วันนี้ (21 มี.ค. 48) เวลา 11.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ จัดอบรมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ใหม่ของพรรคเป็นวันที่ 3 ซึ่งในวันนี้บรรยายในหัวข้อ “เทคนิคการอภิปราย” โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรค นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) นายจุติ ไกรฤกษ์ กรรมการบริหารพรรค และนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กล่าวบรรยายว่า เทคนิคในการอภิปรายคือ เนื้อหาที่เตรียมต้องเตรียมหลายรอบ เพื่อให้เกิดความรอบคอบ เวลาอภิปรายอยู่เมื่อโดนทักท้วงหรือถูกประท้วงให้หยุด อย่าตกใจ ต้องมีสติ และจำให้ได้ว่าได้พูดไปถึงไหนแล้ว และเมื่อการประท้วงนั้นยุติลง เมื่อกลับมาอภิปรายใหม่ ต้องเริ่มย้อนว่าก่อนหยุดได้พูดอะไรไปบ้าง เพื่อเป็นการเตือนความจำให้ตัวเอง รวมถึงส.ส.ในสภา และผู้ที่ฟังการอภิปรายอยู่ และถ้ามีการอภิปรายโดยกำหนดเวลาในการอภิปราย เช่น กำหนดให้พูดคนละ 15 นาที เมื่อใกล้ถึงเวลาที่กำหนด ก็อย่ากังวลว่าสิ่งที่เตรียมมาพูดไปไม่ถึงไหน ถ้าถึงเวลาจบต้องจบ และต้องสรุปคำอภิปรายที่ดีให้ได้
นายสาทิตย์ กล่าวถึงการอภิปรายนโยบายรัฐบาลว่า ได้พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในเบื้องต้น มีข้อสรุป 2 ประเด็น คือ การอภิปรายครั้งที่แล้ว ส่วนใหญ่พรรคจะอภิปรายโดยใช้คำสัญญาของรัฐบาลเป็นตัวตั้ง จากนั้นก็จะดูว่านโยบายสอดคล้องกับคำสัญญาที่เคยให้ไว้หรือไม่ แต่ครั้งนี้มีความแตกต่าง เพราะพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาลมาแล้ว 4 ปี และคนที่กำหนดนโยบายหลักคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งแม้จะเขียนนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็ยังมีนโยบายที่นายกฯสามารถอนุมัติได้ด้วยวาจา เช่น ทัวร์นกขมิ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลกระทบจากนโยบายที่ทำให้เกิดปัญหา ถึงแม้รัฐบาลจะบอกว่า 4 ปีที่ผ่านมาเป็น 4 ปีซ่อม และอีก 4 ปีต่อจากนี้เป็น 4 ปีสร้าง แต่ความจริงยังมีปัญหาเหลืออยู่ คือ 1.ปัญหาสะสมต่อเนื่อง เช่น ปัญหาความยากจน 2. ปัญหาที่เกิดจากผลกระทบของนโยบายรัฐบาล เช่น ปัญหาความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น และ 3.ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่และจะมีผลกระทบต่อเนื่อง เช่น ปัญหาสึนามิ ปัญหาภัยแล้ง เป็นต้น เพราะฉะนั้นการอภิปรายในครั้งนี้จะใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง แล้วจึงพูดถึงนโยบาย โดยแนวการอภิปรายคือ ต้องบอกและสรุปให้ได้ว่าปัญหาในเรื่องนี้คืออะไร แล้วจึงนำนโยบายมาอภิปราย จากนั้นผนวกด้วยข้อติติง หรือข้อเสนอแนะ ซึ่งแนวทางการอภิปรายจะเชื่อมโยงกับแนวทางของหัวหน้าพรรค ที่ต้องการทำงานเชิงรุกมากขึ้น ส่วนการจัดเวลาอภิปรายจะจัดตามกลุ่มของปัญหา
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวว่า การเตรียมการอภิปรายในสภาฯ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องเป็นตัวของตัวเอง อย่าพยายามเลียนแบบใคร ต้องมีเอกลักษณ์ของตัวเอง จึงจะเป็นที่สนใจ และอย่าลืมว่าการอภิปรายเป็นการอภิปรายสำหรับคนทั้งประเทศ ซึ่งสิ่งที่จะต้องทำ มีดังนี้ 1. ต้องหาข้อมูล เพราะข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็น และการหาข้อมูลสมัยนี้ก็ไม่ยากเหมือนสมัยก่อน ต้องเก็บ และเรียงข้อมูลให้เป็น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และการเรียนรู้ 2.การฝึกซ้อมและฝึกฝน ควรมีการซ้อมก่อนอภิปราย ไม่ว่าจะซ้อมคนเดียวหน้ากระจก หรือซ้อมให้คนอื่นดู เพื่อที่จะได้รู้ว่าการอภิปรายควรจะเป็นอย่างไร ท่าทีการแสดงออก น้ำเสียง ต้องสามารถที่จะแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อออกมาได้อย่างมั่นใจ และทำให้คนฟังรู้สึกประทับใจ 3. พยายามอ้างอิงบทบัญญัติสำคัญๆที่เราพูด เช่น กฎหมาย รัฐธรรมนูญ เป็นต้น เราต้องมีกรอบและหลักฐานที่จะอ้างได้ แม้แต่คำพูดของนายกฯ หรือรัฐมนตรีก็ต้องอ้างได้ และแนะนำให้เก็บข้อมูลเป็นของตัวเองไว้ตลอดเวลา เพื่อจะใช้อ้างอิงได้ ที่สำคัญอย่าลืมว่านโยบายนี้ตัวบุคคลเป็นผู้นำไปปฏิบัติ เพราะฉะนั้นให้นำนโยบายเปรียบเทียบกับตัวบุคคลที่จะรับผิดชอบ ว่าจะสามารถรับผิดชอบให้นโยบายนั้นดำเนินไปได้หรือไม่
นายจุติ ไกรฤกษ์ กล่าวว่า ตนได้วิเคราะห์องค์ประกอบของส่วนดี ของนักพูดในสภาฯ เช่น นายชวน หลีกภัย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็นต้น โดยได้ข้อสรุปดังนี้ 1. ผู้อภิปรายทุกคนทำการบ้านมาอย่างดี ไม่มีใครที่จะจับไมค์แล้วพูดได้เลย เพราะฉะนั้นต้องเก็บรายละเอียด เก็บข้อมูล ให้มากที่สุด 2.เน้นประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว 3. เลือกพูดหัวข้อที่เชี่ยวชาญและรู้จริงเท่านั้น และ3. รู้เขารู้เรา คือ ต้องรู้ว่าพูดแล้วเราจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบหรือไม่ จะเปิดโอกาสให้เขาตอบโต้ แก้ตัว หรือประชาสัมพันธ์ตัวเองหรือเปล่า ทั้งนี้หัวใจของการพูด คือ การค้นหาข้อมูล ซึ่งบางครั้งการตามข้อมูลอาจใช้เวลานาน ซึ่งก็ต้องตามจนกว่าจะได้ข้อมูลหรือประเด็นที่พอใจ ใครตามเรื่องไหนต้องตามเรื่องนั้นให้ตลอด และต้องเช็คข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา ส่วนเทคนิคการอภิปราย คือ 1.ลำดับเรื่องให้ดี มีความเข้าใจในเรื่องที่พูด 2.พูดให้เข้าใจและฟังง่าย 3. ต้องกล้าพูด พูดแล้วต้องพูดให้หมดอย่ากั๊ก อย่ากล้าๆกลัวๆ 4.ขยันฟังประชุมสภาฯ 5. ขยันพูด ขยันซ้อม และขยันทำการบ้าน นอกจากนี้นายจุติยังให้คำแนะนำว่าอาวุธสำคัญของการอภิปรายคือข้อมูลลึก ข้อมูลแม่นยำ เพราะฉะนั้นหากไม่แน่ใจในข้อมูล หรือแน่ใจแค่ 50 — 50 อย่านำข้อมูลนั้นมาใช้ เพราะข้อมูลที่เราไม่แน่ใจนั้น อาจจะทำให้ถูกตอบโต้กลับมาได้ และจะทำให้ข้อมูลที่เราเตรียมมาอย่างดีขาดน้ำหนักไปด้วย
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ กล่าวว่า ถ้าเราต้องการแสดงบทบาทในสภา เราต้องมีข้อมูล และข้อมูลต้องแม่น ต้องติดตามจากวิปว่าประเด็นอะไรที่สมควรจะพูด ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจ ว่าโอกาสนี้เราควรจะพูดเรื่องนี้ ต้องหาโอกาส เพราะฉะนั้นการที่เราเตรียมการและมีแผนที่จะพูด จะทำให้เราได้เปรียบ ซึ่งตนไม่ใช่คนเก่ง แต่อาศัยจากการฝึกอย่างจริงๆ จึงจะทำให้เราเกิดความเชื่อมั่น ตนเชื่อมั่นว่าถ้าเรากล้าขึ้นยืนในสภา เมื่อไรที่เราสามารถควบคุมประเด็นที่เราอภิปราย เมื่อไรที่เราสามารถควบคุมอารมณ์ที่เราจะอภิปราย เมื่อไรเราสามารถที่จะควบคุมในการที่เราจะเสนอประเด็นที่เราคิดว่าเป็นความคิดของเรา นี่คือความภาคภูมิใจในฐานะที่พวกเราได้เป็นผู้แทนของประชาชนอย่างแท้จริง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กล่าวบรรยายว่า เทคนิคในการอภิปรายคือ เนื้อหาที่เตรียมต้องเตรียมหลายรอบ เพื่อให้เกิดความรอบคอบ เวลาอภิปรายอยู่เมื่อโดนทักท้วงหรือถูกประท้วงให้หยุด อย่าตกใจ ต้องมีสติ และจำให้ได้ว่าได้พูดไปถึงไหนแล้ว และเมื่อการประท้วงนั้นยุติลง เมื่อกลับมาอภิปรายใหม่ ต้องเริ่มย้อนว่าก่อนหยุดได้พูดอะไรไปบ้าง เพื่อเป็นการเตือนความจำให้ตัวเอง รวมถึงส.ส.ในสภา และผู้ที่ฟังการอภิปรายอยู่ และถ้ามีการอภิปรายโดยกำหนดเวลาในการอภิปราย เช่น กำหนดให้พูดคนละ 15 นาที เมื่อใกล้ถึงเวลาที่กำหนด ก็อย่ากังวลว่าสิ่งที่เตรียมมาพูดไปไม่ถึงไหน ถ้าถึงเวลาจบต้องจบ และต้องสรุปคำอภิปรายที่ดีให้ได้
นายสาทิตย์ กล่าวถึงการอภิปรายนโยบายรัฐบาลว่า ได้พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในเบื้องต้น มีข้อสรุป 2 ประเด็น คือ การอภิปรายครั้งที่แล้ว ส่วนใหญ่พรรคจะอภิปรายโดยใช้คำสัญญาของรัฐบาลเป็นตัวตั้ง จากนั้นก็จะดูว่านโยบายสอดคล้องกับคำสัญญาที่เคยให้ไว้หรือไม่ แต่ครั้งนี้มีความแตกต่าง เพราะพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาลมาแล้ว 4 ปี และคนที่กำหนดนโยบายหลักคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งแม้จะเขียนนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็ยังมีนโยบายที่นายกฯสามารถอนุมัติได้ด้วยวาจา เช่น ทัวร์นกขมิ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลกระทบจากนโยบายที่ทำให้เกิดปัญหา ถึงแม้รัฐบาลจะบอกว่า 4 ปีที่ผ่านมาเป็น 4 ปีซ่อม และอีก 4 ปีต่อจากนี้เป็น 4 ปีสร้าง แต่ความจริงยังมีปัญหาเหลืออยู่ คือ 1.ปัญหาสะสมต่อเนื่อง เช่น ปัญหาความยากจน 2. ปัญหาที่เกิดจากผลกระทบของนโยบายรัฐบาล เช่น ปัญหาความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น และ 3.ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่และจะมีผลกระทบต่อเนื่อง เช่น ปัญหาสึนามิ ปัญหาภัยแล้ง เป็นต้น เพราะฉะนั้นการอภิปรายในครั้งนี้จะใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง แล้วจึงพูดถึงนโยบาย โดยแนวการอภิปรายคือ ต้องบอกและสรุปให้ได้ว่าปัญหาในเรื่องนี้คืออะไร แล้วจึงนำนโยบายมาอภิปราย จากนั้นผนวกด้วยข้อติติง หรือข้อเสนอแนะ ซึ่งแนวทางการอภิปรายจะเชื่อมโยงกับแนวทางของหัวหน้าพรรค ที่ต้องการทำงานเชิงรุกมากขึ้น ส่วนการจัดเวลาอภิปรายจะจัดตามกลุ่มของปัญหา
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวว่า การเตรียมการอภิปรายในสภาฯ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องเป็นตัวของตัวเอง อย่าพยายามเลียนแบบใคร ต้องมีเอกลักษณ์ของตัวเอง จึงจะเป็นที่สนใจ และอย่าลืมว่าการอภิปรายเป็นการอภิปรายสำหรับคนทั้งประเทศ ซึ่งสิ่งที่จะต้องทำ มีดังนี้ 1. ต้องหาข้อมูล เพราะข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็น และการหาข้อมูลสมัยนี้ก็ไม่ยากเหมือนสมัยก่อน ต้องเก็บ และเรียงข้อมูลให้เป็น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และการเรียนรู้ 2.การฝึกซ้อมและฝึกฝน ควรมีการซ้อมก่อนอภิปราย ไม่ว่าจะซ้อมคนเดียวหน้ากระจก หรือซ้อมให้คนอื่นดู เพื่อที่จะได้รู้ว่าการอภิปรายควรจะเป็นอย่างไร ท่าทีการแสดงออก น้ำเสียง ต้องสามารถที่จะแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อออกมาได้อย่างมั่นใจ และทำให้คนฟังรู้สึกประทับใจ 3. พยายามอ้างอิงบทบัญญัติสำคัญๆที่เราพูด เช่น กฎหมาย รัฐธรรมนูญ เป็นต้น เราต้องมีกรอบและหลักฐานที่จะอ้างได้ แม้แต่คำพูดของนายกฯ หรือรัฐมนตรีก็ต้องอ้างได้ และแนะนำให้เก็บข้อมูลเป็นของตัวเองไว้ตลอดเวลา เพื่อจะใช้อ้างอิงได้ ที่สำคัญอย่าลืมว่านโยบายนี้ตัวบุคคลเป็นผู้นำไปปฏิบัติ เพราะฉะนั้นให้นำนโยบายเปรียบเทียบกับตัวบุคคลที่จะรับผิดชอบ ว่าจะสามารถรับผิดชอบให้นโยบายนั้นดำเนินไปได้หรือไม่
นายจุติ ไกรฤกษ์ กล่าวว่า ตนได้วิเคราะห์องค์ประกอบของส่วนดี ของนักพูดในสภาฯ เช่น นายชวน หลีกภัย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็นต้น โดยได้ข้อสรุปดังนี้ 1. ผู้อภิปรายทุกคนทำการบ้านมาอย่างดี ไม่มีใครที่จะจับไมค์แล้วพูดได้เลย เพราะฉะนั้นต้องเก็บรายละเอียด เก็บข้อมูล ให้มากที่สุด 2.เน้นประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว 3. เลือกพูดหัวข้อที่เชี่ยวชาญและรู้จริงเท่านั้น และ3. รู้เขารู้เรา คือ ต้องรู้ว่าพูดแล้วเราจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบหรือไม่ จะเปิดโอกาสให้เขาตอบโต้ แก้ตัว หรือประชาสัมพันธ์ตัวเองหรือเปล่า ทั้งนี้หัวใจของการพูด คือ การค้นหาข้อมูล ซึ่งบางครั้งการตามข้อมูลอาจใช้เวลานาน ซึ่งก็ต้องตามจนกว่าจะได้ข้อมูลหรือประเด็นที่พอใจ ใครตามเรื่องไหนต้องตามเรื่องนั้นให้ตลอด และต้องเช็คข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา ส่วนเทคนิคการอภิปราย คือ 1.ลำดับเรื่องให้ดี มีความเข้าใจในเรื่องที่พูด 2.พูดให้เข้าใจและฟังง่าย 3. ต้องกล้าพูด พูดแล้วต้องพูดให้หมดอย่ากั๊ก อย่ากล้าๆกลัวๆ 4.ขยันฟังประชุมสภาฯ 5. ขยันพูด ขยันซ้อม และขยันทำการบ้าน นอกจากนี้นายจุติยังให้คำแนะนำว่าอาวุธสำคัญของการอภิปรายคือข้อมูลลึก ข้อมูลแม่นยำ เพราะฉะนั้นหากไม่แน่ใจในข้อมูล หรือแน่ใจแค่ 50 — 50 อย่านำข้อมูลนั้นมาใช้ เพราะข้อมูลที่เราไม่แน่ใจนั้น อาจจะทำให้ถูกตอบโต้กลับมาได้ และจะทำให้ข้อมูลที่เราเตรียมมาอย่างดีขาดน้ำหนักไปด้วย
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ กล่าวว่า ถ้าเราต้องการแสดงบทบาทในสภา เราต้องมีข้อมูล และข้อมูลต้องแม่น ต้องติดตามจากวิปว่าประเด็นอะไรที่สมควรจะพูด ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจ ว่าโอกาสนี้เราควรจะพูดเรื่องนี้ ต้องหาโอกาส เพราะฉะนั้นการที่เราเตรียมการและมีแผนที่จะพูด จะทำให้เราได้เปรียบ ซึ่งตนไม่ใช่คนเก่ง แต่อาศัยจากการฝึกอย่างจริงๆ จึงจะทำให้เราเกิดความเชื่อมั่น ตนเชื่อมั่นว่าถ้าเรากล้าขึ้นยืนในสภา เมื่อไรที่เราสามารถควบคุมประเด็นที่เราอภิปราย เมื่อไรที่เราสามารถควบคุมอารมณ์ที่เราจะอภิปราย เมื่อไรเราสามารถที่จะควบคุมในการที่เราจะเสนอประเด็นที่เราคิดว่าเป็นความคิดของเรา นี่คือความภาคภูมิใจในฐานะที่พวกเราได้เป็นผู้แทนของประชาชนอย่างแท้จริง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-