กรุงเทพ--28 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2547 ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปประชุมร่วมกับ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศ ที่ห้องปฏิบัติการ กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการประชุมเสร็จสิ้นลง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อ สื่อมวลชนร่วมกัน สรุปได้ดังนี้
1. ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนว่า กระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีในฐานะที่กำกับดูแลกระทรวงการต่างประเทศมารับฟังการบรรยายสรุปในเรื่องยุทธศาสตร์การต่างประเทศด้านต่างๆ โดยเน้นการดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา และในช่วงเกือบ 1 ปีข้างหน้า นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศได้เรียนรองนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับกระบวนการในการปฏิรูปกระทรวงฯ และอุปสรรคต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตและข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างมาก
2. ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อสื่อมวลชนสรุปได้ดังนี้
2.1 รองนายกรัฐมนตรีมาตรวจเยี่ยมกระทรวงการต่างประเทศใน 2 สถานะ คือในสถานะที่เป็นรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงการต่างประเทศและในสถานะที่เป็นประธาน กพ.และ กพร. ซึ่งทำเรื่องการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งมีเรื่องที่กระทบต่อกระทรวงการต่างประเทศในปัจจุบันและเรื่องที่อาจกระทบกระทรวงการต่างประเทศในอนาคตด้วย
2.2 กระทรวงการต่างประเทศได้รายงานผลการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศในระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งในการดำเนินการนั้นเมื่อกระทรวงการต่างประเทศได้ไปเจรจากับต่างประเทศแล้ว กระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะสานต่อตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้เจรจาไว้
2.3 กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศให้ทราบทั้งระบบซึ่งรองนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการเจรจาในโอกาสการต้อนรับบุคคลสำคัญของประเทศต่างๆ ที่มาเยือนไทย
2.4 กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งเกี่ยวกับปัญหาที่ประสบ ซึ่งมีอยู่ 4 เรื่องคือ
2.4.1 เรื่องงาน ได้แก่ สถานะของกรม กอง ยังไม่สอดคล้องกับ การเข้าสู่ยุคปฏิรูประบบราชการ
2.4.2 เรื่องคน ได้แก่ มีข้าราชการจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับหน่วยงาน อื่นๆ และต้องหมุนเวียนกันไปประจำการต่างประเทศ ปัญหาการยุบตำแหน่งหลังข้าราชการเกษียณทำให้ ขาดแคลนอัตรา ทั้งนี้ข้าราชการของกระทรวงฯ มีประมาณ 1,600 คน อยู่ในต่างประเทศประมาณ 500 คน และอยู่ในประเทศประมาณ 1,100 คน และปัญหาเรื่องภารกิจและอำนาจหน้าที่ของทูต CEO ซึ่งภารกิจ ยังไม่ชัดเจนเมื่อเทียบกับผู้ว่า CEO
2.4.3 เรื่องงบประมาณ พบว่ายังขาดแคลนงบประมาณโดยสามารถ เปรียบเทียบได้ว่า ทุก 100 บาทของงบประมาณของรัฐบาลได้ใช้ไปกับกิจการต่างประเทศเพียง 50 สตางค์ แต่แม้จะได้รับงบประมาณน้อย ผลการดำเนินงานของกระทรวงฯ ก็มีประสิทธิภาพในฐานะที่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นตัวแทนของประเทศไทยในประชาคมโลก ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีรับจะไปหารือเพื่อที่จะหาทางเพิ่ม งบประมาณทั้งจากเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ โดยนายกรัฐมนตรีจะนำผู้แทนกระทรวง การต่างประเทศไปหารือกับสำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังต่อไป
2.4.4 เรื่องกฎระเบียบ ยังมีอุปสรรคเกี่ยวกับระเบียบของกระทรวงการคลังเรื่องการเบิก/จ่าย เช่น เอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศสามารถเบิกงบประมาณเพื่อเลี้ยงรับรอง แขกชาวต่างชาติได้เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงมีคณะผู้แทนไทยที่เดินทางไปเยือนหรือดูงานต่างประเทศ ซึ่งเอกอัครราชทูตต้องเลี้ยงรับรองด้วย แต่เบิกจ่ายไม่ได้ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าหน่วยงานของไทยส่งคณะไปดูงานจำนวนมากและบางครั้งก็มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการกะทันหันในหลายโอกาสทำให้ประเทศไทยสูญเสียความน่าเชื่อถือ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีมีดำริว่า น่าจะมีการจัดประชุมหน่วยงานต่างๆ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในเรื่องนี้ในโอกาสต่อไป
2.5 รองนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อกระทรวงการต่างประเทศเพิ่มเติมดังนี้
2.5.1 รองนายกรัฐมนตรีประสงค์จะให้กระทรวงการต่างประเทศศึกษาเรื่องทูต CEO โดยขอให้กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่ควรมีและแจ้งให้ทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
2.5.2 กพ. และ กพร. กำลังร่วมมือกันแก้กฎหมายระเบียบบริหารราชการ และอาจมีเรื่องใหม่เช่น การยกเลิกระบบ C และการยกเลิกความเป็นนิติบุคคลของกรม และยังมีแนวทางใหม่อื่นๆ จึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศช่วยติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเนื่องจากข้าราชการเกษียณแล้วยุบตำแหน่งหรืออัตรา ซึ่งอาจแก้ไขโดยนำเอาระบบพนักงานราชการมาใช้ในกระทรวงการต่างประเทศเหมือนที่หลายๆ กระทรวงได้ใช้แล้ว เช่น การทำสัญญากับข้าราชการที่เกษียณแล้วให้กลับเข้ามาเป็นข้าราชการรับเงินเดือน แต่ไม่ใช่อยู่ในสายงานบังคับบัญชา หรือจะขออัตราเพิ่มเป็นพิเศษเนื่องจากการเกษียณอายุหรือลาออกก่อนก็เป็น แนวทางที่ทำได้ เนื่องจากเป็นกระทรวงที่มีข้าราชการน้อยและมีลักษณะพิเศษ เป็นต้น
2.5.3 รองนายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงความสำคัญของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเป็นอาชีพพิเศษทางด้านการทูต จึงน่าจะมีการจัดตั้งสถาบันพิเศษขึ้นเพื่อดูแลการฝึกอบรมเพื่อผลิตบุคลากรด้านนี้ เนื่องจากเป็นอาชีพที่พิเศษกว่าอาชีพอื่น เพราะเป็นการทำงานแทนประเทศ แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแทนรัฐบาล
2.5.4 กพ. ได้คิดแนวทาง Fast Track โดยเร่งรัดผู้มีประสิทธิภาพพิเศษให้เติบโตเร็วโดยไม่ต้องไต่เต้าตามลำดับ หรือบางคนอาจมีค่าตอบแทนพิเศษ โดยไม่ต้องรับ เงินเดือนตามระบบ C เหมือนข้าราชการอื่นๆ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศอาจใช้ประโยชน์จากระบบ Fast Track นี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2547 ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปประชุมร่วมกับ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศ ที่ห้องปฏิบัติการ กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการประชุมเสร็จสิ้นลง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อ สื่อมวลชนร่วมกัน สรุปได้ดังนี้
1. ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนว่า กระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีในฐานะที่กำกับดูแลกระทรวงการต่างประเทศมารับฟังการบรรยายสรุปในเรื่องยุทธศาสตร์การต่างประเทศด้านต่างๆ โดยเน้นการดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา และในช่วงเกือบ 1 ปีข้างหน้า นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศได้เรียนรองนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับกระบวนการในการปฏิรูปกระทรวงฯ และอุปสรรคต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตและข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างมาก
2. ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อสื่อมวลชนสรุปได้ดังนี้
2.1 รองนายกรัฐมนตรีมาตรวจเยี่ยมกระทรวงการต่างประเทศใน 2 สถานะ คือในสถานะที่เป็นรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงการต่างประเทศและในสถานะที่เป็นประธาน กพ.และ กพร. ซึ่งทำเรื่องการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งมีเรื่องที่กระทบต่อกระทรวงการต่างประเทศในปัจจุบันและเรื่องที่อาจกระทบกระทรวงการต่างประเทศในอนาคตด้วย
2.2 กระทรวงการต่างประเทศได้รายงานผลการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศในระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งในการดำเนินการนั้นเมื่อกระทรวงการต่างประเทศได้ไปเจรจากับต่างประเทศแล้ว กระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะสานต่อตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้เจรจาไว้
2.3 กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศให้ทราบทั้งระบบซึ่งรองนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการเจรจาในโอกาสการต้อนรับบุคคลสำคัญของประเทศต่างๆ ที่มาเยือนไทย
2.4 กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งเกี่ยวกับปัญหาที่ประสบ ซึ่งมีอยู่ 4 เรื่องคือ
2.4.1 เรื่องงาน ได้แก่ สถานะของกรม กอง ยังไม่สอดคล้องกับ การเข้าสู่ยุคปฏิรูประบบราชการ
2.4.2 เรื่องคน ได้แก่ มีข้าราชการจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับหน่วยงาน อื่นๆ และต้องหมุนเวียนกันไปประจำการต่างประเทศ ปัญหาการยุบตำแหน่งหลังข้าราชการเกษียณทำให้ ขาดแคลนอัตรา ทั้งนี้ข้าราชการของกระทรวงฯ มีประมาณ 1,600 คน อยู่ในต่างประเทศประมาณ 500 คน และอยู่ในประเทศประมาณ 1,100 คน และปัญหาเรื่องภารกิจและอำนาจหน้าที่ของทูต CEO ซึ่งภารกิจ ยังไม่ชัดเจนเมื่อเทียบกับผู้ว่า CEO
2.4.3 เรื่องงบประมาณ พบว่ายังขาดแคลนงบประมาณโดยสามารถ เปรียบเทียบได้ว่า ทุก 100 บาทของงบประมาณของรัฐบาลได้ใช้ไปกับกิจการต่างประเทศเพียง 50 สตางค์ แต่แม้จะได้รับงบประมาณน้อย ผลการดำเนินงานของกระทรวงฯ ก็มีประสิทธิภาพในฐานะที่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นตัวแทนของประเทศไทยในประชาคมโลก ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีรับจะไปหารือเพื่อที่จะหาทางเพิ่ม งบประมาณทั้งจากเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ โดยนายกรัฐมนตรีจะนำผู้แทนกระทรวง การต่างประเทศไปหารือกับสำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังต่อไป
2.4.4 เรื่องกฎระเบียบ ยังมีอุปสรรคเกี่ยวกับระเบียบของกระทรวงการคลังเรื่องการเบิก/จ่าย เช่น เอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศสามารถเบิกงบประมาณเพื่อเลี้ยงรับรอง แขกชาวต่างชาติได้เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงมีคณะผู้แทนไทยที่เดินทางไปเยือนหรือดูงานต่างประเทศ ซึ่งเอกอัครราชทูตต้องเลี้ยงรับรองด้วย แต่เบิกจ่ายไม่ได้ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าหน่วยงานของไทยส่งคณะไปดูงานจำนวนมากและบางครั้งก็มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการกะทันหันในหลายโอกาสทำให้ประเทศไทยสูญเสียความน่าเชื่อถือ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีมีดำริว่า น่าจะมีการจัดประชุมหน่วยงานต่างๆ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในเรื่องนี้ในโอกาสต่อไป
2.5 รองนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อกระทรวงการต่างประเทศเพิ่มเติมดังนี้
2.5.1 รองนายกรัฐมนตรีประสงค์จะให้กระทรวงการต่างประเทศศึกษาเรื่องทูต CEO โดยขอให้กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่ควรมีและแจ้งให้ทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
2.5.2 กพ. และ กพร. กำลังร่วมมือกันแก้กฎหมายระเบียบบริหารราชการ และอาจมีเรื่องใหม่เช่น การยกเลิกระบบ C และการยกเลิกความเป็นนิติบุคคลของกรม และยังมีแนวทางใหม่อื่นๆ จึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศช่วยติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเนื่องจากข้าราชการเกษียณแล้วยุบตำแหน่งหรืออัตรา ซึ่งอาจแก้ไขโดยนำเอาระบบพนักงานราชการมาใช้ในกระทรวงการต่างประเทศเหมือนที่หลายๆ กระทรวงได้ใช้แล้ว เช่น การทำสัญญากับข้าราชการที่เกษียณแล้วให้กลับเข้ามาเป็นข้าราชการรับเงินเดือน แต่ไม่ใช่อยู่ในสายงานบังคับบัญชา หรือจะขออัตราเพิ่มเป็นพิเศษเนื่องจากการเกษียณอายุหรือลาออกก่อนก็เป็น แนวทางที่ทำได้ เนื่องจากเป็นกระทรวงที่มีข้าราชการน้อยและมีลักษณะพิเศษ เป็นต้น
2.5.3 รองนายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงความสำคัญของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเป็นอาชีพพิเศษทางด้านการทูต จึงน่าจะมีการจัดตั้งสถาบันพิเศษขึ้นเพื่อดูแลการฝึกอบรมเพื่อผลิตบุคลากรด้านนี้ เนื่องจากเป็นอาชีพที่พิเศษกว่าอาชีพอื่น เพราะเป็นการทำงานแทนประเทศ แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแทนรัฐบาล
2.5.4 กพ. ได้คิดแนวทาง Fast Track โดยเร่งรัดผู้มีประสิทธิภาพพิเศษให้เติบโตเร็วโดยไม่ต้องไต่เต้าตามลำดับ หรือบางคนอาจมีค่าตอบแทนพิเศษ โดยไม่ต้องรับ เงินเดือนตามระบบ C เหมือนข้าราชการอื่นๆ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศอาจใช้ประโยชน์จากระบบ Fast Track นี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-