ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. แจ้งรายละเอียดการดำเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ รายงานข่าวจาก
ธปท. แจ้งว่า เมื่อวันที่ 4 พ.ค.47 นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.
ได้ลงนามในหนังสือเวียนถึงสถาบันการเงินชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1
รูปแบบ (One Presence) ในแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินสำหรับสถาบันการเงินที่มีสถาบันการเงินที่รับ
ฝากเงินจากประชาชนอยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจเดียวกันมากกว่า 1 แห่ง โดยสถาบันการเงินนั้นไม่ต้องการขอปรับ
สถานะเป็น ธ.พาณิชย์ ให้ยื่นแผนการดำเนินการควบรวมกิจการหรือคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน
ที่ไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป หรือรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินจากสถาบันการเงินแห่งอื่นภายใต้กลุ่มธุรกิจ
เดียวกัน แล้วแต่กรณี ส่วนกรณี ธ.พาณิชย์และสาขา ธ.ต่างประเทศที่มีกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) ให้
เสนอแผนการโอนสินทรัพย์และหนี้สินจากบีไอบีเอฟไปยังกิจการ ธ.พาณิชย์ โดย ธปท. เห็นควรให้ ธ.พาณิชย์
และสาขา ธ.ต่างประเทศดำเนินการตามแผนที่เสนอและคืนใบอนุญาตประกอบกิจการบีไอบีเอฟให้เสร็จสิ้นภาย
ใน 6 เดือน หลังจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีกิจการวิเทศธนกิจมีผลบังคับใช้
อย่างก็ตาม แผนการดำเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ ของกลุ่มธุรกิจสถาบันการเงินต้องได้
รับความเห็นชอบจาก รมว.คลังก่อน และต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ
โดยสถาบันการเงินสามารถยื่นแผนต่อ ธปท. ภายในวันทำการสุดท้ายของเดือน ก.ค.นี้ (มติชน)
2. ธปท. ประกาศเกณฑ์การประเมินคุณภาพ บง. และ บล. ที่ขอเป็น ธ.พาณิชย์ นายเกริก
วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. ส่งหนังสือถึงผู้บริหารบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิต
ฟองซิเอร์ว่า เกณฑ์การประเมินคุณภาพการจัดการสำหรับ บง. และ บค. ที่ต้องการจะขอจัดตั้งเป็น ธ.พาณิชย์
ไม่ว่าจะเป็น ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อย หรือ ธ.พาณิชย์ครบวงจร ธปท.จะประเมินว่าใครมีคุณสมบัติที่จะได้รับ
การอนุมัติตามเกณฑ์หรือไม่ของหลักเกณฑ์ที่ค่อนข้างเข้มงวดใน 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง จะประเมินการปฏิบัติตาม
แนวทางธรรมาภิบาลที่กำหนดไว้ถึง 10 ข้อ เช่น นโยบายการกำกับดูแลกิจการ โดยคณะกรรมการมีความ
ชัดเจนและเป็นไปตามแนวทางธรรมาภิบาล การให้ความสำคัญกับการนำแนวทางตามหลักธรรมาภิบาลมาถือ
ปฏิบัติ โดยมีการติดตามและควบคุมดูแลให้เป็นไปตามที่กำหนดอย่างจริงจัง คณะกรรมการและผู้บริหารของ
สถาบันการเงินที่เสนอขอยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล และมีความเป็น
อิสระในการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการครอบงำจากกลุ่มที่มีผลประโยชน์อื่นใด และไม่มีลักษณะการดำเนิน
ธุรกิจและการบริหารกิจการที่เกิดความขัดแย้งหรือทับซ้อนทางผลประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่
เกี่ยวข้องโดยมิชอบมิควร มีความโปร่งใสและจริยธรรมทางธุรกิจ มีการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นหรือผู้
มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนอย่างเพียงพอและชัดเจนโปร่งใส ไม่มีพฤติกรรมอื่น ๆ
ที่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาล สำหรับหลักเกณฑ์ส่วนที่สอง จะเป็นการประเมินคุณภาพการบริหารการจัดการ โดย
บทบาทของคณะกรรมการ ผู้ถือหุ้น และผู้บริหารระดับผู้อำนวยการขึ้นไป ต้องไม่มีลักษณะหรือพฤติกรรมที่มี
ลักษณะต้องห้ามฉ้อฉลส่อไปในทางทุจริต มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม ไม่ว่าการให้สินเชื่อ ลงทุน ธุรก
รรมเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ หรือธุรกรรมอื่นใดที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงิน
การจัดการโครงสร้างองค์กรและการตรวจสอบภายใน ต้องสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบและแผน
ธุรกิจ และต้องให้ความร่วมมือกับทางการ (โพสต์ทูเดย์)
3. ฟิทช์ เรทติ้ง มั่นใจนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจของไทยมาถูกทาง บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อ
ฟิทช์ เรทติ้ง มั่นใจนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่า
ในปี 47 จะมีอัตรการเติบโตร้อยละ 7.5 ถ้ารัฐบาลยังคงใช้มาตรการทางการเงินการคลังต่อไป แต่ได้ตั้งข้อ
สังเกตว่าการรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็นไปเพื่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือน ม.ค.48 หรือไม่
ทั้งนี้ ฟิตช์ฯ ให้เรตติ้งพันธบัตรรัฐบาลอัตราดอกเบี้ยลอยตัว มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ที่ครบกำหนดในปี
50 ที่กำลังจะออกในเร็ว ๆ นี้ที่ระดับ BBB และมุมมองเป็นบวก โดยระบุว่าไทยถือเป็นประเทศในอันดับต้น ๆ
ที่สามารถปรับตัวจากปัจจัยภายนอกได้ดี แต่ก็ยังกังวลว่าจะมีการใช้งบกลางเกินไป ส่วนความรุนแรงทางภาค
ใต้คาดว่าจะใช้เวลานานในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพของจีนที่มีผล
กระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า
การฟื้นตัวเป็นไปด้วยดี ในขณะที่การชำระหนี้ที่ต่ำลงและการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้อ่อนค่าเร็วเกินไปมีผล
ให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มเป็น 4 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. (โพสต์ทูเดย์)
4. ราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อจีดีพีเล็กน้อย สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ (สศช.) ได้จัดทำผลกระทบราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจปี 47 โดยจากกรณีฐานประมาณการราคาน้ำมันเฉลี่ย
28 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล จีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 7.0 แต่หากรัฐบาลยกเลิกการตรึงราคาน้ำมันทุก
ประเภท และราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 30 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจร้อยละ
0.22 ทำให้อัตราการขยายตัวเหลือร้อยละ 6.78 หากตรึงราคาเฉพาะน้ำมันดีเซลจะกระทบร้อยละ 0.09
ทำให้อัตราการขยายตัวเหลือ 6.91 ด้านเงินเฟ้อกรณีฐานร้อยละ 2.2 หากรัฐบาลยกเลิกการตรึงราคาน้ำมัน
ทุกประเภท จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.15 เป็นร้อยละ 2.35 หรือหากตรึงเฉพาะน้ำมันดีเซลจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06
เป็นร้อยละ 2.26 ด้านการส่งออกจากกรณีฐานขยายตัวร้อยละ 8.0 หากรัฐยกเลิกการตรึงราคาน้ำมันจะ
กระทบร้อยละ 0.09 เหลือร้อยละ 7.91 หากตรึงเฉพาะน้ำมันดีเซลจะกระทบร้อยละ 0.04 เหลือร้อยละ
7.96 ด้านนายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ถ้าราคาน้ำมันในตลาดโลก
เพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล จะกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 0.2 สำหรับตัวเลข
เศรษฐกิจของประเทศในปีนี้ ก.คลังคาดการณ์ไว้ที่ประมาณร้อยละ 7.7 — 8.1 โดยอยู่บนพื้นฐานราคาน้ำมัน
ตลาดโลกที่ระดับ 31 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางอังกฤษขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.25 รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 6 พ.ค.47 ธ.กลางอังกฤษประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ
4.25 เป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 3 นับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 เพื่อชะลอความร้อนแรงของตลาดที่อยู่อาศัย
และภาระหนี้สินของผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้น แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด
ไว้ร้อยละ 2.0 ก็ตาม โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากรายได้ส่วนบุคคลที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ราคาบ้านก็
พุ่งสูงขึ้นเช่นเดียวกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ในส่วนภาคอุตสาหกรรมการผลิตก็กำลังฟื้น
ตัวอย่างแข็งแกร่ง ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ (รอยเตอร์)
2. ยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน มี.ค.47 ลดลง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 6
พ.ค.47 ยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน มี.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.7 จากที่คาดไว้ก่อนหน้า
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 อันเป็นผลจากยอดสั่งซื้อสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เช่น เคมีภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 2.0 จาก
เดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงร้อยละ 4.7 ทำให้นักวิเคราะห์เกรงว่าผลผลิต
อุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน มี.ค.47 อาจไม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ตามที่คาดไว้ นอกจากนี้เมื่อสัปดาห์ที่
ผ่านมารัฐบาลเช่นเดียวกับธนาคารและสถาบันทางเศรษฐกิจได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจใน
ปีนี้จากร้อยละ 1.7 เหลือร้อยละ 1.5 (รอยเตอร์)
3. Global PMI ในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 61.2 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 6
พ.ค.47 ผลสำรวจของ JPMorgan พบว่า The global all-industry index ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลผลิตทั้ง
ในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 61.2 จากระดับ 59.1 ในเดือนก่อน
ซึ่งอยู่เหนือระดับ 50 ที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจ ส่วนดัชนีราคานำ
เข้าผลผลิต ดัชนีการจ้างงาน ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ และดัชนีภาคบริการ ในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 64.5
53.2 59.2 และ 61.7 จากระดับ 63.4 51.3 58.6 และ 58.9 ในเดือนก่อน ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนี
PMI ได้จากการสำรวจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกประกอบกัน คือ ประเทศ สรอ. เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ
อิตาลี สเปน ไอร์แลนด์ รัสเซีย ออสเตรเลีย และฮ่องกง (รอยเตอร์)
4. ฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นเป็นเลขหลักเดียวเป็นครั้งแรกในรอบ 31 เดือน
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 7 พ.ค.47 ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 31 เดือน ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่
ชะลอตัวลงเป็นเลขหลักเดียว หลังจากที่เดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 และเคยขยายตัวสูงสุดถึงระดับ
ร้อยละ 36.3 เมื่อเดือน เม.ย.45 แต่หากเทียบต่อเดือน ฐานเงินในเดือนเม.ย.47 ลดลงร้อยละ 8.7 (
ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) สำหรับปริมาณธนบัตรออกใช้ ปริมาณเงินหมุนเวียน ปริมาณเงินฝากของสถาบันการ
เงินที่ธนาคารกลาง และสินทรัพย์สำรองของธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ1.6
1.5 20.4 และ 17.9 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
5. ภาคบริการของเกาหลีใต้เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในเดือน มี.ค.47 รายงานจากโซลเมื่อ
7 พ.ค.47 ทางการเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีชี้วัดภาคบริการของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากเดือน ก.พ.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ขณะที่ดัชนีชี้วัด
ภาคธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของภาคบริการ กลับลดลงร้อยละ 0.3 หลังจากเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.1 ในเดือน ก.พ.47 ทั้งนี้ การปรับตัวดีขึ้นของดัชนีชี้วัดภาคบริการ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่ง
ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ เกิดขึ้นภายหลังจากที่ ธ.กลางเกาหลีใต้มีการเปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจของ
ประเทศได้เข้าสู่ภาวะฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพแล้ว อนึ่ง การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของภาวะเศรษฐกิจเกาหลีใต้
ดังกล่าว เป็นผลจากการเติบโตของการส่งออกเป็นสำคัญ ขณะที่การบริโภคและตลาดแรงงานภายในประเทศ
ยังชะลอตัวอยู่ (รอยเตอร์)
6. ความเชื่อมั่นของธุรกิจเกาหลีใต้ปรับตัวดีขึ้นในเดือน พ.ค.47 รายงานจากโซลเมื่อ 7 พ.ค.47
ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า Business survey index (BSI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจ
เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นที่ระดับ 96 ในเดือน พ.ค.47 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 45 หลังจาก
ที่ในเดือน เม.ย.47 ลดลงสู่ระดับ 90 จากระดับ 91 ในเดือน มี.ค.47 ทั้งนี้ ดัชนีที่ระดับต่ำกว่า 100
สะท้อนถึงมุมมองของผู้ประกอบการธุรกิจซึ่งเห็นว่าธุรกิจของตนจะชะลอตัวมากกว่าจะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจากการ
สำรวจของ ธ.กลางเกาหลีใต้ในครั้งนี้ ที่ทำการสำรวจ 2,900 บริษัทธุรกิจ ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า
ธุรกิจโดยส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นว่า ภาวะเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ (รอยเตอร์)
7. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือนมี.ค. 47 จะขยายตัวร้อยละ 14.7 รายงาน
จากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ วันที่ 6 พ.ค. 47 จากผลการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ของมาเลเซียซึ่งใช้ชี้วัดอุตสาหกรรมการผลิตเหมืองแร่และอิเล็กทรอนิกส์ ในเดือนมี.ค. จะขยายตัวร้อยละ
14.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 11.1 ในเดือนก.พ. เนื่องจาก
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งไปยังตลาดสำคัญ อาทิ สรอ. ส่วนนักเศรษฐศาสตร์จาก
DBS Bank ในสิงคโปร์กล่าวว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตของมาเลเซียกำลังขยายตัวจากการส่งออกที่เพิ่มมาก
ขึ้น ซึ่งการส่งออกของมาเลเซียในเดือนมี.ค. สูงถึง 38.8 พัน ล. ริงกิต (10.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.)
ขยายตัวถึงร้อยละ 16.9 ทำสถิติสูงสุดในรอบปี โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของ
สินค้าที่ส่งออกของมาเลเซีย ขยายตัวร้อยละ 23.5 จากเดือนก่อน ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติของมาเลเซีย
จะประกาศตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมเบื้องต้นในวันนี้เวลา 12.01 น.ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7/5/47 6/5/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.783 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.5997/39.8854 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 634.01/ 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,350/7,450 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.49 34.89 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 16.99/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 7 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. แจ้งรายละเอียดการดำเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ รายงานข่าวจาก
ธปท. แจ้งว่า เมื่อวันที่ 4 พ.ค.47 นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.
ได้ลงนามในหนังสือเวียนถึงสถาบันการเงินชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1
รูปแบบ (One Presence) ในแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินสำหรับสถาบันการเงินที่มีสถาบันการเงินที่รับ
ฝากเงินจากประชาชนอยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจเดียวกันมากกว่า 1 แห่ง โดยสถาบันการเงินนั้นไม่ต้องการขอปรับ
สถานะเป็น ธ.พาณิชย์ ให้ยื่นแผนการดำเนินการควบรวมกิจการหรือคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน
ที่ไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป หรือรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินจากสถาบันการเงินแห่งอื่นภายใต้กลุ่มธุรกิจ
เดียวกัน แล้วแต่กรณี ส่วนกรณี ธ.พาณิชย์และสาขา ธ.ต่างประเทศที่มีกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) ให้
เสนอแผนการโอนสินทรัพย์และหนี้สินจากบีไอบีเอฟไปยังกิจการ ธ.พาณิชย์ โดย ธปท. เห็นควรให้ ธ.พาณิชย์
และสาขา ธ.ต่างประเทศดำเนินการตามแผนที่เสนอและคืนใบอนุญาตประกอบกิจการบีไอบีเอฟให้เสร็จสิ้นภาย
ใน 6 เดือน หลังจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีกิจการวิเทศธนกิจมีผลบังคับใช้
อย่างก็ตาม แผนการดำเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ ของกลุ่มธุรกิจสถาบันการเงินต้องได้
รับความเห็นชอบจาก รมว.คลังก่อน และต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ
โดยสถาบันการเงินสามารถยื่นแผนต่อ ธปท. ภายในวันทำการสุดท้ายของเดือน ก.ค.นี้ (มติชน)
2. ธปท. ประกาศเกณฑ์การประเมินคุณภาพ บง. และ บล. ที่ขอเป็น ธ.พาณิชย์ นายเกริก
วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. ส่งหนังสือถึงผู้บริหารบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิต
ฟองซิเอร์ว่า เกณฑ์การประเมินคุณภาพการจัดการสำหรับ บง. และ บค. ที่ต้องการจะขอจัดตั้งเป็น ธ.พาณิชย์
ไม่ว่าจะเป็น ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อย หรือ ธ.พาณิชย์ครบวงจร ธปท.จะประเมินว่าใครมีคุณสมบัติที่จะได้รับ
การอนุมัติตามเกณฑ์หรือไม่ของหลักเกณฑ์ที่ค่อนข้างเข้มงวดใน 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง จะประเมินการปฏิบัติตาม
แนวทางธรรมาภิบาลที่กำหนดไว้ถึง 10 ข้อ เช่น นโยบายการกำกับดูแลกิจการ โดยคณะกรรมการมีความ
ชัดเจนและเป็นไปตามแนวทางธรรมาภิบาล การให้ความสำคัญกับการนำแนวทางตามหลักธรรมาภิบาลมาถือ
ปฏิบัติ โดยมีการติดตามและควบคุมดูแลให้เป็นไปตามที่กำหนดอย่างจริงจัง คณะกรรมการและผู้บริหารของ
สถาบันการเงินที่เสนอขอยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล และมีความเป็น
อิสระในการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการครอบงำจากกลุ่มที่มีผลประโยชน์อื่นใด และไม่มีลักษณะการดำเนิน
ธุรกิจและการบริหารกิจการที่เกิดความขัดแย้งหรือทับซ้อนทางผลประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่
เกี่ยวข้องโดยมิชอบมิควร มีความโปร่งใสและจริยธรรมทางธุรกิจ มีการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นหรือผู้
มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนอย่างเพียงพอและชัดเจนโปร่งใส ไม่มีพฤติกรรมอื่น ๆ
ที่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาล สำหรับหลักเกณฑ์ส่วนที่สอง จะเป็นการประเมินคุณภาพการบริหารการจัดการ โดย
บทบาทของคณะกรรมการ ผู้ถือหุ้น และผู้บริหารระดับผู้อำนวยการขึ้นไป ต้องไม่มีลักษณะหรือพฤติกรรมที่มี
ลักษณะต้องห้ามฉ้อฉลส่อไปในทางทุจริต มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม ไม่ว่าการให้สินเชื่อ ลงทุน ธุรก
รรมเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ หรือธุรกรรมอื่นใดที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงิน
การจัดการโครงสร้างองค์กรและการตรวจสอบภายใน ต้องสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบและแผน
ธุรกิจ และต้องให้ความร่วมมือกับทางการ (โพสต์ทูเดย์)
3. ฟิทช์ เรทติ้ง มั่นใจนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจของไทยมาถูกทาง บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อ
ฟิทช์ เรทติ้ง มั่นใจนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่า
ในปี 47 จะมีอัตรการเติบโตร้อยละ 7.5 ถ้ารัฐบาลยังคงใช้มาตรการทางการเงินการคลังต่อไป แต่ได้ตั้งข้อ
สังเกตว่าการรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็นไปเพื่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือน ม.ค.48 หรือไม่
ทั้งนี้ ฟิตช์ฯ ให้เรตติ้งพันธบัตรรัฐบาลอัตราดอกเบี้ยลอยตัว มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ที่ครบกำหนดในปี
50 ที่กำลังจะออกในเร็ว ๆ นี้ที่ระดับ BBB และมุมมองเป็นบวก โดยระบุว่าไทยถือเป็นประเทศในอันดับต้น ๆ
ที่สามารถปรับตัวจากปัจจัยภายนอกได้ดี แต่ก็ยังกังวลว่าจะมีการใช้งบกลางเกินไป ส่วนความรุนแรงทางภาค
ใต้คาดว่าจะใช้เวลานานในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพของจีนที่มีผล
กระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า
การฟื้นตัวเป็นไปด้วยดี ในขณะที่การชำระหนี้ที่ต่ำลงและการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้อ่อนค่าเร็วเกินไปมีผล
ให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มเป็น 4 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. (โพสต์ทูเดย์)
4. ราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อจีดีพีเล็กน้อย สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ (สศช.) ได้จัดทำผลกระทบราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจปี 47 โดยจากกรณีฐานประมาณการราคาน้ำมันเฉลี่ย
28 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล จีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 7.0 แต่หากรัฐบาลยกเลิกการตรึงราคาน้ำมันทุก
ประเภท และราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 30 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจร้อยละ
0.22 ทำให้อัตราการขยายตัวเหลือร้อยละ 6.78 หากตรึงราคาเฉพาะน้ำมันดีเซลจะกระทบร้อยละ 0.09
ทำให้อัตราการขยายตัวเหลือ 6.91 ด้านเงินเฟ้อกรณีฐานร้อยละ 2.2 หากรัฐบาลยกเลิกการตรึงราคาน้ำมัน
ทุกประเภท จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.15 เป็นร้อยละ 2.35 หรือหากตรึงเฉพาะน้ำมันดีเซลจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06
เป็นร้อยละ 2.26 ด้านการส่งออกจากกรณีฐานขยายตัวร้อยละ 8.0 หากรัฐยกเลิกการตรึงราคาน้ำมันจะ
กระทบร้อยละ 0.09 เหลือร้อยละ 7.91 หากตรึงเฉพาะน้ำมันดีเซลจะกระทบร้อยละ 0.04 เหลือร้อยละ
7.96 ด้านนายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ถ้าราคาน้ำมันในตลาดโลก
เพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล จะกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 0.2 สำหรับตัวเลข
เศรษฐกิจของประเทศในปีนี้ ก.คลังคาดการณ์ไว้ที่ประมาณร้อยละ 7.7 — 8.1 โดยอยู่บนพื้นฐานราคาน้ำมัน
ตลาดโลกที่ระดับ 31 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางอังกฤษขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.25 รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 6 พ.ค.47 ธ.กลางอังกฤษประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ
4.25 เป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 3 นับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 เพื่อชะลอความร้อนแรงของตลาดที่อยู่อาศัย
และภาระหนี้สินของผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้น แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด
ไว้ร้อยละ 2.0 ก็ตาม โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากรายได้ส่วนบุคคลที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ราคาบ้านก็
พุ่งสูงขึ้นเช่นเดียวกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ในส่วนภาคอุตสาหกรรมการผลิตก็กำลังฟื้น
ตัวอย่างแข็งแกร่ง ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ (รอยเตอร์)
2. ยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน มี.ค.47 ลดลง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 6
พ.ค.47 ยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน มี.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.7 จากที่คาดไว้ก่อนหน้า
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 อันเป็นผลจากยอดสั่งซื้อสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เช่น เคมีภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 2.0 จาก
เดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงร้อยละ 4.7 ทำให้นักวิเคราะห์เกรงว่าผลผลิต
อุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน มี.ค.47 อาจไม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ตามที่คาดไว้ นอกจากนี้เมื่อสัปดาห์ที่
ผ่านมารัฐบาลเช่นเดียวกับธนาคารและสถาบันทางเศรษฐกิจได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจใน
ปีนี้จากร้อยละ 1.7 เหลือร้อยละ 1.5 (รอยเตอร์)
3. Global PMI ในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 61.2 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 6
พ.ค.47 ผลสำรวจของ JPMorgan พบว่า The global all-industry index ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลผลิตทั้ง
ในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 61.2 จากระดับ 59.1 ในเดือนก่อน
ซึ่งอยู่เหนือระดับ 50 ที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจ ส่วนดัชนีราคานำ
เข้าผลผลิต ดัชนีการจ้างงาน ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ และดัชนีภาคบริการ ในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 64.5
53.2 59.2 และ 61.7 จากระดับ 63.4 51.3 58.6 และ 58.9 ในเดือนก่อน ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนี
PMI ได้จากการสำรวจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกประกอบกัน คือ ประเทศ สรอ. เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ
อิตาลี สเปน ไอร์แลนด์ รัสเซีย ออสเตรเลีย และฮ่องกง (รอยเตอร์)
4. ฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นเป็นเลขหลักเดียวเป็นครั้งแรกในรอบ 31 เดือน
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 7 พ.ค.47 ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 31 เดือน ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่
ชะลอตัวลงเป็นเลขหลักเดียว หลังจากที่เดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 และเคยขยายตัวสูงสุดถึงระดับ
ร้อยละ 36.3 เมื่อเดือน เม.ย.45 แต่หากเทียบต่อเดือน ฐานเงินในเดือนเม.ย.47 ลดลงร้อยละ 8.7 (
ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) สำหรับปริมาณธนบัตรออกใช้ ปริมาณเงินหมุนเวียน ปริมาณเงินฝากของสถาบันการ
เงินที่ธนาคารกลาง และสินทรัพย์สำรองของธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายในเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ1.6
1.5 20.4 และ 17.9 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
5. ภาคบริการของเกาหลีใต้เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในเดือน มี.ค.47 รายงานจากโซลเมื่อ
7 พ.ค.47 ทางการเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีชี้วัดภาคบริการของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากเดือน ก.พ.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ขณะที่ดัชนีชี้วัด
ภาคธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของภาคบริการ กลับลดลงร้อยละ 0.3 หลังจากเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.1 ในเดือน ก.พ.47 ทั้งนี้ การปรับตัวดีขึ้นของดัชนีชี้วัดภาคบริการ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่ง
ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ เกิดขึ้นภายหลังจากที่ ธ.กลางเกาหลีใต้มีการเปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจของ
ประเทศได้เข้าสู่ภาวะฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพแล้ว อนึ่ง การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของภาวะเศรษฐกิจเกาหลีใต้
ดังกล่าว เป็นผลจากการเติบโตของการส่งออกเป็นสำคัญ ขณะที่การบริโภคและตลาดแรงงานภายในประเทศ
ยังชะลอตัวอยู่ (รอยเตอร์)
6. ความเชื่อมั่นของธุรกิจเกาหลีใต้ปรับตัวดีขึ้นในเดือน พ.ค.47 รายงานจากโซลเมื่อ 7 พ.ค.47
ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า Business survey index (BSI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจ
เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นที่ระดับ 96 ในเดือน พ.ค.47 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 45 หลังจาก
ที่ในเดือน เม.ย.47 ลดลงสู่ระดับ 90 จากระดับ 91 ในเดือน มี.ค.47 ทั้งนี้ ดัชนีที่ระดับต่ำกว่า 100
สะท้อนถึงมุมมองของผู้ประกอบการธุรกิจซึ่งเห็นว่าธุรกิจของตนจะชะลอตัวมากกว่าจะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจากการ
สำรวจของ ธ.กลางเกาหลีใต้ในครั้งนี้ ที่ทำการสำรวจ 2,900 บริษัทธุรกิจ ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า
ธุรกิจโดยส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นว่า ภาวะเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ (รอยเตอร์)
7. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือนมี.ค. 47 จะขยายตัวร้อยละ 14.7 รายงาน
จากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ วันที่ 6 พ.ค. 47 จากผลการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ของมาเลเซียซึ่งใช้ชี้วัดอุตสาหกรรมการผลิตเหมืองแร่และอิเล็กทรอนิกส์ ในเดือนมี.ค. จะขยายตัวร้อยละ
14.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 11.1 ในเดือนก.พ. เนื่องจาก
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งไปยังตลาดสำคัญ อาทิ สรอ. ส่วนนักเศรษฐศาสตร์จาก
DBS Bank ในสิงคโปร์กล่าวว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตของมาเลเซียกำลังขยายตัวจากการส่งออกที่เพิ่มมาก
ขึ้น ซึ่งการส่งออกของมาเลเซียในเดือนมี.ค. สูงถึง 38.8 พัน ล. ริงกิต (10.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.)
ขยายตัวถึงร้อยละ 16.9 ทำสถิติสูงสุดในรอบปี โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของ
สินค้าที่ส่งออกของมาเลเซีย ขยายตัวร้อยละ 23.5 จากเดือนก่อน ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติของมาเลเซีย
จะประกาศตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมเบื้องต้นในวันนี้เวลา 12.01 น.ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7/5/47 6/5/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.783 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.5997/39.8854 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 634.01/ 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,350/7,450 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.49 34.89 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 16.99/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 7 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-