การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมี นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้
๑. กระทู้ถาม(ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม รวม ๔ เรื่อง
๒.๑ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่าง
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา-
จักรไทย มาตรา ๑๗๔ ให้ขยายเวลาออกไปอีก ๓๐ วัน
๒.๒ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเครื่องแบบ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
๒.๓ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและ
ปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
๒.๔ รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ไว้พิจารณาให้คำรับรอง คือ
- ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ฉบับที่…) พ.ศ. …. (นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ)
๓. รับรองรายงานประชุม(ไม่มี)
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้พิจารณาเรื่องด่วนที่ ๑๓ ตามที่ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ เสนอให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาตามลำดับดังนี้
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อ
พัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ ซึ่งค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ ก่อนการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า วุฒิสภามีมติแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้หากสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบให้ถือว่าผ่านการพิจารณาของ รัฐสภา แต่หากไม่เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณา ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายการไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา เกี่ยวกับถ้อยคำว่า "ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ ที่ศาสนสมบัติกลาง" ในร่างพระราชบัญญัตินี้ จึงขอให้ทั้งสองสภาตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาและในชั้นกรรมาธิการนั้นขอให้มีการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ คือ การตัดถ้อยคำ "ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ ที่ศาสนสมบัติ" ออกจากร่างกฎหมายในทุกมาตรา โครงสร้างของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น การจัดตั้งกองทุนจัดรูปที่ดิน การตัดบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับคณะสงฆ์ออกไปเพื่อให้ง่ายต่อการปฎิบัติตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
จากนั้นที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภาด้วยคะแนน ๓๔๒ เสียง งดออกเสียง ๓ เสียง ไม่เห็นชอบและไม่ลงคะแนน ไม่มี และให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณา จำนวน ๒๔ คน แยกเป็นสภาผู้แทนราษฎร ๑๒ คน และวุฒิสภา ๑๒ คน
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(ฉบับที่...) พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติ…(นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ กับคณะเป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติ…(นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ และนายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
เป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติ…(นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา และนายโสภณ ซารัมย์
เป็นผู้เสนอ)
ที่ประชุมจึงมีมติให้พิจารณาในคราวเดียวกัน หลังจากนั้น นายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่ากฎหมายนี้มีเหตุผลเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเพิ่มกรรมการและเปลี่ยนชื่อกรรมการโดยตำแหน่งให้สอดคล้องกับการปฎิรูประบบราชการจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ต่อมาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องการประกัน คุณภาพการศึกษาการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันเป็นวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา แห่งชาติ ซึ่งการประกันคุณภาพมี ๒ ลักษณะ คือ การประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษาจากสำนักงานเพื่อการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในมาตรา ๓ วรรค ๔ ที่มีถ้อยคำซ้ำซ้อนไม่ชัดเจนระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก วรรค ๕ ว่าด้วยการผลิตครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยังขาดการนำผลการค้นคว้าศึกษาวิจัยวิธีการสอนด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือ สสวท. มาใช้เป็นแนวทางการสอนให้กับครูผู้จะไปเป็นครูผู้สอนนักเรียน นักศึกษาต่อไป ทั้งที่การค้นคว้าวิจัยนี้ต้องใช้เวลาและ งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้นควรปรับถ้อยคำในวรรคนี้เสียใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิตครูผู้สอนสูงสุด
ในมาตรา ๔ ว่าด้วยคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ควรเพิ่มเติมผู้อำนวยการ สสวท. และคณบดีในสถาบันการศึกษาที่สอนด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีหรือผู้แทนสภาวิชาชีพครู ร่วมเป็นกรรมการด้วย และควรพิจารณาในส่วนองค์ประกอบ
ผู้ทรงคุณวุฒิให้ครบถ้วนตามภารกิจของ สสวท. ซึ่งเชื่อมโยงกับการคัดเลือก หลักเกณฑ์ การจำแนก คุณสมบัติผู้จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากนี้ขอให้กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์เข้ารับทุนรัฐบาลตามโครงการผลิตบัณฑิตวิชาชีพครูด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเน้นที่สาขาวิชาเพื่อให้โอกาสกับผู้เรียน ในสถาบันราชภัฎได้รับสิทธิ์นี้ด้วย หลังจากอภิปรายพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบรับ
หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ๒๙๒ เสียง ไม่เห็นชอบและงดออกเสียง ไม่มี ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) โดยนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงหลักการและ
เหตุผลต่อที่ประชุมว่าเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อให้สอดคล้องกับการ
ปฎิรูปการศึกษาให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมมหาวิทยาลัยของรัฐให้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ ไม่เป็นส่วนราชการอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานมีความเป็นอิสระคล่องตัวสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยตั้งเป็นข้อสังเกตให้นำไปพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ในหลายประเด็นดังนี้ คือ ในเรื่องหลักการควรยึดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเป็นหลักในหลักการและเหตุผล การส่วนงานใน
มาตรา ๙ ควรให้สำนักงานสภามหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานแรก และสำนักงานอธิการบดีเป็นหน่วยงานลำดับต่อมาควรกำหนดหมวดเงินเดือนของพนักงานมหาวิทยาลัยในตัวบทมิใช่เฉพาะในบทเฉพาะการเท่านั้นเพื่อให้สอดรับกับพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ในมาตรา ๒๓ ว่าด้วยสภาวิชาการนั้นต้องประกอบไปด้วยนักวิชาการมิใช่บุคคลภายนอกเพราะเป็นสภาภายในมหาวิทยาลัยที่จะมีส่วนในการพัฒนาวิชาการโดยขอให้ศึกษารายละเอียด จากต่างประเทศเปรียบด้วย ขอให้มีการทบทวนมาตรา ๒๙ ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามการเป็นอธิการบดีอีกครั้ง เพราะที่กำหนดไว้นี้เป็นการจำกัดสิทธิบุคคล รวมทั้งพิจารณาทบทวนอำนาจในการแต่งตั้งอาจารย์พิเศษควรเป็นใคร เพราะไม่ได้กำหนดไว้ในร่างกฎหมายฉบับนี้ ในมาตรา ๓๓ ว่าด้วยเขตการศึกษาหรือวิทยาเขตนั้นควรให้เป็นเรื่องภายในของมหาวิทยาลัยได้จัดระบบการบริการเองการบัญญัติคำว่า "ประกาศนียบัตรดุษฎีบัณฑิต" ในมาตรา ๕๘
นั้นควรปรับถ้อยคำใหม่เพราะไม่ถูกต้องตามหลักการจัดการสำหรับผู้เข้าศึกษาหลังการจบระดับปริญญาเอกที่ใช้คำว่า "ดุษฎีบัณฑิต" การแต่งตั้งถอดถอนบุคคลในสายงานทั้ง ๓ สายงาน คือ สภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ สภาพนักงานมีหลักเกณฑ์และจะเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยที่ทั้ง ๓ สายงานมาจากการสมัครรับการคัดเลือกอย่างไร การสนับสนุนให้หน่วยงานภาคเอกชนมามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มากขึ้น ขอให้มีการตรวจสอบการใช้การบริหารงบประมาณให้มีความโปร่งใส ให้ยึดหลักการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายใหญ่ของการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยบูรพาว่าจะยังคงยึดหลักคุณภาพมากกว่าปริมาณ รวมทั้งในเรื่อง การตรวจสอบการใช้งบประมาณนั้นจะยังใช้มาตราการเข้มงวดมากขึ้นอย่างแน่นอน จากนั้นที่ประชุมมีมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินี้ ๓๑๕ เสียง งดออกเสียง ๑ เสียง ไม่เห็นชอบ และไม่ลงคะแนนไม่มี ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๔ . ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. … (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) เป็นเรื่องที่ ๑-๓ เลื่อนมาตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติ…(นายประกอบ รัตนพันธ์ และคณะเป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติ…(นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติ…(นายพงษ์พิช รุ่งเป้า และนายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ เป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติ…(นายอำนวย คลังผา และพันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ เป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติ…(นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายชาญศักดิ์
ชวลิตนิติธรรม เป็นผู้เสนอ)
ที่ประชุมจึงมีมติให้พิจารณาในคราวเดียวกัน
โดยนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมถึงหลักการและเหตุผลเสนอกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้มีกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีความจำเป็นต้องประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายโดยด่วน
จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางเพื่อเป็นข้อสังเกตให้นำไปพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ คือ การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาควรเน้นคุณธรรมและความเสมอภาคในการจัดการศึกษาให้กับนักศึกษา การให้ความเป็นอิสระในเนื้อหาลักสูตรการศึกษาโดยควรนำภูมิปัญญา ท้องถิ่นมาเป็นแนวทางในการกำหนดหลักสูตรด้วยจนกระทั่งสามารถแลกเปลี่ยนกับการอาชีวศึกษากับต่างประเทศได้ ในเรื่องของการบริหารจัดการควรใช้ระบบเขตพื้นที่การศึกษา การให้มีสภาการศึกษา วางระบบการศึกษาไม่เฉพาะเพียงระดับปริญญาตรีเท่านั้นควรให้ถึงระดับปริญญาเอก และในเรื่องการบริหารงานบุคคลในการอาชีวศึกษาควรเป็นระบบเดียวกับหน่วยงานทางการศึกษาอื่น ๆ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ๓๑๖ คน ไม่เห็นชอบ ๑ เสียง งดและไม่ลงคะแนน ไม่มี และให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
ปิดการประชุมเวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกา
-----------------------------------------------------
๑. กระทู้ถาม(ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม รวม ๔ เรื่อง
๒.๑ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่าง
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา-
จักรไทย มาตรา ๑๗๔ ให้ขยายเวลาออกไปอีก ๓๐ วัน
๒.๒ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเครื่องแบบ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
๒.๓ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและ
ปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
๒.๔ รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ไว้พิจารณาให้คำรับรอง คือ
- ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ฉบับที่…) พ.ศ. …. (นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ)
๓. รับรองรายงานประชุม(ไม่มี)
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้พิจารณาเรื่องด่วนที่ ๑๓ ตามที่ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ เสนอให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาตามลำดับดังนี้
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อ
พัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ ซึ่งค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ ก่อนการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า วุฒิสภามีมติแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้หากสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบให้ถือว่าผ่านการพิจารณาของ รัฐสภา แต่หากไม่เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณา ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายการไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา เกี่ยวกับถ้อยคำว่า "ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ ที่ศาสนสมบัติกลาง" ในร่างพระราชบัญญัตินี้ จึงขอให้ทั้งสองสภาตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาและในชั้นกรรมาธิการนั้นขอให้มีการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ คือ การตัดถ้อยคำ "ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ ที่ศาสนสมบัติ" ออกจากร่างกฎหมายในทุกมาตรา โครงสร้างของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น การจัดตั้งกองทุนจัดรูปที่ดิน การตัดบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับคณะสงฆ์ออกไปเพื่อให้ง่ายต่อการปฎิบัติตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
จากนั้นที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภาด้วยคะแนน ๓๔๒ เสียง งดออกเสียง ๓ เสียง ไม่เห็นชอบและไม่ลงคะแนน ไม่มี และให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณา จำนวน ๒๔ คน แยกเป็นสภาผู้แทนราษฎร ๑๒ คน และวุฒิสภา ๑๒ คน
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(ฉบับที่...) พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติ…(นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ กับคณะเป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติ…(นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ และนายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
เป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติ…(นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา และนายโสภณ ซารัมย์
เป็นผู้เสนอ)
ที่ประชุมจึงมีมติให้พิจารณาในคราวเดียวกัน หลังจากนั้น นายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่ากฎหมายนี้มีเหตุผลเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเพิ่มกรรมการและเปลี่ยนชื่อกรรมการโดยตำแหน่งให้สอดคล้องกับการปฎิรูประบบราชการจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ต่อมาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องการประกัน คุณภาพการศึกษาการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันเป็นวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา แห่งชาติ ซึ่งการประกันคุณภาพมี ๒ ลักษณะ คือ การประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษาจากสำนักงานเพื่อการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในมาตรา ๓ วรรค ๔ ที่มีถ้อยคำซ้ำซ้อนไม่ชัดเจนระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก วรรค ๕ ว่าด้วยการผลิตครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยังขาดการนำผลการค้นคว้าศึกษาวิจัยวิธีการสอนด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือ สสวท. มาใช้เป็นแนวทางการสอนให้กับครูผู้จะไปเป็นครูผู้สอนนักเรียน นักศึกษาต่อไป ทั้งที่การค้นคว้าวิจัยนี้ต้องใช้เวลาและ งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้นควรปรับถ้อยคำในวรรคนี้เสียใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิตครูผู้สอนสูงสุด
ในมาตรา ๔ ว่าด้วยคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ควรเพิ่มเติมผู้อำนวยการ สสวท. และคณบดีในสถาบันการศึกษาที่สอนด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีหรือผู้แทนสภาวิชาชีพครู ร่วมเป็นกรรมการด้วย และควรพิจารณาในส่วนองค์ประกอบ
ผู้ทรงคุณวุฒิให้ครบถ้วนตามภารกิจของ สสวท. ซึ่งเชื่อมโยงกับการคัดเลือก หลักเกณฑ์ การจำแนก คุณสมบัติผู้จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากนี้ขอให้กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์เข้ารับทุนรัฐบาลตามโครงการผลิตบัณฑิตวิชาชีพครูด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเน้นที่สาขาวิชาเพื่อให้โอกาสกับผู้เรียน ในสถาบันราชภัฎได้รับสิทธิ์นี้ด้วย หลังจากอภิปรายพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบรับ
หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ๒๙๒ เสียง ไม่เห็นชอบและงดออกเสียง ไม่มี ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) โดยนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงหลักการและ
เหตุผลต่อที่ประชุมว่าเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อให้สอดคล้องกับการ
ปฎิรูปการศึกษาให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมมหาวิทยาลัยของรัฐให้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ ไม่เป็นส่วนราชการอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานมีความเป็นอิสระคล่องตัวสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยตั้งเป็นข้อสังเกตให้นำไปพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ในหลายประเด็นดังนี้ คือ ในเรื่องหลักการควรยึดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเป็นหลักในหลักการและเหตุผล การส่วนงานใน
มาตรา ๙ ควรให้สำนักงานสภามหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานแรก และสำนักงานอธิการบดีเป็นหน่วยงานลำดับต่อมาควรกำหนดหมวดเงินเดือนของพนักงานมหาวิทยาลัยในตัวบทมิใช่เฉพาะในบทเฉพาะการเท่านั้นเพื่อให้สอดรับกับพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ในมาตรา ๒๓ ว่าด้วยสภาวิชาการนั้นต้องประกอบไปด้วยนักวิชาการมิใช่บุคคลภายนอกเพราะเป็นสภาภายในมหาวิทยาลัยที่จะมีส่วนในการพัฒนาวิชาการโดยขอให้ศึกษารายละเอียด จากต่างประเทศเปรียบด้วย ขอให้มีการทบทวนมาตรา ๒๙ ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามการเป็นอธิการบดีอีกครั้ง เพราะที่กำหนดไว้นี้เป็นการจำกัดสิทธิบุคคล รวมทั้งพิจารณาทบทวนอำนาจในการแต่งตั้งอาจารย์พิเศษควรเป็นใคร เพราะไม่ได้กำหนดไว้ในร่างกฎหมายฉบับนี้ ในมาตรา ๓๓ ว่าด้วยเขตการศึกษาหรือวิทยาเขตนั้นควรให้เป็นเรื่องภายในของมหาวิทยาลัยได้จัดระบบการบริการเองการบัญญัติคำว่า "ประกาศนียบัตรดุษฎีบัณฑิต" ในมาตรา ๕๘
นั้นควรปรับถ้อยคำใหม่เพราะไม่ถูกต้องตามหลักการจัดการสำหรับผู้เข้าศึกษาหลังการจบระดับปริญญาเอกที่ใช้คำว่า "ดุษฎีบัณฑิต" การแต่งตั้งถอดถอนบุคคลในสายงานทั้ง ๓ สายงาน คือ สภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ สภาพนักงานมีหลักเกณฑ์และจะเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยที่ทั้ง ๓ สายงานมาจากการสมัครรับการคัดเลือกอย่างไร การสนับสนุนให้หน่วยงานภาคเอกชนมามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มากขึ้น ขอให้มีการตรวจสอบการใช้การบริหารงบประมาณให้มีความโปร่งใส ให้ยึดหลักการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายใหญ่ของการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยบูรพาว่าจะยังคงยึดหลักคุณภาพมากกว่าปริมาณ รวมทั้งในเรื่อง การตรวจสอบการใช้งบประมาณนั้นจะยังใช้มาตราการเข้มงวดมากขึ้นอย่างแน่นอน จากนั้นที่ประชุมมีมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินี้ ๓๑๕ เสียง งดออกเสียง ๑ เสียง ไม่เห็นชอบ และไม่ลงคะแนนไม่มี ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๔ . ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. … (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) เป็นเรื่องที่ ๑-๓ เลื่อนมาตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติ…(นายประกอบ รัตนพันธ์ และคณะเป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติ…(นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติ…(นายพงษ์พิช รุ่งเป้า และนายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ เป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติ…(นายอำนวย คลังผา และพันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ เป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติ…(นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายชาญศักดิ์
ชวลิตนิติธรรม เป็นผู้เสนอ)
ที่ประชุมจึงมีมติให้พิจารณาในคราวเดียวกัน
โดยนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมถึงหลักการและเหตุผลเสนอกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้มีกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีความจำเป็นต้องประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายโดยด่วน
จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางเพื่อเป็นข้อสังเกตให้นำไปพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ คือ การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาควรเน้นคุณธรรมและความเสมอภาคในการจัดการศึกษาให้กับนักศึกษา การให้ความเป็นอิสระในเนื้อหาลักสูตรการศึกษาโดยควรนำภูมิปัญญา ท้องถิ่นมาเป็นแนวทางในการกำหนดหลักสูตรด้วยจนกระทั่งสามารถแลกเปลี่ยนกับการอาชีวศึกษากับต่างประเทศได้ ในเรื่องของการบริหารจัดการควรใช้ระบบเขตพื้นที่การศึกษา การให้มีสภาการศึกษา วางระบบการศึกษาไม่เฉพาะเพียงระดับปริญญาตรีเท่านั้นควรให้ถึงระดับปริญญาเอก และในเรื่องการบริหารงานบุคคลในการอาชีวศึกษาควรเป็นระบบเดียวกับหน่วยงานทางการศึกษาอื่น ๆ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ๓๑๖ คน ไม่เห็นชอบ ๑ เสียง งดและไม่ลงคะแนน ไม่มี และให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
ปิดการประชุมเวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกา
-----------------------------------------------------