คำกล่าวของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการสัมมนา เรื่อง "แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน" ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ 10 พฤษภาคม 2547
ท่านรัฐมนตรีโภคิน พลกุล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรี ท่านปลัดกระทรวง ท่านอธิบดี ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านผู้นำชุมชน และผู้มีเกียรติทุกท่านที่มาร่วมงานสัมมนาในวันนี้
ต้องถือเป็นเกียรติอย่างสูงสำหรับกระทรวงการคลังที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนร่วมกับหน่วยงานและสถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และก็ต้องถือว่าเป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่งอีกภารกิจหนึ่งสำหรับท่านผู้ว่าราชการจังหวัด หรือท่านผู้ว่า CEO ทั้งหลาย โดยส่วนตัวแล้วผมถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ผมได้มีโอกาสทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุกๆ ท่าน หลังจากที่เราเคยได้ร่วมงานกันมาก่อน และเราได้เคยพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าระบบผู้ว่า CEO สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผล
กรณีของไข้หวัดนกที่เราเคยร่วมงานกัน เพราะท่านได้เข้ามามีส่วนร่วมเหตุการณ์จึงได้สงบค่อนข้างเร็ว การกลับมาร่วมงานอีกครั้งหนึ่งของพวกเราในครั้งนี้ ผมรับปากกับท่านว่าการทำงานร่วมกับเราในครั้งนี้นั้นไม่มีบาป มีแต่บุญ คราวที่แล้วอาจจะมีบาปบ้างแต่ก็เพื่อบุญในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ แต่ครั้งนี้บุญอย่างเดียวล้วนๆ ผมจะไม่ใช้เวลามากนัก เพียงแต่ต้องการที่จะสื่อความบางอย่างกับท่านเท่านั้นเอง
ประเทศไทยใช้เวลาประมาณ 3 ปีกว่าที่เราจะสามารถกลับมาสู่สถานการณ์ดังเช่นในปัจจุบันได้ การพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้มาสู่ในระดับปัจจุบันไม่ง่ายเลย แต่ถ้าเรามองออกไปข้างหน้า ถึงแม้เราจะเห็นเมฆหมอกของอุปสรรคอยู่ แต่ผมเชื่อว่าถ้าเราตั้งจิตใจให้มั่น รวมพลังกัน อุปสรรคข้างหน้าเราก็สามารถข้ามผ่านพ้นไปได้ แต่ดูเหมือนว่าเวลาที่รัฐบาลนี้เหลืออยู่ไม่มาก เหลืออยู่อีกประมาณ 7 - 8 เดือนก็จะหมดเทอม ถ้าเป็นการเมืองสมัยก่อนเขาบอกว่า "ตีกรรเชียง" ออกมาตรการระยะสั้น หาเสียงไปเตรียมตัวเลือกตั้ง แต่รัฐบาลนี้คิดคนละอย่างกัน เรามองว่าเราไม่เคยต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ฉาบฉวย เราไม่ต้องการเพียงแค่บอกว่า GDP Growth 7 หรือ 8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเป็นพอ แต่ในจิตใจเราต้องการที่จะพยายามผลักดันพัฒนาให้ประเทศไทยเติบโตไปอย่างแข็งแกร่งยั่งยืน เราต้องการสร้างความมั่งคั่งขึ้นมาและให้มั่นใจว่าความมั่งคั่งนั้นสามารถกระจายลงสู่ข้างล่าง สู่ประชาชน ระยะสั้นเราไม่สนใจ
มีหลายคนถามว่าหุ้นตกเป็นอย่างไร ผมก็เพิ่งคุยกับนักข่าวไปว่าถ้าเรามั่นใจในศักยภาพของประเทศไทย ประเทศไทยถูก Rating สูงสุดในเอเชีย รอให้ทุกอย่างชัดเจนมันก็ขึ้นของมันเอง อย่าไปตื่นตระหนก ขอให้เราตั้งใจทำในสิ่งที่เป็นพื้นฐาน สร้างรากฐาน คนไทยเราดีทุกอย่าง เสียอย่างเดียว บางครั้งไม่ทำงานบ้าน ไม่สร้างพื้นฐานสำหรับอนาคต ถ้าเราต้องการความยั่งยืนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ เราต้องไม่ถามว่าวันนี้หุ้นตกเท่าไหร่ วันนี้ GDP ขึ้นหรือเปล่า พรุ่งนี้ GDP จะขึ้นอีกเท่าไหร่ แต่เราต้องหันมาถามตัวเองแล้วว่าเรากำลังทำอะไรเพื่อวันพรุ่งนี้บ้าง ฉะนั้น ถ้าท่านต้องการให้เศรษฐกิจไทยยั่งยืน ให้สังคมไม่มีปัญหา ท่านต้องสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่ง แต่พื้นฐานที่แท้จริงอยู่ที่ประชาชน เพราะประชาชนแต่ละคนนั้น คือคนที่ Generate คนที่สร้างเศรษฐกิจที่แท้จริง ถ้าประชาชนอ่อนแอ ป่วยการที่ท่านจะมาถามว่า GDP กี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าประชาชนอ่อนด้อย ด้อยพัฒนา ขาดการศึกษา มันก็หมายความว่าอนาคตของประเทศไทยจะไม่สามารถแข่งขันได้ จุดเน้นจึงอยู่ที่ประชาชน
ตั้งแต่ที่รัฐบาลนี้ตั้งขึ้นมา นโยบายต่างๆ ก็เน้นไปที่เรื่องของการเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางทั้งสิ้น ทุกๆ นโยบาย จนบางครั้งเราทำไปจนกระทั่งเราถูกโจมตีว่าเราเน้นนโยบายประชานิยม เป็นรัฐบาลต้องรับใช้ประชาชน ก็ต้องประชานิยม แต่ประชานิยมที่เนื้อหา ที่แก่นสาร ไม่ใช่หลอกลวงพูดไปวันๆ วันนี้เราต้องยอมรับกันว่าภาคประชาชนของไทยยังอ่อนแอ ยังด้อยพัฒนา พวกท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งหลายท่านมองออกไปข้างหน้า ประชาชนยังยากจนอยู่มาก ถ้าเราไม่รีบแก้ไขปัญหา ยิ่งนานวันช่องว่างมันจะยิ่งกว้างขึ้น ถ้าช่องว่างกว้างขึ้น คนจนจนมากขึ้น คนรวยรวยมากขึ้น ไม่เพียงแต่ท่านจะไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ความขัดแย้งและช่องว่างในสังคมจะมีอยู่สูงมาก เราต้องมาแก้ไข ณ วันนี้
ท่านนายกจึงได้ประกาศว่านโยบายรัฐบาลไม่ได้อยู่ที่การเลือกตั้ง แต่นโยบายอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรจะเอาชนะความยากจน และถ้าหากจะเอาชนะความยากจนจริง ท่านต้องเรียนรู้จากอดีตที่ผ่านมา เราเป็นประชาธิปไตยมาแล้วกี่สิบปี เราพัฒนามาแล้วกี่ฉบับ ทำไมความยากจนถึงอยู่ยั่งยืนเป็นศัตรูถาวร เพราะอะไร? ถ้าเราตอบคำถามนี้ไม่ได้เราก็แก้ไขไม่ได้ เท่าที่เคยหารือกันมา เรารู้ว่าข้อแรกเลยที่เป็นอุปสรรคก็คือว่าเราไม่มีข้อมูล ใช้ข้อมูลทุติยภูมิแก้ปัญหาเหวี่ยงแหโดยที่ไม่รู้ว่าใครคือคนที่เราต้องการช่วยเหลือ และจะช่วยเหลืออย่างไร การแก้ไขปัญหาไม่ครบวงจร ไม่รู้เหตุของปัญหา แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือว่าการแก้ปัญหามันต้องแก้ปัญหาด้วยใจ ไม่ใช่ปากบอกว่าจะแก้ไขปัญหาความยากจน แต่จิตใจไม่มีพลังพอในการแก้ไขปัญหา เมื่อสั่งการไปแล้วก็ผักชีโรยหน้า ก็จะไม่มีทางเกิดผลได้เลย อีกทั้งในอดีตที่ผ่านมา ท่านมองลงไปในแต่ละพื้นที่ เราไม่มีจุดศูนย์กลางร่วมเลย กี่กระทรวง กี่ทบวงกรม ข้าราชการกี่ฝ่าย ต่างคนต่างทำ พลังมันไม่เกิด เมื่อพลังไม่เกิด ไม่มีข้อมูล ทำเฉพาะส่วน ต่างคนต่างทำ การแก้ไขปัญหาความยากจนก็เลยเป็นอย่างนี้ ฉะนั้นถ้าเราจะเข้าไปแก้ไขมัน ก็ต้องทำสวนทางกับในอดีต อย่าใช้วิธีการปกติ ต้องใช้วิธีการที่ไม่ปกติ
สิ่งที่นายกรัฐมนตรีสั่งการไปเรื่องข้อมูล บัดนี้เราได้ข้อมูลแล้ว พอเราเห็นข้อมูลเรารู้เลยว่ามันไม่ได้ย่ำแย่อย่างที่คิด ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะถ้าเราดูตัวเลขแล้ว คนที่มาจดทะเบียนต้องการความช่วยเหลือมีประมาณ 5,000,000 คน ใน 5,000,000 คน ประมาณ 1.4 ล้านคน ถ้าผมจำตัวเลขไม่ผิดก็คือกลุ่มคนซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นหนี้นอกระบบต้องการความช่วยเหลือ ซึ่ง Cover มูลหนี้ประมาณ 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ของมูลหนี้ แต่ถ้าเราเพิ่มจำนวนขึ้นมา คนที่เป็นหนี้นอกระบบมากขึ้นต่ำกว่า 200,000 บาทลงมา กลุ่มเหล่านี้ Cover หนี้ประมาณ 51% แปลว่าหนี้สินส่วนใหญ่นั้นเป็นหนี้รายย่อยต่ำกว่า 100,000 บาท ฉะนั้นถ้าเรา Focus ไปที่กลุ่มหนี้นอกระบบเสียก่อน ไปที่บรรดาลูกหนี้ทั้งหลายที่มีอยู่ แล้วจากตรงนั้นช่วยกันทำ ตรงนี้เราจะแก้ปัญหาได้
แต่การแก้ปัญหานั้นผมได้เรียนเพื่อนๆ ข้าราชการของกระทรวงผมแล้วว่าเราขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหลัก เป็นเสาหลักในพื้นที่ เพราะวันนี้ถ้าท่านมองออกไป องคาพยพทุกอย่างในการแก้ไขปัญหาความยากจนมีครบ ท่านมีกองทุนหมู่บ้าน ท่านมีธนาคารของรัฐ 3 - 4 ธนาคารแย่งกันที่จะช่วยเหลือ ท่านมีหน่วยงาน เฉพาะกระทรวงมหาดไทยอย่างกรมพัฒนาชุมชนเห็นชัดเจน ท่านมองออกไปกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ มีไม่รู้ตั้งกี่หน่วยงาน แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถปฏิบัติให้เกิดผลได้เลยถ้าไม่มีระบบการทำงานที่รวมศูนย์ ที่วิเคราะห์ ที่สั่งการ พลังมันไม่เกิด
ฉะนั้นครั้งนี้ผมจะขอความช่วยเหลือจากท่านอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ขอให้ท่านเป็นหลักในพื้นที่ มีคณะทำงานขึ้นมาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ประชาชน หน่วยงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงการคลัง สถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องจะมาช่วยท่าน แต่ขออย่างเดียวก็คือว่าท่านวิเคราะห์ ปรับโครงสร้างหนี้ และก็หาทางช่วยเหลือฟื้นฟูให้เขาสามารถยืนอยู่ได้อย่างยั่งยืน ดูสิว่าเขาจะทำอะไรกิน หาทางช่วยเหลือเขา สินเชื่อค่อยปล่อยออกไป บูรณาการเขา ผมได้กำชับแล้วว่า ธ.ก.ส. ออมสิน ธนาคาร SME 3 แบงก์นี้จะเป็นแบงก์หลัก ต่อจากนี้ไปไม่ใช่เฉพาะแค่ปล่อยสินเชื่อ แต่เขาจะมีโครงการที่เตรียมไว้แล้วที่จะเข้าไปช่วยเหลือประชาชน ฉะนั้นขอให้ท่านหารือกัน ขอให้บอก พวกเขาจะเข้าไปช่วย ฉะนั้นวันนี้กระทรวงการคลังไม่ใช่ทำเฉพาะเรื่องของเศรษฐกิจ แต่เรากำลังเน้นเรื่องการคลังเพื่อสังคม
ในขณะเดียวกันกระทรวงมหาดไทยในอดีตเน้นเรื่องสังคมเป็นหลักใหญ่เน้นเรื่องปกครอง วันนี้ท่านกำลัง Shift จากเรื่องปกครองมาสู่เรื่องเศรษฐกิจ ฉะนั้นการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย มาเป็น Matching ที่สมบูรณ์ มันก่อให้เกิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ก็ขอให้การร่วมมือครั้งนี้ไม่เพียงแต่ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือคนที่ยากจน แต่ขอให้เป็นมิติใหม่ของการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงทบวงกรม เพราะผมเชื่อว่าหน่วยงานที่มีอยู่ บุคลากรที่มีอยู่เพียงพอ ขาดเพียงการจัดการ ขาดเพียงการร่วมพลัง ฉะนั้นผมมาวันนี้เพียงเพื่อต้องการบอกว่าขอให้ทางผู้ว่าเป็นเสาหลักเสีย และขอให้หารือกับทีมงาน ทุกหน่วยงานจะให้ความร่วมมือเต็มที่ และผมเชื่อว่าเราจะทำงานได้สำเร็จ เราตั้งเป้าไว้ว่าหนี้นอกระบบจะให้จบภายในสิงหาคม อย่างช้าก็สิ้นปี
เราต้องพิสูจน์ให้ข้างนอกเห็นว่าเราทำได้ และผมเชื่อว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทำได้อยู่แล้ว ผมเคยร่วมมือกับท่านมาหลายงานแล้ว ไข้หวัดนกก็ทำได้ ตรวจข้าวก็ทำได้ มาครั้งนี้ผมเชื่อว่าเราทำได้แน่นอ
ผมจะไม่เสียเวลาท่านอีกแล้วนะครับ เพราะว่าอีกสักครู่หนึ่งหลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกล่าวแล้ว ท่านปลัดกระทรวงทั้งสองจะมาให้รายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ก็ขอขอบคุณทุกท่านครับ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง :
1. ข่าวกระทรวงการคลังฉบับที่ 37/2547
2. ภาพข่าวกระทรวงการคลัง วันที่ 10 พฤษภาคม 2547
กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
สุรีย์พร ชัยยะรุ่งสกุล : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ บุณยภูษิต : Edit
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง--
ท่านรัฐมนตรีโภคิน พลกุล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรี ท่านปลัดกระทรวง ท่านอธิบดี ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านผู้นำชุมชน และผู้มีเกียรติทุกท่านที่มาร่วมงานสัมมนาในวันนี้
ต้องถือเป็นเกียรติอย่างสูงสำหรับกระทรวงการคลังที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนร่วมกับหน่วยงานและสถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และก็ต้องถือว่าเป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่งอีกภารกิจหนึ่งสำหรับท่านผู้ว่าราชการจังหวัด หรือท่านผู้ว่า CEO ทั้งหลาย โดยส่วนตัวแล้วผมถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ผมได้มีโอกาสทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุกๆ ท่าน หลังจากที่เราเคยได้ร่วมงานกันมาก่อน และเราได้เคยพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าระบบผู้ว่า CEO สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผล
กรณีของไข้หวัดนกที่เราเคยร่วมงานกัน เพราะท่านได้เข้ามามีส่วนร่วมเหตุการณ์จึงได้สงบค่อนข้างเร็ว การกลับมาร่วมงานอีกครั้งหนึ่งของพวกเราในครั้งนี้ ผมรับปากกับท่านว่าการทำงานร่วมกับเราในครั้งนี้นั้นไม่มีบาป มีแต่บุญ คราวที่แล้วอาจจะมีบาปบ้างแต่ก็เพื่อบุญในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ แต่ครั้งนี้บุญอย่างเดียวล้วนๆ ผมจะไม่ใช้เวลามากนัก เพียงแต่ต้องการที่จะสื่อความบางอย่างกับท่านเท่านั้นเอง
ประเทศไทยใช้เวลาประมาณ 3 ปีกว่าที่เราจะสามารถกลับมาสู่สถานการณ์ดังเช่นในปัจจุบันได้ การพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้มาสู่ในระดับปัจจุบันไม่ง่ายเลย แต่ถ้าเรามองออกไปข้างหน้า ถึงแม้เราจะเห็นเมฆหมอกของอุปสรรคอยู่ แต่ผมเชื่อว่าถ้าเราตั้งจิตใจให้มั่น รวมพลังกัน อุปสรรคข้างหน้าเราก็สามารถข้ามผ่านพ้นไปได้ แต่ดูเหมือนว่าเวลาที่รัฐบาลนี้เหลืออยู่ไม่มาก เหลืออยู่อีกประมาณ 7 - 8 เดือนก็จะหมดเทอม ถ้าเป็นการเมืองสมัยก่อนเขาบอกว่า "ตีกรรเชียง" ออกมาตรการระยะสั้น หาเสียงไปเตรียมตัวเลือกตั้ง แต่รัฐบาลนี้คิดคนละอย่างกัน เรามองว่าเราไม่เคยต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ฉาบฉวย เราไม่ต้องการเพียงแค่บอกว่า GDP Growth 7 หรือ 8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเป็นพอ แต่ในจิตใจเราต้องการที่จะพยายามผลักดันพัฒนาให้ประเทศไทยเติบโตไปอย่างแข็งแกร่งยั่งยืน เราต้องการสร้างความมั่งคั่งขึ้นมาและให้มั่นใจว่าความมั่งคั่งนั้นสามารถกระจายลงสู่ข้างล่าง สู่ประชาชน ระยะสั้นเราไม่สนใจ
มีหลายคนถามว่าหุ้นตกเป็นอย่างไร ผมก็เพิ่งคุยกับนักข่าวไปว่าถ้าเรามั่นใจในศักยภาพของประเทศไทย ประเทศไทยถูก Rating สูงสุดในเอเชีย รอให้ทุกอย่างชัดเจนมันก็ขึ้นของมันเอง อย่าไปตื่นตระหนก ขอให้เราตั้งใจทำในสิ่งที่เป็นพื้นฐาน สร้างรากฐาน คนไทยเราดีทุกอย่าง เสียอย่างเดียว บางครั้งไม่ทำงานบ้าน ไม่สร้างพื้นฐานสำหรับอนาคต ถ้าเราต้องการความยั่งยืนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ เราต้องไม่ถามว่าวันนี้หุ้นตกเท่าไหร่ วันนี้ GDP ขึ้นหรือเปล่า พรุ่งนี้ GDP จะขึ้นอีกเท่าไหร่ แต่เราต้องหันมาถามตัวเองแล้วว่าเรากำลังทำอะไรเพื่อวันพรุ่งนี้บ้าง ฉะนั้น ถ้าท่านต้องการให้เศรษฐกิจไทยยั่งยืน ให้สังคมไม่มีปัญหา ท่านต้องสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่ง แต่พื้นฐานที่แท้จริงอยู่ที่ประชาชน เพราะประชาชนแต่ละคนนั้น คือคนที่ Generate คนที่สร้างเศรษฐกิจที่แท้จริง ถ้าประชาชนอ่อนแอ ป่วยการที่ท่านจะมาถามว่า GDP กี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าประชาชนอ่อนด้อย ด้อยพัฒนา ขาดการศึกษา มันก็หมายความว่าอนาคตของประเทศไทยจะไม่สามารถแข่งขันได้ จุดเน้นจึงอยู่ที่ประชาชน
ตั้งแต่ที่รัฐบาลนี้ตั้งขึ้นมา นโยบายต่างๆ ก็เน้นไปที่เรื่องของการเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางทั้งสิ้น ทุกๆ นโยบาย จนบางครั้งเราทำไปจนกระทั่งเราถูกโจมตีว่าเราเน้นนโยบายประชานิยม เป็นรัฐบาลต้องรับใช้ประชาชน ก็ต้องประชานิยม แต่ประชานิยมที่เนื้อหา ที่แก่นสาร ไม่ใช่หลอกลวงพูดไปวันๆ วันนี้เราต้องยอมรับกันว่าภาคประชาชนของไทยยังอ่อนแอ ยังด้อยพัฒนา พวกท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งหลายท่านมองออกไปข้างหน้า ประชาชนยังยากจนอยู่มาก ถ้าเราไม่รีบแก้ไขปัญหา ยิ่งนานวันช่องว่างมันจะยิ่งกว้างขึ้น ถ้าช่องว่างกว้างขึ้น คนจนจนมากขึ้น คนรวยรวยมากขึ้น ไม่เพียงแต่ท่านจะไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ความขัดแย้งและช่องว่างในสังคมจะมีอยู่สูงมาก เราต้องมาแก้ไข ณ วันนี้
ท่านนายกจึงได้ประกาศว่านโยบายรัฐบาลไม่ได้อยู่ที่การเลือกตั้ง แต่นโยบายอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรจะเอาชนะความยากจน และถ้าหากจะเอาชนะความยากจนจริง ท่านต้องเรียนรู้จากอดีตที่ผ่านมา เราเป็นประชาธิปไตยมาแล้วกี่สิบปี เราพัฒนามาแล้วกี่ฉบับ ทำไมความยากจนถึงอยู่ยั่งยืนเป็นศัตรูถาวร เพราะอะไร? ถ้าเราตอบคำถามนี้ไม่ได้เราก็แก้ไขไม่ได้ เท่าที่เคยหารือกันมา เรารู้ว่าข้อแรกเลยที่เป็นอุปสรรคก็คือว่าเราไม่มีข้อมูล ใช้ข้อมูลทุติยภูมิแก้ปัญหาเหวี่ยงแหโดยที่ไม่รู้ว่าใครคือคนที่เราต้องการช่วยเหลือ และจะช่วยเหลืออย่างไร การแก้ไขปัญหาไม่ครบวงจร ไม่รู้เหตุของปัญหา แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือว่าการแก้ปัญหามันต้องแก้ปัญหาด้วยใจ ไม่ใช่ปากบอกว่าจะแก้ไขปัญหาความยากจน แต่จิตใจไม่มีพลังพอในการแก้ไขปัญหา เมื่อสั่งการไปแล้วก็ผักชีโรยหน้า ก็จะไม่มีทางเกิดผลได้เลย อีกทั้งในอดีตที่ผ่านมา ท่านมองลงไปในแต่ละพื้นที่ เราไม่มีจุดศูนย์กลางร่วมเลย กี่กระทรวง กี่ทบวงกรม ข้าราชการกี่ฝ่าย ต่างคนต่างทำ พลังมันไม่เกิด เมื่อพลังไม่เกิด ไม่มีข้อมูล ทำเฉพาะส่วน ต่างคนต่างทำ การแก้ไขปัญหาความยากจนก็เลยเป็นอย่างนี้ ฉะนั้นถ้าเราจะเข้าไปแก้ไขมัน ก็ต้องทำสวนทางกับในอดีต อย่าใช้วิธีการปกติ ต้องใช้วิธีการที่ไม่ปกติ
สิ่งที่นายกรัฐมนตรีสั่งการไปเรื่องข้อมูล บัดนี้เราได้ข้อมูลแล้ว พอเราเห็นข้อมูลเรารู้เลยว่ามันไม่ได้ย่ำแย่อย่างที่คิด ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะถ้าเราดูตัวเลขแล้ว คนที่มาจดทะเบียนต้องการความช่วยเหลือมีประมาณ 5,000,000 คน ใน 5,000,000 คน ประมาณ 1.4 ล้านคน ถ้าผมจำตัวเลขไม่ผิดก็คือกลุ่มคนซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นหนี้นอกระบบต้องการความช่วยเหลือ ซึ่ง Cover มูลหนี้ประมาณ 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ของมูลหนี้ แต่ถ้าเราเพิ่มจำนวนขึ้นมา คนที่เป็นหนี้นอกระบบมากขึ้นต่ำกว่า 200,000 บาทลงมา กลุ่มเหล่านี้ Cover หนี้ประมาณ 51% แปลว่าหนี้สินส่วนใหญ่นั้นเป็นหนี้รายย่อยต่ำกว่า 100,000 บาท ฉะนั้นถ้าเรา Focus ไปที่กลุ่มหนี้นอกระบบเสียก่อน ไปที่บรรดาลูกหนี้ทั้งหลายที่มีอยู่ แล้วจากตรงนั้นช่วยกันทำ ตรงนี้เราจะแก้ปัญหาได้
แต่การแก้ปัญหานั้นผมได้เรียนเพื่อนๆ ข้าราชการของกระทรวงผมแล้วว่าเราขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหลัก เป็นเสาหลักในพื้นที่ เพราะวันนี้ถ้าท่านมองออกไป องคาพยพทุกอย่างในการแก้ไขปัญหาความยากจนมีครบ ท่านมีกองทุนหมู่บ้าน ท่านมีธนาคารของรัฐ 3 - 4 ธนาคารแย่งกันที่จะช่วยเหลือ ท่านมีหน่วยงาน เฉพาะกระทรวงมหาดไทยอย่างกรมพัฒนาชุมชนเห็นชัดเจน ท่านมองออกไปกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ มีไม่รู้ตั้งกี่หน่วยงาน แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถปฏิบัติให้เกิดผลได้เลยถ้าไม่มีระบบการทำงานที่รวมศูนย์ ที่วิเคราะห์ ที่สั่งการ พลังมันไม่เกิด
ฉะนั้นครั้งนี้ผมจะขอความช่วยเหลือจากท่านอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ขอให้ท่านเป็นหลักในพื้นที่ มีคณะทำงานขึ้นมาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ประชาชน หน่วยงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงการคลัง สถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องจะมาช่วยท่าน แต่ขออย่างเดียวก็คือว่าท่านวิเคราะห์ ปรับโครงสร้างหนี้ และก็หาทางช่วยเหลือฟื้นฟูให้เขาสามารถยืนอยู่ได้อย่างยั่งยืน ดูสิว่าเขาจะทำอะไรกิน หาทางช่วยเหลือเขา สินเชื่อค่อยปล่อยออกไป บูรณาการเขา ผมได้กำชับแล้วว่า ธ.ก.ส. ออมสิน ธนาคาร SME 3 แบงก์นี้จะเป็นแบงก์หลัก ต่อจากนี้ไปไม่ใช่เฉพาะแค่ปล่อยสินเชื่อ แต่เขาจะมีโครงการที่เตรียมไว้แล้วที่จะเข้าไปช่วยเหลือประชาชน ฉะนั้นขอให้ท่านหารือกัน ขอให้บอก พวกเขาจะเข้าไปช่วย ฉะนั้นวันนี้กระทรวงการคลังไม่ใช่ทำเฉพาะเรื่องของเศรษฐกิจ แต่เรากำลังเน้นเรื่องการคลังเพื่อสังคม
ในขณะเดียวกันกระทรวงมหาดไทยในอดีตเน้นเรื่องสังคมเป็นหลักใหญ่เน้นเรื่องปกครอง วันนี้ท่านกำลัง Shift จากเรื่องปกครองมาสู่เรื่องเศรษฐกิจ ฉะนั้นการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย มาเป็น Matching ที่สมบูรณ์ มันก่อให้เกิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ก็ขอให้การร่วมมือครั้งนี้ไม่เพียงแต่ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือคนที่ยากจน แต่ขอให้เป็นมิติใหม่ของการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงทบวงกรม เพราะผมเชื่อว่าหน่วยงานที่มีอยู่ บุคลากรที่มีอยู่เพียงพอ ขาดเพียงการจัดการ ขาดเพียงการร่วมพลัง ฉะนั้นผมมาวันนี้เพียงเพื่อต้องการบอกว่าขอให้ทางผู้ว่าเป็นเสาหลักเสีย และขอให้หารือกับทีมงาน ทุกหน่วยงานจะให้ความร่วมมือเต็มที่ และผมเชื่อว่าเราจะทำงานได้สำเร็จ เราตั้งเป้าไว้ว่าหนี้นอกระบบจะให้จบภายในสิงหาคม อย่างช้าก็สิ้นปี
เราต้องพิสูจน์ให้ข้างนอกเห็นว่าเราทำได้ และผมเชื่อว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทำได้อยู่แล้ว ผมเคยร่วมมือกับท่านมาหลายงานแล้ว ไข้หวัดนกก็ทำได้ ตรวจข้าวก็ทำได้ มาครั้งนี้ผมเชื่อว่าเราทำได้แน่นอ
ผมจะไม่เสียเวลาท่านอีกแล้วนะครับ เพราะว่าอีกสักครู่หนึ่งหลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกล่าวแล้ว ท่านปลัดกระทรวงทั้งสองจะมาให้รายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ก็ขอขอบคุณทุกท่านครับ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง :
1. ข่าวกระทรวงการคลังฉบับที่ 37/2547
2. ภาพข่าวกระทรวงการคลัง วันที่ 10 พฤษภาคม 2547
กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
สุรีย์พร ชัยยะรุ่งสกุล : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ บุณยภูษิต : Edit
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง--