สศอ. ชี้ภาวะอัตราการผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมขยายตัวต่อเนื่อง กลุ่มยานยนต์ — มอเตอร์ไซค์เดินหน้ารับออเดอร์ สนองความต้องการผู้บริโภค ขณะที่อุตฯก่อสร้างบูม รับตลาดบ้านโต บวกปัจจัยทางเศรษฐกิจหนุน ผู้บริโภคมั่นใจทิศทางเศรษฐกิจไทย แห่ทุ่มซื้อรถ-บ้าน
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนี อุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า ดัชนีอุตสาหกรรมในภาพรวมอยู่ในภาวะที่เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ โดยมี 6 ดัชนีหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ132.05 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.30 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 140.64 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.41 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 140.59 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 6.96 อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 64.23 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 123.71 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 6.58 และดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 112.43 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.04
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่ลดลง มี 2 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 126.22 ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 2.91 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 144.94 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.06
ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และก่อสร้าง ที่มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มียอดการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น โดยมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉพาะจักรยานยนต์ โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 47 ภาวะการผลิตและจำหน่าย จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.5 และ 26.9 เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและอัตรดอกเบี้ยที่ต่ำ อีกทั้งบริษัทต่างชาติลงทุนขยายฐานการผลิตในไทย ทำให้ส่งออกรถยนต์ได้มากขึ้น ในส่วนของอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าทุกรายการทั้งหลอดภาพ Transistors และ IC มีภาวะการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากต่างประเทศ โดยคาดว่า กลุ่ม IC จะขยายตัวในปี 2547 ร้อยละ 20 ส่วนกลุ่ม PCB จะขยายตัวร้อยละ 19 ในส่วนของอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากเป็นฤดูกาลที่เหมาะกับการก่อสร้าง แต่การขยายตัวอาจจะเริ่มลดลงอีกครั้งในเดือนเมษายน เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาว
ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 132.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.30 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด ตามลำดับ
ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 140.59 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 6.96 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 อุตสาหกรรมที่ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ
อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 64.23 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.70 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.35 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตรถยนต์ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 78 ขณะที่ การผลิตรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 97 โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 11 และร้อยละ 23 ตามลำดับ ตามด้วยการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เซรามิกส์ กล่องกระดาษลูกฟูก การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเพิ่มขึ้นในระดับร้อยละ 10- 20 ส่วนอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตลดลงได้แก่ การผลิตน้ำมันปิโตรเลียม ลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 6.9 เนื่องจากมีการหยุดซ่อมโรงกลั่นน้ำมันประจำปี และการผลิตน้ำตาลลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 27.5 ที่กำลังอยู่ในปลายฤดูกาลการผลิต
ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 123.71 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 6.58 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.24
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 112.43 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ7.04 และเมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.79 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตหม้อสะสม ไฟฟ้า เซลล์ปฐมภูมิและแบตเตอรี่ปฐมภูมิ การผลิตเซรามิกชนิดไม่ทนไฟ การผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์และเครื่องอุปกรณ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพ การผลิตจักรยานยนต์ ตามลำดับ
ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 144.94 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.06 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 0.60 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และ การฟอกและตกแต่งหนังฟอก ตามลำดับ
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 126.22 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.91 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีทีผ่านมา เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.84 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ และ การผลิตยานยนต์ ตามลำดับ
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ. ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนเมษายน โดยคาดการณ์ว่า ภาวะอุตสาหกรรมในเดือนนี้ มีทิศทางการขยายตัวลดลงจากเดือนมีนาคม ประมาณร้อยละ 8-10 ซึ่งเป็นผลมาจากวันหยุดยาวในช่วงสงกรานต์ ที่ทำให้จำนวนวันทำงานน้อยกว่าเดือนอื่นๆ ในส่วนของภาวะการจำหน่ายจะมีการลดลงในอัตราที่น้อยกว่าประมาณ ร้อยละ 7- 9
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนี อุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า ดัชนีอุตสาหกรรมในภาพรวมอยู่ในภาวะที่เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ โดยมี 6 ดัชนีหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ132.05 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.30 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 140.64 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.41 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 140.59 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 6.96 อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 64.23 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 123.71 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 6.58 และดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 112.43 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.04
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่ลดลง มี 2 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 126.22 ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 2.91 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 144.94 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.06
ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และก่อสร้าง ที่มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มียอดการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น โดยมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉพาะจักรยานยนต์ โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 47 ภาวะการผลิตและจำหน่าย จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.5 และ 26.9 เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและอัตรดอกเบี้ยที่ต่ำ อีกทั้งบริษัทต่างชาติลงทุนขยายฐานการผลิตในไทย ทำให้ส่งออกรถยนต์ได้มากขึ้น ในส่วนของอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าทุกรายการทั้งหลอดภาพ Transistors และ IC มีภาวะการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากต่างประเทศ โดยคาดว่า กลุ่ม IC จะขยายตัวในปี 2547 ร้อยละ 20 ส่วนกลุ่ม PCB จะขยายตัวร้อยละ 19 ในส่วนของอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากเป็นฤดูกาลที่เหมาะกับการก่อสร้าง แต่การขยายตัวอาจจะเริ่มลดลงอีกครั้งในเดือนเมษายน เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาว
ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 132.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.30 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด ตามลำดับ
ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 140.59 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 6.96 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 อุตสาหกรรมที่ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ
อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 64.23 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.70 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.35 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตรถยนต์ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 78 ขณะที่ การผลิตรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 97 โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 11 และร้อยละ 23 ตามลำดับ ตามด้วยการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เซรามิกส์ กล่องกระดาษลูกฟูก การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเพิ่มขึ้นในระดับร้อยละ 10- 20 ส่วนอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตลดลงได้แก่ การผลิตน้ำมันปิโตรเลียม ลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 6.9 เนื่องจากมีการหยุดซ่อมโรงกลั่นน้ำมันประจำปี และการผลิตน้ำตาลลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 27.5 ที่กำลังอยู่ในปลายฤดูกาลการผลิต
ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 123.71 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 6.58 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.24
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 112.43 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ7.04 และเมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.79 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตหม้อสะสม ไฟฟ้า เซลล์ปฐมภูมิและแบตเตอรี่ปฐมภูมิ การผลิตเซรามิกชนิดไม่ทนไฟ การผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์และเครื่องอุปกรณ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพ การผลิตจักรยานยนต์ ตามลำดับ
ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 144.94 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.06 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 0.60 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และ การฟอกและตกแต่งหนังฟอก ตามลำดับ
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 126.22 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.91 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีทีผ่านมา เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.84 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ และ การผลิตยานยนต์ ตามลำดับ
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ. ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนเมษายน โดยคาดการณ์ว่า ภาวะอุตสาหกรรมในเดือนนี้ มีทิศทางการขยายตัวลดลงจากเดือนมีนาคม ประมาณร้อยละ 8-10 ซึ่งเป็นผลมาจากวันหยุดยาวในช่วงสงกรานต์ ที่ทำให้จำนวนวันทำงานน้อยกว่าเดือนอื่นๆ ในส่วนของภาวะการจำหน่ายจะมีการลดลงในอัตราที่น้อยกว่าประมาณ ร้อยละ 7- 9
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-