วันนี้ (26 เม.ย.47) เวลา 09.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการ เจาะลึกทั่วไทย ทางคลื่นวิทยุ 96.5 เมกกะเฮิร์ต ถึงการประกาศนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ที่มีแนวทางเป็น 4 ภารกิจเร่งด่วนว่า นโยบายที่ประกาศออกมาประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ แนวทางการแก้ปัญหาแบบมองสั้นของพรรคไทยรักไทย ที่เป็นการสร้างปัญหา และไม่ได้นำไปสู่ความยั่งยืน นอกจากนั้นยังทำให้ความสามารถของประเทศและคนไทยในระยะยาวถูกละเลย และการเสนอนโยบายของพรรคฯในอดีตเป็นกรอบความคิดในเชิงระบบและการแก้ปัญหาระยะยาวโดยอาจจะละเลยความต้องการของประชาชน เพราะฉะนั้นการกำหนดนโยบายในครั้งนี้ จึงมาจากการสำรวจความต้องการของประชาชนก่อน แล้วนำมารวมกับแนวคิดและอุดมการณ์ของพรรคฯ ซึ่งนำไปสู่แผนปฏิบัติการที่เรียกว่า บันได 2 ขั้นสู่ชีวิตที่ดีกว่า
‘พรรคมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาของบ้านเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางการแก้ปัญหาของพรรคไทยรักไทย ที่ต้องการเอาเงินไปใส่มือคนให้ใช้มากๆโดยไม่สนใจว่าเงินนั้นได้กลายเป็นหนี้สิน และไม่ได้นำไปสู่ความยั่งยืน ดังนั้นบันได 2 ขั้น คือ การหันมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนที่อาจจะถูกมองข้ามไปบ้าง ว่าทำอย่างไรให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้ โดยเฉพาะจากภาวะหนี้สิน และขณะเดียวกันต้องโยงเข้าสู่การลงทุนเพื่ออนาคต สู่ชีวิตที่ดีกว่า จึงได้แปลออกมาเป็นนโยบาย 4 ด้านดังกล่าว’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ภารกิจที่ 1 รัฐจะรับภาระด้านการศึกษาแบบเต็มรูปแบบจนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 นั้น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า พรรคฯให้ความสำคัญกับคน เพราะฉะนั้นการที่จะทำให้คนมีคุณภาพต้องเริ่มที่การศึกษา ซึ่งจากการประเมินของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องมีความเห็นว่าควรจะเริ่มจากระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย ซึ่งจะเท่ากับ 14 ปี เพิ่มจากกฎหมายสูงสุดของประเทศที่ระบุว่าคนไทยต้องได้เรียนฟรีไม่ต่ำกว่า 12 ปี และที่ได้รับฟังปัญหามาคือผู้ปกครองยังต้องรับภาระค่าใช้จ่ายอีกมาก ซึ่งยังไม่ใช่การเรียนฟรีจริงๆ เนื่องจากรัฐบาลลงทุนไม่พอ ทั้งการจัดค่าใช้จ่ายต่อหัวให้กับโรงเรียนของรัฐ หรือการให้เงินสนับสนุนแก่โรงเรียนเอกชน ที่ไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ทำให้โรงเรียนยังต้องเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มเพื่อลดภาระอีก
‘รัฐบาลก็มีการพูดถึงนโยบายเรียนฟรี 14 ปีเหมือนกัน แต่การที่รัฐบาลให้เรียนฟรีไม่ได้ฟรีจริง เพราะว่ารัฐบาลลงทุนไม่พอ พรรคจึงประกาศว่า14 ปีที่ฟรีต้องฟรีจริง นี่คือหลักคิดที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ อะไรที่เป็นเรื่องความจำเป็นที่จะทำให้เรียนหนังสือในโรงเรียนได้รัฐจะเป็นผู้รับภาระเอง เรื่องคอมพิวเตอร์ก็ถือเป็นเรื่องจำเป็น เราลงทุนในเรื่องคน เพราะฉะนั้นต้องเริ่มที่การศึกษา ส่วนที่ยังคงกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาไว้ เนื่องจากกองทุนกู้ยืมครอบคลุมในระดับมัธยมปลายจนถึงระดับอุดมศึกษา สมมุติว่าถ้าเด็กจบ ม.ต้นและไม่ได้เรียนต่อ เพราะอาจจะทำงานหาเงินช่วยเหลือครอบครัว เพราะว่าเราบังคับแค่ถึงมัธยมต้น ผู้ปกครองที่ไม่ส่งลูกเข้าโรงเรียนใน 9 ปีแรกมีความผิดทางกฎหมาย แต่พอปีที่ 10 ขึ้นไป เราต้องใช้มาตรการเสริมเพื่อจูงใจให้เด็กอยู่ต่อในโรงเรียน เพราะฉะนั้นจึงมีทั้งค่าเสียโอกาส และค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่ใช่ค่าเล่าเรียน ตรงนี้คือสิ่งที่กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเข้าไปอุดช่องโหว่ นี่เป็นหลักคิด’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ส่วนการเพิ่มจำนวนรับนักศึกษาในระบบเอ็นทรานซ์อีก 20% เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงเพื่อที่จะเข้ามหาวิทยาลัย และในขณะเดียวกันสถาบันอุดมศึกษาก็ไม่สามารถเติบโตพอที่จะรองรับการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ เพราะฉะนั้นจึงมีแนวคิดว่าควรเพิ่ม อย่างไรก็ตามต้องเตรียมโครงการสนับสนุนความพร้อมให้สถาบันอุดมศึกษาควบคู่ไปด้วย ‘เป็นการประกาศเป้าหมายว่าจะเพิ่มให้ได้ร้อยละ 20 คงจะเพิ่มปีละ ร้อยละ 20 คงไม่ได้ การรองรับของมหาวิทยาลัยปิดจะต้องเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงนี้ต้องมาพร้อมกับนโยบายที่จะสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยของรัฐสามารถที่จะทำตรงนี้ได้ เพราะว่าไม่ต้องการให้การเพิ่มปริมาณไปกระทบคุณภาพ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ภารกิจที่ 2 การเพิ่มรายได้ให้คนไทย พร้อมช่วยลดหนี้สินให้กลับสู่สภาวะปลอดหนี้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ที่สำคัญคือการแก้ปัญหาหนี้สินที่เกิดขึ้น หารายได้ที่มั่นคง และส่งเสริมการลงทุนที่ยั่งยืน ซึ่งจะมีการสนับสนุนให้ดำเนินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ หรือโครงการตามแนวพระราชดำริ ซึ่งถ้าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้ไม่ถึง 5,000 บาทต่อเดือน รัฐก็จะให้เงินสนับสนุนเพื่อให้มีรายได้ถึงตามจำนวนดังกล่าว เป็นแนวทางในการสร้างแรงจูงใจให้มีการปรับการทำเกษตรให้เป็นไปตามแนวทางที่กล่าวมาเบื้องต้น และจะยกหนี้ที่เกิดจากโครงการที่ล้มเหลวของรัฐในอดีต รวมถึงหนี้ที่เกิดจากภัยธรรมชาติ แต่หนี้ในส่วนอื่นก็จะมีการปรับ ลด แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไข เช่น การช่วยทำงานสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเพื่อแลกกับการลดหนี้
ภารกิจที่ 3 การผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการเรียนการฝึกฝนวิชาชีพ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า พรรคฯมีแนวคิดว่า รัฐบาลจะช่วยทั้งเรื่องการสร้างงาน และการประสานกับภาคเอกชน สำหรับเด็กที่จบใหม่ให้มีโอกาสที่จะทำงานหรือฝึกงาน โดยมีรายได้ไม่ต่ำกว่าขั้นแรงขั้นต่ำ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการว่างงานลงได้ค่อนข้างมาก ‘ตรงนี้จะเป็นการปูพื้นฐานว่า อย่างน้อยถ้าจบการศึกษามา จะมีการรองรับในเรื่องของงานที่จะทำ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ภารกิจที่ 4 การให้ผู้สูงอายุมีรายได้เป็นของตนเอง ลดความห่วงกังวลของลูกหลาน จะมีการจัดตั้งกองทุนเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีสิทธิรับเงินจากกองทุนเลี้ยงชีพ 1,000 บาทต่อเดือน เป็นการดำเนินการต่อจากสิ่งที่พรรคฯเริ่มต้นไว้ คือ เบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ ซึ่งการจัดตั้งกองทุนเลี้ยงชีพผู้สูงอายุขึ้นมาใหม่นั้น ต้องดูความสัมพันธ์ของกองทุนที่จะเกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบด้วย
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวไม่ใช่นโยบายทั้งหมดของพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นเพียงแนวคิดเริ่มต้นที่จะใช้คนเป็นตัวตั้งในการแก้ปัญหา หลักสำคัญคือ รัฐจะลงทุนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และเป็นการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่านโยบายดังกล่าวไม่ใช่นโยบายประชานิยม เนื่องจากนโยบายประชานิยมจะไม่คิดถึงผลในอนาคตแต่เป็นการมุ่งหาคะแนนเสียงเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากนโยบายของพรรคฯที่จะเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนอย่างยั่งยืนเป็นเป้าหมายหลัก อย่างไรก็ตามรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เปิดเผยว่า จะมีการประกาศนโยบายอื่นออกมาอีกเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26/04/47--จบ--
-สส-
‘พรรคมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาของบ้านเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางการแก้ปัญหาของพรรคไทยรักไทย ที่ต้องการเอาเงินไปใส่มือคนให้ใช้มากๆโดยไม่สนใจว่าเงินนั้นได้กลายเป็นหนี้สิน และไม่ได้นำไปสู่ความยั่งยืน ดังนั้นบันได 2 ขั้น คือ การหันมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนที่อาจจะถูกมองข้ามไปบ้าง ว่าทำอย่างไรให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้ โดยเฉพาะจากภาวะหนี้สิน และขณะเดียวกันต้องโยงเข้าสู่การลงทุนเพื่ออนาคต สู่ชีวิตที่ดีกว่า จึงได้แปลออกมาเป็นนโยบาย 4 ด้านดังกล่าว’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ภารกิจที่ 1 รัฐจะรับภาระด้านการศึกษาแบบเต็มรูปแบบจนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 นั้น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า พรรคฯให้ความสำคัญกับคน เพราะฉะนั้นการที่จะทำให้คนมีคุณภาพต้องเริ่มที่การศึกษา ซึ่งจากการประเมินของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องมีความเห็นว่าควรจะเริ่มจากระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย ซึ่งจะเท่ากับ 14 ปี เพิ่มจากกฎหมายสูงสุดของประเทศที่ระบุว่าคนไทยต้องได้เรียนฟรีไม่ต่ำกว่า 12 ปี และที่ได้รับฟังปัญหามาคือผู้ปกครองยังต้องรับภาระค่าใช้จ่ายอีกมาก ซึ่งยังไม่ใช่การเรียนฟรีจริงๆ เนื่องจากรัฐบาลลงทุนไม่พอ ทั้งการจัดค่าใช้จ่ายต่อหัวให้กับโรงเรียนของรัฐ หรือการให้เงินสนับสนุนแก่โรงเรียนเอกชน ที่ไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ทำให้โรงเรียนยังต้องเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มเพื่อลดภาระอีก
‘รัฐบาลก็มีการพูดถึงนโยบายเรียนฟรี 14 ปีเหมือนกัน แต่การที่รัฐบาลให้เรียนฟรีไม่ได้ฟรีจริง เพราะว่ารัฐบาลลงทุนไม่พอ พรรคจึงประกาศว่า14 ปีที่ฟรีต้องฟรีจริง นี่คือหลักคิดที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ อะไรที่เป็นเรื่องความจำเป็นที่จะทำให้เรียนหนังสือในโรงเรียนได้รัฐจะเป็นผู้รับภาระเอง เรื่องคอมพิวเตอร์ก็ถือเป็นเรื่องจำเป็น เราลงทุนในเรื่องคน เพราะฉะนั้นต้องเริ่มที่การศึกษา ส่วนที่ยังคงกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาไว้ เนื่องจากกองทุนกู้ยืมครอบคลุมในระดับมัธยมปลายจนถึงระดับอุดมศึกษา สมมุติว่าถ้าเด็กจบ ม.ต้นและไม่ได้เรียนต่อ เพราะอาจจะทำงานหาเงินช่วยเหลือครอบครัว เพราะว่าเราบังคับแค่ถึงมัธยมต้น ผู้ปกครองที่ไม่ส่งลูกเข้าโรงเรียนใน 9 ปีแรกมีความผิดทางกฎหมาย แต่พอปีที่ 10 ขึ้นไป เราต้องใช้มาตรการเสริมเพื่อจูงใจให้เด็กอยู่ต่อในโรงเรียน เพราะฉะนั้นจึงมีทั้งค่าเสียโอกาส และค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่ใช่ค่าเล่าเรียน ตรงนี้คือสิ่งที่กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเข้าไปอุดช่องโหว่ นี่เป็นหลักคิด’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ส่วนการเพิ่มจำนวนรับนักศึกษาในระบบเอ็นทรานซ์อีก 20% เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงเพื่อที่จะเข้ามหาวิทยาลัย และในขณะเดียวกันสถาบันอุดมศึกษาก็ไม่สามารถเติบโตพอที่จะรองรับการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ เพราะฉะนั้นจึงมีแนวคิดว่าควรเพิ่ม อย่างไรก็ตามต้องเตรียมโครงการสนับสนุนความพร้อมให้สถาบันอุดมศึกษาควบคู่ไปด้วย ‘เป็นการประกาศเป้าหมายว่าจะเพิ่มให้ได้ร้อยละ 20 คงจะเพิ่มปีละ ร้อยละ 20 คงไม่ได้ การรองรับของมหาวิทยาลัยปิดจะต้องเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงนี้ต้องมาพร้อมกับนโยบายที่จะสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยของรัฐสามารถที่จะทำตรงนี้ได้ เพราะว่าไม่ต้องการให้การเพิ่มปริมาณไปกระทบคุณภาพ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ภารกิจที่ 2 การเพิ่มรายได้ให้คนไทย พร้อมช่วยลดหนี้สินให้กลับสู่สภาวะปลอดหนี้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ที่สำคัญคือการแก้ปัญหาหนี้สินที่เกิดขึ้น หารายได้ที่มั่นคง และส่งเสริมการลงทุนที่ยั่งยืน ซึ่งจะมีการสนับสนุนให้ดำเนินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ หรือโครงการตามแนวพระราชดำริ ซึ่งถ้าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้ไม่ถึง 5,000 บาทต่อเดือน รัฐก็จะให้เงินสนับสนุนเพื่อให้มีรายได้ถึงตามจำนวนดังกล่าว เป็นแนวทางในการสร้างแรงจูงใจให้มีการปรับการทำเกษตรให้เป็นไปตามแนวทางที่กล่าวมาเบื้องต้น และจะยกหนี้ที่เกิดจากโครงการที่ล้มเหลวของรัฐในอดีต รวมถึงหนี้ที่เกิดจากภัยธรรมชาติ แต่หนี้ในส่วนอื่นก็จะมีการปรับ ลด แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไข เช่น การช่วยทำงานสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเพื่อแลกกับการลดหนี้
ภารกิจที่ 3 การผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการเรียนการฝึกฝนวิชาชีพ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า พรรคฯมีแนวคิดว่า รัฐบาลจะช่วยทั้งเรื่องการสร้างงาน และการประสานกับภาคเอกชน สำหรับเด็กที่จบใหม่ให้มีโอกาสที่จะทำงานหรือฝึกงาน โดยมีรายได้ไม่ต่ำกว่าขั้นแรงขั้นต่ำ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการว่างงานลงได้ค่อนข้างมาก ‘ตรงนี้จะเป็นการปูพื้นฐานว่า อย่างน้อยถ้าจบการศึกษามา จะมีการรองรับในเรื่องของงานที่จะทำ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ภารกิจที่ 4 การให้ผู้สูงอายุมีรายได้เป็นของตนเอง ลดความห่วงกังวลของลูกหลาน จะมีการจัดตั้งกองทุนเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีสิทธิรับเงินจากกองทุนเลี้ยงชีพ 1,000 บาทต่อเดือน เป็นการดำเนินการต่อจากสิ่งที่พรรคฯเริ่มต้นไว้ คือ เบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ ซึ่งการจัดตั้งกองทุนเลี้ยงชีพผู้สูงอายุขึ้นมาใหม่นั้น ต้องดูความสัมพันธ์ของกองทุนที่จะเกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบด้วย
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวไม่ใช่นโยบายทั้งหมดของพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นเพียงแนวคิดเริ่มต้นที่จะใช้คนเป็นตัวตั้งในการแก้ปัญหา หลักสำคัญคือ รัฐจะลงทุนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และเป็นการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่านโยบายดังกล่าวไม่ใช่นโยบายประชานิยม เนื่องจากนโยบายประชานิยมจะไม่คิดถึงผลในอนาคตแต่เป็นการมุ่งหาคะแนนเสียงเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากนโยบายของพรรคฯที่จะเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนอย่างยั่งยืนเป็นเป้าหมายหลัก อย่างไรก็ตามรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เปิดเผยว่า จะมีการประกาศนโยบายอื่นออกมาอีกเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26/04/47--จบ--
-สส-