(ต่อ1) การศึกษาร่วมว่าด้วยการจัดทำความตกลงการค้าเสรี

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 29, 2004 07:15 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

อาหารกระป๋องและอาหารแปรรูป
อาหารกระป๋องและอาหารแปรรูปเป็นสินค้าส่งออกกลุ่มเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย โดยมี
ปลาและกุ้งแปรรูปเป็นสินค้าส่งออกหลัก การส่งออกไปนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปี 2000-2003 แสดงให้เห็นว่ามูลค่า
การค้าของทั้งสองสินค้าสูงถึงเกือบ 12 ล้านเหรียญสหรัฐ ทิศทางโดยรวมของการส่งออกของไทยนั้นเพิ่มขึ้น
สินค้าของไทยมีส่วนแบ่งในตลาดนิวซีแลนด์มากกว่าร้อยละ 70 อย่างไรก็ตามแนวโน้มตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2003
แสดงให้เห็นว่าไทยได้เสียส่วนแบ่งในตลาดนิวซีแลนด์ของสินค้ากุ้งแปรรูปนี้ไปประมาณร้อยละ 10 ขณะที่สินค้า
ปลาแปรรูปมีส่วนแบ่งตลาดลดลงจาดร้อยละ 47.5 ในปี 2001 เป็นร้อยละ 43.3 ในปี 2003
ความสามารถในการแข่งขันของไทยในสินค้ากลุ่มนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากไทยมีทางออกสู่ทะเล มี
ทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสม มีแรงงานและเทคโนโลยี รวมทั้งในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้สนับสนุนการ
พัฒนาอุตสาหกรรมฟาร์มกุ้งและอาหารทะเลอื่นๆ นอกเหนือจากการทำการส่งออกอาหารกระป๋องที่มีคุณภาพใน
ราคาถูกไปยังต่างประเทศ ซึ่งนิวซีแลนด์นั้นมีการเก็บภาษีสินค้านำเข้ากลุ่มนี้ในอัตราที่ต่ำประมาณร้อยละ 0-6.5
ไทยมีการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจากนิวซีแลนด์ในการผลิตอาหารแปรรูป การลดภาษีนำเข้าของ
สินค้าประเภทอาหารและเกษตรจะช่วยสนองความต้องการวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นในการขยายตัวอุตสาหกรรมประเภท
นี้ของไทย
ไทยในฐานะที่เป็นผุ้นำในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปเป็นตลาดส่งออกประมงที่สำคัญของ
นิวซีแลนด์ ได้แก่ปลาทูน่า และเนื้อปลา
สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า
มูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าในกลุ่มนี้ของไทยไปนิวซีแลนด์ในปี 2003 สูงถึง 10 ล้าน
เหรียญสหรัฐ สินค้าที่มีการส่งออกสูงสุดคือสินค้าจำพวกผ้า เช่น กระเป๋า มีมูลค่ามากกว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนสินค้าส่งออกประเภทผ้าที่ทำด้วยมือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 40 จาก 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2002 เป็น 2.1
ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2003 นอกจากนี้สินค้าพวกเครื่องนุ่งห่มที่ไม่ใช่ประเภทถักมีการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นในเวลา
เดียวกัน ซึ่งแนวโน้มนี้แสดงให้เห็นถึงความได้เปรียบในการในการส่งออกสินค้าประเภทนี้ของไทย
ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าประเภทนี้ของไทยในตลาดนิวซีแลนด์มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น
และเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างคงที่ โดยคู่แข่งขันที่สำคัญของไทยคือ สินค้าจากจีน ปัจจุบันไทยส่งออกเป็นลำดับที่ 12
ในตลาดนิวซีแลนด์ ซึ่งการลดภาษีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีจะช่วยให้ไทยมีศักยภาพการแข่งขันใน
อุตสาหกรรมนี้เพิ่มขึ้น
นิวซีแลนด์มีการเก็บภาษีในสินค้ากลุ่มนี้ทั้งภาษีตามราคาและภาษีตามสภาพ โดยที่ภาษีตามราคามี
ตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 12.5 ในสินค้าสิ่งทอและร้อยละ 0-20 ในสินค้าเครื่องนุ่งห่ม
อุตสาหกรรมภาคการผลิตสินค้าสิ่งทอ เครื่องนุ่มห่มและรองเท้าของนิวซีแลนด์ได้รับการปกป้องด้วย
ภาษีที่ค่อนข้างสูง แต่ในปี 2005 จะมีการปรับลดภาษีลง โครงสร้างการผลิตสินค้าประเภทนี้ของนิวซีแลนด์มี
การเปลี่ยนจากการผลิตโดยใช้วัตถุดิบราคาถูกไปเป็นการผลิตสินค้าเฉพาะกลุ่มที่มีราคาสูง ซึ่งจากพื้นฐานของ
ปัจจัยดังกล่าวมีแนวโน้มให้ผลกระทบภายใต้ความตกลงการค้าเสรีต่อภาคอุตสาหกรรมนี้มีเพียงเล็กน้อย ขณะที่
ประโยชน์ที่ได้รับจะมีส่วนช่วยให้ผู้ผลิตสินค้าในระดับสูงของนิวซีแลนด์มีวัตถุดิบในการผลิตที่ถูกลงและได้ตลาด
มากขึ้น
ผลิตภัณฑ์นม
ภาคการผลิตสินค้าประเภทนมและผลิตภัณฑ์นมภาคอุตสาหรรมที่มหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ โดยมี
มูลค่าประมาณร้อยละ 17 ของมูลค่าส่งออกสินค้ารวม และสร้างงานให้กับคนในชนบทของนิวซีแลนด์ถึง 24,000
คน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจในระบบเปิดที่อนุญาตให้มีการแข่งขันของสินค้าในภาคอุตสาหกรรมนม
โดยมีผลิตภัณฑ์นมที่ขายในประเทศเป็นสินค้านำเข้าถึงร้อยละ 15 นิวซีแลนด์เป็นประเทศส่งออกสินค้าประเภท
นมที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองของโลก แม้กระนั้นส่วนแบ่งตลาดของนิวซีแลนด์ในตลาดโลกยังคงน้อยคือ
ประมาณ ร้อยละ 2.5
ผู้บริโภคและผู้ผลิตในไทยรวมไปถึงผู้ส่งออกของนิวซีแลนด์ได้รับประโยชน์จากการค้าสินค้ากลุ่ม
นี้ด้วยกัน การนำเข้านมพร่องมันเนย และ นมผงเป็นส่วนสำคัญที่ชดเชยการที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตสินค้า
กลุ่มนี้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการทั้งการบริโภคและการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ซึ่ง
ถึงแม้ว่าการผลิตน้ำนมดิบของไทยจะเพิ่มขึ้นกว่าครึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา ผลผลิตที่ได้ยังคงตอบสนองของความ
ต้องการน้ำนมภายในประเทศได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น
นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ส่งออกนมให้แก่ไทยอย่างสม่ำเสมอ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยการส่งออก
คงอยู่ในระดับเดิมตั้งแต่ปี 1998 แต่ก็มากกว่าออสเตรเลียซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในตลาดต่างประเทศ
และนิวซีแลนด์ยังเป็นประเทศหลักที่ขายสูตรนมสำหรับเด็กให้กับประเทศไทย ถึงแม้ว่าออสเตรเลียจะเป็น
ประเทศหลักในการขายปลีกสินค้าดังกล่าว ในขณะนี้ประเทศไทยเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 11 ของนิวซีแลนด์
โดยนำเข้าประมาณ ร้อยละ 6 ของการส่งออกทั้งหมด
ข้อจำกัดในการส่งออกนมจากนิวซีแลนด์มายังไทย ได้แก่ การกำหนดโควตาที่ 55,000 ตัน
ภาษีศุลกากรและข้อกำหนดเรื่องสัดส่วนวัตถุดิบภายในประเทศ ต่อสินค้าที่ใช้ในโครงการจัดสรรนมให้แก่
โรงเรียนของรัฐ ภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 20 ในปี 2003 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่เก็บได้
ภายใต้ข้อผูกมัดภายใต้องค์การการค้าโลก ส่วนภาษีนอกโควตาของไทยนั้นสูงมากโดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 200
สำหรับสินค้าที่ไม่มีโควตา เช่น นมผงบางชนิดและเนย มีการเก็บภาษีที่ ร้อยละ 18 และร้อยละ 30 ตามลำดับ
ส่วนนมสำหรับทารก (ไม่ใช่สำหรับการขายปลีก) มีการเก็บภาษีที่ร้อยละ 5
นมผงส่วนใหญ่ที่ไทยนำเข้าจากนิวซีแลนด์นั้นนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ซึ่งความ
ต้องการของส่วนผสมที่มีคุณภาพดีของไทยเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่รัฐบาลมียุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการ
แปรรูปอาหาร ดังนั้นการลดข้อจำกัดการนำเข้าต่อสินค้าประเภทนมจะทำให้อุตสาหกรรมกลุ่มนี้สามารถตอบ
สนองต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นและได้รับประโยชน์จากการลดลงของต้นทุนการผลิต การที่ไทยมีความ
สามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปจะเป็นพื้นฐานในการที่จะมีการลงทุนในอุตสาหกรรม
นี้มากขึ้น
การส่งออกของนิวซีแลนด์ที่เน้นหนักไปที่การขายนมผงให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารของไทยนั้น
แตกต่างไปจากการผลิตนมภายในประเทศที่เป็นการผลิตน้ำนมให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศและโครงการนม
โรงเรียน ซึ่งความแตกต่างนี้เมื่อรวมกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดวัตถุดิบที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
จะทำให้ผู้ผลิตทั้งไทยและนิวซีแลนด์มีตลาดให้กับสินค้าตัวเองมากขึ้น
อีกปัจจัยหนึ่งที่มีต่ออุตสาหกรรมนมของไทยคือข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลียที่
จะทำให้ออสเตรเลียสามารถเข้าสู่ตลาดของไทยได้มากขึ้น ซึ่งการเปิดตลาดให้กับสินค้าจากนิวซีแลนด์ก็ไม่น่าที่
จะมีผลมากนักต่อผู้ผลิตนมในประเทศ
ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจของไทยเน้นในด้านอุตสาหกรรม และคนส่วนใหญ่ในชนบทยังคงเกี่ยวข้องกับ
ภาคเกษตรกรรมอยู่ ไทยจึงระวังในการเปิดเสรีที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชาวนาและคนงาน โดยมีภาษีนำเข้าที่
สูงและมีการกำหนดปริมาณการนำเข้าในผลิตภัณฑ์นมเพื่อสนันสนุนการผลิตในประเทศ อย่างไรก็ดี แนวโน้มของ
โลกในการเปิดการค้าเสรีทำให้ท่าทีของไทยมีการลดข้อกีดกันทางการค้าควบคู่ไปกับการติดตามเฝ้าระวังและ
การปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ
เนื้อสัตว์
ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจนิวซีแลนด์เช่นเดียวกับ
อุตสาหกรรมนม โดยมีมูลค่าประมาณร้อยละ 15 ของสินค้าส่งออก ในปี 2003 การส่งออกเนื้อสัตว์มีมูลค่ารวม
2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าหลักจะเป็นเนื้อแกะและเนื้อวัว โดยในปี 1998 อุตสาหกรรมนี้มีการจ้าง
งานสูงถึง 29,000 คน อย่างไรก็ดีตั้งแต่ช่วงปี 1980 ปริมาณแกะและการทำฟาร์มวัวได้ลดลงเนื่องจากการ
นำที่ดินไปใช้ในการทำฟาร์มเพื่อผลิตนม การเลี้ยงกวางและการทำป่าไม้แทน แต่การปริมาณลดลงนี้ชดเชยด้วย
การความสามารถในการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
สินค้าเนื้อสัตว์ของนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่ขายไปยังตลาดต่างประเทศ โดยมาจากผลิตภัณฑ์เนื้อวัว
และลูกวัวประมาณร้อยละ 85 และจากเนื้อแกะร้อยละ 80 ในขณะที่นิวซีแลนด์เป็นผู้นำเข้าสุทธิสินค้าประเภท
เนื้อหมูแช่แข็งและเบคอน
ถึงแม้ว่านิวซีแลนด์จะมีการส่งออกเนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อลูกวัวมาก แต่การส่งออกไปไทย
ยังอยู่ในระดับปานกลาง โดยในปี 2003 เนื้อวัวที่ส่งออกมีมูลค่าน้อยกว่าร้อยละ 1 ของสินค้าทั้งหมดที่
นิวซีแลนด์ส่งมายังไทย การนำเข้าเนื้อแดงของไทยนั้นต่ำมาก คืออยู่ที่ประมาณ 5.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งน่า
จะเป็นผลมาจากหลายๆ ปัจจัยเช่น รูปแบบการบริโภคและมาตรการทางการค้าต่างๆ
ภาษีของไทยที่เก็บในสินค้าเนื้อวัว และเนื้อแกะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 และ ร้อยละ 30
ตามลำดับ การยกเลิกการเก็บภาษีภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีจะทำให้ผู้บริโภคของไทยและอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวของไทยได้รับประโยชน์จากแหล่งสินค้าที่มีการแข่งขันกัน การเติบโตของภาคธุรกิจโรงแรมและการ
ท่องเที่ยวจะส่งผลให้เกิดความต้องการเนื้อที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผล
ผลิตของนิวซีแลนด์ก็สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวในประเทศต่างๆในภูมิภาคได้
จากสภาพอากาศและทรัพยากรที่ไทยมีอยู่ทำให้ไทยไม่มีความได้เปรียบในอุตสาหกรรมนี้ ตลาด
สำหรับการผลิตเนื้อสัตว์ในประเทศส่วนมากเป็นตลาดระดับล่าง ขณะที่ตลาดสำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
จากนิวซีแลนด์เป็นตลาดระดับสูง ซึ่งอาจไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตภายในประเทศมากนัก อย่างไรก็ดี ผล
กระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเกษตรกรจากการเปิดเสรีผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด
ผักและผลไม้
ตั้งแต่ปี 1990 อุตสาหกรรมเกษตรของนิวซีแลนด์ได้ขยายตัวอย่างมาก การส่งออกเพิ่มขึ้น
เกือบสองเท่าตัวภายในช่วงเวลา 13 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นผลหลักจากการขยายตัวของการส่งออกกีวี่ แอปเปิ้ล
หัวหอม และไวน์ ซึ่งสินค้าเหล่านี้ถูกส่งออกไปกว่า 110 ประเทศและได้สร้างงานให้กับคนนิวซีแลนด์กว่า
30,000 คน
ประเทศไทยมีการเก็บภาษีสินค้าประเภทนี้ที่ค่อนข้างเข้มงวดและสูงถึงประมาณร้อยละ 10 ถึง
60 สำหรับสินค้าผักและผลไม้เมืองหนาว สินค้านำเข้าส่วนใหญ่มีการเก็บภาษีตามสภาพตามน้ำหนัก เช่น มัน
ฝรั่งแปรรูปแช่แข็ง ซึ่งถ้าเทียบเป็นภาษีตามราคาแล้วอยู่ที่ประมาณร้อยละ 84 นอกจากนี้การจำกัดโควตาการ
นำเข้ายังนำมาใช้กับสินค้าผักและผลไม้อีกหลายชนิด ซึ่งรวมถึงหัวหอมและมันฝรั่ง
เนื่องจากสินค้าของนิวซีแลนด์มีชื่อเสียงประกอบกับมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีกับประเทศต่างๆ
ถึงแม้จะมีมาตรการภาษีสูง ผักผลไม้จากนิวซีแลนด์ยังคงเป็นที่ต้องการในประเทศไทย โดยตัวเลขการส่งออก
มายังประเทศไทยในปี 2003 มีมูลค่าถึง 6.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสินค้าหลักคือ แอ๊ปเปิ้ล แครอท และมัน
ฝรั่งแช่แข็ง การจัดทำความตกลงการค้าเสรีจะให้ประโยชน์แก่ทั้งผู้ผลิตในนิวซีแลนด์และผู้บริโภคในประเทศ
ไทยจากการแข่งขัน คุณภาพ และทางเลือกที่มีมากขึ้น ผู้ผลิตและส่งออกในนิวซีแลนด์ให้ความสำคัญอย่างมากต่อ
ความปลอดภัยของอาหารซึ่งเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นในการนำผลผลิตออกขายในตลาดระดับสูงของไทย
ความสอดคล้องทางการผลิตระหว่างไทยและนิวซีแลนด์ และความเป็นจริงที่ว่าสินค้าผักผลไม้
ของนิวซีแลนด์เหมาะสมกับความต้องการของนักท่องเที่ยวในไทย แสดงให้เห็นว่าการจัดทำความตกลงการค้า
เสรีจะให้โอกาสแก่ผู้ส่งออกของนิวซีแลนด์โดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตภายในประเทศ นอกจากนี้ข้อตกลง
การค้าเสรีจะให้โอกาสแข่งขันกับผู้ผลิตจากประเทศอื่นๆที่ไทยทำข้อตกลงการค้าเสรีด้วย
อาหารทะเล
อุตสาหกรรมอาหารทะเลทำเงินให้กับนิวซีแลนด์ ปีละ 377 ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็น
อุตสาหกรรมสำคัญต่อเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ การส่งออกอาหารทะเลในปี 2003 มีมูลค่ารวม 678 ล้าน
เหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 4 ของการส่งออกทั้งหมด หลักการทำประมงของนิวซีแลนด์นั้นอยู่บนพื้นฐานของ
การประมงที่ยั่งยืนโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความมั่นคงในระยะยาวให้แก่อุตสาหกรรม ตั้งแต่ปี 1990 ธุรกิจนี้
ได้รับการลงทุนอย่างมากจากบริษัทนิวซีแลนด์ โดยเฉพาะธุรกิจประมงทะเล
ขณะนี้ไทยไม่มีการเก็บภาษีอาหารทะเลจากนิวซีแลนด์ที่เข้าสู่อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อ
การส่งออกและเนื่องจากไทยมีอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปที่ใหญ่มากของโลก จะทำให้ไทยได้รับประโยชน์
จากการลดภาษีนำเข้าต่อสินค้าวัตถุดิบ อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงเก็บภาษีร้อยละ 30 ในสินค้าอาหาร
ทะเลที่นำเข้าเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีความสามารถในการผลิตปลาน้ำเย็น
และสัตว์ทะเลมีเปลือกในขณะที่ไทยมีความสามารถในการผลิตปลาน้ำอุ่น
การจัดทำความตกลงการค้าเสรีจะนำผลประโยชน์สู่ผู้บริโภคในไทยโดยตอบสนองความต้อง
การของธุรกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศ นอกจากนี้สินค้า ปลาทูน่า กุ้งใหญ่ และปลาจากนิวซีแลนด์จะ
สามารถแข่งขันได้อย่างเท่าเทียมกับสินค้าชนิดเดียวกันจากประเทศที่มีข้อตกลงการค้าเสรีกับไทย
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ