นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนมีนาคม 2547 ดังนี้
เศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคมยังคงขยายตัวได้ดี แม้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะปรับลดลงบ้างจากข่าวปัญหาความไม่สงบในภาคใต้และการประท้วงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวดี ทั้งการลงทุนในภาคก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร การใช้จ่ายภาครัฐทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนยังคงขยายตัวดี การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงทั้งการส่งออกและนำเข้า ภาคการผลิตขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการขยายตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ สินเชื่อเร่งตัวตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนั้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความมั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี และฐานะการคลังอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง
การใช้จ่ายภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นตามอุปสงค์ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความต้องการทั้งสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 ต่อปี ขณะที่ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 39.7 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความกังวลในปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และการประท้วงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 103.0 จุด
เครื่องชี้ภาวการณ์ลงทุนสะท้อนถึงแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้างที่ขยายตัวดี สอดคล้องกับการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนมีนาคมยังคงขยายตัวถึงร้อยละ 72.0 ต่อปี ขณะที่ความต้องการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรยังคงเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนกำลังการผลิตเดิมและขยายกำลังการผลิต โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 12.8 ต่อปี
การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยรายจ่ายจากงบประมาณเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 14.9 ต่อปี แยกเป็นรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.4 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ต่อปี
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ในเดือนมีนาคม มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 20.0 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 8.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 264.8 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูง โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 16.3 ต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างรวมถึงเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวดีขึ้นตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องจากต่างประเทศ ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 75.3
สินเชื่อขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีตามการเร่งตัวของภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งสินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจในเดือนมกราคม ขยายตัวร้อยละ 9.1 ต่อปี
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงเล็กน้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 39.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมีนาคม ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกุมภาพันธ์เกินดุลทั้งสิ้น 1,108 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลทั้งดุลการค้าและดุลบริการ นอกจากนั้น การโอนเงินไปต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 43.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนมีนาคม คิดเป็น 5.2 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังของรัฐบาลมีความมั่นคงและอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - มีนาคม 2547) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง ทำให้รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 504,419 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.7 ในส่วนของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 556,944 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 21.9 ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณระบบกระแสเงินสดขาดดุล 52,525 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล 56,929 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 109,454 ล้านบาท เมื่อพิจารณาดุลการคลัง (Fiscal Balance) ในระบบ สศค. พบว่าขาดดุล 24,587 ล้านบาท สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 เท่ากับ 2,897 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.73 ของ GDP ลดลงจากเดือนธันวาคม 5.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 ของ GDP ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 25.18 ของ GDP
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนมีนาคม 2547
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี โดย 1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศขยายตัวสูงถึงร้อยละ 28.2 และ 26.1 ต่อปี ในเดือนมีนาคมและในไตรมาสที่ 1 ตามลำดับ 2) ภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากสินค้าคงทนในเดือนมีนาคมขยายตัวสูงที่ร้อยละ 39.7 ต่อปี เนื่องจากมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีคำสั่งซื้อรถยนต์เป็นจำนวนมากจากงาน Motor show ที่จัดขึ้นในเดือนมีนาคม ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 ภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 23.1 ต่อปี 3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเดือนมีนาคมอยู่ที่ 103.0 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่ 105.2 จุด เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และการประท้วงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ในไตรมาสที่ 1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเฉลี่ยอยู่ที่ 105.2 จุด 4) มูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวที่ร้อยละ 19.8 และ 17.7 ต่อปี
การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มที่ดีทั้งการลงทุนภาคก่อสร้างและเครื่องจักร โดย 1) รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวที่ร้อยละ 72.0 และ 58.1 ต่อปี ในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ตามลำดับ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ได้เพิ่มขึ้นสู่อัตราเดิม 2) การลงทุนในสินค้าทุนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 และ 12.8 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 3) ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 50.4 จุด ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน 4) มูลค่าโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเดือนมีนาคมอยู่ที่ 56.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.7 ต่อปี นอกจากนี้ ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับโดย UNCTAD เป็นประเทศที่น่าลงทุนเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย และอันดับที่ 4 ของโลก 5) ปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 16.4 ต่อปี
การใช้จ่ายภาครัฐยังคงขยายตัวสูง โดยรายจ่ายงบประมาณตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (GFS) เดือนมีนาคมอยู่ที่ 88.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.9 ต่อปี ประกอบด้วยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ต่อปี ขณะที่ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 รายจ่ายงบประมาณขยายตัวร้อยละ 22.3 ต่อปี โดยรายจ่ายประจำขยายตัวร้อยละ 23.0 ต่อปี และรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 ต่อปี
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง 1) การส่งออกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกเดือนมีนาคมมีมูลค่าทั้งสิ้น 8.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 20.0 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 22.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ต่อปี ส่วนปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ 2) การนำเข้าขยายตัวสูงตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ โดยมูลค่าการนำเข้าเดือนมีนาคมอยู่ที่ 8.2 พันล้านดอลลาร์สรอ. ขยายตัวร้อยละ 34.8 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ 21.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 ต่อปี ส่วนปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 3) ดุลการค้าเดือนมีนาคมขาดดุลทั้งสิ้น 264.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ดุลการค้าในไตรมาสที่ 1 ยังคงเกินดุลทั้งสิ้น 505.5 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ภาคการผลิตขยายตัวดี ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 16.3 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ขยายตัวร้อยละ 17.0 ต่อปี โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรรวม อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ขยายตัวร้อยละ 21.7 ต่อปี โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ ปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์เหล็ก ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตส่งออกระหว่างร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 60 ขยายตัวร้อยละ 9.1 ต่อปี ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 75.3 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 74.2 ในเดือนก่อน
สินเชื่อและเงินฝากธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดย 1) เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนมีนาคมปรับตัวสูงขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี 2) สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs เดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี 3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 12.8 ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ลดลงจากร้อยละ 15.3 ในไตรมาสก่อน
สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่วนใหญ่ มีฐานะการเงินที่มั่นคง โดย 1) เงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอยู่ที่ระดับ 1.16 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ต่อปี 2) สินเชื่อ คงขยายตัวได้ดี โดยสินเชื่อคงค้างโดยรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 1.03 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 ต่อปี และเป็นสินเชื่อที่อนุมัติใหม่ในเดือนมกราคมจำนวน 37 พันล้านบาท 3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ2ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ 118.7 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 10 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด 4) อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไปแล้วยังคงสูงกว่ามาตรฐาน กล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีเงินกองทุนสูงกว่าอัตราร้อยละ 8.5 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสิน มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์สินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 15 5) สินทรัพย์โดยรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 8 แห่ง อยู่ที่ 1.47 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 ส่วนผลประกอบการของสถาบันการเฉพาะกิจเดือนมกราคมกำไรสุทธิ จำนวน 1,213 ล้านบาท
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง 1) อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปรับราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเป็นสำคัญ 2) อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 39.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในเดือนมีนาคม เทียบกับ 39.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากเดือนก่อน 3) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกุมภาพันธ์เกินดุลทั้งสิ้น 1,108 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลมาจากการกินดุลทั้งดุลการค้า และดุลบริการ รวมทั้งเงินโอนไปต่างประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ 4) ทุนสำรองทางการอยู่ในระดับสูง โดยอยู่ที่ 43.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนมีนาคม คิดเป็น 5.2 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังเดือนมีนาคม 2547 และช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547
1. ด้านรายได้
ในเดือนมีนาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บเบื้องต้นรวม 103,390 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 15,975 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 18.0) และมีรายได้จัดเก็บสุทธิรวม 93,355 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 14,165 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.9 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.9)
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - มีนาคม 2547) รายได้จัดเก็บรวมของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดยมีรายได้รวม 566,953 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 108,084 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.6 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 17.4) โดยมีรายได้จัดเก็บสุทธิ 511,988 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 100,036 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.7) สาเหตุที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นมากเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจ ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคและฐานรายได้เพิ่มขึ้นมาก
2. ด้านรายจ่าย
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในเดือนมีนาคม 2547 มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 86,329 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 21.91) โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณของปีปัจจุบัน 76,394 ล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 9,935 ล้านบาทในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 46- มีนาคม 47) ได้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น 556,944 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.9 โดยในส่วนของงบประมาณปีปัจจุบันได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 495,491 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48.20 ของวงเงินงบประมาณ และเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อนอีกจำนวน 61,453 ล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณของปีปัจจุบันนั้น เป็นการเบิกจ่ายในส่วนของงบประจำ จำนวน 450,305 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 54.12 ของงบประจำทั้งสิ้น) และงบลงทุน จำนวน 45,186 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 23.0 ของงบลงทุนทั้งสิ้น)
3. ฐานะการคลัง
3.1 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสด
ในเดือนมีนาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 92,303 ล้านบาท มีรายจ่ายรวม 86,329 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณเกินดุล 5,973 ล้านบาท ในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 2,651 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดเกินดุล 3,323 ล้านบาทสำหรับในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 นั้นรัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังรวม 504,419 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 68,514 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.7 ขณะเดียวกันมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจากงบประมาณปีปัจจุบัน และปีก่อนรวม 556,944 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 100,245 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.9 ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 52,525 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล 56,929 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลรวมทั้งสิ้น 109,454 ล้านบาท
3.2 ฐานะการคลังตามระบบ สศค.
ในเดือนมีนาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 84,591 ล้านบาท ขณะที่มีรายจ่ายรวม 85,407 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 816 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 629 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 1,906 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลเกินดุล 461 ล้านบาท
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 471,132 ล้านบาท ส่วนรายจ่ายมีจำนวน 550,374 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 79,242 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 3,492 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 58,147 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุล 24,587 ล้านบาท
4. หนี้สาธารณะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 เท่ากับ 2,897 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.73 ของ GDP ลดลงจากเดือนธันวาคม 2546 5.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 ของ GDP โดยประกอบด้วยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,651 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 844 พันล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 401 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 25.18 ของ GDP (ลดลงจากร้อยละ 27.19 ในเดือนที่แล้ว)
หนี้สาธารณะคงค้าง ที่เปลี่ยนไปเป็นผลจากหนี้คงค้างรัฐบาลเพิ่มขึ้นสุทธิ 20 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลงสุทธิ 9 พันล้านบาท และหนี้ FIDF ลดลงสุทธิ 16 พันล้านบาท
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 5/2547 28 กุมภาพันธ์ 2547--
-นท-
เศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคมยังคงขยายตัวได้ดี แม้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะปรับลดลงบ้างจากข่าวปัญหาความไม่สงบในภาคใต้และการประท้วงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวดี ทั้งการลงทุนในภาคก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร การใช้จ่ายภาครัฐทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนยังคงขยายตัวดี การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงทั้งการส่งออกและนำเข้า ภาคการผลิตขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการขยายตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ สินเชื่อเร่งตัวตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนั้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความมั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี และฐานะการคลังอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง
การใช้จ่ายภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นตามอุปสงค์ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความต้องการทั้งสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 ต่อปี ขณะที่ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 39.7 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความกังวลในปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และการประท้วงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 103.0 จุด
เครื่องชี้ภาวการณ์ลงทุนสะท้อนถึงแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้างที่ขยายตัวดี สอดคล้องกับการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนมีนาคมยังคงขยายตัวถึงร้อยละ 72.0 ต่อปี ขณะที่ความต้องการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรยังคงเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนกำลังการผลิตเดิมและขยายกำลังการผลิต โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 12.8 ต่อปี
การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยรายจ่ายจากงบประมาณเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 14.9 ต่อปี แยกเป็นรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.4 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ต่อปี
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ในเดือนมีนาคม มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 20.0 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 8.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 264.8 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูง โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 16.3 ต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างรวมถึงเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวดีขึ้นตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องจากต่างประเทศ ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 75.3
สินเชื่อขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีตามการเร่งตัวของภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งสินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจในเดือนมกราคม ขยายตัวร้อยละ 9.1 ต่อปี
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงเล็กน้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 39.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมีนาคม ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกุมภาพันธ์เกินดุลทั้งสิ้น 1,108 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลทั้งดุลการค้าและดุลบริการ นอกจากนั้น การโอนเงินไปต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 43.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนมีนาคม คิดเป็น 5.2 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังของรัฐบาลมีความมั่นคงและอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - มีนาคม 2547) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง ทำให้รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 504,419 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.7 ในส่วนของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 556,944 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 21.9 ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณระบบกระแสเงินสดขาดดุล 52,525 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล 56,929 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 109,454 ล้านบาท เมื่อพิจารณาดุลการคลัง (Fiscal Balance) ในระบบ สศค. พบว่าขาดดุล 24,587 ล้านบาท สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 เท่ากับ 2,897 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.73 ของ GDP ลดลงจากเดือนธันวาคม 5.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 ของ GDP ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 25.18 ของ GDP
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนมีนาคม 2547
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี โดย 1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศขยายตัวสูงถึงร้อยละ 28.2 และ 26.1 ต่อปี ในเดือนมีนาคมและในไตรมาสที่ 1 ตามลำดับ 2) ภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากสินค้าคงทนในเดือนมีนาคมขยายตัวสูงที่ร้อยละ 39.7 ต่อปี เนื่องจากมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีคำสั่งซื้อรถยนต์เป็นจำนวนมากจากงาน Motor show ที่จัดขึ้นในเดือนมีนาคม ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 ภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 23.1 ต่อปี 3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเดือนมีนาคมอยู่ที่ 103.0 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่ 105.2 จุด เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และการประท้วงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ในไตรมาสที่ 1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเฉลี่ยอยู่ที่ 105.2 จุด 4) มูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวที่ร้อยละ 19.8 และ 17.7 ต่อปี
การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มที่ดีทั้งการลงทุนภาคก่อสร้างและเครื่องจักร โดย 1) รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวที่ร้อยละ 72.0 และ 58.1 ต่อปี ในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ตามลำดับ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ได้เพิ่มขึ้นสู่อัตราเดิม 2) การลงทุนในสินค้าทุนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 และ 12.8 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 3) ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 50.4 จุด ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน 4) มูลค่าโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเดือนมีนาคมอยู่ที่ 56.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.7 ต่อปี นอกจากนี้ ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับโดย UNCTAD เป็นประเทศที่น่าลงทุนเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย และอันดับที่ 4 ของโลก 5) ปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 16.4 ต่อปี
การใช้จ่ายภาครัฐยังคงขยายตัวสูง โดยรายจ่ายงบประมาณตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (GFS) เดือนมีนาคมอยู่ที่ 88.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.9 ต่อปี ประกอบด้วยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ต่อปี ขณะที่ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 รายจ่ายงบประมาณขยายตัวร้อยละ 22.3 ต่อปี โดยรายจ่ายประจำขยายตัวร้อยละ 23.0 ต่อปี และรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 ต่อปี
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง 1) การส่งออกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกเดือนมีนาคมมีมูลค่าทั้งสิ้น 8.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 20.0 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 22.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ต่อปี ส่วนปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ 2) การนำเข้าขยายตัวสูงตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ โดยมูลค่าการนำเข้าเดือนมีนาคมอยู่ที่ 8.2 พันล้านดอลลาร์สรอ. ขยายตัวร้อยละ 34.8 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ 21.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 ต่อปี ส่วนปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ 3) ดุลการค้าเดือนมีนาคมขาดดุลทั้งสิ้น 264.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ดุลการค้าในไตรมาสที่ 1 ยังคงเกินดุลทั้งสิ้น 505.5 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ภาคการผลิตขยายตัวดี ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 16.3 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ขยายตัวร้อยละ 17.0 ต่อปี โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรรวม อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ขยายตัวร้อยละ 21.7 ต่อปี โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ ปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์เหล็ก ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตส่งออกระหว่างร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 60 ขยายตัวร้อยละ 9.1 ต่อปี ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 75.3 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 74.2 ในเดือนก่อน
สินเชื่อและเงินฝากธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดย 1) เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนมีนาคมปรับตัวสูงขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี 2) สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs เดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี 3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 12.8 ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ลดลงจากร้อยละ 15.3 ในไตรมาสก่อน
สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่วนใหญ่ มีฐานะการเงินที่มั่นคง โดย 1) เงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอยู่ที่ระดับ 1.16 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ต่อปี 2) สินเชื่อ คงขยายตัวได้ดี โดยสินเชื่อคงค้างโดยรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 1.03 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 ต่อปี และเป็นสินเชื่อที่อนุมัติใหม่ในเดือนมกราคมจำนวน 37 พันล้านบาท 3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ2ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ 118.7 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 10 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด 4) อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไปแล้วยังคงสูงกว่ามาตรฐาน กล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีเงินกองทุนสูงกว่าอัตราร้อยละ 8.5 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสิน มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์สินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 15 5) สินทรัพย์โดยรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 8 แห่ง อยู่ที่ 1.47 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 ส่วนผลประกอบการของสถาบันการเฉพาะกิจเดือนมกราคมกำไรสุทธิ จำนวน 1,213 ล้านบาท
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง 1) อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปรับราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเป็นสำคัญ 2) อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 39.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในเดือนมีนาคม เทียบกับ 39.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากเดือนก่อน 3) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกุมภาพันธ์เกินดุลทั้งสิ้น 1,108 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลมาจากการกินดุลทั้งดุลการค้า และดุลบริการ รวมทั้งเงินโอนไปต่างประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ 4) ทุนสำรองทางการอยู่ในระดับสูง โดยอยู่ที่ 43.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนมีนาคม คิดเป็น 5.2 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังเดือนมีนาคม 2547 และช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547
1. ด้านรายได้
ในเดือนมีนาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บเบื้องต้นรวม 103,390 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 15,975 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 18.0) และมีรายได้จัดเก็บสุทธิรวม 93,355 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 14,165 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.9 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.9)
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - มีนาคม 2547) รายได้จัดเก็บรวมของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดยมีรายได้รวม 566,953 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 108,084 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.6 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 17.4) โดยมีรายได้จัดเก็บสุทธิ 511,988 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 100,036 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.7) สาเหตุที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นมากเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจ ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคและฐานรายได้เพิ่มขึ้นมาก
2. ด้านรายจ่าย
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในเดือนมีนาคม 2547 มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 86,329 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 21.91) โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณของปีปัจจุบัน 76,394 ล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 9,935 ล้านบาทในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 46- มีนาคม 47) ได้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น 556,944 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.9 โดยในส่วนของงบประมาณปีปัจจุบันได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 495,491 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48.20 ของวงเงินงบประมาณ และเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อนอีกจำนวน 61,453 ล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณของปีปัจจุบันนั้น เป็นการเบิกจ่ายในส่วนของงบประจำ จำนวน 450,305 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 54.12 ของงบประจำทั้งสิ้น) และงบลงทุน จำนวน 45,186 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 23.0 ของงบลงทุนทั้งสิ้น)
3. ฐานะการคลัง
3.1 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสด
ในเดือนมีนาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 92,303 ล้านบาท มีรายจ่ายรวม 86,329 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณเกินดุล 5,973 ล้านบาท ในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 2,651 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดเกินดุล 3,323 ล้านบาทสำหรับในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 นั้นรัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังรวม 504,419 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 68,514 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.7 ขณะเดียวกันมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจากงบประมาณปีปัจจุบัน และปีก่อนรวม 556,944 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 100,245 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.9 ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 52,525 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล 56,929 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลรวมทั้งสิ้น 109,454 ล้านบาท
3.2 ฐานะการคลังตามระบบ สศค.
ในเดือนมีนาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 84,591 ล้านบาท ขณะที่มีรายจ่ายรวม 85,407 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 816 ล้านบาท เมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 629 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 1,906 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลเกินดุล 461 ล้านบาท
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 471,132 ล้านบาท ส่วนรายจ่ายมีจำนวน 550,374 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 79,242 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 3,492 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 58,147 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุล 24,587 ล้านบาท
4. หนี้สาธารณะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2547 เท่ากับ 2,897 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.73 ของ GDP ลดลงจากเดือนธันวาคม 2546 5.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 ของ GDP โดยประกอบด้วยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,651 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 844 พันล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 401 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 25.18 ของ GDP (ลดลงจากร้อยละ 27.19 ในเดือนที่แล้ว)
หนี้สาธารณะคงค้าง ที่เปลี่ยนไปเป็นผลจากหนี้คงค้างรัฐบาลเพิ่มขึ้นสุทธิ 20 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลงสุทธิ 9 พันล้านบาท และหนี้ FIDF ลดลงสุทธิ 16 พันล้านบาท
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 5/2547 28 กุมภาพันธ์ 2547--
-นท-