แท็ก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารเพื่อการเกษตร
กระทรวงการคลัง
ออมสิน ธนาคาร
นายกฤษฎา อุทยานิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) ดังนี้
1. สินเชื่อ
การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจใน 2 เดือนแรกปี 2547 มีการปล่อยสินเชื่อเป็นเม็ดเงินสู่ระบบรวมทั้งสิ้น 93,907.02 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 16.32 โดย ธ.ก.ส. มีการปล่อยสินเชื่อรวมสูงที่สุด คือ 41,627.37 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ธนาคารออมสิน 21,550.00 ล้านบาท
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ประมาณ 955,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.66 จากช่วงเดียวกันในปี 2546 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 1.93 โดย ธอส. มียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ 332,252.92 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 285,689.49 ล้านบาท
2. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ณ สิ้นปี 2546 ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีจำนวนทั้งหมด 102,592 ล้านบาท ซึ่งทำให้อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อคงค้างทั้งหมดลดลงจากร้อยละ 11.47 ในสิ้นปี 2545 เป็นร้อยละ 10.13 ในสิ้นปี 2546
3. ฐานะทางการเงิน
สินทรัพย์รวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 เท่ากับ 1,491,204.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 7.38 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 1.42 สำหรับเงินฝากใน 2 เดือนแรกของปี 2547 รวมทั้งสิ้น 1,167,894.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 8.18 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 0.69
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 2,576.23 ล้านบาท ทั้งนี้ ธนาคารออมสินมีกำไรสูงสุดประมาณ 1,645 ล้านบาท ธอส. มีกำไร 693.82 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มีกำไร 140.53 ล้านบาท
4. การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจที่สำคัญการดำเนินการกองทุนหมู่บ้านผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน จากจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 75,547 หมู่บ้าน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีการปล่อยสินเชื่อให้ทั้งสิ้น 74,722 หมู่บ้าน
โครงการธนาคารประชาชน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีการปล่อยสินเชื่อรวมตั้งแต่เริ่มโครงการจำนวน 16,177.95 ล้านบาท โดยมีหนี้ค้างชำระ 3 เดือนคิดเป็นร้อยละ 3.23
โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนดำเนินการโดย ธ.ก.ส. (ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2546 - กุมภาพันธ์ 2547) ธพว. และ ธนาคารออมสิน (ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2547) มีการอนุมัติสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 93.49 ล้านบาท มีผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อจำนวน 796 รายโครงการบ้าน ธอส. - กบข. (รอบที่ 2) ตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนพฤษภาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 37,869 ราย คิดเป็นวงเงิน 24,425 ล้านบาท และโครงการบ้าน ธอส. เพื่อคนไทยตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนเมษายน 2546 - กุมภาพันธ์ 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 17,552 ราย คิดเป็นวงเงิน 10,587 ล้านบาท
____________________
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 34/2547 27 เมษายน 2547--
1. สินเชื่อ
การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจใน 2 เดือนแรกปี 2547 มีการปล่อยสินเชื่อเป็นเม็ดเงินสู่ระบบรวมทั้งสิ้น 93,907.02 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 16.32 โดย ธ.ก.ส. มีการปล่อยสินเชื่อรวมสูงที่สุด คือ 41,627.37 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ธนาคารออมสิน 21,550.00 ล้านบาท
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ประมาณ 955,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.66 จากช่วงเดียวกันในปี 2546 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 1.93 โดย ธอส. มียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ 332,252.92 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 285,689.49 ล้านบาท
2. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ณ สิ้นปี 2546 ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีจำนวนทั้งหมด 102,592 ล้านบาท ซึ่งทำให้อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อคงค้างทั้งหมดลดลงจากร้อยละ 11.47 ในสิ้นปี 2545 เป็นร้อยละ 10.13 ในสิ้นปี 2546
3. ฐานะทางการเงิน
สินทรัพย์รวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 เท่ากับ 1,491,204.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 7.38 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 1.42 สำหรับเงินฝากใน 2 เดือนแรกของปี 2547 รวมทั้งสิ้น 1,167,894.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 8.18 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 0.69
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 2,576.23 ล้านบาท ทั้งนี้ ธนาคารออมสินมีกำไรสูงสุดประมาณ 1,645 ล้านบาท ธอส. มีกำไร 693.82 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มีกำไร 140.53 ล้านบาท
4. การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจที่สำคัญการดำเนินการกองทุนหมู่บ้านผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน จากจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 75,547 หมู่บ้าน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีการปล่อยสินเชื่อให้ทั้งสิ้น 74,722 หมู่บ้าน
โครงการธนาคารประชาชน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีการปล่อยสินเชื่อรวมตั้งแต่เริ่มโครงการจำนวน 16,177.95 ล้านบาท โดยมีหนี้ค้างชำระ 3 เดือนคิดเป็นร้อยละ 3.23
โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนดำเนินการโดย ธ.ก.ส. (ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2546 - กุมภาพันธ์ 2547) ธพว. และ ธนาคารออมสิน (ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2547) มีการอนุมัติสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 93.49 ล้านบาท มีผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อจำนวน 796 รายโครงการบ้าน ธอส. - กบข. (รอบที่ 2) ตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนพฤษภาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 37,869 ราย คิดเป็นวงเงิน 24,425 ล้านบาท และโครงการบ้าน ธอส. เพื่อคนไทยตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนเมษายน 2546 - กุมภาพันธ์ 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 17,552 ราย คิดเป็นวงเงิน 10,587 ล้านบาท
____________________
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 34/2547 27 เมษายน 2547--