นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวง การคลัง เปิดเผยรายงานฐานะการ
คลังตามระบบ สศค. เดือนมีนาคม 2547 สรุปได้ดังนี้
1. เดือนมีนาคม 2547
1.1 รายได้
รัฐบาลมีรายได้รวมทั้งสิ้น 97,750 ล้านบาท ประกอบด้วยรายได้นำส่งคลัง 84,303 ล้านบาท และรายได้จากกองทุนและเงิน
ฝากนอกงบประมาณ รวมทั้ง เงินช่วยเหลืออีกจำนวน 13,447 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิจำนวน
97,712 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึง ร้อยละ 15.4
1.2 รายจ่าย
รัฐบาลมีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 94,302 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนจำนวน 85,119 ล้านบาท
รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจำนวน 917 ล้านบาท และรายจ่ายจากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณอีก 8,266
ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (หลังจากหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 94,264 ล้านบาท (แยกเป็นรายจ่ายประจำ
84,034 ล้านบาทและรายจ่ายลงทุน 10,230 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 7.9
1.3 ดุลการคลังรัฐบาล
ดุลการคลัง (Fiscal Balance) ของรัฐบาลตามระบบ สศค. เดือนมีนาคม 2547 เกินดุล 461 ล้านบาท ในขณะที่เดือน
เดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 4,733 ล้านบาท
2. เดือนตุลาคม - มีนาคม ปีงบประมาณ 2547
2.1 รายได้
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 638,833 ล้านบาท โดยมีรายได้นำส่งคลัง 469,403 ล้านบาท
และรายได้จากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณ รวมเงินช่วยเหลืออีกจำนวน 169,430 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว
รัฐบาลมีรายได้สุทธิจำนวน 598,002 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 26.4 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
อย่างต่อเนื่องส่งผลให้รัฐบาลจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้นมาก
2.2 รายจ่าย
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลได้จ่ายเงินไปแล้วรวมทั้งสิ้น 648,694 ล้านบาท โดยจ่ายจากงบประมาณจำนวน
548,645 ล้านบาท จากรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ และเงินช่วยเหลือ จำนวน 5,221 ล้านบาท รายจ่ายจากกองทุน และเงินฝากนอก
งบประมาณอีก 94,828 ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (หลังหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 607,863 ล้านบาท (แบ่งเป็น
รายจ่ายประจำ 556,151 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 51,711 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้ว ถึงร้อยละ 24.6 ซึ่ง
เป็นการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจำร้อยละ 27.7 ขณะที่รายจ่ายลงทุนชะลอตัวลงเล็กน้อย
2.3 ดุลการคลัง
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลเกินดุลเงินสดจำนวน 1,955 ล้านบาท และเมื่อรวมกับการให้กู้ยืมสุทธิทำให้
ดุลการคลังขาดดุลสุทธิ 2,169 ล้านบาท ขาดดุลลดลง 10,832 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับดุลการคลัง
ที่ไม่รวมดอกเบี้ยรับและจ่ายเกินดุล 18,289 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 3,744 ล้านบาท
ตัวแปร ปีงบประมาณ 2546 งปม. 25
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4/P ทั้งปี/P ไตรมาส 1/P ไตรมาส 2/P
ดุลการดำเนินงานสุทธิ1/ (Net Operating Balance) -538 38,213 87,458 42,515 167,648 9,309 32,542
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเวลาเดียวกับปีก่อน (ล้านบาท) 30,464 55,216 21,248 22,640 129,568 9,847 -5,671
ดุลเงินสด2/ (Cash Surplus/Deficit) -27,027 12,261 62,449 73 47,755 -11,815 1,955
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน (ล้านบาท) 39,569 70,371 34,987 19,057 163,983 15,212 -10,306
ดุลการคลัง3/ (Overall Fiscal Balance) -37,763 8,662 56,873 -6,975 20,797 -22,417 -2,169
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน (ลบ.) 39,318 73,429 32,663 16,167 161,577 15,346 -10,832
ดุลการคลังหักรายรับรายจ่ายค่าดอกเบี้ย4/ (Overall Primary Balance) -19,300 22,033 77,446 5,674 85,853 -1,809 18,289
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน (ลบ.) 39,537 73,817 32,626 13,182 159,162 17,491 -3,744
หมายเหตุ :
1. รายได้หักด้วยรายจ่ายประจำ
2. รายได้หักด้วยรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน
3. รายได้หักด้วยรายจ่ายประจำ รายจ่ายลงทุน และการให้กู้ยืมสุทธิ (เช่น การให้กู้ยืมของกองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เป็นต้น)
4. รายได้ที่ไม่รวมดอกเบี้ยหักด้วยรายจ่ายประจำที่ไม่รวมดอกเบี้ย รายจ่ายลงทุน และการให้กู้ยืมสุทธิ
3. เงินคงคลังรัฐบาล เงินคงคลังเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2547 มีจำนวน 42,762 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว
11,323 ล้านบาท
4. ผลกระทบของผลการดำเนินงานรัฐบาลในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจอื่นๆ
4.1 ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
รายจ่ายของรัฐบาลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ GDP โดยตรงมี 2 ส่วนคือรายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล (ประ
กอบด้วยรายจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง การใช้สินค้าและบริการ) และรายจ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐบาล ในขณะเดียวกันรายได้หลักของรัฐ
บาล คือ ภาษี และเงินสมทบประกันสังคม เป็นการดึงอำนาจซื้อจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเอกชนมีอำนาจซื้อลดลง
รายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่รายจ่าย
ลงทุนของรัฐบาลชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 1.4 ในขณะเดียวกันภาระภาษีและเงินสมทบ
ประกันสังคมของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 10.9
ตัวแปร ปีงบประมาณ 2546 งปม. 2547
ไตรมาส1 ไตรมาส2 ไตรมาส3 ไตรมาส4/P ทั้งปี/P ไตรมาส 1/P ไตรมาส 2/P
รายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้าย 165,928 155,136 163,125 170,223 654,413 195,099 161,493
(Final Consumption Expenditure)
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน(%) 8.4 6.7 11.3 2.3 7 17.6 4.1
รายจ่ายลงทุน (Gross Capital Formation) 26,489 25,952 25,009 42,442 119892 21,124 30,587
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน(%) -25.6 -36.9 -35.5 9.2 -22.3 -20.3 17.9
ภาระภาษีและเงินสมทบประกันสังคมของภาคเอกชน 194,712 208,332 281,379 262,710 947,133 228,883.80 235,898.60
(Fiscal-Burden)
สัดส่วนภาระภาษีและเงินสมทบประกันสังคมของภาคเอกชน 13.66 14.22 19.58 17.91 16.34 14.77 16.15
ต่อ GDP (%)
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน (%GDP)) 1.12 1.26 1.75 1.52 1.41 1.11 1.93
หมายเหตุ :
1. เม็ดเงินภาษีและเงินสมทบประกันสังคมที่ภาคเอกชนจ่ายต้องจ่ายทั้งหมด
2. รายจ่ายเงินเดือน ค่าจ้างและการซื้อสินค้า บริการ
3. รายจ่ายในการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี
4.2 ภาคการเงิน
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 ขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 109,454 ล้านบาท
และได้ชดเชยการขาดดุลโดยใช้เงินคงคลังจำนวน 88,454 ล้านบาท และโดยการออกตั๋วเงินคลังและพันธบัตร จำนวน 13,000 และ
8,000 ล้านบาท ตามลำดับ
การชดเชยการขาดดุลโดยใช้เงินคงคลัง ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจาก
ระบบเศรษฐกิจยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่
4.3 ภาคต่างประเทศ
วิเคราะห์จากข้อมูลเบื้องต้นที่รวบรวมจากกรมบัญชีกลาง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ธนาคารแห่งประเทศไทย และประมาณ
การบางส่วนโดย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
จากเดือนตุลาคม 2546 - มกราคม 2547 รัฐบาลมีหนี้ต่างประเทศลดลงสุทธิ 9,654 ล้านบาท หรือประมาณ 102 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลเคลื่อนย้ายเงินทุนในส่วนของรัฐบาลขาดดุล ซึ่งการขาดดุลนี้เป็นผลดีต่อเสถียรภาพค่าเงินบาท ภายใต้สภาวะการณ์ที่
ค่าเงินบาท (เทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ) แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 35/2547 28 เมษายน 2547--
คลังตามระบบ สศค. เดือนมีนาคม 2547 สรุปได้ดังนี้
1. เดือนมีนาคม 2547
1.1 รายได้
รัฐบาลมีรายได้รวมทั้งสิ้น 97,750 ล้านบาท ประกอบด้วยรายได้นำส่งคลัง 84,303 ล้านบาท และรายได้จากกองทุนและเงิน
ฝากนอกงบประมาณ รวมทั้ง เงินช่วยเหลืออีกจำนวน 13,447 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิจำนวน
97,712 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึง ร้อยละ 15.4
1.2 รายจ่าย
รัฐบาลมีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 94,302 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนจำนวน 85,119 ล้านบาท
รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือจำนวน 917 ล้านบาท และรายจ่ายจากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณอีก 8,266
ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (หลังจากหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 94,264 ล้านบาท (แยกเป็นรายจ่ายประจำ
84,034 ล้านบาทและรายจ่ายลงทุน 10,230 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 7.9
1.3 ดุลการคลังรัฐบาล
ดุลการคลัง (Fiscal Balance) ของรัฐบาลตามระบบ สศค. เดือนมีนาคม 2547 เกินดุล 461 ล้านบาท ในขณะที่เดือน
เดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 4,733 ล้านบาท
2. เดือนตุลาคม - มีนาคม ปีงบประมาณ 2547
2.1 รายได้
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 638,833 ล้านบาท โดยมีรายได้นำส่งคลัง 469,403 ล้านบาท
และรายได้จากกองทุนและเงินฝากนอกงบประมาณ รวมเงินช่วยเหลืออีกจำนวน 169,430 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว
รัฐบาลมีรายได้สุทธิจำนวน 598,002 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 26.4 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
อย่างต่อเนื่องส่งผลให้รัฐบาลจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้นมาก
2.2 รายจ่าย
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลได้จ่ายเงินไปแล้วรวมทั้งสิ้น 648,694 ล้านบาท โดยจ่ายจากงบประมาณจำนวน
548,645 ล้านบาท จากรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ และเงินช่วยเหลือ จำนวน 5,221 ล้านบาท รายจ่ายจากกองทุน และเงินฝากนอก
งบประมาณอีก 94,828 ล้านบาท ส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (หลังหักนับซ้ำแล้ว) จำนวน 607,863 ล้านบาท (แบ่งเป็น
รายจ่ายประจำ 556,151 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 51,711 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้ว ถึงร้อยละ 24.6 ซึ่ง
เป็นการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจำร้อยละ 27.7 ขณะที่รายจ่ายลงทุนชะลอตัวลงเล็กน้อย
2.3 ดุลการคลัง
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลเกินดุลเงินสดจำนวน 1,955 ล้านบาท และเมื่อรวมกับการให้กู้ยืมสุทธิทำให้
ดุลการคลังขาดดุลสุทธิ 2,169 ล้านบาท ขาดดุลลดลง 10,832 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับดุลการคลัง
ที่ไม่รวมดอกเบี้ยรับและจ่ายเกินดุล 18,289 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 3,744 ล้านบาท
ตัวแปร ปีงบประมาณ 2546 งปม. 25
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4/P ทั้งปี/P ไตรมาส 1/P ไตรมาส 2/P
ดุลการดำเนินงานสุทธิ1/ (Net Operating Balance) -538 38,213 87,458 42,515 167,648 9,309 32,542
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเวลาเดียวกับปีก่อน (ล้านบาท) 30,464 55,216 21,248 22,640 129,568 9,847 -5,671
ดุลเงินสด2/ (Cash Surplus/Deficit) -27,027 12,261 62,449 73 47,755 -11,815 1,955
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน (ล้านบาท) 39,569 70,371 34,987 19,057 163,983 15,212 -10,306
ดุลการคลัง3/ (Overall Fiscal Balance) -37,763 8,662 56,873 -6,975 20,797 -22,417 -2,169
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน (ลบ.) 39,318 73,429 32,663 16,167 161,577 15,346 -10,832
ดุลการคลังหักรายรับรายจ่ายค่าดอกเบี้ย4/ (Overall Primary Balance) -19,300 22,033 77,446 5,674 85,853 -1,809 18,289
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน (ลบ.) 39,537 73,817 32,626 13,182 159,162 17,491 -3,744
หมายเหตุ :
1. รายได้หักด้วยรายจ่ายประจำ
2. รายได้หักด้วยรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน
3. รายได้หักด้วยรายจ่ายประจำ รายจ่ายลงทุน และการให้กู้ยืมสุทธิ (เช่น การให้กู้ยืมของกองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เป็นต้น)
4. รายได้ที่ไม่รวมดอกเบี้ยหักด้วยรายจ่ายประจำที่ไม่รวมดอกเบี้ย รายจ่ายลงทุน และการให้กู้ยืมสุทธิ
3. เงินคงคลังรัฐบาล เงินคงคลังเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2547 มีจำนวน 42,762 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว
11,323 ล้านบาท
4. ผลกระทบของผลการดำเนินงานรัฐบาลในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 ที่มีต่อภาคเศรษฐกิจอื่นๆ
4.1 ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
รายจ่ายของรัฐบาลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ GDP โดยตรงมี 2 ส่วนคือรายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล (ประ
กอบด้วยรายจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง การใช้สินค้าและบริการ) และรายจ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐบาล ในขณะเดียวกันรายได้หลักของรัฐ
บาล คือ ภาษี และเงินสมทบประกันสังคม เป็นการดึงอำนาจซื้อจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเอกชนมีอำนาจซื้อลดลง
รายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่รายจ่าย
ลงทุนของรัฐบาลชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 1.4 ในขณะเดียวกันภาระภาษีและเงินสมทบ
ประกันสังคมของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 10.9
ตัวแปร ปีงบประมาณ 2546 งปม. 2547
ไตรมาส1 ไตรมาส2 ไตรมาส3 ไตรมาส4/P ทั้งปี/P ไตรมาส 1/P ไตรมาส 2/P
รายจ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้าย 165,928 155,136 163,125 170,223 654,413 195,099 161,493
(Final Consumption Expenditure)
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน(%) 8.4 6.7 11.3 2.3 7 17.6 4.1
รายจ่ายลงทุน (Gross Capital Formation) 26,489 25,952 25,009 42,442 119892 21,124 30,587
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน(%) -25.6 -36.9 -35.5 9.2 -22.3 -20.3 17.9
ภาระภาษีและเงินสมทบประกันสังคมของภาคเอกชน 194,712 208,332 281,379 262,710 947,133 228,883.80 235,898.60
(Fiscal-Burden)
สัดส่วนภาระภาษีและเงินสมทบประกันสังคมของภาคเอกชน 13.66 14.22 19.58 17.91 16.34 14.77 16.15
ต่อ GDP (%)
เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน (%GDP)) 1.12 1.26 1.75 1.52 1.41 1.11 1.93
หมายเหตุ :
1. เม็ดเงินภาษีและเงินสมทบประกันสังคมที่ภาคเอกชนจ่ายต้องจ่ายทั้งหมด
2. รายจ่ายเงินเดือน ค่าจ้างและการซื้อสินค้า บริการ
3. รายจ่ายในการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี
4.2 ภาคการเงิน
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 ขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 109,454 ล้านบาท
และได้ชดเชยการขาดดุลโดยใช้เงินคงคลังจำนวน 88,454 ล้านบาท และโดยการออกตั๋วเงินคลังและพันธบัตร จำนวน 13,000 และ
8,000 ล้านบาท ตามลำดับ
การชดเชยการขาดดุลโดยใช้เงินคงคลัง ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจาก
ระบบเศรษฐกิจยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่
4.3 ภาคต่างประเทศ
วิเคราะห์จากข้อมูลเบื้องต้นที่รวบรวมจากกรมบัญชีกลาง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ธนาคารแห่งประเทศไทย และประมาณ
การบางส่วนโดย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
จากเดือนตุลาคม 2546 - มกราคม 2547 รัฐบาลมีหนี้ต่างประเทศลดลงสุทธิ 9,654 ล้านบาท หรือประมาณ 102 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลเคลื่อนย้ายเงินทุนในส่วนของรัฐบาลขาดดุล ซึ่งการขาดดุลนี้เป็นผลดีต่อเสถียรภาพค่าเงินบาท ภายใต้สภาวะการณ์ที่
ค่าเงินบาท (เทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ) แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 35/2547 28 เมษายน 2547--