ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือน ก.พ.47 ไปแล้วร้อยละ 84 ของลูกหนี้ที่มีการเจรจา
ผู้อำนวยการ สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปรับ
โครงสร้างหนี้ ว่า ขณะนี้ คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ได้ดำเนินการปรับ
ปรุงโครงสร้างหนี้คืบหน้าไปมาก โดยตัวเลขล่าสุด ณ สิ้นเดือน ก.พ.47 ได้ปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วทั้งสิ้น
10,998 ราย คิดเป็นมูลหนี้จำนวน 1,457,379 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 84 ของลูกหนี้ที่มีการเจรจาจน
หาข้อสรุป จากลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่ คปน.เริ่มดำเนินการในปี 41 จำนวน 16,823 ราย มูลหนี้ 2,864,987
ล้านบาท ส่วนกลุ่มลูกหนี้เป้าหมายปี 46 จนถึงสิ้นเดือน ก.พ.47 คปน.มุ่งเน้นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่
ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย คือ หนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี และหนี้ที่อยู่ระหว่าง
บังคับคดีจนถึงสิ้นเดือน ก.พ.47 มีลูกหนี้เป้าหมายจำนวน 1,447 ราย มูลหนี้ 23,238 ล้านบาท ทั้งนี้ ใน
เดือน ก.พ.47 มีลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเพิ่มขึ้น 25 ราย ไม่สำเร็จ 13 ราย และมีลูกหนี้คงค้าง
ระหว่างเจรจาจำนวน 329 ราย มีมูลหนี้จำนวน 10,264 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน)
2. ทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของ นรม.เสนอให้รัฐบาลนำมาตรการภาษีมาจูงใจการเพิ่มขีดความ
สามารถแข่งขันของภาคเอกชน ทีมที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่
ผ่านมา แม้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่การจัดเก็บรายได้ของภาครัฐมาจากการใช้นโยบายการ
คลังเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้า อันทำให้เกิดแรงเหวี่ยงดันการบริโภคภาคประชาชนและการลงทุน
ของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยขีดความสามารถในการแข่งขันของเอกชนไทยในขณะนี้อยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงหาก
รัฐบาลไม่เข้าสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน จึงเสนอให้รัฐบาลนำมาตรการ
ภาษีมาจูงใจด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั้งระบบ ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่า
เพิ่มแก่สินค้าและบริการ เพื่อจูงใจเอกชนให้ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ผลิตสินค้ามากขึ้น
โดยคาดว่าจะเสนอแนวทางนโยบายดังกล่าวแก่ นรม.ใน 3-4 สัปดาห์ข้างหน้านี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธ.ไทยธนาคารแนะรัฐบาลขยายเพดานการตรึงราคาน้ำมันเบนซิน แต่คงเพดานราคาน้ำมันดีเซล
สำนักวิจัยและวางแผน ธ.ไทยธนาคาร เผยแพร่รายงาน เรื่อง “ขยับเพดาน ตรึงราคาน้ำมัน...หนทางรับ
มือราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น” ว่า แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกอาจทรงตัวในระดับสูงในระยะเวลา
นานกว่าที่มีการคาดการณ์กันไว้ นับตั้งแต่ต้นปี 47 เป็นต้นมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกกลับมาเคลื่อนไหวอยู่ใน
ระดับสูงอีกครั้ง โดยสาเหตุหนึ่งเป็นผลจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างมากใน สรอ. ประกอบกับความต้อง
การใช้น้ำมันอย่างมากทั้งจากประเทศจีนและประเทศต่าง ๆ หลังจากเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ รัฐบาล
อาจจะปรับเพิ่มเพดานการตรึงราคาน้ำมันเบนซิน แต่คงเพดานราคาน้ำมันดีเซล เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลที่
สูงขึ้นจะส่งผลกระทบกว่าการที่ราคาน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น เพราะอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้น้ำมันดีเซลเป็นหลัก (านเมือง)
4. ธ.กรุงไทยกำหนดเป้าสินเชื่อเอสเอ็มอีจำนวน 31,000 ล้านบาทในปี 47 ผู้อำนวยการฝ่าย
และผู้บริหารฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารได้
ตั้งเป้าขยายสินเชื่อเอสเอ็มอีจำนวน 31,000 ล้านบาท ส่งผลให้พอร์ตสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 410,000 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 60 ของพอร์ตสินเชื่อรวม จากปีก่อนที่อยู่ที่ 378,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของสินเชื่อรวม
โดยจะเน้นไปที่กลุ่มประกอบธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งในสัดส่วนเท่ากับปีที่ผ่านมาที่ประมาณร้อยละ 42 ภาคธุรกิจ
บริการร้อยละ 30 และภาคการผลิตร้อยละ 28 และเชื่อมั่นว่าจะทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยข้อมูลล่าสุด ณ
สิ้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ธนาคารปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 1,491 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าจะเพิ่มลูกค้าราย
ใหม่ 2,800 ราย จากปัจจุบันมีลูกค้าอยู่ที่จำนวน 138,118 ราย สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)
จะไม่ให้เกินร้อยละ 2 จากสิ้นปีก่อนที่เอ็นพีแอลอยู่ที่ร้อยละ 8 ของยอดสินเชื่อเอสเอ็มอี (บ้านเมือง, โลกวันนี้)
5. เอฟทีเอไทย-อินเดียเลื่อนการลดภาษีสินค้าบางส่วนออกไปเป็นครั้งที่ 2 รายงานข่าวจาก ก.
พาณิชย์แจ้งผลการเจรจาทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-อินเดีย ล่าสุดว่า มีความเป็นไปได้สูงต้อง
เลื่อนการลดภาษีสินค้าบางส่วน (Early Harvest Scheme) ครอบคลุมสินค้า 84 รายการ ออกไปอีกเป็น
ครั้งที่ 2 จากครั้งแรกในเดือน มี.ค.เป็น มิ.ย. ล่าสุดเลื่อนเป็นเดือน ก.ค. 47 เนื่องจากติดขัดประเด็นที่
อินเดียต้องการให้ใช้วัตถุดิบในประเทศร้อยละ 40 แต่ไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ จึง
เสนอให้ลดการใช้วัตถุดิบในประเทศร้อยละ 25-30 ซึ่งอินเดียรับจะพิจารณาเพื่อหารือต่อไปในวันที่ 31
พ.ค.-1 มิ.ย.47 (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. รมว.ก,คลัง สรอ. กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 24
เม.ย.47 John Snow รมว.ก.คลัง สรอ. ได้กล่าวภายหลังการประชุม รมว.ก.คลัง และผู้ว่าการ ธ.
กลางของกลุ่มประเทศจี 7 ว่า เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวอย่างรวดเร็วสามารถมองเห็นความคืบหน้าได้ชัดเจน
และความมีดุลยภาพของความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมีเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อ 3 หรือ 6 เดือนก่อน โดยเศรษฐกิจของ
สรอ. กำลังก้าวไปสู่ความมีเสถียรภาพในระยะยาว ซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจโลกครั้งนี้รวมถึงญี่ปุ่นและ
สหภาพยุโรปด้วย แต่สหภาพยุโรปควรปรับปรุงตลาดแรงงานให้ยืดหยุ่นมากขึ้นและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็น
อุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็วก็จะมี
ปัญหาเรื่องภาวะเงินเฟ้อตามมาด้วย แต่ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ดีจะทำให้ปัญหาเงินเฟ้อไม่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจ ส่วนการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้
และมองว่าการเพิ่มของราคาน้ำมันดังกล่าวมาจากการสำรองน้ำมันอย่างมากผิดปรกติจากที่เคยผ่านมาในอดีต
นั่นเอง (รอยเตอร์)
2. ฝรั่งเศสและเยอรมนีต้องการให้ ธ.กลางยุโรปลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 25 เม.ย.47 แหล่งข่าวในสหภาพยุโรปรายงานว่า ในการประชุม รมต.คลังและผู้ว่าการ
ธ.กลางของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 7 ประเทศที่วอชิงตัน รมต.คลังของเยอรมนีและฝรั่งเศสได้กระตุ้นให้
ธ.กลางยุโรปลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรป โดยให้เหตุผลว่าอัตรา
เงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.0 ที่ ธ.กลางยุโรปกำหนดไว้ ซึ่ง
แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังไม่ขยายตัวเท่าที่ควร แต่ประธาน ธ.กลางยุโรปให้สัมภาษณ์ว่ายังไม่ได้รับการร้อง
ขอจากประเทศใดให้ลดอัตราดอกเบี้ย และยืนยันว่าเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
แต่ ธ.กลางยุโรปยังคงเปิดกว้างสำหรับทุกทางเลือกรวมทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยหากพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ ธ.กลางยุโรปในการคงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อผลดีต่อ
เศรษฐกิจในระยะยาว โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของเขตเศรษฐกิจยุโรปอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่
ร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
3. G7 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเติบโต แต่มีข้อพึงระวังคือความเสี่ยงจากราคาน้ำมัน
และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 24 เม.ย.47 รมว.คลังของกลุ่มประเทศ
อุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (G7) เปิดเผยในแถลงการณ์ภายหลังการประชุมที่วอชิงตันว่า ภาวะเศรษฐกิจ
โลกมีแนวโน้มเติบโตขึ้น อันเป็นผลจากการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งได้ช่วยสนับ
สนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ทั้งการจ้างงานและการเพิ่มรายได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจโลกยัง
คงมีความเสี่ยงอยู่บ้างจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมัน แต่โดยรวมแล้วมีแนวโน้มที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ความ
ผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรายังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะต่อ
ประเทศที่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนไม่มีเสถียรภาพ ซึ่ง G7 จะเฝ้าระวังความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
ตราอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางญี่ปุ่นเห็นว่าเป็นการยากที่จะขจัดภาวะเงินฝืดแม้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเริ่มฟื้นตัวแล้วก็ตาม
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ วันที่ 24 เม.ย. 47 ผวก. ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยภายหลังการประชุมกลุ่ม
ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ | G7 และผวก. ธ.กลาง ณ กรุงวอชิงตัน ว่าธ.กลางญี่ปุ่น จะยัง
คงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย แต่อาจจะยังไม่สามารถขจัดภาวะเงินฝืดได้แม้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเริ่มฟื้นตัว
แล้วก็ตาม แนวทางที่จะบรรลุการรักษาเสถียรภาพของราคาโดยให้การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคของ
ญี่ปุ่นสูงกว่าศูนย์ อาจจะไม่เป็นการง่าย ทั้งนี้ในระยะ 2 | 3 ปีที่ผ่านมานั้น ธ.กลางญี่ปุ่นได้ดำเนินนโยบาย
การเงินแบบผ่อนปรน เพื่อที่จะให้ประเทศญี่ปุ่นพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ต่อเนื่องยาวนานมาเป็นทศวรรษ
และต้องการนำประเทศให้พ้นจากภาวะเงินฝืด แม้ว่าเมื่อเร็วๆนี้ที่มีสัญญานทางเศรษฐกิจที่ดี นักวิเคราะห์ส่วน
ใหญ่กล่าวว่า อาจจะไม่ยั่งยืน และอาจจะต้องใช้เวลาหลายปีสำหรับนำเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะเงินฝืดดังกล่าว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 เม.ย. 47 23 เม.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.599 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.4159/39.6988 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 681.88/19.36 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.04 32.16 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือน ก.พ.47 ไปแล้วร้อยละ 84 ของลูกหนี้ที่มีการเจรจา
ผู้อำนวยการ สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปรับ
โครงสร้างหนี้ ว่า ขณะนี้ คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ได้ดำเนินการปรับ
ปรุงโครงสร้างหนี้คืบหน้าไปมาก โดยตัวเลขล่าสุด ณ สิ้นเดือน ก.พ.47 ได้ปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วทั้งสิ้น
10,998 ราย คิดเป็นมูลหนี้จำนวน 1,457,379 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 84 ของลูกหนี้ที่มีการเจรจาจน
หาข้อสรุป จากลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่ คปน.เริ่มดำเนินการในปี 41 จำนวน 16,823 ราย มูลหนี้ 2,864,987
ล้านบาท ส่วนกลุ่มลูกหนี้เป้าหมายปี 46 จนถึงสิ้นเดือน ก.พ.47 คปน.มุ่งเน้นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่
ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย คือ หนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี และหนี้ที่อยู่ระหว่าง
บังคับคดีจนถึงสิ้นเดือน ก.พ.47 มีลูกหนี้เป้าหมายจำนวน 1,447 ราย มูลหนี้ 23,238 ล้านบาท ทั้งนี้ ใน
เดือน ก.พ.47 มีลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเพิ่มขึ้น 25 ราย ไม่สำเร็จ 13 ราย และมีลูกหนี้คงค้าง
ระหว่างเจรจาจำนวน 329 ราย มีมูลหนี้จำนวน 10,264 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน)
2. ทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของ นรม.เสนอให้รัฐบาลนำมาตรการภาษีมาจูงใจการเพิ่มขีดความ
สามารถแข่งขันของภาคเอกชน ทีมที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่
ผ่านมา แม้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่การจัดเก็บรายได้ของภาครัฐมาจากการใช้นโยบายการ
คลังเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้า อันทำให้เกิดแรงเหวี่ยงดันการบริโภคภาคประชาชนและการลงทุน
ของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยขีดความสามารถในการแข่งขันของเอกชนไทยในขณะนี้อยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงหาก
รัฐบาลไม่เข้าสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน จึงเสนอให้รัฐบาลนำมาตรการ
ภาษีมาจูงใจด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั้งระบบ ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่า
เพิ่มแก่สินค้าและบริการ เพื่อจูงใจเอกชนให้ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ผลิตสินค้ามากขึ้น
โดยคาดว่าจะเสนอแนวทางนโยบายดังกล่าวแก่ นรม.ใน 3-4 สัปดาห์ข้างหน้านี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธ.ไทยธนาคารแนะรัฐบาลขยายเพดานการตรึงราคาน้ำมันเบนซิน แต่คงเพดานราคาน้ำมันดีเซล
สำนักวิจัยและวางแผน ธ.ไทยธนาคาร เผยแพร่รายงาน เรื่อง “ขยับเพดาน ตรึงราคาน้ำมัน...หนทางรับ
มือราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น” ว่า แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกอาจทรงตัวในระดับสูงในระยะเวลา
นานกว่าที่มีการคาดการณ์กันไว้ นับตั้งแต่ต้นปี 47 เป็นต้นมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกกลับมาเคลื่อนไหวอยู่ใน
ระดับสูงอีกครั้ง โดยสาเหตุหนึ่งเป็นผลจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างมากใน สรอ. ประกอบกับความต้อง
การใช้น้ำมันอย่างมากทั้งจากประเทศจีนและประเทศต่าง ๆ หลังจากเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ รัฐบาล
อาจจะปรับเพิ่มเพดานการตรึงราคาน้ำมันเบนซิน แต่คงเพดานราคาน้ำมันดีเซล เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลที่
สูงขึ้นจะส่งผลกระทบกว่าการที่ราคาน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น เพราะอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้น้ำมันดีเซลเป็นหลัก (านเมือง)
4. ธ.กรุงไทยกำหนดเป้าสินเชื่อเอสเอ็มอีจำนวน 31,000 ล้านบาทในปี 47 ผู้อำนวยการฝ่าย
และผู้บริหารฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารได้
ตั้งเป้าขยายสินเชื่อเอสเอ็มอีจำนวน 31,000 ล้านบาท ส่งผลให้พอร์ตสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 410,000 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 60 ของพอร์ตสินเชื่อรวม จากปีก่อนที่อยู่ที่ 378,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของสินเชื่อรวม
โดยจะเน้นไปที่กลุ่มประกอบธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งในสัดส่วนเท่ากับปีที่ผ่านมาที่ประมาณร้อยละ 42 ภาคธุรกิจ
บริการร้อยละ 30 และภาคการผลิตร้อยละ 28 และเชื่อมั่นว่าจะทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยข้อมูลล่าสุด ณ
สิ้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ธนาคารปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 1,491 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าจะเพิ่มลูกค้าราย
ใหม่ 2,800 ราย จากปัจจุบันมีลูกค้าอยู่ที่จำนวน 138,118 ราย สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)
จะไม่ให้เกินร้อยละ 2 จากสิ้นปีก่อนที่เอ็นพีแอลอยู่ที่ร้อยละ 8 ของยอดสินเชื่อเอสเอ็มอี (บ้านเมือง, โลกวันนี้)
5. เอฟทีเอไทย-อินเดียเลื่อนการลดภาษีสินค้าบางส่วนออกไปเป็นครั้งที่ 2 รายงานข่าวจาก ก.
พาณิชย์แจ้งผลการเจรจาทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-อินเดีย ล่าสุดว่า มีความเป็นไปได้สูงต้อง
เลื่อนการลดภาษีสินค้าบางส่วน (Early Harvest Scheme) ครอบคลุมสินค้า 84 รายการ ออกไปอีกเป็น
ครั้งที่ 2 จากครั้งแรกในเดือน มี.ค.เป็น มิ.ย. ล่าสุดเลื่อนเป็นเดือน ก.ค. 47 เนื่องจากติดขัดประเด็นที่
อินเดียต้องการให้ใช้วัตถุดิบในประเทศร้อยละ 40 แต่ไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ จึง
เสนอให้ลดการใช้วัตถุดิบในประเทศร้อยละ 25-30 ซึ่งอินเดียรับจะพิจารณาเพื่อหารือต่อไปในวันที่ 31
พ.ค.-1 มิ.ย.47 (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. รมว.ก,คลัง สรอ. กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 24
เม.ย.47 John Snow รมว.ก.คลัง สรอ. ได้กล่าวภายหลังการประชุม รมว.ก.คลัง และผู้ว่าการ ธ.
กลางของกลุ่มประเทศจี 7 ว่า เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวอย่างรวดเร็วสามารถมองเห็นความคืบหน้าได้ชัดเจน
และความมีดุลยภาพของความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมีเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อ 3 หรือ 6 เดือนก่อน โดยเศรษฐกิจของ
สรอ. กำลังก้าวไปสู่ความมีเสถียรภาพในระยะยาว ซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจโลกครั้งนี้รวมถึงญี่ปุ่นและ
สหภาพยุโรปด้วย แต่สหภาพยุโรปควรปรับปรุงตลาดแรงงานให้ยืดหยุ่นมากขึ้นและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็น
อุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็วก็จะมี
ปัญหาเรื่องภาวะเงินเฟ้อตามมาด้วย แต่ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ดีจะทำให้ปัญหาเงินเฟ้อไม่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจ ส่วนการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้
และมองว่าการเพิ่มของราคาน้ำมันดังกล่าวมาจากการสำรองน้ำมันอย่างมากผิดปรกติจากที่เคยผ่านมาในอดีต
นั่นเอง (รอยเตอร์)
2. ฝรั่งเศสและเยอรมนีต้องการให้ ธ.กลางยุโรปลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 25 เม.ย.47 แหล่งข่าวในสหภาพยุโรปรายงานว่า ในการประชุม รมต.คลังและผู้ว่าการ
ธ.กลางของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 7 ประเทศที่วอชิงตัน รมต.คลังของเยอรมนีและฝรั่งเศสได้กระตุ้นให้
ธ.กลางยุโรปลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรป โดยให้เหตุผลว่าอัตรา
เงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.0 ที่ ธ.กลางยุโรปกำหนดไว้ ซึ่ง
แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังไม่ขยายตัวเท่าที่ควร แต่ประธาน ธ.กลางยุโรปให้สัมภาษณ์ว่ายังไม่ได้รับการร้อง
ขอจากประเทศใดให้ลดอัตราดอกเบี้ย และยืนยันว่าเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
แต่ ธ.กลางยุโรปยังคงเปิดกว้างสำหรับทุกทางเลือกรวมทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยหากพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ ธ.กลางยุโรปในการคงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อผลดีต่อ
เศรษฐกิจในระยะยาว โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของเขตเศรษฐกิจยุโรปอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่
ร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
3. G7 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเติบโต แต่มีข้อพึงระวังคือความเสี่ยงจากราคาน้ำมัน
และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 24 เม.ย.47 รมว.คลังของกลุ่มประเทศ
อุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (G7) เปิดเผยในแถลงการณ์ภายหลังการประชุมที่วอชิงตันว่า ภาวะเศรษฐกิจ
โลกมีแนวโน้มเติบโตขึ้น อันเป็นผลจากการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งได้ช่วยสนับ
สนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ทั้งการจ้างงานและการเพิ่มรายได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจโลกยัง
คงมีความเสี่ยงอยู่บ้างจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมัน แต่โดยรวมแล้วมีแนวโน้มที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ความ
ผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรายังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะต่อ
ประเทศที่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนไม่มีเสถียรภาพ ซึ่ง G7 จะเฝ้าระวังความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
ตราอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางญี่ปุ่นเห็นว่าเป็นการยากที่จะขจัดภาวะเงินฝืดแม้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเริ่มฟื้นตัวแล้วก็ตาม
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ วันที่ 24 เม.ย. 47 ผวก. ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยภายหลังการประชุมกลุ่ม
ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ | G7 และผวก. ธ.กลาง ณ กรุงวอชิงตัน ว่าธ.กลางญี่ปุ่น จะยัง
คงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย แต่อาจจะยังไม่สามารถขจัดภาวะเงินฝืดได้แม้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเริ่มฟื้นตัว
แล้วก็ตาม แนวทางที่จะบรรลุการรักษาเสถียรภาพของราคาโดยให้การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคของ
ญี่ปุ่นสูงกว่าศูนย์ อาจจะไม่เป็นการง่าย ทั้งนี้ในระยะ 2 | 3 ปีที่ผ่านมานั้น ธ.กลางญี่ปุ่นได้ดำเนินนโยบาย
การเงินแบบผ่อนปรน เพื่อที่จะให้ประเทศญี่ปุ่นพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ต่อเนื่องยาวนานมาเป็นทศวรรษ
และต้องการนำประเทศให้พ้นจากภาวะเงินฝืด แม้ว่าเมื่อเร็วๆนี้ที่มีสัญญานทางเศรษฐกิจที่ดี นักวิเคราะห์ส่วน
ใหญ่กล่าวว่า อาจจะไม่ยั่งยืน และอาจจะต้องใช้เวลาหลายปีสำหรับนำเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะเงินฝืดดังกล่าว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 เม.ย. 47 23 เม.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.599 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.4159/39.6988 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 681.88/19.36 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.04 32.16 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-