แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 5 | 11 เมษายน 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,118.11 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 554.98 ตัน สัตว์น้ำจืด 566.13 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.57 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.86 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 88.27 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.61 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.21 ตัน
การตลาด
สามสมาคมขึ้นบัญชีปลาป่นสินค้าอ่อนไหว ใน FTA ไทย-เปรู
รายงานข่าวจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยว่า สมาคมผู้ผลิตปลาป่น สมาคมประมงแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ได้หารือเกี่ยวกับการลดภาษีศุลกากรในสินค้าปลาป่นภายใต้รอบการเจรจาเขตการเสรี ไทย-เปรู เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยที่ประชุมมีความเห็นว่า
สินค้าปลาป่นจัดเป็นสินค้าที่อ่อนไหวและไม่สามารถแข่งขันได้กับสินค้าปลาป่นจากเปรู ซึ่งต้องการลดภาษีนำเข้าปลาป่นจากไทยภายใต้ FTA ไทย-เปรู ตามที่ฝ่ายเปรูได้แสดงท่าทีให้กับฝ่ายไทยที่ได้ทราบว่าตั้งแต่การลงนามในกรอบความตกลงหุ้นส่วนใกล้ชิดทางเศรษฐกิจแล้ว ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าปลาป่น คือตั้งแต่ชาวประมง ผู้จับปลาเป็ดส่งเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานผลิตปลาป่นไปจนถึงโรงงานอาหารสัตว์ที่ซื้อปลาป่นเกรดคุณภาพไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจาก FTA ไทย-เปรู
ดังนั้น ทางสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จึงนำเสนอ “แนวทางการจัดการทรัพยากรประมง” ให้รัฐบาลทราบถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อประกอบการเจรจา FTA ไทย-เปรู ที่จะเริ่มต้นภายในปีนี้ซึ่งประกอบด้วย
1.ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือชาวประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการช่วยเหลือภายใน 3 ปีหรืออย่างช้าไม่ควรเกิน 5 ปี
2. เมื่อปัญหาต่าง ๆ ของชาวประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้รับการแก้ไขแล้ว ภาคเอกชนยินดีจะให้มีการลดภาษีนำเข้าสินค้าปลาป่นให้กับเปรูตามรูปแบบที่จะนำเสนอต่อไปในอนาคต
3. ถ้าปัญหาของชาวประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องลดภาษีนำเข้าปลาป่นตามกรอบเจรจา FTA ไทย-เปรูแล้ว ภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลกำหนดมาตรการชดเชยความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมให้กับชาวประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
สำหรับปัญหาของชาวประมงนั้น ทางสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้เสนอเอกสาร เรียกว่า “ มาตราการที่ชัดเจนในการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน “ ประกอบด้วยการขึ้นทะเบียน เรือประมงทั่วประเทศให้เป็นผู้รูปธรรมชัดเจน การดูแลจัดการอุปกรณ์ที่ใช้ในการ จับปลาอย่างเข้มงวด โดยใช้กฎหมายที่สามารถบังคับได้ในกรณีที่มีการใช้เครื่องมือประมงผิดประเภทในการจับปลาถือว่าเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างชัดเจน การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนในกรณีของเรือประมงสามารถนำมาใช้กู้เงินสถาบันการเงินได้ การช่วยลดต้นทุนในการทำประมงชายฝั่งให้กับเรือประมงขนาดเล็กให้มีต้นทุนในการจับปลาต่ำที่สุด โดยเฉพาะต้นทุนที่เกิดจากน้ำมันดีเซลโดยมาตรการเหล่านี้จะใช้ในกรณีที่มีการคงอัตราภาษีนำเข้าปลาป่นไว้ที่ ร้อยละ 15 ในระหว่างปี 2547-2549 หากรัฐบาลสามารถดำเนินการตามข้อเสนอในการฟื้นฟูทรัพยากรได้ หากสมาคมประมงเห็นควรให้มีการดำเนินการลดภาษีนำเข้าปลาป่นต่อไปโดยปรับลดเป็น 2 ปี/ครั้ง ปรับลดครั้งละ 5% เริ่มปี 2550เป็นต้นไป รวมระยะเวลาลดภาษีนำเข้าปลาป่น จากร้อยละ 15 ลงเหลือ ร้อยละ 0 รวม 6 ปี ซึ่งปัจจุบันไทยเก็บภาษีนำเข้าสินค้าปลาป่นแบ่งเป็นปลาป่น (โปรตีนต่ำกว่า 60 %) ภาษีนำเข้าร้อยละ 6 ในการปฏิบัติไม่อนุญาตให้นำเข้าเด็ดขาดกับปลาป่นคุณภาพ (โปรตีนสูงกว่า 60 %) ภาษีนำเข้า ร้อยละ 15 บวกค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้า (Surcharge) ในทางปฏิบัติไม่เสียค่า Surcharge
2. ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.99 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.61 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.62 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.45 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.34 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 243.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 250.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 256.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.76 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.60 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.99 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 19-23 เม.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 15 ประจำวันที่ 19-25 เมษายน 2547--จบ--
-สก-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 5 | 11 เมษายน 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,118.11 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 554.98 ตัน สัตว์น้ำจืด 566.13 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.57 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.86 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 88.27 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 11.61 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.21 ตัน
การตลาด
สามสมาคมขึ้นบัญชีปลาป่นสินค้าอ่อนไหว ใน FTA ไทย-เปรู
รายงานข่าวจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยว่า สมาคมผู้ผลิตปลาป่น สมาคมประมงแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ได้หารือเกี่ยวกับการลดภาษีศุลกากรในสินค้าปลาป่นภายใต้รอบการเจรจาเขตการเสรี ไทย-เปรู เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยที่ประชุมมีความเห็นว่า
สินค้าปลาป่นจัดเป็นสินค้าที่อ่อนไหวและไม่สามารถแข่งขันได้กับสินค้าปลาป่นจากเปรู ซึ่งต้องการลดภาษีนำเข้าปลาป่นจากไทยภายใต้ FTA ไทย-เปรู ตามที่ฝ่ายเปรูได้แสดงท่าทีให้กับฝ่ายไทยที่ได้ทราบว่าตั้งแต่การลงนามในกรอบความตกลงหุ้นส่วนใกล้ชิดทางเศรษฐกิจแล้ว ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าปลาป่น คือตั้งแต่ชาวประมง ผู้จับปลาเป็ดส่งเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานผลิตปลาป่นไปจนถึงโรงงานอาหารสัตว์ที่ซื้อปลาป่นเกรดคุณภาพไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจาก FTA ไทย-เปรู
ดังนั้น ทางสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จึงนำเสนอ “แนวทางการจัดการทรัพยากรประมง” ให้รัฐบาลทราบถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อประกอบการเจรจา FTA ไทย-เปรู ที่จะเริ่มต้นภายในปีนี้ซึ่งประกอบด้วย
1.ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือชาวประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการช่วยเหลือภายใน 3 ปีหรืออย่างช้าไม่ควรเกิน 5 ปี
2. เมื่อปัญหาต่าง ๆ ของชาวประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้รับการแก้ไขแล้ว ภาคเอกชนยินดีจะให้มีการลดภาษีนำเข้าสินค้าปลาป่นให้กับเปรูตามรูปแบบที่จะนำเสนอต่อไปในอนาคต
3. ถ้าปัญหาของชาวประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องลดภาษีนำเข้าปลาป่นตามกรอบเจรจา FTA ไทย-เปรูแล้ว ภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลกำหนดมาตรการชดเชยความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมให้กับชาวประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
สำหรับปัญหาของชาวประมงนั้น ทางสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้เสนอเอกสาร เรียกว่า “ มาตราการที่ชัดเจนในการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน “ ประกอบด้วยการขึ้นทะเบียน เรือประมงทั่วประเทศให้เป็นผู้รูปธรรมชัดเจน การดูแลจัดการอุปกรณ์ที่ใช้ในการ จับปลาอย่างเข้มงวด โดยใช้กฎหมายที่สามารถบังคับได้ในกรณีที่มีการใช้เครื่องมือประมงผิดประเภทในการจับปลาถือว่าเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างชัดเจน การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนในกรณีของเรือประมงสามารถนำมาใช้กู้เงินสถาบันการเงินได้ การช่วยลดต้นทุนในการทำประมงชายฝั่งให้กับเรือประมงขนาดเล็กให้มีต้นทุนในการจับปลาต่ำที่สุด โดยเฉพาะต้นทุนที่เกิดจากน้ำมันดีเซลโดยมาตรการเหล่านี้จะใช้ในกรณีที่มีการคงอัตราภาษีนำเข้าปลาป่นไว้ที่ ร้อยละ 15 ในระหว่างปี 2547-2549 หากรัฐบาลสามารถดำเนินการตามข้อเสนอในการฟื้นฟูทรัพยากรได้ หากสมาคมประมงเห็นควรให้มีการดำเนินการลดภาษีนำเข้าปลาป่นต่อไปโดยปรับลดเป็น 2 ปี/ครั้ง ปรับลดครั้งละ 5% เริ่มปี 2550เป็นต้นไป รวมระยะเวลาลดภาษีนำเข้าปลาป่น จากร้อยละ 15 ลงเหลือ ร้อยละ 0 รวม 6 ปี ซึ่งปัจจุบันไทยเก็บภาษีนำเข้าสินค้าปลาป่นแบ่งเป็นปลาป่น (โปรตีนต่ำกว่า 60 %) ภาษีนำเข้าร้อยละ 6 ในการปฏิบัติไม่อนุญาตให้นำเข้าเด็ดขาดกับปลาป่นคุณภาพ (โปรตีนสูงกว่า 60 %) ภาษีนำเข้า ร้อยละ 15 บวกค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้า (Surcharge) ในทางปฏิบัติไม่เสียค่า Surcharge
2. ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.99 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.61 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.62 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.45 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.34 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 243.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 250.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 256.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.76 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.60 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.99 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 19-23 เม.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 15 ประจำวันที่ 19-25 เมษายน 2547--จบ--
-สก-