่สิ่งที่สำคัญและสร้างความวิตกคือการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน
เมื่อเร็วๆนี้ที่ยังคงเปราะบาง ขณะที่นาย Ben Bernanke ผู้ว่าการ ธ.กลางสรอ. อีกท่านหนึ่งกล่าวว่าไม่
วิตกเกี่ยวกับระดับราคาที่สูงขึ้นอย่างมาก แต่เห็นว่ามีแนวโน้มที่ดีในการจ้างงานที่อาจจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ตลาดแรงงานได้ปรับตัวดีขึ้นแล้ว แต่ยังคงเป็นเพียงขั้นเริ่มต้นจึงยังคงไม่แข็งแกร่ง การจ้างงานอาจจะยัง
คงชะลอตัว แต่จะมีการปรับตัวดีขึ้นในงานอื่นๆซึ่งบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจสรอ. การ
ฟื้นตัวของเศรษฐกิจสรอ. ทำให้ประชาชนเริ่มกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกครั้ง และการขยายตัวของตลาดแรง
งานทำให้สามารถรองรับคนเข้าทำงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามได้มีการคาดการณ์กันว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะทำ
ให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน และระดับราคาสินค้าที่ปรับ
ตัวสูงขึ้นด้วย (รอยเตอร์)
2. ผลสำรวจคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน เม.ย.47 อาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เร็ว
สุดในรอบ 2 ปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 22 เม.ย.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 14
คนโดยรอยเตอร์ คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน เม.ย.47 ของเยอรมนีอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.45 ซึ่งในขณะนั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และคาดว่าอาจ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.47 โดย 4 รัฐของเยอรมนีมีกำหนดจะส่งรายงานตัวเลขดัชนี
ราคาผู้บริโภคของเดือน เม.ย.47 ในวันศุกร์ที่ 23 เม.ย.47 นี้ ส่วนอีก 2 รัฐที่เหลือจะรายงานตัวเลขใน
วันจันทร์ที่จะถึงนี้ จากนั้น สนง.สถิติกลางของเยอรมนีจะนำตัวเลขของทั้ง 6 รัฐมาคำนวณอัตราเงินเฟ้อเบื้อง
ต้นของทั้งประเทศ ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 1.0 ของดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน เม.ย.47 มาจากการเพิ่มขึ้น
ของค่ารักษาพยาบาลและราคาบุหรี่ ซึ่งหากไม่รวมปัจจัยดังกล่าวแล้ว ดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
0.5 และมีแนวโน้มที่จะลดลงอีกในอนาคต นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางยุโรปจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตรา
ดอกเบี้ยอ้างอิงจนถึงเดือน มิ.ย.48 โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีซึ่งมี
ขนาดเศรษฐกิจคิดเป็น 1 ใน 3 ของเขตเศรษฐกิจยุโรปอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจนี้ซึ่งมีสมาชิก
12 ประเทศสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.0 ในเดือน เม.ย.47 จากระดับร้อยละ 1.7 ในเดือน มี.ค.47 (รอยเตอร์)
3. ภาคอุตสาหกรรมบริการของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.47 ปรับตัวลดลง 3.6% รายงานจากโตเกียว
เมื่อวันที่ 22 เม.ย.47 ก.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การลดลงของธุรกิจค้าปลีก
ค้าส่ง และธุรกิจบริการ ส่งผลให้ดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการที่เป็นตัวบอกแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค
ในเดือน ก.พ.47 ลดลงร้อยละ 3.9 เทียบเดือนต่อเดือน ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์หลายรายของรอย
เตอร์โพลคาดไว้ที่ร้อยละ 2.2 แต่คาดว่าการลดลงดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจใน
ปัจจุบัน ที่ขยายตัวจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ถึงแม้การนำเข้าในเดือน มี.ค.47 จะเพิ่มขึ้นมาก แต่
ก็เป็นสัญญาณที่ดีชี้ให้เห็นว่าภายในประเทศเริ่มมีการบริโภคเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยยืนยันว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเริ่ม
เป็นไปด้วยดี อนึ่ง ดัชนีภาคอุตสาหกรรมบริการรวมทั้งหมดซึ่งรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและดัชนีชี้วัดแนวโน้ม
ภาคบริการ ลดลงร้อยละ 3.6 มากกว่าที่รอยเตอร์โพลคาดการณ์ไว้ร้อยละ 1.0 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 เม.ย. 47 22 เม.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.63 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.4171/39.7035 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 690.96/22.50 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,350/7,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.16 31.3 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-