1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
การผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้ง 5 ปีทดแทนกุ้งธรรมชาติ
ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้งได้ประสบความสำเร็จเป็นรายแรกของโลก ในการผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งจากบ่อเลี้ยงที่มีลักษณะทางกายภาพ และระบบสืบพันธุ์ใกล้เคียงพ่อแม่พันธุ์กุ้งจาก ธรรมชาติมาก ซึ่งมีผลทำให้ในอนาคตประเทศไทยจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของอุตสาหกรรมกุ้ง ทั้งในฐานะผู้ผลิตกุ้งและผู้ส่งออกพ่อแม่พันธุ์กุ้งคุณภาพในตลาดโลก
ศ.น.พ.บุญเสริม วิทยชำนาญกุล จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง เปิดเผยว่า ปัจจุบันทางศูนย์สามารถผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งได้จนถึงรุ่นที่ 6 มี 20 สายพันธุ์ ปลอดโรคไวรัส 4 ชนิด คือ ตัวแดงดวงขาว หัวเหลือง ทอร่าซิโดรม และ Spawner - isolated มีอัตรารอดสูงกว่า 30% และยังมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่ากุ้งในธรรมชาติ 18% และทางศูนย์ได้ตั้งเป้าจะผลิตพ่อแม่พันธ์กุ้งจำนวน 1 แสนตัวต่อปี โดยผลิตเองประมาณ 30,000 - 50,000 ตัว ที่เหลือจะกระจายให้เกษตรกร 50 รายไปดำเนินการช่วยผลิต เกษตรกรกลุ่มนี้จะต้องมีคุณสมบัติ เป็นกลุ่มที่มีหัวก้าวหน้า มี โรงเพาะฟัก มีฐานะทางการเงินพอสมควร (มีเงินระดับ 1 ล้านบาท) และภายในระยะเวลา 5 ปี คาดว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งขึ้นมาทดแทนการใช้พ่อแม่พันธุ์กุ้งจากธรรมชาติได้ถึง 50% จากปริมาณการจับแม่กุ้งธรรมชาติมากกว่า 300,000 ตัวต่อปี ในระยะต้น ทางศูนย์จะจำหน่ายพ่อแม่พันธุ์กุ้งที่พัฒนาขึ้นมาคู่ละ 8,000 บาท ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับพ่อแม่พันธุ์กุ้งจากธรรมชาติที่จำหน่ายกันในปัจจุบัน แต่พ่อแม่พันธุ์กุ้งที่ศูนย์พัฒนาขึ้นมาจะให้ผลผลิตลูกกุ้งที่ดีกว่าพ่อแม่พันธุ์กุ้งธรรมชาติ ถ้าใช้ลูกกุ้งจากธรรมชาติ ในระยะ 4 เดือนแรกจะได้กุ้งขนาด 60 ตัว/กก. แต่ถ้าเป็นกุ้งจากสายพันธุ์พ่อแม่ที่พัฒนาขึ้น จะใช้เวลาเพียง 3 เดือน และได้กุ้งขนาด 25 ตัว /กก. และที่สำคัญอัตรารอดของลูกกุ้งสูงขึ้น โตเร็ว แข็งแรง ปลอดโรค ทำให้ต้นทุนด้านการใช้ยาหรือสารเคมีป้องกันลูกกุ้งลดลง เกษตรกรจะมีรายได้มากขึ้น และในอนาคตโครงการนี้จะช่วยทำให้ต้นทุนการผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งลดลงจากคู่ละ 8,000 บาท เหลือเพียงคู่ละ 3,000 บาท และจะขยายสายพันธุ์ เพื่อให้สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ได้ตามความต้องการของแต่ละพื้นที่
จากความสำเร็จของโครงการผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำจากบ่อเลี้ยงดังกล่าวที่สามารถจะนำไปสู่การเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เชิงพาณิชย์ได้ ทางไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ใช้งบประมาณ 80 ล้านบาทจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ กุ้งกุลาดำขึ้นมา โดยความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือ มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยกำลังดำเนินการก่อสร้าง Nucleus Breeding Center หน่วยวิจัยและพัฒนา เพื่อการผลิตและคัดเลือกกุ้งที่มีคุณภาพสูงและปลอดโรค เพื่อพัฒนาเป็นพ่อแม่พันธุ์กุ้งต่อไปที่ อ.ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี และ Broodstock Maturation Center หน่วยวิจัยและพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งที่ ต. ท้องเนียน อ.ขนอม จ. นครศรีธรรมราช เป็นต้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 12 - 20 เมษายน 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 725.30 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 377.95 ตัน สัตว์น้ำจืด 347.35 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.24 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.33 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 58.06 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 14.59 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 28.15 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.99 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.79 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.51 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 248.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 254.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 241.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 243.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.57 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.56 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 - 30 เม.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.90 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 26 เม.ย.-2 พ.ค. 2547--จบ--
-สก-
การผลิต
การผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้ง 5 ปีทดแทนกุ้งธรรมชาติ
ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้งได้ประสบความสำเร็จเป็นรายแรกของโลก ในการผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งจากบ่อเลี้ยงที่มีลักษณะทางกายภาพ และระบบสืบพันธุ์ใกล้เคียงพ่อแม่พันธุ์กุ้งจาก ธรรมชาติมาก ซึ่งมีผลทำให้ในอนาคตประเทศไทยจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของอุตสาหกรรมกุ้ง ทั้งในฐานะผู้ผลิตกุ้งและผู้ส่งออกพ่อแม่พันธุ์กุ้งคุณภาพในตลาดโลก
ศ.น.พ.บุญเสริม วิทยชำนาญกุล จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง เปิดเผยว่า ปัจจุบันทางศูนย์สามารถผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งได้จนถึงรุ่นที่ 6 มี 20 สายพันธุ์ ปลอดโรคไวรัส 4 ชนิด คือ ตัวแดงดวงขาว หัวเหลือง ทอร่าซิโดรม และ Spawner - isolated มีอัตรารอดสูงกว่า 30% และยังมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่ากุ้งในธรรมชาติ 18% และทางศูนย์ได้ตั้งเป้าจะผลิตพ่อแม่พันธ์กุ้งจำนวน 1 แสนตัวต่อปี โดยผลิตเองประมาณ 30,000 - 50,000 ตัว ที่เหลือจะกระจายให้เกษตรกร 50 รายไปดำเนินการช่วยผลิต เกษตรกรกลุ่มนี้จะต้องมีคุณสมบัติ เป็นกลุ่มที่มีหัวก้าวหน้า มี โรงเพาะฟัก มีฐานะทางการเงินพอสมควร (มีเงินระดับ 1 ล้านบาท) และภายในระยะเวลา 5 ปี คาดว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งขึ้นมาทดแทนการใช้พ่อแม่พันธุ์กุ้งจากธรรมชาติได้ถึง 50% จากปริมาณการจับแม่กุ้งธรรมชาติมากกว่า 300,000 ตัวต่อปี ในระยะต้น ทางศูนย์จะจำหน่ายพ่อแม่พันธุ์กุ้งที่พัฒนาขึ้นมาคู่ละ 8,000 บาท ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับพ่อแม่พันธุ์กุ้งจากธรรมชาติที่จำหน่ายกันในปัจจุบัน แต่พ่อแม่พันธุ์กุ้งที่ศูนย์พัฒนาขึ้นมาจะให้ผลผลิตลูกกุ้งที่ดีกว่าพ่อแม่พันธุ์กุ้งธรรมชาติ ถ้าใช้ลูกกุ้งจากธรรมชาติ ในระยะ 4 เดือนแรกจะได้กุ้งขนาด 60 ตัว/กก. แต่ถ้าเป็นกุ้งจากสายพันธุ์พ่อแม่ที่พัฒนาขึ้น จะใช้เวลาเพียง 3 เดือน และได้กุ้งขนาด 25 ตัว /กก. และที่สำคัญอัตรารอดของลูกกุ้งสูงขึ้น โตเร็ว แข็งแรง ปลอดโรค ทำให้ต้นทุนด้านการใช้ยาหรือสารเคมีป้องกันลูกกุ้งลดลง เกษตรกรจะมีรายได้มากขึ้น และในอนาคตโครงการนี้จะช่วยทำให้ต้นทุนการผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งลดลงจากคู่ละ 8,000 บาท เหลือเพียงคู่ละ 3,000 บาท และจะขยายสายพันธุ์ เพื่อให้สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ได้ตามความต้องการของแต่ละพื้นที่
จากความสำเร็จของโครงการผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำจากบ่อเลี้ยงดังกล่าวที่สามารถจะนำไปสู่การเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เชิงพาณิชย์ได้ ทางไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ใช้งบประมาณ 80 ล้านบาทจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ กุ้งกุลาดำขึ้นมา โดยความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือ มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยกำลังดำเนินการก่อสร้าง Nucleus Breeding Center หน่วยวิจัยและพัฒนา เพื่อการผลิตและคัดเลือกกุ้งที่มีคุณภาพสูงและปลอดโรค เพื่อพัฒนาเป็นพ่อแม่พันธุ์กุ้งต่อไปที่ อ.ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี และ Broodstock Maturation Center หน่วยวิจัยและพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งที่ ต. ท้องเนียน อ.ขนอม จ. นครศรีธรรมราช เป็นต้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 12 - 20 เมษายน 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 725.30 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 377.95 ตัน สัตว์น้ำจืด 347.35 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.24 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.33 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 58.06 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 14.59 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 28.15 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.99 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.79 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.51 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 248.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 254.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 241.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 243.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.57 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.56 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 - 30 เม.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.90 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 26 เม.ย.-2 พ.ค. 2547--จบ--
-สก-