กระทรวงการคลังขอเรียนว่า Moody's Investors Service บริษัทจัดอันดับเครดิตชั้นนำของโลกได้เผยแพร่รายงานวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของประเทศไทย ในวันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2547 โดยมีประเด็นสำคัญใน 4 ด้าน ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Performance)
- การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลต่อการขยายตัวของ GDP ในปี 2547 การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนสูงจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ต่ำ ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับสูง และการจ้างงานส่งผลให้อุปสงค์ภาคเอกชนฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่วนโครงการใช้จ่ายเงินด้านสวัสดิการสังคมภายใต้การบริหารงานของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการใช้จ่ายของรัฐบาลในภาพรวม ส่วนการลงทุนภาครัฐกำลังลดลง โดยมีสัดส่วนประมาณหนึ่งในสี่ของการลงทุนรวมในปัจจุบัน ในขณะที่ภาคการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น Moody's มองว่าการระบาดของไข้หวัดนกไม่มีผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของ GDP มากนัก หรือ คิดเป็นร้อยละ 0.2 ต่อ GDP เท่านั้น ทั้งนี้ มาตรการควบคุมพาหะนำโรคอย่างเคร่งครัด จะช่วยลดความเสี่ยงของไข้หวัดนกได้
- Moody's เห็นว่า ปัญหาเศรษฐกิจร้อนแรง (Overheating) ยังไม่ปรากฏ อัตราเงินเฟ้อยังต่ำ การขยายตัวของสินเชื่อฟื้นตัวช้า แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวแล้ว แต่ยังไม่ส่งผลให้เกิดการร้อนแรงทางเศรษฐกิจมากนัก เพราะรัฐบาลและธนาคารกลางได้มีมาตรการควบคุมการเก็งกำไร
2. การพัฒนาทางการเมือง (Political Developments)
- Moody's มองว่า นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ยังคงได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างมาก เนื่องจากมาตรการใช้จ่ายเงินที่มุ่งเน้นสู่ชนบทและกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรียังได้รับการยอมรับจากกลุ่มธุรกิจและกลุ่มคนชั้นกลางในการสร้างการเมืองที่มีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพ
- การจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เป็นองค์กรกลางเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทำให้ลด NPL ในระบบธนาคารลง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมายล้มละลาย และมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนกระบวนการล้มละลาย
- ปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ขบวนการแบ่งแยกดินแดง หรือการแทรกซึมของขบวนการก่อการร้าย เป็นความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลเสียต่อภาคการท่องเที่ยว และการลงทุนจากต่างประเทศได้ แต่สภาพการณ์ขณะนี้ยังคงจำกัดอยู่แค่เพียงความไม่สงบในท้องถิ่นของจังหวัดในชายแดนภาคใต้ซึ่งห่างไกล
3. ภาวะการเงินภาครัฐและหนี้ในประเทศ(Government Finance and Domestic Debt)
- การปรับงบประมาณของไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ฐานะการคลังของประเทศไทยฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว คาดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดทำงบประมาณสมดุลในปีงบประมาณ 2548 เร็วกว่าเป้าหมายถึง 2 ปี สาเหตุสำคัญมาจากรายรับที่เพิ่มขึ้นจากภาษีมูลค่าเพิ่ม และการขยายตัวของเศรษฐกิจ ตลอดจนการสิ้นสุดของมาตรการยกเว้นภาษีนิติบุคคลที่ขาดทุนจากวิกฤติเศรษฐกิจ และการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี
- โครงการสวัสดิการสังคมและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มาตรการนอกงบประมาณ (Off-Budget Activities) มีผลต่อภาระทางการคลังไม่มากนัก แม้ว่ารัฐบาลอาจจะมีการเพิ่มการใช้จ่ายเงินในช่วงก่อนการเลือกตั้ง หรือเพื่อบรรลุอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 8 ในปี 2004 แต่การยึดมั่นในวินัยการคลังที่ผ่านมาได้ช่วยลดความกังวลลงได้
- หนี้สาธารณะได้ปรับตัวลดลงเหลือร้อยละ 49 ของ GDP ณ สิ้นปี 2546 หลังจากที่อยู่ในระดับสูงสุดถึงร้อยละ 57 ในปี 2543 ซึ่งลดเร็วกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม การลดลงในอนาคตอาจช้าลง เพราะความจำเป็นในการ fiscalize หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
4. ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก และสภาพคล่องทางการเงิน (External Vulnerability and Liquidity)
- นโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าประเทศถือว่าได้ผลเป็นอย่างดี แม้ว่าการนำเข้าสินค้าของไทยจะปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภาคการส่งออกยังคงเข้มแข็ง อีกทั้งมาตรการเปิดการค้าเสรี (FTA) และการส่งออกสินค้าไปประเทศจีนซึ่งขยายตัวกว่าร้อยละ 60 ในปี 2546 และคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก ทำให้ประเทศจีนจะกลายเป็นประเทศคู่ค้าของไทยที่ใหญ่ที่สุดในปี 2551
- การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิได้ขยายตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ 1.5 - 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2546 และ 2547 ซึ่งสูงกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2545 แม้ว่าจะมีการชำระหนี้ต่างประเทศ แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุล ส่งผลให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศยิ่งสูงขึ้น
- การลดลงของหนี้ต่างประเทศ และการสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศทำให้ความเปราะบางต่อปัจจัยภายนอกของประเทศไทยลดลงอย่างมาก โดยในปลายปี 2546 หนี้ต่างประเทศลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับปี 2542 อีกทั้งหนี้ภาครัฐและเอกชนส่วนอื่นได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้รัฐบาลตั้งใจที่จะชำระคืนหนี้ต่างประเทศก่อนกำหนดโดยใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงมาอยู่ในระดับ 35 พันล้านเหรียญสหรัฐ การลดลงของทุนสำรองระหว่างประเทศดังกล่าวจะช่วยชะลอไม่ให้ค่าของเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากจนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
กระทรวงการคลัง ขอเรียนว่า รายงานฉบับดังกล่าวของ Moody's มีมุมมองที่เป็นบวกต่อเศรษฐกิจไทยในทุกด้าน ทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ฐานะทางการคลัง หนี้สาธารณะ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของพื้นฐานเศรษฐกิจไทย และความเชื่อมั่นของ Moody's ที่มีต่อประเทศไทย
____________________
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 32/2547 26 เมษายน 2547--
-นท-
1. ภาวะเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Performance)
- การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลต่อการขยายตัวของ GDP ในปี 2547 การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนสูงจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ต่ำ ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับสูง และการจ้างงานส่งผลให้อุปสงค์ภาคเอกชนฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่วนโครงการใช้จ่ายเงินด้านสวัสดิการสังคมภายใต้การบริหารงานของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการใช้จ่ายของรัฐบาลในภาพรวม ส่วนการลงทุนภาครัฐกำลังลดลง โดยมีสัดส่วนประมาณหนึ่งในสี่ของการลงทุนรวมในปัจจุบัน ในขณะที่ภาคการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น Moody's มองว่าการระบาดของไข้หวัดนกไม่มีผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของ GDP มากนัก หรือ คิดเป็นร้อยละ 0.2 ต่อ GDP เท่านั้น ทั้งนี้ มาตรการควบคุมพาหะนำโรคอย่างเคร่งครัด จะช่วยลดความเสี่ยงของไข้หวัดนกได้
- Moody's เห็นว่า ปัญหาเศรษฐกิจร้อนแรง (Overheating) ยังไม่ปรากฏ อัตราเงินเฟ้อยังต่ำ การขยายตัวของสินเชื่อฟื้นตัวช้า แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวแล้ว แต่ยังไม่ส่งผลให้เกิดการร้อนแรงทางเศรษฐกิจมากนัก เพราะรัฐบาลและธนาคารกลางได้มีมาตรการควบคุมการเก็งกำไร
2. การพัฒนาทางการเมือง (Political Developments)
- Moody's มองว่า นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ยังคงได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างมาก เนื่องจากมาตรการใช้จ่ายเงินที่มุ่งเน้นสู่ชนบทและกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรียังได้รับการยอมรับจากกลุ่มธุรกิจและกลุ่มคนชั้นกลางในการสร้างการเมืองที่มีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพ
- การจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เป็นองค์กรกลางเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทำให้ลด NPL ในระบบธนาคารลง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมายล้มละลาย และมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนกระบวนการล้มละลาย
- ปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ขบวนการแบ่งแยกดินแดง หรือการแทรกซึมของขบวนการก่อการร้าย เป็นความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลเสียต่อภาคการท่องเที่ยว และการลงทุนจากต่างประเทศได้ แต่สภาพการณ์ขณะนี้ยังคงจำกัดอยู่แค่เพียงความไม่สงบในท้องถิ่นของจังหวัดในชายแดนภาคใต้ซึ่งห่างไกล
3. ภาวะการเงินภาครัฐและหนี้ในประเทศ(Government Finance and Domestic Debt)
- การปรับงบประมาณของไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ฐานะการคลังของประเทศไทยฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว คาดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดทำงบประมาณสมดุลในปีงบประมาณ 2548 เร็วกว่าเป้าหมายถึง 2 ปี สาเหตุสำคัญมาจากรายรับที่เพิ่มขึ้นจากภาษีมูลค่าเพิ่ม และการขยายตัวของเศรษฐกิจ ตลอดจนการสิ้นสุดของมาตรการยกเว้นภาษีนิติบุคคลที่ขาดทุนจากวิกฤติเศรษฐกิจ และการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี
- โครงการสวัสดิการสังคมและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มาตรการนอกงบประมาณ (Off-Budget Activities) มีผลต่อภาระทางการคลังไม่มากนัก แม้ว่ารัฐบาลอาจจะมีการเพิ่มการใช้จ่ายเงินในช่วงก่อนการเลือกตั้ง หรือเพื่อบรรลุอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 8 ในปี 2004 แต่การยึดมั่นในวินัยการคลังที่ผ่านมาได้ช่วยลดความกังวลลงได้
- หนี้สาธารณะได้ปรับตัวลดลงเหลือร้อยละ 49 ของ GDP ณ สิ้นปี 2546 หลังจากที่อยู่ในระดับสูงสุดถึงร้อยละ 57 ในปี 2543 ซึ่งลดเร็วกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม การลดลงในอนาคตอาจช้าลง เพราะความจำเป็นในการ fiscalize หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
4. ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก และสภาพคล่องทางการเงิน (External Vulnerability and Liquidity)
- นโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าประเทศถือว่าได้ผลเป็นอย่างดี แม้ว่าการนำเข้าสินค้าของไทยจะปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภาคการส่งออกยังคงเข้มแข็ง อีกทั้งมาตรการเปิดการค้าเสรี (FTA) และการส่งออกสินค้าไปประเทศจีนซึ่งขยายตัวกว่าร้อยละ 60 ในปี 2546 และคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก ทำให้ประเทศจีนจะกลายเป็นประเทศคู่ค้าของไทยที่ใหญ่ที่สุดในปี 2551
- การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิได้ขยายตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ 1.5 - 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2546 และ 2547 ซึ่งสูงกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2545 แม้ว่าจะมีการชำระหนี้ต่างประเทศ แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุล ส่งผลให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศยิ่งสูงขึ้น
- การลดลงของหนี้ต่างประเทศ และการสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศทำให้ความเปราะบางต่อปัจจัยภายนอกของประเทศไทยลดลงอย่างมาก โดยในปลายปี 2546 หนี้ต่างประเทศลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับปี 2542 อีกทั้งหนี้ภาครัฐและเอกชนส่วนอื่นได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้รัฐบาลตั้งใจที่จะชำระคืนหนี้ต่างประเทศก่อนกำหนดโดยใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงมาอยู่ในระดับ 35 พันล้านเหรียญสหรัฐ การลดลงของทุนสำรองระหว่างประเทศดังกล่าวจะช่วยชะลอไม่ให้ค่าของเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากจนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
กระทรวงการคลัง ขอเรียนว่า รายงานฉบับดังกล่าวของ Moody's มีมุมมองที่เป็นบวกต่อเศรษฐกิจไทยในทุกด้าน ทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ฐานะทางการคลัง หนี้สาธารณะ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของพื้นฐานเศรษฐกิจไทย และความเชื่อมั่นของ Moody's ที่มีต่อประเทศไทย
____________________
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 32/2547 26 เมษายน 2547--
-นท-