ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กองทุนฟื้นฟูฯ จะไม่เข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน ธ.ยูโอบี รัตนสิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า
ทางกองทุนฟื้นฟูฯ จะไม่ใช้สิทธิ์ในการเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน ธ.ยูโอบี รัตนสิน เนื่องจากขณะนี้ทาง ธ.ยูโอบี
สามารถดำเนินธุรกิจได้แล้ว โดยที่ผ่านมาทางกองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปถือหุ้น เพื่อเข้าไปช่วยเหลือฐานะการ
ดำเนินงานของ ธ.รัตนสิน ทั้งนี้ หากกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่เข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน ธ.ยูโอบี ทางกองทุนฟื้นฟูฯ จะ
เหลือสัดส่วนในการถือหุ้นร้อยละ 17 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนร้อยละ 25 แต่ทั้งนี้ทางกองทุนฟื้นฟูฯ จะยังมีสิทธิ์ใน
การออกเสียงคัดค้านในฐานะผู้ถือหุ้นอยู่ (เดลินิวส์)
2. สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐสามารถปล่อยสินเชื่อในช่วง 2 เดือนแรกของปี 47 ได้สูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.32 ผู้อำนวยการสำนักนโยบายระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ในฐานะรองโฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ ธ.เพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้า
แห่งประเทศไทย (ธสน.) ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธ.อิสลาม
แห่งประเทศไทย (ธอท.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อ
ที่อยู่อาศัย (บตท.) ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 47 สามารถปล่อยสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 93,907.02 ล้านบาท
ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 46 ประมาณร้อยละ 16.32 ทั้งนี้ ธ.ก.ส.สามารถปล่อยสินเชื่อรวมได้สูงที่สุด
รองลงมา คือ ธ.ออมสิน นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เทียบ
ต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93 เมื่อเทียบจากสิ้นปี 46 สำหรับมีอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)
ต่อสินเชื่อคงค้างทั้งหมดลดลงจากร้อยละ 11.47 ในสิ้นปี 45 คงเหลือร้อยละ 10.13 ในสิ้นปี 46 (ข่าวสด,
กรุงเทพธุรกิจ)
3. ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 47 มีอสังหาริมทรัพย์เปิดขายใหม่ประมาณ 1.4 หมื่นยูนิต มูลค่า
4.9 หมื่นล้านบาท กรรมการผู้จัดการ บ.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เปิดเผยผลการสำรวจ
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 47 (ม.ค.-เม.ย.) พบว่า มีการเปิดตัวโครงการใหม่ 104
โครงการ โดย 102 โครงการอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และประมาณ 100 โครงการเป็นโครงการที่อยู่
อาศัย โดยมีจำนวนยูนิตที่เปิดขายใหม่ประมาณ 1.4 หมื่นยูนิต มูลค่ารวม 4.9 หมื่นล้านบาท และในจำนวนดัง
กล่าวเป็นบ้านเดี่ยวมูลค่า 2.1 หมื่นล้านบาท โดยราคาเฉลี่ยต่อหน่วยของโครงการโดยรวมที่เปิดขายอยู่ที่ 3.4
ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25 จากปีที่แล้วที่ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.6-2.7 ล้านบาท และคาด
ว่าทั้งปี 47 จะมีโครงการเปิดขายใหม่มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาท (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. รัฐบาลจะปรับเพดานการตรึงราคาน้ำมันเบนซินแบบทยอยขึ้นครั้งละ 20-30 สตางค์ แต่รวม
แล้วไม่เกิน 80 สตางค์ นายสุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการพลังงาน
แห่งชาติ (กพช.) เปิดเผยว่า รัฐบาลจะปรับเพดานการตรึงราคาน้ำมันขึ้นอีกไม่เกิน 80 สตางค์ โดยจะปรับ
แบบขั้นบันได คือทยอยปรับครั้งละประมาณ 20-30 สตางค์ จนกว่าจะครบ 80 สตางค์ เป็นการปรับขึ้นเฉพาะ
ราคาน้ำมันเบนซิน ส่วนน้ำมันดีเซลยังไม่มีการปรับ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกร (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสรอ. ในเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมาย รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 47 The conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเอกชนของสรอ. เปิดเผยว่าใน
เดือนเม.ย. 47 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสรอ. เพิ่มขึ้นอย่างมากอยู่ที่ระดับ 92.9 จากระดับ 88.5 (ตัวเลขที่
ปรับแล้ว) เมื่อเดือนก่อน เนื่องจากตลาดแรงงานฟื้นตัว สวนทางกับผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ของรอย
เตอร์ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีดังกล่าวจะอยู่ที่ระดับ 88.0 โดยในเดือนเม.ย. ความยากลำบากในการ
หางานลดลงอยู่ที่ร้อยละ 27.6 จากร้อยละ 29.9 (ตัวเลขหลังปรับ) ในเดือนก่อนหน้า และลดลงสู่ระดับต่ำ
สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 45 โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดว่าแนวโน้มเช่นนี้นี้อาจะยังคงอยู่ต่อไปอีก นัก
เศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Deutsche Bank Securities ในนิวยอร์กกล่าวว่ามีงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
และความยากลำบากในการหางานทำได้ลดลงแล้ว ดังนั้นความเชื่อมั่นในตลาดแรงงานอาจจะปรับตัวดีขึ้น (รอยเตอร์)
2. สรอ. ปรับเพิ่มดัชนีต้นทุนการจ้างงานในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เป็นร้อยละ 0.8 รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อ วันที่ 27 เม.ย. 47 ก.แรงงานสรอ.ปรับเพิ่มต้นทุนการจ้างงานในไตรมาสที่ 4 ปี 46 ร้อย
ละ 0.8 จากเดิมก่อนปรับร้อยละ 0.7 เช่นเดียวกับต้นทุนผลประโยชน์อื่นก็ได้ปรับเพิ่มเป็นระดับร้อยละ 1.4
จากเดิมที่ร้อยละ 1.2 ส่วนค่าจ้างและเงินเดือนยังคงอยู่ที่ระดับเดิมคือร้อยละ 0.5 สำหรับตัวเลขต่างๆดัง
กล่าวของไตรมาสที่ 1 ปี 47 จะเปิดเผยอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 เม.ย. เวลา 8.30 น. (รอยเตอร์)
3. จีดีพีของเยอรมนีในปี 47 จะเติบโตลดลง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 27 เม.ย.47
สถาบันทางเศรษฐกิจชั้นนำ 6 แห่ง ของเยอรมนีคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 47 จะเติบโตเพียง
ร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าที่คาดการณ์เมื่อเดือน ต.ค.ปีก่อนว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7 และจะยังอยู่ที่ระดับร้อยละ
1.5 เช่นเดิมในปี 48 ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีจะเริ่มปรับเข้าสู่สมดุลในปี 47 และจะไม่เพิ่มขึ้นอีกในปี 48
อย่างไรก็ตาม นาย Wolfgang Clement รมว. เศรษฐกิจของเยอรมนี กล่าวว่า การคาดการณ์ของ
สถาบันดังกล่าวเป็นการมองในแง่ลบเกินไป เศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้น่าจะเติบโตมากกว่าที่สถาบันคาด
การณ์ไว้ โดยรัฐบาลคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 47 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7 และเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 2.25 ในปี 48 นอกจากนั้น ยัง คาดว่าในปี 48 เยอรมนีจะสามารถลดการขาดดุล งปม. ให้อยู่ใน
ระดับต่ำกว่าร้อยละ 3 ของจีดีพีตามกฎของ EU ได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของสถาบันฯ ที่คาดว่า
ในปี 47 เยอรมนีจะขาดดุล งปม. เกินกว่าร้อยละ 3 ของจีดีพีติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยจะขาดดุลอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 3.7 และจะลดลงสู่ระดับร้อยละ 3.5 ในปี 48 ซึ่งก็ยังคงเกินกว่าข้อตกลงของ EU อยู่นั่นเอง (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.47 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนแต่
คาดว่าจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในเดือนถัดไป รายงานจากโตเกียว เมื่อ 28 เม.ย.47 ก.เศรษฐกิจ การ
ค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นหรือ METI รายงานผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.47ขยายตัวเพียง
ร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ เครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม และเหล็กกล้ามีการ
ขยายตัวอย่างมาก และคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย. และ พ.ค.47 จะขยายตัวถึงร้อยละ 5.6
และ 2.2 ตามลำดับ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินเยนหลังจากที่แข็งค่าอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ
4 ปีที่ 103.40 เยนต่อดอลลาร์ สรอ.เมื่อต้นเดือนนี้ ก่อนที่จะอ่อนค่าลงร้อยละ 5 มาปิดที่ 110 เยนต่อ
ดอลลาร์ สรอ.เมื่อ 28 เม.ย.47 ในขณะที่รายงานของ METI อีกฉบับรายงานยอดค้าปลีกในเดือน มี.ค.47
ลดลงร้อยละ 2.3 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน อันเป็นผลจากการฟื้นตัวอย่าง
เชื่องช้าของตลาดแรงงานและรายได้ของผู้บริโภค ทำให้คาดกันว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะยังคงนโยบายการเงินแบบ
ผ่อนคลายต่อไป จากการที่เศรษฐกิจยังมีภาวะเงินฝืดเล็กน้อยแม้ว่าจะมีการขยายตัวมากขึ้นก็ตาม (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 เม.ย. 47 27 เม.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.62 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.4279/39.7221 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 680.89/15.86 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.58 32.15 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. กองทุนฟื้นฟูฯ จะไม่เข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน ธ.ยูโอบี รัตนสิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า
ทางกองทุนฟื้นฟูฯ จะไม่ใช้สิทธิ์ในการเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน ธ.ยูโอบี รัตนสิน เนื่องจากขณะนี้ทาง ธ.ยูโอบี
สามารถดำเนินธุรกิจได้แล้ว โดยที่ผ่านมาทางกองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปถือหุ้น เพื่อเข้าไปช่วยเหลือฐานะการ
ดำเนินงานของ ธ.รัตนสิน ทั้งนี้ หากกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่เข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน ธ.ยูโอบี ทางกองทุนฟื้นฟูฯ จะ
เหลือสัดส่วนในการถือหุ้นร้อยละ 17 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนร้อยละ 25 แต่ทั้งนี้ทางกองทุนฟื้นฟูฯ จะยังมีสิทธิ์ใน
การออกเสียงคัดค้านในฐานะผู้ถือหุ้นอยู่ (เดลินิวส์)
2. สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐสามารถปล่อยสินเชื่อในช่วง 2 เดือนแรกของปี 47 ได้สูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.32 ผู้อำนวยการสำนักนโยบายระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ในฐานะรองโฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ ธ.เพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้า
แห่งประเทศไทย (ธสน.) ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธ.อิสลาม
แห่งประเทศไทย (ธอท.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อ
ที่อยู่อาศัย (บตท.) ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 47 สามารถปล่อยสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 93,907.02 ล้านบาท
ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 46 ประมาณร้อยละ 16.32 ทั้งนี้ ธ.ก.ส.สามารถปล่อยสินเชื่อรวมได้สูงที่สุด
รองลงมา คือ ธ.ออมสิน นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เทียบ
ต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93 เมื่อเทียบจากสิ้นปี 46 สำหรับมีอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)
ต่อสินเชื่อคงค้างทั้งหมดลดลงจากร้อยละ 11.47 ในสิ้นปี 45 คงเหลือร้อยละ 10.13 ในสิ้นปี 46 (ข่าวสด,
กรุงเทพธุรกิจ)
3. ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 47 มีอสังหาริมทรัพย์เปิดขายใหม่ประมาณ 1.4 หมื่นยูนิต มูลค่า
4.9 หมื่นล้านบาท กรรมการผู้จัดการ บ.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เปิดเผยผลการสำรวจ
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 47 (ม.ค.-เม.ย.) พบว่า มีการเปิดตัวโครงการใหม่ 104
โครงการ โดย 102 โครงการอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และประมาณ 100 โครงการเป็นโครงการที่อยู่
อาศัย โดยมีจำนวนยูนิตที่เปิดขายใหม่ประมาณ 1.4 หมื่นยูนิต มูลค่ารวม 4.9 หมื่นล้านบาท และในจำนวนดัง
กล่าวเป็นบ้านเดี่ยวมูลค่า 2.1 หมื่นล้านบาท โดยราคาเฉลี่ยต่อหน่วยของโครงการโดยรวมที่เปิดขายอยู่ที่ 3.4
ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25 จากปีที่แล้วที่ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.6-2.7 ล้านบาท และคาด
ว่าทั้งปี 47 จะมีโครงการเปิดขายใหม่มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาท (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. รัฐบาลจะปรับเพดานการตรึงราคาน้ำมันเบนซินแบบทยอยขึ้นครั้งละ 20-30 สตางค์ แต่รวม
แล้วไม่เกิน 80 สตางค์ นายสุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการพลังงาน
แห่งชาติ (กพช.) เปิดเผยว่า รัฐบาลจะปรับเพดานการตรึงราคาน้ำมันขึ้นอีกไม่เกิน 80 สตางค์ โดยจะปรับ
แบบขั้นบันได คือทยอยปรับครั้งละประมาณ 20-30 สตางค์ จนกว่าจะครบ 80 สตางค์ เป็นการปรับขึ้นเฉพาะ
ราคาน้ำมันเบนซิน ส่วนน้ำมันดีเซลยังไม่มีการปรับ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกร (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสรอ. ในเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมาย รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 47 The conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเอกชนของสรอ. เปิดเผยว่าใน
เดือนเม.ย. 47 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสรอ. เพิ่มขึ้นอย่างมากอยู่ที่ระดับ 92.9 จากระดับ 88.5 (ตัวเลขที่
ปรับแล้ว) เมื่อเดือนก่อน เนื่องจากตลาดแรงงานฟื้นตัว สวนทางกับผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ของรอย
เตอร์ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีดังกล่าวจะอยู่ที่ระดับ 88.0 โดยในเดือนเม.ย. ความยากลำบากในการ
หางานลดลงอยู่ที่ร้อยละ 27.6 จากร้อยละ 29.9 (ตัวเลขหลังปรับ) ในเดือนก่อนหน้า และลดลงสู่ระดับต่ำ
สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 45 โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดว่าแนวโน้มเช่นนี้นี้อาจะยังคงอยู่ต่อไปอีก นัก
เศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Deutsche Bank Securities ในนิวยอร์กกล่าวว่ามีงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
และความยากลำบากในการหางานทำได้ลดลงแล้ว ดังนั้นความเชื่อมั่นในตลาดแรงงานอาจจะปรับตัวดีขึ้น (รอยเตอร์)
2. สรอ. ปรับเพิ่มดัชนีต้นทุนการจ้างงานในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เป็นร้อยละ 0.8 รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อ วันที่ 27 เม.ย. 47 ก.แรงงานสรอ.ปรับเพิ่มต้นทุนการจ้างงานในไตรมาสที่ 4 ปี 46 ร้อย
ละ 0.8 จากเดิมก่อนปรับร้อยละ 0.7 เช่นเดียวกับต้นทุนผลประโยชน์อื่นก็ได้ปรับเพิ่มเป็นระดับร้อยละ 1.4
จากเดิมที่ร้อยละ 1.2 ส่วนค่าจ้างและเงินเดือนยังคงอยู่ที่ระดับเดิมคือร้อยละ 0.5 สำหรับตัวเลขต่างๆดัง
กล่าวของไตรมาสที่ 1 ปี 47 จะเปิดเผยอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 เม.ย. เวลา 8.30 น. (รอยเตอร์)
3. จีดีพีของเยอรมนีในปี 47 จะเติบโตลดลง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 27 เม.ย.47
สถาบันทางเศรษฐกิจชั้นนำ 6 แห่ง ของเยอรมนีคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 47 จะเติบโตเพียง
ร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าที่คาดการณ์เมื่อเดือน ต.ค.ปีก่อนว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7 และจะยังอยู่ที่ระดับร้อยละ
1.5 เช่นเดิมในปี 48 ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีจะเริ่มปรับเข้าสู่สมดุลในปี 47 และจะไม่เพิ่มขึ้นอีกในปี 48
อย่างไรก็ตาม นาย Wolfgang Clement รมว. เศรษฐกิจของเยอรมนี กล่าวว่า การคาดการณ์ของ
สถาบันดังกล่าวเป็นการมองในแง่ลบเกินไป เศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้น่าจะเติบโตมากกว่าที่สถาบันคาด
การณ์ไว้ โดยรัฐบาลคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 47 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7 และเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 2.25 ในปี 48 นอกจากนั้น ยัง คาดว่าในปี 48 เยอรมนีจะสามารถลดการขาดดุล งปม. ให้อยู่ใน
ระดับต่ำกว่าร้อยละ 3 ของจีดีพีตามกฎของ EU ได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของสถาบันฯ ที่คาดว่า
ในปี 47 เยอรมนีจะขาดดุล งปม. เกินกว่าร้อยละ 3 ของจีดีพีติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยจะขาดดุลอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 3.7 และจะลดลงสู่ระดับร้อยละ 3.5 ในปี 48 ซึ่งก็ยังคงเกินกว่าข้อตกลงของ EU อยู่นั่นเอง (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.47 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนแต่
คาดว่าจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในเดือนถัดไป รายงานจากโตเกียว เมื่อ 28 เม.ย.47 ก.เศรษฐกิจ การ
ค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นหรือ METI รายงานผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.47ขยายตัวเพียง
ร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ เครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม และเหล็กกล้ามีการ
ขยายตัวอย่างมาก และคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย. และ พ.ค.47 จะขยายตัวถึงร้อยละ 5.6
และ 2.2 ตามลำดับ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินเยนหลังจากที่แข็งค่าอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ
4 ปีที่ 103.40 เยนต่อดอลลาร์ สรอ.เมื่อต้นเดือนนี้ ก่อนที่จะอ่อนค่าลงร้อยละ 5 มาปิดที่ 110 เยนต่อ
ดอลลาร์ สรอ.เมื่อ 28 เม.ย.47 ในขณะที่รายงานของ METI อีกฉบับรายงานยอดค้าปลีกในเดือน มี.ค.47
ลดลงร้อยละ 2.3 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน อันเป็นผลจากการฟื้นตัวอย่าง
เชื่องช้าของตลาดแรงงานและรายได้ของผู้บริโภค ทำให้คาดกันว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะยังคงนโยบายการเงินแบบ
ผ่อนคลายต่อไป จากการที่เศรษฐกิจยังมีภาวะเงินฝืดเล็กน้อยแม้ว่าจะมีการขยายตัวมากขึ้นก็ตาม (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 เม.ย. 47 27 เม.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.62 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.4279/39.7221 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 680.89/15.86 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.58 32.15 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-