ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สศช.คาดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 47 จะเติบโตเกินร้อยละ 7
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึง ภาวะ
เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 47 ว่าจะเติบโตเกินร้อยละ 7 อย่างแน่นอน เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งการ
บริโภคทั่วไป การขยายตัวภาคอสังหาริมทรัพย์และการส่งออกที่น่าจะเติบโตเกินร้อยละ 20 ซึ่ง สศช.จะ
ประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการในต้นเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนการลงทุนซึ่งเดิมมีอยู่ประมาณร้อยละ 16-17 ของจี
ดีพีนั้น ในปีนี้เชื่อมั่นว่าจะปรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 เนื่องจากการขยายตัวของจีดีพีอาศัยการส่งออกและการ
บริโภคภายในประเทศสูงมาก และขณะนี้เริ่มมีการลงทุนในประเทศสูงขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มกำลังการผลิตถึง
ร้อยละ 75 รวมทั้งการลงทุนของรัฐบาลในโครงการต่าง ๆ ก็เริ่มดีขึ้น (ข่าวสด)
2. ไทยขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน รมช.ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค.47
ไทยมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 7,960.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี
ก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขการส่งออกสูงสุดในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.47
มีมูลค่า 22,409.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.1 ส่วนการนำเข้าเดือน
มี.ค.มีมูลค่า 8,225.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกัน โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 34.7 โดยเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นในทุกหมวดตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการส่งออก
ของประเทศ โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.1 เนื่องจากราคาในตลาด
โลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การนำเข้าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่า 21,904 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่ม
ขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.8 ทั้งนี้ เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 264.8 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. จากเดิมที่เกินดุลติดต่อกันในช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.47) โดยสาเหตุที่ขาดดุลนั้น
เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง แต่ดุลการค้าในช่วง 3
เดือนแรกของปี 47 ยังคงเกินดุลจำนวน 505.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. และมั่นใจว่าการส่งออกของไทยในปีนี้
จะเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกไม่ต่ำกว่า
92,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.(ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
3. บ.มูดี้ส์ประเมินความน่าเชื่อถือของไทยอยู่ที่ระดับ Baa1 บริษัท มูลดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส
ประเมินอันดับความน่าเชื่อถือของไทยอยู่ที่ระดับ Baa1 โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
คือ ภาคการส่งออก ซึ่งมีอัตราการขยายตัวเป็นตัวเลข 2 หลัก อีกทั้งยังมีความสำเร็จจากเศรษฐกิจมหภาค
และนโยบายที่มีความยืดหยุ่นด้วย การลดลงของหนี้ต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเพราะชำระหนี้กองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ล่วงหน้า แต่การฟื้นตัวดังกล่าวไม่สร้างแรงกดดันต่อดุลบัญชีเดินสะพัด หรือ
ดุลการชำระเงิน ทั้งนี้ ภาคการส่งออกที่มีความเข้มแข็ง เนื่องจากมีมาตรการเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) มา
รองรับ ส่งผลให้เงินทุนสำรองต่างประเทศสูงขึ้น ทำให้ความเสี่ยงที่มาจากปัจจัยภายนอกลดลงอย่างมาก
และทำให้หนี้ต่างประเทศลดลงครึ่งหนึ่งในปี 46 เมื่อเทียบกับปี 42 ที่ผ่านมา (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
4. ก.คลังเตรียมเสนอมาตรการด้านภาษีสนับสนุนให้ลงทุนผ่านกองทุนรวมมากขึ้น รายงานจาก ก.
คลังว่า รมว.คลัง เตรียมเสนอมาตรการสนับสนุนให้นักลงทุนรายย่อยลงทุนผ่านกองทุนรวมมากขึ้นผ่าน ครม.
โดยมีมาตรการดังนี้ 1) การนำเงินลงทุนมาหักเป็นค่าลดหย่อนจากการลงทุนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน
300,000 บาท หรือไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ จากเดิมที่ไม่สามารถนำเงินลงทุนมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้
แต่ยังคงจะต้องเสียภาษีเงินปันผลที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10 เช่นเดิม และ 2) สนับสนุนให้นักลงทุนราย
ย่อยออมเงินในรูปแบบของการลงทุนระยะยาวมากขึ้น โดย ก.คลังจะยกเลิกเงื่อนไขของกองทุนรวมเพื่อการ
เลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ที่สามารถนำเงินลงทุนมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000
บาท หรือไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ และต้องลงทุนในอาร์เอ็มเอฟอย่างน้อย 5 ปี และเมื่ออายุครบ 55
ปีแล้ว จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินผลประโยชน์จากการลงทุน แต่ถ้าลงทุนไม่ครบ 5 ปี จะต้องชำระเงินค่าลด
หย่อนที่หักไว้ก่อนหน้านี้คืนแก่กรมสรรพากรทั้งหมด (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF เห็นว่าสิงคโปร์จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินเข้มงวดบ้าง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
วันที่ 26 เม.ย. 47 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ - IMF เห็นว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ฟื้นตัวอย่างมากและ
ควรที่จะพิจารณาใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดในขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวแทนการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรน
โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆนี้ชี้ว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง และคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม
ในประเทศ — GDP อาจจะขยายตัวอย่างก้าวกระโดดถึงประมาณร้อยละ 5.0 ในปีนี้จากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ
1.1 ในปีที่แล้ว ขณะที่เงินเฟ้อจะยังคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.0 ซึ่งสิงคโปร์ควรจะดำเนินนโยบายการเงินแบบ
เข้มงวดบ้างเพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพของระดับราคา และเพื่อปรับดุลบัญชีเดินสะพัดที่ไม่สมดุลที่สำคัญที่สุดคือ
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นจำนวนมากของสรอ. ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนในหลักทรัพย์ของสรอ. โดย
ธ.กลางของประเทศอาเซียน ขณะที่เงินดอลลาร์สรอ. แข็งค่าขึ้นเนื่องจากการแทรกแซงค่าเงิน ของประเทศ
คู่ค้าในภูมิภาคเพื่อให้ค่าเงินอ่อนลงทำให้สินค้าส่งออกสามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้ว ทุนสำรองเงินตรา
ต่างประเทศของสิงคโปร์ ณ สิ้นปี 46 เพิ่มขึ้นถึง 14 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่ระดับ 96 พัน ล. ดอลลาร์
สรอ. และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงถึงร้อยละ 31 ของ GDP ส่วนความเสี่ยงนั้น IMF เห็นว่าสิงคโปร์อาจ
จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกเนื่องจากเศรษฐกิจสิงคโปร์ฟื้นตัวจากปัจจัยภายนอกประเทศ ขณะที่การ
ว่างงานยังอยู่ในอัตราสูง (รอยเตอร์)
2. กรีนสแปนส่งสัญญาณว่ายังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้จากตลาดแรงงานของ สรอ.ที่ยัง
อ่อนแอ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 26 เม.ย.47 นายอลัน กรีนสแปน ประธาน ธ.กลาง สรอ.ได้กล่าวถึง
ตัวเลขจำนวนคนขอสวัสดิการว่างงานต่อสัปดาห์ในเดือน มี.ค.47 ของ สรอ.ว่ามีจำนวน 85,000 คน ซึ่ง
มากกว่า 2 เท่าของจำนวนคนขอสวัสดิการวว่างงานต่อสัปดาห์ในเดือนกันยายน 43 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะเกิด
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยใน สรอ. ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของประธาน ธ.กลาง สรอ.ที่
กล่าวถึงจำนวนคนขอสวัสดิการว่างงานเช่นนี้คือการส่งสัญญาณให้นักค้าเงินในตลาดเงินว่า ธ.กลาง สรอ.ยัง
ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ เนื่องจากยังมีกำลังผลิตส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจที่
จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้โดยไม่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่สมาชิกวุฒิสภาของ สรอ.เห็นว่ากรีนสแป
นต้องการให้มีการขยายเวลาการรับสวัสดิการว่างงานออกไปอีกระยะเวลาหนึ่ง โดยก่อนหน้านี้ได้เคยมีการ
ขยายเวลาการรับสวัสดิการว่างงานออกไปอีก 13 สัปดาห์หากได้รับสวัสดิการจากมลรัฐครบ 26 สัปดาห์ตาม
ข้อกำหนดแล้วยังหางานทำไม่ได้ แต่ได้สิ้นสุดและยกเลิกไปในเดือน ธ.ค.46 โดยได้รับการคัดค้านจากรัฐสภา
สรอ. ว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและมีงานให้ทำมากขึ้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มสวัสดิการ (รอยเตอร์)
3. OPEC สัญญาว่าจะผลิตน้ำมันให้พอเพียงกับความต้องการบริโภค รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ
วันที่ 26 เม.ย.47 Ali al-Naimi รมว.น้ำมันของซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า ซาอุดิอาระเบียและกลุ่ม OPEC
ให้คำมั่นว่าจะผลิตน้ำมันให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคและจะรักษาเสถียรภาพของราคาให้มั่นคง
โดยราคาน้ำมันดิบของกลุ่ม OPEC จะอยู่ที่ระดับ 22 — 28 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ส่วนเหตุผลที่ราคา
น้ำมันเวลานี้สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ไม่ได้เกิดจากการขาดแคลนน้ำมันดิบ แต่เกิดจากปัจจัยด้านอื่นที่ทำให้อุป
ทานน้ำมันของ สรอ.ลดลง รวมทั้งการซื้อน้ำมันล่วงหน้าของบรรดากองทุนและนักลงทุนต่าง ๆ ทั้งนี้ หลัง
จากกลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มส่งออกน้ำมันดิบประมาณครึ่งหนึ่งของโลก ได้ประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลง 1
ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.47 เพื่อรักษาโควต้าการผลิต รวมทั้งเพื่อป้องกันราคาน้ำมันตกต่ำจาก
อุปสงค์ของทั่วโลกที่อาจลดลงตามฤดูกาล การกระทำดังกล่าวส่งผลให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันในการ
บริโภคทั้งใน สรอ. และทั่วโลก ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบถึงระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี โดยราคาน้ำมันดิบ
(light crude) ส่งมอบล่วงหน้าที่ NYMEX ปิดตลาดที่บาร์เรลละ 36.97 ดอลลาร์ สรอ. เมื่อวานนี้ เนื่อง
จากมีความต้องการเพิ่มขึ้นมากในภูมิภาคอาเซียน ปริมาณน้ำมันไม่พอเพียงต่อความต้องการบริโภค และความ
ตึงเครียดของปัญหาสงครามในตะวันออกกลางที่ส่งผลกระทบถึงการส่งออกน้ำมันจากภูมิภาคดังกล่าว อนึ่ง ซา
อุดิอาระเบียจะเสนอให้ก่อสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันเพิ่มอีก 2 แท่น มีกำลังการผลิตแท่นละ 500,000 บาร์เรล
ต่อวัน ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาปัญหาการขาดแคลนน้ำมันได้ในระดับหนึ่ง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 เม.ย. 47 26 เม.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.6 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.4007/39.6859 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 667.61/15.73 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.15 32.04 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สศช.คาดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 47 จะเติบโตเกินร้อยละ 7
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึง ภาวะ
เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 47 ว่าจะเติบโตเกินร้อยละ 7 อย่างแน่นอน เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งการ
บริโภคทั่วไป การขยายตัวภาคอสังหาริมทรัพย์และการส่งออกที่น่าจะเติบโตเกินร้อยละ 20 ซึ่ง สศช.จะ
ประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการในต้นเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนการลงทุนซึ่งเดิมมีอยู่ประมาณร้อยละ 16-17 ของจี
ดีพีนั้น ในปีนี้เชื่อมั่นว่าจะปรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 เนื่องจากการขยายตัวของจีดีพีอาศัยการส่งออกและการ
บริโภคภายในประเทศสูงมาก และขณะนี้เริ่มมีการลงทุนในประเทศสูงขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มกำลังการผลิตถึง
ร้อยละ 75 รวมทั้งการลงทุนของรัฐบาลในโครงการต่าง ๆ ก็เริ่มดีขึ้น (ข่าวสด)
2. ไทยขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน รมช.ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค.47
ไทยมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 7,960.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี
ก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขการส่งออกสูงสุดในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.47
มีมูลค่า 22,409.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.1 ส่วนการนำเข้าเดือน
มี.ค.มีมูลค่า 8,225.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกัน โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 34.7 โดยเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นในทุกหมวดตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการส่งออก
ของประเทศ โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.1 เนื่องจากราคาในตลาด
โลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การนำเข้าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่า 21,904 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่ม
ขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.8 ทั้งนี้ เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 264.8 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. จากเดิมที่เกินดุลติดต่อกันในช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.47) โดยสาเหตุที่ขาดดุลนั้น
เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง แต่ดุลการค้าในช่วง 3
เดือนแรกของปี 47 ยังคงเกินดุลจำนวน 505.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. และมั่นใจว่าการส่งออกของไทยในปีนี้
จะเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกไม่ต่ำกว่า
92,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.(ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
3. บ.มูดี้ส์ประเมินความน่าเชื่อถือของไทยอยู่ที่ระดับ Baa1 บริษัท มูลดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส
ประเมินอันดับความน่าเชื่อถือของไทยอยู่ที่ระดับ Baa1 โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
คือ ภาคการส่งออก ซึ่งมีอัตราการขยายตัวเป็นตัวเลข 2 หลัก อีกทั้งยังมีความสำเร็จจากเศรษฐกิจมหภาค
และนโยบายที่มีความยืดหยุ่นด้วย การลดลงของหนี้ต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเพราะชำระหนี้กองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ล่วงหน้า แต่การฟื้นตัวดังกล่าวไม่สร้างแรงกดดันต่อดุลบัญชีเดินสะพัด หรือ
ดุลการชำระเงิน ทั้งนี้ ภาคการส่งออกที่มีความเข้มแข็ง เนื่องจากมีมาตรการเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) มา
รองรับ ส่งผลให้เงินทุนสำรองต่างประเทศสูงขึ้น ทำให้ความเสี่ยงที่มาจากปัจจัยภายนอกลดลงอย่างมาก
และทำให้หนี้ต่างประเทศลดลงครึ่งหนึ่งในปี 46 เมื่อเทียบกับปี 42 ที่ผ่านมา (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
4. ก.คลังเตรียมเสนอมาตรการด้านภาษีสนับสนุนให้ลงทุนผ่านกองทุนรวมมากขึ้น รายงานจาก ก.
คลังว่า รมว.คลัง เตรียมเสนอมาตรการสนับสนุนให้นักลงทุนรายย่อยลงทุนผ่านกองทุนรวมมากขึ้นผ่าน ครม.
โดยมีมาตรการดังนี้ 1) การนำเงินลงทุนมาหักเป็นค่าลดหย่อนจากการลงทุนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน
300,000 บาท หรือไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ จากเดิมที่ไม่สามารถนำเงินลงทุนมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้
แต่ยังคงจะต้องเสียภาษีเงินปันผลที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10 เช่นเดิม และ 2) สนับสนุนให้นักลงทุนราย
ย่อยออมเงินในรูปแบบของการลงทุนระยะยาวมากขึ้น โดย ก.คลังจะยกเลิกเงื่อนไขของกองทุนรวมเพื่อการ
เลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ที่สามารถนำเงินลงทุนมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000
บาท หรือไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ และต้องลงทุนในอาร์เอ็มเอฟอย่างน้อย 5 ปี และเมื่ออายุครบ 55
ปีแล้ว จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินผลประโยชน์จากการลงทุน แต่ถ้าลงทุนไม่ครบ 5 ปี จะต้องชำระเงินค่าลด
หย่อนที่หักไว้ก่อนหน้านี้คืนแก่กรมสรรพากรทั้งหมด (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF เห็นว่าสิงคโปร์จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินเข้มงวดบ้าง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
วันที่ 26 เม.ย. 47 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ - IMF เห็นว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ฟื้นตัวอย่างมากและ
ควรที่จะพิจารณาใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดในขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวแทนการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรน
โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆนี้ชี้ว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง และคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม
ในประเทศ — GDP อาจจะขยายตัวอย่างก้าวกระโดดถึงประมาณร้อยละ 5.0 ในปีนี้จากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ
1.1 ในปีที่แล้ว ขณะที่เงินเฟ้อจะยังคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.0 ซึ่งสิงคโปร์ควรจะดำเนินนโยบายการเงินแบบ
เข้มงวดบ้างเพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพของระดับราคา และเพื่อปรับดุลบัญชีเดินสะพัดที่ไม่สมดุลที่สำคัญที่สุดคือ
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นจำนวนมากของสรอ. ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนในหลักทรัพย์ของสรอ. โดย
ธ.กลางของประเทศอาเซียน ขณะที่เงินดอลลาร์สรอ. แข็งค่าขึ้นเนื่องจากการแทรกแซงค่าเงิน ของประเทศ
คู่ค้าในภูมิภาคเพื่อให้ค่าเงินอ่อนลงทำให้สินค้าส่งออกสามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้ว ทุนสำรองเงินตรา
ต่างประเทศของสิงคโปร์ ณ สิ้นปี 46 เพิ่มขึ้นถึง 14 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. อยู่ที่ระดับ 96 พัน ล. ดอลลาร์
สรอ. และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงถึงร้อยละ 31 ของ GDP ส่วนความเสี่ยงนั้น IMF เห็นว่าสิงคโปร์อาจ
จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกเนื่องจากเศรษฐกิจสิงคโปร์ฟื้นตัวจากปัจจัยภายนอกประเทศ ขณะที่การ
ว่างงานยังอยู่ในอัตราสูง (รอยเตอร์)
2. กรีนสแปนส่งสัญญาณว่ายังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้จากตลาดแรงงานของ สรอ.ที่ยัง
อ่อนแอ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 26 เม.ย.47 นายอลัน กรีนสแปน ประธาน ธ.กลาง สรอ.ได้กล่าวถึง
ตัวเลขจำนวนคนขอสวัสดิการว่างงานต่อสัปดาห์ในเดือน มี.ค.47 ของ สรอ.ว่ามีจำนวน 85,000 คน ซึ่ง
มากกว่า 2 เท่าของจำนวนคนขอสวัสดิการวว่างงานต่อสัปดาห์ในเดือนกันยายน 43 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะเกิด
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยใน สรอ. ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของประธาน ธ.กลาง สรอ.ที่
กล่าวถึงจำนวนคนขอสวัสดิการว่างงานเช่นนี้คือการส่งสัญญาณให้นักค้าเงินในตลาดเงินว่า ธ.กลาง สรอ.ยัง
ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ เนื่องจากยังมีกำลังผลิตส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจที่
จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้โดยไม่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่สมาชิกวุฒิสภาของ สรอ.เห็นว่ากรีนสแป
นต้องการให้มีการขยายเวลาการรับสวัสดิการว่างงานออกไปอีกระยะเวลาหนึ่ง โดยก่อนหน้านี้ได้เคยมีการ
ขยายเวลาการรับสวัสดิการว่างงานออกไปอีก 13 สัปดาห์หากได้รับสวัสดิการจากมลรัฐครบ 26 สัปดาห์ตาม
ข้อกำหนดแล้วยังหางานทำไม่ได้ แต่ได้สิ้นสุดและยกเลิกไปในเดือน ธ.ค.46 โดยได้รับการคัดค้านจากรัฐสภา
สรอ. ว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและมีงานให้ทำมากขึ้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มสวัสดิการ (รอยเตอร์)
3. OPEC สัญญาว่าจะผลิตน้ำมันให้พอเพียงกับความต้องการบริโภค รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ
วันที่ 26 เม.ย.47 Ali al-Naimi รมว.น้ำมันของซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า ซาอุดิอาระเบียและกลุ่ม OPEC
ให้คำมั่นว่าจะผลิตน้ำมันให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคและจะรักษาเสถียรภาพของราคาให้มั่นคง
โดยราคาน้ำมันดิบของกลุ่ม OPEC จะอยู่ที่ระดับ 22 — 28 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ส่วนเหตุผลที่ราคา
น้ำมันเวลานี้สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ไม่ได้เกิดจากการขาดแคลนน้ำมันดิบ แต่เกิดจากปัจจัยด้านอื่นที่ทำให้อุป
ทานน้ำมันของ สรอ.ลดลง รวมทั้งการซื้อน้ำมันล่วงหน้าของบรรดากองทุนและนักลงทุนต่าง ๆ ทั้งนี้ หลัง
จากกลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มส่งออกน้ำมันดิบประมาณครึ่งหนึ่งของโลก ได้ประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลง 1
ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.47 เพื่อรักษาโควต้าการผลิต รวมทั้งเพื่อป้องกันราคาน้ำมันตกต่ำจาก
อุปสงค์ของทั่วโลกที่อาจลดลงตามฤดูกาล การกระทำดังกล่าวส่งผลให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันในการ
บริโภคทั้งใน สรอ. และทั่วโลก ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบถึงระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี โดยราคาน้ำมันดิบ
(light crude) ส่งมอบล่วงหน้าที่ NYMEX ปิดตลาดที่บาร์เรลละ 36.97 ดอลลาร์ สรอ. เมื่อวานนี้ เนื่อง
จากมีความต้องการเพิ่มขึ้นมากในภูมิภาคอาเซียน ปริมาณน้ำมันไม่พอเพียงต่อความต้องการบริโภค และความ
ตึงเครียดของปัญหาสงครามในตะวันออกกลางที่ส่งผลกระทบถึงการส่งออกน้ำมันจากภูมิภาคดังกล่าว อนึ่ง ซา
อุดิอาระเบียจะเสนอให้ก่อสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันเพิ่มอีก 2 แท่น มีกำลังการผลิตแท่นละ 500,000 บาร์เรล
ต่อวัน ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาปัญหาการขาดแคลนน้ำมันได้ในระดับหนึ่ง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 เม.ย. 47 26 เม.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.6 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.4007/39.6859 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 667.61/15.73 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.15 32.04 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-