กรุงเทพ--28 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่องการข่มขู่วางระเบิดสถานเอกอัครราชทูตไทยในมาเลเซีย และสิงคโปร์ และเรื่องกองกำลังทหารไทยในอิรัก
วันนี้ (27 เมษายน 2547) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่องการข่มขู่วางระเบิดสถานเอกอัครราชทูตไทยในมาเลเซีย และสิงคโปร์ และเรื่องกองกำลังทหารไทยในอิรัก ก่อนการเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล สรุปได้ ดังนี้
1. เรื่องการข่มขู่วางระเบิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2547 และกระทรวงการต่างประเทศได้ประสานกับรัฐบาลมาเลเซีย และสิงคโปร์ เพื่อตรวจสอบ และดูแลรักษาความปลอดภัยสถานเอกอัครราชทูต และทำเนียบทูตทั้งสองแห่ง ในขณะนี้ ยังไม่พบข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม
2. การข่มขู่วางระเบิดฯ ในครั้งนี้ เชื่อว่าเป็นการกลั่นแกล้ง เนื่องจาก ในจดหมายระบุชื่อขบวนการที่ใช้เป็นชื่อเก่า ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงเป็นชื่ออื่นแล้ว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของไทยก็ไม่ได้ประมาท ตั้งอยู่ในความรอบคอบ มีการดูแลเรื่องความปลอดภัย และการหาข่าวเชิงลึก โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเจ้าหน้าที่มาเลเซีย และสิงคโปร์
3. ในส่วนของเจ้าหน้าที่ของไทยที่ทำงานอยู่ในสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ในประเทศทั้งสองไม่มีการเสียขวัญและกำลังใจแต่อย่างใด ยังคงทำงานเป็นปกติ มีเพียงช่วง 1-2 วันแรกที่เท่านั้นที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยหลังจากที่เจ้าหน้าที่ของทั้งสองประเทศได้ให้การ ดูแลความปลอดภัยอย่างเรียบร้อย ทุกอย่างก็ดำเนินไปตามปกติ
4. ฝ่ายไทยได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของประเทศที่เกิดเหตุฯ ในการตรวจสอบถึงที่มาของจดหมายโดยตลอด แต่ก็เป็นการลำบากที่จะระบุได้ว่าใครเป็นผู้ส่ง มาจากที่ไหน รวมถึงสาเหตุในการข่มขู่ดังกล่าว เนื่องจากสถานการณ์โลกในปัจจุบันนั้นสับสน ทั้งในเรื่องของตะวันออกกลาง และเรื่องของอิรัก ดังนั้น กลุ่มต่างๆ จึงอาจฉวยโอกาสนี้ในการสร้างความสับสนให้มากขึ้น นอกจากนี้ การข่มขู่วางระเบิดฯ ไม่ได้เกิดขึ้นกับประเทศไทยเพียงประเทศเดียว หากเกิดกับหลายๆ ประเทศทั่วไป
5. ในประเด็นที่สื่อมวลชนได้สอบถามเกี่ยวกับเรื่องที่ไทยถูกมองว่าอยู่ในกลุ่มประเทศ พันธมิตรที่จัดส่งทหารไปอิรัก จึงอาจตกเป็นเป้าหมายของการก่อการร้ายนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวปฏิเสธและว่า ในความเป็นจริงแล้ว ไทยส่งกองกำลังทหารเข้าไปเพื่อประโยชน์ด้านมนุษยธรรมในอิรักภายหลังจากสงครามได้จบลงไปแล้ว และในการเดินทางไปเยือนตะวันออกกลางของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ผ่านมานั้น ทุกฝ่ายเข้าใจถึงท่าที และสถานะของไทยในเรื่องนี้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีผู้ไม่หวังดีบางกลุ่มที่พยายามสร้างกระแสความสับสนให้เกิดขึ้น
6. กระทรวงกลาโหมจะเป็นผู้ประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ และตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับกองกำลังทหารไทยในอิรัก หากสถานการณ์ในอิรักมีความรุนแรงทำให้กองกำลังทหารไทยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไทยอาจย้ายกองกำลังทหารไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น คูเวต หรือถอนกำลังทหารกลับประเทศไทย ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้อธิบาย และยืนยันกับนายคอลิน เพาเวลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ในการพูดคุยทางโทรศัพท์ถึงแนวทางของไทยข้างต้นด้วยแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่องการข่มขู่วางระเบิดสถานเอกอัครราชทูตไทยในมาเลเซีย และสิงคโปร์ และเรื่องกองกำลังทหารไทยในอิรัก
วันนี้ (27 เมษายน 2547) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่องการข่มขู่วางระเบิดสถานเอกอัครราชทูตไทยในมาเลเซีย และสิงคโปร์ และเรื่องกองกำลังทหารไทยในอิรัก ก่อนการเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล สรุปได้ ดังนี้
1. เรื่องการข่มขู่วางระเบิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2547 และกระทรวงการต่างประเทศได้ประสานกับรัฐบาลมาเลเซีย และสิงคโปร์ เพื่อตรวจสอบ และดูแลรักษาความปลอดภัยสถานเอกอัครราชทูต และทำเนียบทูตทั้งสองแห่ง ในขณะนี้ ยังไม่พบข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม
2. การข่มขู่วางระเบิดฯ ในครั้งนี้ เชื่อว่าเป็นการกลั่นแกล้ง เนื่องจาก ในจดหมายระบุชื่อขบวนการที่ใช้เป็นชื่อเก่า ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงเป็นชื่ออื่นแล้ว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของไทยก็ไม่ได้ประมาท ตั้งอยู่ในความรอบคอบ มีการดูแลเรื่องความปลอดภัย และการหาข่าวเชิงลึก โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเจ้าหน้าที่มาเลเซีย และสิงคโปร์
3. ในส่วนของเจ้าหน้าที่ของไทยที่ทำงานอยู่ในสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ในประเทศทั้งสองไม่มีการเสียขวัญและกำลังใจแต่อย่างใด ยังคงทำงานเป็นปกติ มีเพียงช่วง 1-2 วันแรกที่เท่านั้นที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยหลังจากที่เจ้าหน้าที่ของทั้งสองประเทศได้ให้การ ดูแลความปลอดภัยอย่างเรียบร้อย ทุกอย่างก็ดำเนินไปตามปกติ
4. ฝ่ายไทยได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของประเทศที่เกิดเหตุฯ ในการตรวจสอบถึงที่มาของจดหมายโดยตลอด แต่ก็เป็นการลำบากที่จะระบุได้ว่าใครเป็นผู้ส่ง มาจากที่ไหน รวมถึงสาเหตุในการข่มขู่ดังกล่าว เนื่องจากสถานการณ์โลกในปัจจุบันนั้นสับสน ทั้งในเรื่องของตะวันออกกลาง และเรื่องของอิรัก ดังนั้น กลุ่มต่างๆ จึงอาจฉวยโอกาสนี้ในการสร้างความสับสนให้มากขึ้น นอกจากนี้ การข่มขู่วางระเบิดฯ ไม่ได้เกิดขึ้นกับประเทศไทยเพียงประเทศเดียว หากเกิดกับหลายๆ ประเทศทั่วไป
5. ในประเด็นที่สื่อมวลชนได้สอบถามเกี่ยวกับเรื่องที่ไทยถูกมองว่าอยู่ในกลุ่มประเทศ พันธมิตรที่จัดส่งทหารไปอิรัก จึงอาจตกเป็นเป้าหมายของการก่อการร้ายนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวปฏิเสธและว่า ในความเป็นจริงแล้ว ไทยส่งกองกำลังทหารเข้าไปเพื่อประโยชน์ด้านมนุษยธรรมในอิรักภายหลังจากสงครามได้จบลงไปแล้ว และในการเดินทางไปเยือนตะวันออกกลางของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ผ่านมานั้น ทุกฝ่ายเข้าใจถึงท่าที และสถานะของไทยในเรื่องนี้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีผู้ไม่หวังดีบางกลุ่มที่พยายามสร้างกระแสความสับสนให้เกิดขึ้น
6. กระทรวงกลาโหมจะเป็นผู้ประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ และตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับกองกำลังทหารไทยในอิรัก หากสถานการณ์ในอิรักมีความรุนแรงทำให้กองกำลังทหารไทยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไทยอาจย้ายกองกำลังทหารไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น คูเวต หรือถอนกำลังทหารกลับประเทศไทย ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้อธิบาย และยืนยันกับนายคอลิน เพาเวลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ในการพูดคุยทางโทรศัพท์ถึงแนวทางของไทยข้างต้นด้วยแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-