ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังจะปรับตัวเลขอัตราการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจไทยใหม่ในเดือน พ.ค. รองผู้อำนวย
การสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ในเดือน พ.ค. ก.คลังจะประเมินการเติบโตเศรษฐกิจ
ไทยใหม่ เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจของไทยเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำ
ประเด็นน้ำมัน ดอกเบี้ย และเหตุการณ์ในภาคใต้มาพิจารณาประกอบด้วย นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย
นโยบายเศรษฐกิจการคลัง ก.คลัง กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องมีการปรับตัวเลขใหม่ เพราะคาดว่าเศรษฐกิจไทย
ในไตรมาส 1 ปี 47 จะขยายตัวใกล้เคียงระดับร้อยละ 7.7 เทียบกับที่เคยคาดไว้ที่ร้อยละ 7.4-7.7 จาก
ช่วงเดียวกันปีก่อน โดย ก.คลังคาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)ในปี 47 จะขยายตัวใกล้เคียงระดับร้อยละ
8 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 7.7-8.1 ขณะเดียวกัน ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ได้รายงานว่า
การฟื้นตัวของประเทศอุตสาหกรรมจะผลักดันให้เศรษฐกิจในเอเชียขยายตัวร้อยละ 6.8 ในปีนี้ และร้อยละ
6.7 ในปีหน้า ส่วนเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 7.2 ในปี 47 และร้อยละ 6.2 ในปี 48 (ไทยรัฐ,
ข่าวสด, มติชน)
2. สศค.รายงานฐานะการคลังในเดือน มี.ค.47 รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) ในฐานะโฆษก ก.คลัง กล่าวว่า ฐานะการคลังในเดือน มี.ค.47 รัฐบาลมีรายได้สุทธิรวมทั้งสิ้น
93,355 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 14,165 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.9
และสูงกว่าปีก่อนร้อยละ 16.9 ขณะที่รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 86,329 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 21.91 และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 1,906 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลัง
ของรัฐบาลเกินดุล 461 ล้านบาท ขณะเดียวกันในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 47 รัฐบาลมีรายได้รวม
471,132 ล้านบาท ส่วนรายจ่ายมีจำนวน 550,374 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 79,242
ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 3,492 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอก
งบประมาณที่เกินดุล 58,147 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุล 24,587 ล้านบาท นอกจากนี้
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ม.ค.47 มีจำนวน 2,897 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.73 ของจีดีพี ลด
ลงจากเดือน ธ.ค.46 จำนวน 5.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 ของจีดีพี (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)
3. กรมสรรพสามิตประกาศคลังก๊าซและน้ำมัน 3 แห่งเป็นเขตปลอดภาษีสรรพสามิต อธิบดีกรม
สรรพสามิต ได้ประกาศกำหนดคลังก๊าซและน้ำมัน 3 แห่ง เป็นเขตปลอดภาษี คือ คลังก๊าซเขาบ่อยา คลัง
น้ำมันศรีราชา ของบริษัท ปตท. จำกัด และคลังน้ำมันบริษัทไทยพับลิคพอร์ต จำกัด เป็นเขตปลอดภาษีสรรพ
สามิต เพื่อใช้มาตรการภาษีสรรพสามิตสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค ซึ่ง
การจัดตั้งเขตปลอดภาษีสรรพสามิตครั้งนี้ ส่งผลให้น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันทุกชนิดที่นำไปผสม (BLENDING)
ในเขตปลอดภาษีสรรพสามิตได้รับการยกเว้นภาษีทุกกรณี และลดขั้นตอนการอนุมัติให้ยกเว้นภาษี จากเดิมที่
ต้องดำเนินการหลายขั้นตอนเหลือเพียงการแจ้งการขอยกเว้นภาษีต่อกรมสรรพสามิตเท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ)
4. นักลงทุนสนใจลงทุนในตราสารหนี้ที่เรทติ้งต่ำแต่ให้ดอกเบี้ยสูงมากกว่าตราสารหนี้ที่เรทติ้งสูง
ประธานคณะกรรมการศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย (TBDC) เปิดเผยว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มปรับตัว
เพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนให้ความสนใจลงทุนในตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดเรทติ้งต่ำ แต่กำหนดการจ่ายอัตรา
ดอกเบี้ยในระดับสูง เนื่องจากนักลงทุนไม่หวั่นปัญหาฐานะการเงินของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ว่าจะเกิดปัญหาผิด
นัดชำระหนี้ เพราะสภาพเศรษฐกิจที่ดี ขณะที่ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่มีขนาดใหญ่ปัจจัยพื้นฐานดี และได้รับ
การจัดเรทติ้งในระดับสูง แต่การจ่ายอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า จะได้รับความสนใจที่น้อยกว่า เพราะนักลงทุนยัง
ไม่แน่ใจในทิศทางของดอกเบี้ยว่าจะเป็นอย่างไร (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. EIU คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 47 จะเติบโตสูงสุดในรอบ 16 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่
28 เม.ย.47 Economist Intelligence Unit ของอังกฤษได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจโลกในปี 47 เป็นร้อยละ 4.7 เทียบกับที่ IMF คาดการณ์ไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนที่ร้อยละ 4.6 นับเป็นอัตรา
การเติบโตสูงสุดในรอบ 16 ปี และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.8 ในปี 46 และคาดว่าจะลดความร้อนแรงลงเหลือร้อยละ
4.1 ในปี 48 โดย สรอ. จีน อินเดีย และไทยจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของ
การค้าโลกจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตในปีนี้ และได้เพิ่มประมาณการเติบโตด้านการค้าโลกเป็นร้อยละ 7.9
จากร้อยละ 7.5 ที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก่อนเทียบกับปี 46 ที่การค้าโลกขยายตัวเพียงร้อยละ 5.1 อย่างไร
ก็ตาม ประเทศในเขต euro zone เป็นภูมิภาคเดียวที่ EIU ปรับลดประมาณการเติบโตในปี 47 จากที่เคยคาดการณ์
ไว้เมื่อเดือน มี.ค.47 ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ลดลงเหลือร้อยละ 1.6 แต่ก็ยังเป็นอัตราการเติบโตสูงกว่าในปี 46
ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 ส่วนเรื่องค่าเงินดอลลาร์นั้น EIU คาดการณ์ว่าจะแข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้
จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.27 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ 1 ยูโร เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.30
ดอลลาร์ สรอ. ต่อ 1 ยูโร แต่คาดว่าค่าเฉลี่ยในปี 48 จะอยู่ที่ 1.36 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ 1 ยูโร สำหรับความเสี่ยง
ในการคาดคะเนการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 47 นั้นอาจมาจากการอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็วของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.
รวมทั้งอุปสงค์ที่ลดลงของภาคเอกชน ส่วนในปี 48 นั้นอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลัง
ที่เข้มงวดของ สรอ. อันจะส่งผลกระทบต่อทั้งผู้บริโภคและตลาดการเงินใน สรอ. เอง (รอยเตอร์)
2.จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน เม.ย.47 ลดลง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 28 เม.ย.47
นสพ.Die Welt ได้อ้างประมาณการของ สนง.แรงงานของเยอรมนีว่า จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน เม.ย.47
ก่อนปรับปรุงตัวเลขลดลง 117,000 คน เหลือ 4.43 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนคนว่างงานสูงสุดนับตั้งแต่มีการรวมประเทศ
เยอรมนีในปี 33 โดย สนง.แรงงานของเยอรมนีมีกำหนดจะเผยแพร่ตัวเลขการว่างงานอย่างเป็นทางการในวันที่
5 พ.ค.47 นี้ (รอยเตอร์)
3.ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.47 ลดลงร้อยละ 2.1 จากเดือนก่อน รายงานจากโซล
เมื่อ 29 เม.ย.47 สนง.สถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้รายงานผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.47 ลดลง
ร้อยละ 2.1 จากเดือนก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5
จากผลสำรวจของรอยเตอร์ อันเป็นผลจากการบริโภคในประเทศและการลงทุนภาคเอกชนลดลงมากกว่าการขยายตัวของ
การส่งออกซึ่งส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศจีนและมีส่วนช่วยดึงเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ให้พ้นจากภาวะถดถอยตั้งแต่ปลายปี 46
เป็นต้นมา โดยยอดค้าส่งและค้าปลีกหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วลดลงร้อยละ 2.1 จากเดือนก่อน ลดลงมากสุดในรอบ
13 เดือน เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่ลดลงร้อยละ 6.8 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ลดลงมากสุดในรอบ 4 เดือน
แต่หากนับเป็นไตรมาสแล้ว ผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 3
ติดต่อกัน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนจากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราการว่างงานของสิงคโปร์ ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 1/47 จะลดลง รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ วันที่
28 เม.ย. 47 ผลสำรวจสถาบันการเงิน 10 แห่งของรอยเตอร์คาดว่าอัตราการว่างงานของสิงคโปร์ ณ สิ้นสุดไตรมาสแรก
ปี 47 จะลดลงเหลือร้อยละ 4.3 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) จากร้อยละ 4.5 ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ขณะที่รัฐบาลคาดว่า
การว่างงานจะลดลงเหลือร้อยละ 4.0 ในปลายปีนี้ โดยส่วนใหญ่เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคบริการจากผลกระทบของโรค SARS
เมื่อปีที่แล้ว และอีกส่วนหนึ่งจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต อย่างไรก็ตามอัตราการว่างงานของสิงคโปร์ก็ยังสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤติ
เศรษฐกิจอาเซียนที่อัตราดังกล่าวอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตก็ยังเผชิญกับปัญหาในการแข่งขันจาก
ประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำเช่น จีน และอินเดีย ทั้งนี้ ก.แรงงานสิงคโปร์มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลขการว่างงาน (ตัวเลขเบื้องต้น)
อย่างเป็นทางการของไตรมาสที่ 1 ปี 47 ในวันศุกร์นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 เม.ย. 47 28 เม.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.75 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.5576/39.8378 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 672.34/14.93 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,250/7,350 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.48 32.58 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังจะปรับตัวเลขอัตราการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจไทยใหม่ในเดือน พ.ค. รองผู้อำนวย
การสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ในเดือน พ.ค. ก.คลังจะประเมินการเติบโตเศรษฐกิจ
ไทยใหม่ เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจของไทยเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำ
ประเด็นน้ำมัน ดอกเบี้ย และเหตุการณ์ในภาคใต้มาพิจารณาประกอบด้วย นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย
นโยบายเศรษฐกิจการคลัง ก.คลัง กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องมีการปรับตัวเลขใหม่ เพราะคาดว่าเศรษฐกิจไทย
ในไตรมาส 1 ปี 47 จะขยายตัวใกล้เคียงระดับร้อยละ 7.7 เทียบกับที่เคยคาดไว้ที่ร้อยละ 7.4-7.7 จาก
ช่วงเดียวกันปีก่อน โดย ก.คลังคาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)ในปี 47 จะขยายตัวใกล้เคียงระดับร้อยละ
8 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 7.7-8.1 ขณะเดียวกัน ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ได้รายงานว่า
การฟื้นตัวของประเทศอุตสาหกรรมจะผลักดันให้เศรษฐกิจในเอเชียขยายตัวร้อยละ 6.8 ในปีนี้ และร้อยละ
6.7 ในปีหน้า ส่วนเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 7.2 ในปี 47 และร้อยละ 6.2 ในปี 48 (ไทยรัฐ,
ข่าวสด, มติชน)
2. สศค.รายงานฐานะการคลังในเดือน มี.ค.47 รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) ในฐานะโฆษก ก.คลัง กล่าวว่า ฐานะการคลังในเดือน มี.ค.47 รัฐบาลมีรายได้สุทธิรวมทั้งสิ้น
93,355 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 14,165 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.9
และสูงกว่าปีก่อนร้อยละ 16.9 ขณะที่รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 86,329 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 21.91 และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 1,906 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลัง
ของรัฐบาลเกินดุล 461 ล้านบาท ขณะเดียวกันในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 47 รัฐบาลมีรายได้รวม
471,132 ล้านบาท ส่วนรายจ่ายมีจำนวน 550,374 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 79,242
ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 3,492 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอก
งบประมาณที่เกินดุล 58,147 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุล 24,587 ล้านบาท นอกจากนี้
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ม.ค.47 มีจำนวน 2,897 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.73 ของจีดีพี ลด
ลงจากเดือน ธ.ค.46 จำนวน 5.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 ของจีดีพี (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)
3. กรมสรรพสามิตประกาศคลังก๊าซและน้ำมัน 3 แห่งเป็นเขตปลอดภาษีสรรพสามิต อธิบดีกรม
สรรพสามิต ได้ประกาศกำหนดคลังก๊าซและน้ำมัน 3 แห่ง เป็นเขตปลอดภาษี คือ คลังก๊าซเขาบ่อยา คลัง
น้ำมันศรีราชา ของบริษัท ปตท. จำกัด และคลังน้ำมันบริษัทไทยพับลิคพอร์ต จำกัด เป็นเขตปลอดภาษีสรรพ
สามิต เพื่อใช้มาตรการภาษีสรรพสามิตสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค ซึ่ง
การจัดตั้งเขตปลอดภาษีสรรพสามิตครั้งนี้ ส่งผลให้น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันทุกชนิดที่นำไปผสม (BLENDING)
ในเขตปลอดภาษีสรรพสามิตได้รับการยกเว้นภาษีทุกกรณี และลดขั้นตอนการอนุมัติให้ยกเว้นภาษี จากเดิมที่
ต้องดำเนินการหลายขั้นตอนเหลือเพียงการแจ้งการขอยกเว้นภาษีต่อกรมสรรพสามิตเท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ)
4. นักลงทุนสนใจลงทุนในตราสารหนี้ที่เรทติ้งต่ำแต่ให้ดอกเบี้ยสูงมากกว่าตราสารหนี้ที่เรทติ้งสูง
ประธานคณะกรรมการศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย (TBDC) เปิดเผยว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มปรับตัว
เพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนให้ความสนใจลงทุนในตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดเรทติ้งต่ำ แต่กำหนดการจ่ายอัตรา
ดอกเบี้ยในระดับสูง เนื่องจากนักลงทุนไม่หวั่นปัญหาฐานะการเงินของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ว่าจะเกิดปัญหาผิด
นัดชำระหนี้ เพราะสภาพเศรษฐกิจที่ดี ขณะที่ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่มีขนาดใหญ่ปัจจัยพื้นฐานดี และได้รับ
การจัดเรทติ้งในระดับสูง แต่การจ่ายอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า จะได้รับความสนใจที่น้อยกว่า เพราะนักลงทุนยัง
ไม่แน่ใจในทิศทางของดอกเบี้ยว่าจะเป็นอย่างไร (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. EIU คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 47 จะเติบโตสูงสุดในรอบ 16 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่
28 เม.ย.47 Economist Intelligence Unit ของอังกฤษได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจโลกในปี 47 เป็นร้อยละ 4.7 เทียบกับที่ IMF คาดการณ์ไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนที่ร้อยละ 4.6 นับเป็นอัตรา
การเติบโตสูงสุดในรอบ 16 ปี และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.8 ในปี 46 และคาดว่าจะลดความร้อนแรงลงเหลือร้อยละ
4.1 ในปี 48 โดย สรอ. จีน อินเดีย และไทยจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของ
การค้าโลกจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตในปีนี้ และได้เพิ่มประมาณการเติบโตด้านการค้าโลกเป็นร้อยละ 7.9
จากร้อยละ 7.5 ที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก่อนเทียบกับปี 46 ที่การค้าโลกขยายตัวเพียงร้อยละ 5.1 อย่างไร
ก็ตาม ประเทศในเขต euro zone เป็นภูมิภาคเดียวที่ EIU ปรับลดประมาณการเติบโตในปี 47 จากที่เคยคาดการณ์
ไว้เมื่อเดือน มี.ค.47 ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ลดลงเหลือร้อยละ 1.6 แต่ก็ยังเป็นอัตราการเติบโตสูงกว่าในปี 46
ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 ส่วนเรื่องค่าเงินดอลลาร์นั้น EIU คาดการณ์ว่าจะแข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้
จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.27 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ 1 ยูโร เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.30
ดอลลาร์ สรอ. ต่อ 1 ยูโร แต่คาดว่าค่าเฉลี่ยในปี 48 จะอยู่ที่ 1.36 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ 1 ยูโร สำหรับความเสี่ยง
ในการคาดคะเนการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 47 นั้นอาจมาจากการอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็วของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.
รวมทั้งอุปสงค์ที่ลดลงของภาคเอกชน ส่วนในปี 48 นั้นอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลัง
ที่เข้มงวดของ สรอ. อันจะส่งผลกระทบต่อทั้งผู้บริโภคและตลาดการเงินใน สรอ. เอง (รอยเตอร์)
2.จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน เม.ย.47 ลดลง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 28 เม.ย.47
นสพ.Die Welt ได้อ้างประมาณการของ สนง.แรงงานของเยอรมนีว่า จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน เม.ย.47
ก่อนปรับปรุงตัวเลขลดลง 117,000 คน เหลือ 4.43 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนคนว่างงานสูงสุดนับตั้งแต่มีการรวมประเทศ
เยอรมนีในปี 33 โดย สนง.แรงงานของเยอรมนีมีกำหนดจะเผยแพร่ตัวเลขการว่างงานอย่างเป็นทางการในวันที่
5 พ.ค.47 นี้ (รอยเตอร์)
3.ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.47 ลดลงร้อยละ 2.1 จากเดือนก่อน รายงานจากโซล
เมื่อ 29 เม.ย.47 สนง.สถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้รายงานผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.47 ลดลง
ร้อยละ 2.1 จากเดือนก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5
จากผลสำรวจของรอยเตอร์ อันเป็นผลจากการบริโภคในประเทศและการลงทุนภาคเอกชนลดลงมากกว่าการขยายตัวของ
การส่งออกซึ่งส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศจีนและมีส่วนช่วยดึงเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ให้พ้นจากภาวะถดถอยตั้งแต่ปลายปี 46
เป็นต้นมา โดยยอดค้าส่งและค้าปลีกหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วลดลงร้อยละ 2.1 จากเดือนก่อน ลดลงมากสุดในรอบ
13 เดือน เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่ลดลงร้อยละ 6.8 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ลดลงมากสุดในรอบ 4 เดือน
แต่หากนับเป็นไตรมาสแล้ว ผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 3
ติดต่อกัน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนจากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราการว่างงานของสิงคโปร์ ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 1/47 จะลดลง รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ วันที่
28 เม.ย. 47 ผลสำรวจสถาบันการเงิน 10 แห่งของรอยเตอร์คาดว่าอัตราการว่างงานของสิงคโปร์ ณ สิ้นสุดไตรมาสแรก
ปี 47 จะลดลงเหลือร้อยละ 4.3 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) จากร้อยละ 4.5 ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ขณะที่รัฐบาลคาดว่า
การว่างงานจะลดลงเหลือร้อยละ 4.0 ในปลายปีนี้ โดยส่วนใหญ่เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคบริการจากผลกระทบของโรค SARS
เมื่อปีที่แล้ว และอีกส่วนหนึ่งจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต อย่างไรก็ตามอัตราการว่างงานของสิงคโปร์ก็ยังสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤติ
เศรษฐกิจอาเซียนที่อัตราดังกล่าวอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตก็ยังเผชิญกับปัญหาในการแข่งขันจาก
ประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำเช่น จีน และอินเดีย ทั้งนี้ ก.แรงงานสิงคโปร์มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลขการว่างงาน (ตัวเลขเบื้องต้น)
อย่างเป็นทางการของไตรมาสที่ 1 ปี 47 ในวันศุกร์นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 เม.ย. 47 28 เม.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.75 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.5576/39.8378 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 672.34/14.93 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,250/7,350 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.48 32.58 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-