ข้าวอินทรีย์ (Organic rice) คือ ข้าวที่เพาะปลูกจากเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีการตัดต่อทางพันธุกรรมและปลอดจากการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูกจนถึงขั้นตอนการเก็บรักษา จึงเป็นข้าวที่ปลอดจากปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเจริญเติบโต ปัจจุบันผลผลิตข้าวอินทรีย์ของไทยยังมีไม่มากนักเนื่องจากเพิ่งเริ่มทำการเพาะปลูกเมื่อไม่นานมานี้ แหล่งเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ที่สำคัญของไทยอยู่บริเวณพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ ผลผลิตที่ได้เกือบทั้งหมดเป็นข้าวหอมมะลิอินทรีย์ซึ่งส่งออกเป็นหลักถึงร้อยละ 90 ที่เหลือร้อยละ 10 ใช้บริโภคภายในประเทศ
การส่งออกข้าวอินทรีย์ของไทยคาดว่าจะมีแนวโน้มที่สดใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปสหภาพยุโรป (European Union: EU) ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักข้าวอินทรีย์ของไทย สังเกตได้จากมูลค่าส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยไป EU ในปี 2546 ซึ่งขยายตัวสูงถึงร้อยละ 92.6 (ปัจจุบันยังไม่มีตัวเลขส่งออกข้าวอินทรีย์โดยเฉพาะ)
ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกข้าวอินทรีย์ของไทยในระยะข้างหน้า คือ
ไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตข้าวอินทรีย์ เนื่องจากมีความพร้อมของปัจจัยการผลิตจากการที่สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะต่อการเพาะปลูกข้าว ประกอบกับเกษตรกรไทยมีความชำนาญในการเพาะปลูกข้าวมาช้านานความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์รวมถึงข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และ EU เพราะผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะที่ปริมาณผลผลิตข้าวอินทรีย์ของประเทศต่างๆ ข้างต้นยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการ นอกจากนี้บางประเทศ เช่น ออสเตรีย ซึ่งนิยมบริโภคข้าวอินทรีย์แต่ยังไม่มีการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศจึงมีแนวโน้มที่จะนำเข้าข้าวอินทรีย์เพิ่มขึ้นการเพิ่มความเข้มงวดของประเทศผู้นำเข้าข้าวในการตรวจสอบด้านสุขอนามัยและสารตกค้าง ทำให้ข้าวอินทรีย์ซึ่งเป็นข้าวที่ปลอดจากสารเคมีต่างๆ มีโอกาสขยายการส่งออกได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกข้าวอินทรีย์ของไทย คือ กฎระเบียบและมาตรการนำเข้าข้าวอินทรีย์ที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ อาทิ
EU กำหนดให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องได้รับการรับรองระบบการเพาะปลูกและการแปรรูปจากองค์กรระหว่างประเทศที่เชื่อถือได้ และมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เทียบเท่ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ EUญี่ปุ่น กำหนดให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องติดตรา JAS (Japan Agricultural Standard: JAS) ควบคู่กับฉลากรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ของญี่ปุ่น (Ministry of Agriculture, Fisheries and Forests: MAFF) สหรัฐอเมริกา กำหนดให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องมีการผลิตหรือการจัดการตามมาตรฐาน National Organic Standards ของสหรัฐฯ และได้รับการรับรองโดยตัวแทนที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ
ความต้องการข้าวอินทรีย์ของตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่ข้าวอินทรีย์เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและมีราคาจำหน่ายในตลาดโลกสูงกว่าข้าวทั่วไป จึงเป็นโอกาสของไทยในการเร่งขยายการส่งออกข้าวอินทรีย์ไปยังประเทศต่างๆ โดยศึกษากฎระเบียบการนำเข้าข้าวอินทรีย์ของแต่ละประเทศอย่างละเอียด เป็นที่น่ายินดีว่าปัจจุบันรัฐบาลได้จัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบและออกใบรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ให้กับผู้ส่งออก อาทิ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) และสถาบันพืชอินทรีย์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อและเป็นการอำนวยความสะดวกต่อการส่งออกข้าวอินทรีย์อีกทางหนึ่ง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2547--
-สส-
การส่งออกข้าวอินทรีย์ของไทยคาดว่าจะมีแนวโน้มที่สดใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปสหภาพยุโรป (European Union: EU) ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักข้าวอินทรีย์ของไทย สังเกตได้จากมูลค่าส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยไป EU ในปี 2546 ซึ่งขยายตัวสูงถึงร้อยละ 92.6 (ปัจจุบันยังไม่มีตัวเลขส่งออกข้าวอินทรีย์โดยเฉพาะ)
ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกข้าวอินทรีย์ของไทยในระยะข้างหน้า คือ
ไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตข้าวอินทรีย์ เนื่องจากมีความพร้อมของปัจจัยการผลิตจากการที่สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะต่อการเพาะปลูกข้าว ประกอบกับเกษตรกรไทยมีความชำนาญในการเพาะปลูกข้าวมาช้านานความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์รวมถึงข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และ EU เพราะผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะที่ปริมาณผลผลิตข้าวอินทรีย์ของประเทศต่างๆ ข้างต้นยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการ นอกจากนี้บางประเทศ เช่น ออสเตรีย ซึ่งนิยมบริโภคข้าวอินทรีย์แต่ยังไม่มีการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศจึงมีแนวโน้มที่จะนำเข้าข้าวอินทรีย์เพิ่มขึ้นการเพิ่มความเข้มงวดของประเทศผู้นำเข้าข้าวในการตรวจสอบด้านสุขอนามัยและสารตกค้าง ทำให้ข้าวอินทรีย์ซึ่งเป็นข้าวที่ปลอดจากสารเคมีต่างๆ มีโอกาสขยายการส่งออกได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกข้าวอินทรีย์ของไทย คือ กฎระเบียบและมาตรการนำเข้าข้าวอินทรีย์ที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ อาทิ
EU กำหนดให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องได้รับการรับรองระบบการเพาะปลูกและการแปรรูปจากองค์กรระหว่างประเทศที่เชื่อถือได้ และมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เทียบเท่ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ EUญี่ปุ่น กำหนดให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องติดตรา JAS (Japan Agricultural Standard: JAS) ควบคู่กับฉลากรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ของญี่ปุ่น (Ministry of Agriculture, Fisheries and Forests: MAFF) สหรัฐอเมริกา กำหนดให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องมีการผลิตหรือการจัดการตามมาตรฐาน National Organic Standards ของสหรัฐฯ และได้รับการรับรองโดยตัวแทนที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ
ความต้องการข้าวอินทรีย์ของตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่ข้าวอินทรีย์เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและมีราคาจำหน่ายในตลาดโลกสูงกว่าข้าวทั่วไป จึงเป็นโอกาสของไทยในการเร่งขยายการส่งออกข้าวอินทรีย์ไปยังประเทศต่างๆ โดยศึกษากฎระเบียบการนำเข้าข้าวอินทรีย์ของแต่ละประเทศอย่างละเอียด เป็นที่น่ายินดีว่าปัจจุบันรัฐบาลได้จัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบและออกใบรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ให้กับผู้ส่งออก อาทิ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) และสถาบันพืชอินทรีย์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อและเป็นการอำนวยความสะดวกต่อการส่งออกข้าวอินทรีย์อีกทางหนึ่ง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2547--
-สส-