แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี
มาตรการภาษี
ตลาดทุน
ก.ล.ต.
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2547 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อพัฒนาตลาดทุน อันเป็นการช่วยพัฒนาการลงทุนในตลาดทุนในระยะยาว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้เสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณา โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับบริษัทที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI)
ตามที่กระทรวงการคลังได้มีการตรากฎหมายในการให้สิทธิประโยชน์ภาษีแก่บริษัทฯที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) ในระหว่างวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2544 จนถึงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2547 ให้ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 30 เหลือ
(1) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี กรณีนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI)
(2) ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี กรณีนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรมีการขยายเวลาให้บริษัทฯ ที่นำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลาดฯ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีจากที่กำหนดไว้เดิมออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ทั้งนี้เพื่อให้บริษัทฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีมาตรฐานยิ่งขึ้น และเป็นการกระจายการนำหุ้นใหม่เข้าเสนอขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยไม่กระจุกตัวมากเกินไป
2. ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ภาษี กรณีการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF)จากการที่กระทรวงการคลังได้มีการตรากฎหมายเพื่อให้สิทธิประโยชน์ภาษีแก่บุคคลธรรมดาที่มีการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการออมเงินระยะยาวให้แก่ลูกจ้าง ข้าราชการ และผู้มีเงินได้โดยทั่วไป นอกเหนือจากการออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ไว้แล้วนั้น
กระทรวงการคลังได้พิจารณาเห็นว่าสมควรมีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์เงื่อนไขบางประการในการลงทุนผ่าน RMF จากเดิมที่กำหนดไว้ ดังนี้
(1) ผ่อนปรนให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา สามารถนำเงินได้ทุกประเภทมาซื้อหน่วยลงทุนใน RMF โดยให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และจะต้องมีจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท ของปีภาษีนั้น เมื่อรวมกับเงินที่ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ กบข. จากเดิมที่กำหนดให้ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษี สำหรับการนำเงินได้บางประเภทมาซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น
(2) ผ่อนปรนให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้แก่ RMF จากเดิมที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษี เฉพาะกรณีการขายคืนหน่วยลงทุนเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไป หรือมีเหตุทุพพลภาพหรือตายเท่านั้น
การผ่อนปรนหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติข้างต้น จะมีส่วนส่งเสริมให้มีการลงทุนในกองทุนมากขึ้น อันจะเป็นการสร้างความมั่งคงในด้านรายได้ให้แก่ผู้ลงทุนภายหลังจากการเกษียณอายุ รวมทั้งทำให้กองทุนสามารถนำเงินไปลงทุนในตลาดทุนระยะยาวได้มากขึ้นด้วย
3. การให้สิทธิประโยชน์ภาษี สำหรับบุคคลธรรมดาที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาว (Long term equity fund) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
กระทรวงการคลังได้พิจารณาเห็นว่าเพื่อเป็นการสนับสนุนและพัฒนาตลาดทุนตามที่ ก.ล.ต. เสนอ จึงเห็นควรมีการให้สิทธิประโยชน์ภาษีแก่ผู้ลงทุน ดังนี้
(1) ให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นและจำหน่ายหน่วยลงทุนครั้งแรกภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับเงินที่ลงทุนในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และจะต้องมีจำนวนไม่เกินปีละ 300,000 บาทของปีภาษีนั้น
(2) กำหนดให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา หากมีเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการขายหน่วยลงทุนที่ถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี คืนให้กับกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้ที่ได้รับ
(3) การได้รับสิทธิลดหย่อนและยกเว้นภาษีข้างต้น ผู้ลงทุนจะต้องมีการถือหน่วยลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หากมิได้ปฏิบัติตาม จะหมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีและต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับส่วนที่ได้รับยกเว้นมาแล้วให้ครบถ้วน
มาตรการภาษีเพื่อพัฒนาตลาดทุน กรณีขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับบริษัทฯ ที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนฯ ข้างต้น อาจมีผลกระทบต่อรายได้การจัดเก็บภาษีบ้างในระยะสั้น แต่ผลของการจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่เปิดเผยในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำให้บริษัทฯ มีการเสียภาษีที่โปร่งใส อันจะเป็นผลดีต่อระบบการจัดเก็บภาษีในระยะยาว สำหรับการผ่อนปรนหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการลงทุนใน RMF จะมีผลกระทบต่อรายได้ภาษีเพียงเล็กน้อย แต่จะมีผลสร้างความมั่งคงทางสังคมระยะยาว ส่วนการให้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาว จะมีผลกระทบต่อรายได้ภาษีปีละประมาณ 2,200 ล้านบาท แต่จะมีส่วนสนับสนุนในด้านการลงทุน ซึ่งมีผลต่อเนื่องทำให้การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในระยะยาว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 33/2547 27 เมษายน 2547--
1. ขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับบริษัทที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI)
ตามที่กระทรวงการคลังได้มีการตรากฎหมายในการให้สิทธิประโยชน์ภาษีแก่บริษัทฯที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) ในระหว่างวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2544 จนถึงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2547 ให้ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 30 เหลือ
(1) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี กรณีนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI)
(2) ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี กรณีนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรมีการขยายเวลาให้บริษัทฯ ที่นำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลาดฯ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีจากที่กำหนดไว้เดิมออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ทั้งนี้เพื่อให้บริษัทฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีมาตรฐานยิ่งขึ้น และเป็นการกระจายการนำหุ้นใหม่เข้าเสนอขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยไม่กระจุกตัวมากเกินไป
2. ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ภาษี กรณีการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF)จากการที่กระทรวงการคลังได้มีการตรากฎหมายเพื่อให้สิทธิประโยชน์ภาษีแก่บุคคลธรรมดาที่มีการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการออมเงินระยะยาวให้แก่ลูกจ้าง ข้าราชการ และผู้มีเงินได้โดยทั่วไป นอกเหนือจากการออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ไว้แล้วนั้น
กระทรวงการคลังได้พิจารณาเห็นว่าสมควรมีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์เงื่อนไขบางประการในการลงทุนผ่าน RMF จากเดิมที่กำหนดไว้ ดังนี้
(1) ผ่อนปรนให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา สามารถนำเงินได้ทุกประเภทมาซื้อหน่วยลงทุนใน RMF โดยให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และจะต้องมีจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท ของปีภาษีนั้น เมื่อรวมกับเงินที่ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ กบข. จากเดิมที่กำหนดให้ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษี สำหรับการนำเงินได้บางประเภทมาซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น
(2) ผ่อนปรนให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้แก่ RMF จากเดิมที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษี เฉพาะกรณีการขายคืนหน่วยลงทุนเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไป หรือมีเหตุทุพพลภาพหรือตายเท่านั้น
การผ่อนปรนหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติข้างต้น จะมีส่วนส่งเสริมให้มีการลงทุนในกองทุนมากขึ้น อันจะเป็นการสร้างความมั่งคงในด้านรายได้ให้แก่ผู้ลงทุนภายหลังจากการเกษียณอายุ รวมทั้งทำให้กองทุนสามารถนำเงินไปลงทุนในตลาดทุนระยะยาวได้มากขึ้นด้วย
3. การให้สิทธิประโยชน์ภาษี สำหรับบุคคลธรรมดาที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาว (Long term equity fund) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
กระทรวงการคลังได้พิจารณาเห็นว่าเพื่อเป็นการสนับสนุนและพัฒนาตลาดทุนตามที่ ก.ล.ต. เสนอ จึงเห็นควรมีการให้สิทธิประโยชน์ภาษีแก่ผู้ลงทุน ดังนี้
(1) ให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นและจำหน่ายหน่วยลงทุนครั้งแรกภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับเงินที่ลงทุนในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และจะต้องมีจำนวนไม่เกินปีละ 300,000 บาทของปีภาษีนั้น
(2) กำหนดให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา หากมีเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการขายหน่วยลงทุนที่ถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี คืนให้กับกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้ที่ได้รับ
(3) การได้รับสิทธิลดหย่อนและยกเว้นภาษีข้างต้น ผู้ลงทุนจะต้องมีการถือหน่วยลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หากมิได้ปฏิบัติตาม จะหมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีและต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับส่วนที่ได้รับยกเว้นมาแล้วให้ครบถ้วน
มาตรการภาษีเพื่อพัฒนาตลาดทุน กรณีขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับบริษัทฯ ที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนฯ ข้างต้น อาจมีผลกระทบต่อรายได้การจัดเก็บภาษีบ้างในระยะสั้น แต่ผลของการจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่เปิดเผยในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำให้บริษัทฯ มีการเสียภาษีที่โปร่งใส อันจะเป็นผลดีต่อระบบการจัดเก็บภาษีในระยะยาว สำหรับการผ่อนปรนหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการลงทุนใน RMF จะมีผลกระทบต่อรายได้ภาษีเพียงเล็กน้อย แต่จะมีผลสร้างความมั่งคงทางสังคมระยะยาว ส่วนการให้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาว จะมีผลกระทบต่อรายได้ภาษีปีละประมาณ 2,200 ล้านบาท แต่จะมีส่วนสนับสนุนในด้านการลงทุน ซึ่งมีผลต่อเนื่องทำให้การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในระยะยาว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 33/2547 27 เมษายน 2547--