นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอา
เซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Economic Ministers Retreat : AEM Retreat) ครั้งที่ 10
ระหว่างวันที่ 20-21 เมษายน 2547 ณ เกาะเซนโทซา ประเทศสิงคโปร์ ว่า ผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ
ได้ดังนี้
1. แนวนโยบายการดำเนินการสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic
Community : AEC)
1.1 การเร่งรัดการเปิดเสรีของสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา ที่ประชุมได้ตกลง
แนวนโยบายในการจัดทำ Roadmap การรวมกลุ่มสินค้าและบริการของอาเซียน 11 สาขา ได้แก่ สินค้าเกษตร
สินค้าประมง (พม่า) ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ (อินโดนีเซีย) ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ (มาเลเซีย) อิเล็กทรอนิกส์
(ฟิลิปปินส์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพ (สิงคโปร์) การท่องเที่ยว และการบิน
(ไทย) เพื่อเสนอผู้นำลงนามใน General Agreement on Principles of ASEAN Integration
และรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะเป็นผู้ลงนามใน Specific-sector Agreement 11 สาขา ในการประชุมสุด
ยอดอาเซียนที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทร์ ประเทศลาว ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักของ
การรวมกลุ่มของอาเซียนโดยเฉพาะในสาขาสินค้าอุตสาหกรรม ก็เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสินค้าภายใน
อาเซียนได้อย่างเสรี และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการผลิตในระดับภูมิภาค (Regional production
network) รวมทั้งขจัดปัญหาอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะมาตรการที่มิใช่ภาษีให้หมดสิ้นโดยเร็ว
1.2 การปรับปรุงกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียน ปัจจุบัน การปฏิบัติตามพันธกรณี
ภายใต้ AFTA เริ่มมีปัญหาในการดำเนินการมากขึ้นทั้งในแง่ของหลักการและการปฏิบัติ ดังนั้น จึงจำเป็นจะ
ต้องพัฒนาระบบกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของ
คณะทำงานเฉพาะกิจ (Task Force on ASEAN Dispute Settlement Mechanism) และตกลงให้มี
ระยะเวลาดำเนินการระงับข้อพิพาทตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการไม่เกิน 5 เดือน (จากเดิมใช้เวลา
ประมาณ 9 เดือน)
2. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา รัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้า
และให้แนวนโยบายในการเจรจาเขตการค้าเสรีอาเซียน (FTA) และความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด
(CEP) กับประเทศคู่เจรจา เพื่อให้เป็นไปตามกรอบเวลา ได้แก่
อาเซียน-จีน ไทยได้รายงานความคืบหน้าการเจรจาอาเซียน-จีน ซึ่งคาดว่าการเจรจาด้านภาษี
จะเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2547 ตามกำหนด
อาเซียน-ญี่ปุ่น หลังผู้นำประกาศเปิดการเจรจาเมื่อเดือนธันวาคม 2546 ปรากฏว่า การเจรจา
ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร รัฐมนตรีจึงมีมติให้ประธานรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (กัมพูชา) มีหนังสือแสดงความไม่
พอใจให้รัฐมนตรี METI ของญี่ปุ่นทราบ เพื่อกระตุ้นการเจรจาให้ก้าวหน้า
อาเซียน-ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ (CER) รัฐมนตรีได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับประโยชน์
ที่จะได้รับในการกระชับการรวมกลุ่มการค้าอาเซียน-ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ และสนับสนุนให้มีการจัดประชุม
ผู้นำ ASEAN-CER ณ กรุงเวียงจันทน์ เดือนพฤศจิกายน 2547 เพื่อฉลองความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-CER
ครบรอบ 30 ปี รวมทั้งอาจใช้โอกาสนี้ เปิดการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์
ต่อไป
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้เข้าร่วมลงนามในพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงพื้นฐานว่า
ด้วยโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (Basis Agreement on the ASEAN
Industrial Cooperation Scheme : AICO) ซึ่งสมาชิกอาเซียนจะให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากร
สำหรับผลิตภัณฑ์ภายใต้ AICO เป็นร้อยละ 0 ภายในปี 2548 (ยกเว้นเวียดนาม ซึ่งจะให้สิทธิประโยชน์ภาย
ในปี 2549) ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนในภูมิภาคอา
เซียนให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น และเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมความสำเร็จในการรวมตัวเป็นประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในระยะต่อไป
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวร
นิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-สส-