สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลกด้วยมูลค่านำเข้าไม่ต่ำกว่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แหล่งนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของสหรัฐฯ คือ อิสราเอล อินเดีย เบลเยียม และแคนาดา ขณะที่ไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 8 โดยในปี 2546 มีมูลค่านำเข้ารวม 1,001 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 11.3 อัญมณีและเครื่องประดับที่สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย ได้แก่ เครื่องประดับแท้ พลอย เพชร เครื่องประดับเทียม และอัญมณีสังเคราะห์
สถานการณ์อัญมณีและเครื่องประดับของไทยในสหรัฐฯ มีดังนี้
เครื่องประดับแท้ ในปี 2546 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับแท้เป็นอันดับ 3 ในสหรัฐฯ (สัดส่วนร้อยละ 12.2) รองจากอิตาลี (ร้อยละ 19) และอินเดีย (ร้อยละ 18.6) ซึ่งเครื่องประดับแท้ในกลุ่มเครื่องประดับทองซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง พบว่าอิตาลีครองส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ได้สูงสุดเป็นเวลานาน เนื่องจากมีความได้เปรียบทั้งด้านคุณภาพและรูปแบบสินค้าจากการมีเครื่องจักรที่ทันสมัยและความชำนาญด้านการออกแบบ รวมทั้งมีตราสินค้าเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจุบันอินเดียสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับทองในสหรัฐฯ ได้อย่างรวดเร็วและสามารถครองส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับทองในสหรัฐฯ เป็นอันดับ 1 ในปี 2546 แทนอิตาลี ด้วยการเร่งพัฒนาการออกแบบและอาศัยความได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงาน ขณะที่ไทยยังคงครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 3 สำหรับเครื่องประดับเงินซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อระดับปานกลางลงไป พบว่าไทยครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในสหรัฐฯ (สัดส่วนร้อยละ 26.9) โดยมีจีนเป็นคู่แข่งสำคัญ
พลอย ไทยสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดพลอยในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 26.6 ในปี 2546 โดยเฉพาะพลอยเนื้อแข็งที่ตกแต่งแล้ว อาทิ มรกต ทับทิม และแซฟไฟร์ ไทยครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 (สัดส่วนร้อยละ 36.5) เนื่องจากฝีมือการเจียระไนพลอยที่เหนือกว่าคู่แข่ง และมีเทคนิคการเผาพลอยชนิดต่างๆ ให้มีสีสันสวยงาม โดยมีโคลัมเบียและศรีลังกาเป็นคู่แข่งสำคัญ สำหรับพลอยเนื้ออ่อนที่ตกแต่งแล้ว เช่น หยก บุษราคัม และเพทาย ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 รองจากอินเดีย (สัดส่วนร้อยละ 14.7) และมีแนวโน้มที่จะเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับอินเดียมากขึ้น เนื่องจากอินเดียเร่งพัฒนาเทคนิคการเจียระไนพลอยด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพร้อมทั้งขยายศูนย์กระจายสินค้าในสหรัฐฯ มากขึ้น สำหรับอุปสรรคสำคัญของไทยในการส่งออกพลอยไปสหรัฐฯ คือ ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ และการที่สหรัฐฯ ยังไม่ยอมรับแซฟไฟร์สีส้มอมชมพูที่เกิดจากเทคนิคการเผาพลอยแบบใหม่ของไทย
เพชร เป็นอัญมณีที่สหรัฐฯ นำเข้ามากที่สุด โดยนำเข้าจากอิสราเอล อินเดีย และเบลเยียม รวมกันกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่านำเข้าเพชรของสหรัฐฯ ในปี 2546 เนื่องจากประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นศูนย์กลางการค้าและเจียระไนเพชรรายสำคัญของโลก ขณะที่ไทยเป็นแหล่งนำเข้าเพชรอันดับ 8 ของสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 0.2 เนื่องจากไทยยังเสียเปรียบประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ทั้ง 3 ประเทศข้างต้นในด้านเทคโนโลยีและขาดแคลนช่างเจียระไนเพชร
เครื่องประดับเทียมและอัญมณีสังเคราะห์ ในปี 2546 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับเทียมเป็นอันดับ 2 ในสหรัฐฯ (สัดส่วนร้อยละ 3.6) ขณะที่มีส่วนแบ่งตลาดอัญมณีสังเคราะห์เป็นอันดับ 5 (สัดส่วนร้อยละ 2.7) อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับเทียมและอัญมณีสังเคราะห์ของไทยในสหรัฐฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะจากจีนซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ามาก ขณะเดียวกันก็เสียเปรียบคู่แข่งสำคัญรายอื่นๆ ที่มีทักษะสูงมากในการผลิตเครื่องประดับเทียมและอัญมณีสังเคราะห์ อาทิ ฮ่องกง เกาหลีใต้ และแคนาดา เป็นต้น
อัญมณีและเครื่องประดับของไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในสหรัฐฯ โดยเฉพาะจากจีนซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดระดับกลางและล่าง และอินเดียซึ่งกำลังพัฒนาสินค้าเพื่อรองรับตลาดระดับบนด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยในการผลิตและใช้นโยบายการตลาดเชิงรุก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับของไทยต้องเร่งพัฒนาเทคนิคการผลิต การออกแบบ และสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก รวมถึงการทำตลาดในเชิงรุกให้มากขึ้นโดยเฉพาะการมุ่งเน้นเจาะตลาดระดับบนซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูง เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาจากตลาดระดับกลางและระดับล่าง และสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตในตลาดระดับบน อาทิ อิตาลี อิสราเอล และเบลเยียม ได้ในระยะต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2547--
-สส-
สถานการณ์อัญมณีและเครื่องประดับของไทยในสหรัฐฯ มีดังนี้
เครื่องประดับแท้ ในปี 2546 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับแท้เป็นอันดับ 3 ในสหรัฐฯ (สัดส่วนร้อยละ 12.2) รองจากอิตาลี (ร้อยละ 19) และอินเดีย (ร้อยละ 18.6) ซึ่งเครื่องประดับแท้ในกลุ่มเครื่องประดับทองซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง พบว่าอิตาลีครองส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ได้สูงสุดเป็นเวลานาน เนื่องจากมีความได้เปรียบทั้งด้านคุณภาพและรูปแบบสินค้าจากการมีเครื่องจักรที่ทันสมัยและความชำนาญด้านการออกแบบ รวมทั้งมีตราสินค้าเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจุบันอินเดียสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับทองในสหรัฐฯ ได้อย่างรวดเร็วและสามารถครองส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับทองในสหรัฐฯ เป็นอันดับ 1 ในปี 2546 แทนอิตาลี ด้วยการเร่งพัฒนาการออกแบบและอาศัยความได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงาน ขณะที่ไทยยังคงครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 3 สำหรับเครื่องประดับเงินซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อระดับปานกลางลงไป พบว่าไทยครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในสหรัฐฯ (สัดส่วนร้อยละ 26.9) โดยมีจีนเป็นคู่แข่งสำคัญ
พลอย ไทยสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดพลอยในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 26.6 ในปี 2546 โดยเฉพาะพลอยเนื้อแข็งที่ตกแต่งแล้ว อาทิ มรกต ทับทิม และแซฟไฟร์ ไทยครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 (สัดส่วนร้อยละ 36.5) เนื่องจากฝีมือการเจียระไนพลอยที่เหนือกว่าคู่แข่ง และมีเทคนิคการเผาพลอยชนิดต่างๆ ให้มีสีสันสวยงาม โดยมีโคลัมเบียและศรีลังกาเป็นคู่แข่งสำคัญ สำหรับพลอยเนื้ออ่อนที่ตกแต่งแล้ว เช่น หยก บุษราคัม และเพทาย ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 รองจากอินเดีย (สัดส่วนร้อยละ 14.7) และมีแนวโน้มที่จะเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับอินเดียมากขึ้น เนื่องจากอินเดียเร่งพัฒนาเทคนิคการเจียระไนพลอยด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพร้อมทั้งขยายศูนย์กระจายสินค้าในสหรัฐฯ มากขึ้น สำหรับอุปสรรคสำคัญของไทยในการส่งออกพลอยไปสหรัฐฯ คือ ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ และการที่สหรัฐฯ ยังไม่ยอมรับแซฟไฟร์สีส้มอมชมพูที่เกิดจากเทคนิคการเผาพลอยแบบใหม่ของไทย
เพชร เป็นอัญมณีที่สหรัฐฯ นำเข้ามากที่สุด โดยนำเข้าจากอิสราเอล อินเดีย และเบลเยียม รวมกันกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่านำเข้าเพชรของสหรัฐฯ ในปี 2546 เนื่องจากประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นศูนย์กลางการค้าและเจียระไนเพชรรายสำคัญของโลก ขณะที่ไทยเป็นแหล่งนำเข้าเพชรอันดับ 8 ของสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 0.2 เนื่องจากไทยยังเสียเปรียบประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ทั้ง 3 ประเทศข้างต้นในด้านเทคโนโลยีและขาดแคลนช่างเจียระไนเพชร
เครื่องประดับเทียมและอัญมณีสังเคราะห์ ในปี 2546 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับเทียมเป็นอันดับ 2 ในสหรัฐฯ (สัดส่วนร้อยละ 3.6) ขณะที่มีส่วนแบ่งตลาดอัญมณีสังเคราะห์เป็นอันดับ 5 (สัดส่วนร้อยละ 2.7) อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับเทียมและอัญมณีสังเคราะห์ของไทยในสหรัฐฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะจากจีนซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ามาก ขณะเดียวกันก็เสียเปรียบคู่แข่งสำคัญรายอื่นๆ ที่มีทักษะสูงมากในการผลิตเครื่องประดับเทียมและอัญมณีสังเคราะห์ อาทิ ฮ่องกง เกาหลีใต้ และแคนาดา เป็นต้น
อัญมณีและเครื่องประดับของไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในสหรัฐฯ โดยเฉพาะจากจีนซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดระดับกลางและล่าง และอินเดียซึ่งกำลังพัฒนาสินค้าเพื่อรองรับตลาดระดับบนด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยในการผลิตและใช้นโยบายการตลาดเชิงรุก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับของไทยต้องเร่งพัฒนาเทคนิคการผลิต การออกแบบ และสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก รวมถึงการทำตลาดในเชิงรุกให้มากขึ้นโดยเฉพาะการมุ่งเน้นเจาะตลาดระดับบนซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูง เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาจากตลาดระดับกลางและระดับล่าง และสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตในตลาดระดับบน อาทิ อิตาลี อิสราเอล และเบลเยียม ได้ในระยะต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2547--
-สส-