กรุงเทพ--26 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) สมัยที่ 60
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะนำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) สมัยที่ 60 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาตินครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างวันที่ 26-28 เมษายน 2547 การประชุมเอสแคป สมัยที่ 60 ที่นครเซี่ยงไฮ้เป็นการประชุมสมัยพิเศษในฐานะที่เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่ ได้จัดตั้งสำนักงานขึ้นครั้งแรกภายใต้ชื่ออีค่าเฟ่ ก่อนที่จะย้ายสำนักงานมาที่ถนนราชดำเนินกรุงเทพฯ และเปลี่ยนชื่อเป็นเอสแคป การประชุมสมัยที่ 60 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสำคัญทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเสนอแนะขององค์กรย่อยและเลขาธิการบริหาร ตลอดจนเพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงานและอื่น ๆ โดยมีหัวข้อหลักของการประชุม (theme topic) คือ “Meeting the challenges in an era of globalization by strengthening regional development cooperation”
การประชุมประจำปีของเอสแคป สมัยที่ 60 แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
(1) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Segment) ระหว่างวันที่ 22 - 24 เมษายน 2547
(2) การประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Segment) ระหว่างวันที่ 26 - 28 เมษายน 2547ทั้งนี้ จะมีการประชุมและกิจกรรมข้างเคียงต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 22 - 27 เมษายน 2547 อาทิ กิจกรรมข้างเคียงทางด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ปัญหาสังคม และสถิติ การประชุม Asia-Pacific Business Forum การประชุม High-level Visionary Meeting for Asia and the Pacific 2020 การลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยข่ายงานทางหลวงเอเชีย (Signing Ceremony for the Intergovernmental Agreement on the Asian Highway Network)นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะพบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีจากประเทศต่างๆ ที่มาร่วมการประชุม ESCAP สมัยที่ 6 ด้วย อาทิ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน เติรก์เมนิสถาน สาธารณรัฐคีร์กิซ คาซักสถาน ปาปัวนิวกินี ไมโครนีเชีย หมู่เกาะมาร์แชลล์ วานูอาตู อัฟกานิสถาน และอิหร่าน
กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนภูมิหลังเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกหรือเอสแคปเพื่อประกอบการรายงานข่าว ดังนี้
1. เอสแคป เป็นหนึ่งในห้าคณะกรรมาธิการภูมิภาค (regional commissions) ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council - ECOSOC) แห่งสหประชาชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2490 (ค.ศ. 1947) ในชื่อของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสำหรับเอเชียและตะวันออกไกลหรืออีคาเฟ่ (Economic Commission for Asia and the Far East - ECAFE) โดยมีสำนักเลขาธิการตั้งอยู่ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และในเดือนมกราคม 2492 (ค.ศ. 1949) ได้ย้ายที่ตั้งมาอยู่ที่ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ต่อมา ในเดือนสิงหาคม 2517 (ค.ศ. 1974) ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกหรือเอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) เพื่อสะท้อนถึงบทบาทหน้าที่ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศสมาชิก
2. เอสแคปเป็นคณะกรรมาธิการภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบันมีสมาชิก 53 ประเทศ (ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 49 ประเทศ และประเทศนอกภูมิภาค 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหราช-อาณาจักรและสหรัฐฯ) และมีสมาชิกสมทบ (associate members) 9 แห่ง (เป็นดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง/มิได้เป็นรัฐอิสระ/มิได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ) ครอบคลุมประชากรกว่าร้อยละ 60 ของประชากรโลก
3. เอสแคปดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แผนงาน (programme of work) ในแต่ละช่วงปีงบประมาณรายสองปี (biennium) เป็นจำนวนมาก (จำนวน 1,496 กิจกรรมในช่วงปีงบประมาณ ค.ศ. 2000-2001, จำนวน 1,477 กิจกรรมในช่วงปีงบประมาณ ค.ศ. 2002-2003 และจำนวน 978 กิจกรรมในช่วงปีงบประมาณ ค.ศ. 2004-2005) ซึ่งรวมถึงกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการ (technical cooperation) ทั้งในด้านบริการที่ปรึกษา การจัดสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการและการประชุมทางวิชาการ ในสาขาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นประโยชน์และเป็นความต้องการของภูมิภาค อาทิ ความยากจนและการพัฒนา สถิติ การค้าและการลงทุน การขนส่งและการท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน สารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีอวกาศ และการพัฒนาสังคม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) สมัยที่ 60
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะนำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) สมัยที่ 60 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาตินครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างวันที่ 26-28 เมษายน 2547 การประชุมเอสแคป สมัยที่ 60 ที่นครเซี่ยงไฮ้เป็นการประชุมสมัยพิเศษในฐานะที่เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่ ได้จัดตั้งสำนักงานขึ้นครั้งแรกภายใต้ชื่ออีค่าเฟ่ ก่อนที่จะย้ายสำนักงานมาที่ถนนราชดำเนินกรุงเทพฯ และเปลี่ยนชื่อเป็นเอสแคป การประชุมสมัยที่ 60 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสำคัญทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเสนอแนะขององค์กรย่อยและเลขาธิการบริหาร ตลอดจนเพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงานและอื่น ๆ โดยมีหัวข้อหลักของการประชุม (theme topic) คือ “Meeting the challenges in an era of globalization by strengthening regional development cooperation”
การประชุมประจำปีของเอสแคป สมัยที่ 60 แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
(1) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Segment) ระหว่างวันที่ 22 - 24 เมษายน 2547
(2) การประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Segment) ระหว่างวันที่ 26 - 28 เมษายน 2547ทั้งนี้ จะมีการประชุมและกิจกรรมข้างเคียงต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 22 - 27 เมษายน 2547 อาทิ กิจกรรมข้างเคียงทางด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ปัญหาสังคม และสถิติ การประชุม Asia-Pacific Business Forum การประชุม High-level Visionary Meeting for Asia and the Pacific 2020 การลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยข่ายงานทางหลวงเอเชีย (Signing Ceremony for the Intergovernmental Agreement on the Asian Highway Network)นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะพบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีจากประเทศต่างๆ ที่มาร่วมการประชุม ESCAP สมัยที่ 6 ด้วย อาทิ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน เติรก์เมนิสถาน สาธารณรัฐคีร์กิซ คาซักสถาน ปาปัวนิวกินี ไมโครนีเชีย หมู่เกาะมาร์แชลล์ วานูอาตู อัฟกานิสถาน และอิหร่าน
กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนภูมิหลังเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกหรือเอสแคปเพื่อประกอบการรายงานข่าว ดังนี้
1. เอสแคป เป็นหนึ่งในห้าคณะกรรมาธิการภูมิภาค (regional commissions) ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council - ECOSOC) แห่งสหประชาชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2490 (ค.ศ. 1947) ในชื่อของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสำหรับเอเชียและตะวันออกไกลหรืออีคาเฟ่ (Economic Commission for Asia and the Far East - ECAFE) โดยมีสำนักเลขาธิการตั้งอยู่ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และในเดือนมกราคม 2492 (ค.ศ. 1949) ได้ย้ายที่ตั้งมาอยู่ที่ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ต่อมา ในเดือนสิงหาคม 2517 (ค.ศ. 1974) ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกหรือเอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) เพื่อสะท้อนถึงบทบาทหน้าที่ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศสมาชิก
2. เอสแคปเป็นคณะกรรมาธิการภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบันมีสมาชิก 53 ประเทศ (ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 49 ประเทศ และประเทศนอกภูมิภาค 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหราช-อาณาจักรและสหรัฐฯ) และมีสมาชิกสมทบ (associate members) 9 แห่ง (เป็นดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง/มิได้เป็นรัฐอิสระ/มิได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ) ครอบคลุมประชากรกว่าร้อยละ 60 ของประชากรโลก
3. เอสแคปดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แผนงาน (programme of work) ในแต่ละช่วงปีงบประมาณรายสองปี (biennium) เป็นจำนวนมาก (จำนวน 1,496 กิจกรรมในช่วงปีงบประมาณ ค.ศ. 2000-2001, จำนวน 1,477 กิจกรรมในช่วงปีงบประมาณ ค.ศ. 2002-2003 และจำนวน 978 กิจกรรมในช่วงปีงบประมาณ ค.ศ. 2004-2005) ซึ่งรวมถึงกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการ (technical cooperation) ทั้งในด้านบริการที่ปรึกษา การจัดสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการและการประชุมทางวิชาการ ในสาขาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นประโยชน์และเป็นความต้องการของภูมิภาค อาทิ ความยากจนและการพัฒนา สถิติ การค้าและการลงทุน การขนส่งและการท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน สารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีอวกาศ และการพัฒนาสังคม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-