กรุงเทพ--18 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา ว่า ระหว่างวันที่
28 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2548 สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้นำคณะสื่อมวลชนจากรัฐเบงกอลตะวันตกเดินทางมาเยือน
ประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ในวันที่ 29 มิถุนายน 2548 คณะฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลกรุงเทพฯ โดยมีนาย Ralt Krewer ตำแหน่ง Marketing Manager ของ ( International Medical Center) และนายแพทย์ Shakti R. Paul ชาวบังกลาเทศ ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปการดำเนินงานของโรงพยาบาล และนำชมแผนกต่างๆ โดยเฉพาะศูนย์ผู้ป่วยนานาชาติ ภายในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสุขภาพสากลและจากกระทรวงสาธารณสุข ในวันเดียวกันคณะฯ ได้เยี่ยมชมโรงพยาบาลพญาไท 2 โดยมีนายแพทย์ สุรพงษ์ อำพันวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการโรงพยาบาลพญาไท และคณะนายแพทย์และผู้บริหารโรงพยาบาลนำเสนอข้อสนเทศการให้บริการด้านสุขภาพโดยเฉพาะผู้ป่วยต่างชาติที่มารับการบริการในโรงพยาบาล
วันที่ 30 มิถุนายน 2548 คณะฯ ได้เยี่ยมชมกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับการเสนอนโยบายส่งเสริมธุรกิจด้านสุขภาพและการศึกษานานาชาติในประเทศไทย โดยกระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ในการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชนในด้านการตลาดและทำ Road Show ในต่างประเทศ
ในวันเดียวกัน คณะฯ ได้เข้าพบนายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ นางขันธ์ทอง อูนากูล รองอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา และนายจักร บุญ-หลง รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการแลกเปลี่ยนทัศนะอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทยและการส่งเสริมการศึกษานานาชาติในประเทศไทย และใน
วันเดียวกันคณะฯ ได้เยี่ยมชมศูนย์รับสมัครนักศึกษามหาวิทยาลัย Webster University ซึ่งปัจจุบันมีนักศึกษาอินเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเมืองกัลกัตตาและรัฐเบงกอลตะวันตกที่กำลังศึกษาอยู่ประมาณ 30 คน
วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 คณะฯ ได้เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยศรีปทุม และเยี่ยมชมโรงเรียน Sikh International School ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ และวันที่ 2 กรกฎาคม 2548 คณะฯ ได้พบกับ
พ.ญ. ดร. ประภา วงศ์แพทย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน โดยนายกสมาคมฯ ได้บรรยายถึงภารกิจของสมาคมฯ ศักยภาพของโรงพยาบาลเอกชนไทย ตลอดจนนโยบายการรักษาสุขภาพของไทย ระบบ การประกันสุขภาพของรัฐ และเอกชน รวมทั้งโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคของทุกโรงพยาบาล
การนำคณะสื่อมวลชนจากรัฐเบงกอลตะวันตกเดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากสื่อมวลชนอินเดียได้รับรู้ข้อสนเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง โดยได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและทัศนะกับผู้บริหารของหน่วยงานดังกล่าว ทั้งยังได้สัมผัสกับสถานที่จริงซึ่งจะเป็นการช่วยให้ได้รับข้อมูล ที่ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและการศึกษานานาชาติของไทย ได้อย่างถูกต้อง
การบริการด้านการแพทย์ที่ทันสมัยสำหรับผู้ป่วยต่างชาติของโรงพยาบาลเอกชนไทย รวมทั้ง เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย บุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ส่งผลให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และพยาบาลในภูมิภาคนี้ได้ต่อไปขณะเดียวกันในด้านการศึกษานานาชาติ ทั้งการศึกษาในระดับต้นและระดับมหาวิทยาลัย ไทยมีโรงเรียนนานาชาติที่เปิดสอนทั้งระบบอังกฤษและอเมริกันจำนวนมากทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด และ ค่าเล่าเรียนอยู่ในอัตราพอสมควรหรือต่ำกว่าประเทศเจ้าของภาษา สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยนั้น สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยทั้งของรัฐและเอกชนเกือบทุกแห่งเปิดสอนภาคภาษาต่างประเทศด้วย บางแห่ง เปิดสอนจนถึงระดับปริญญาเอกในสาขาที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงสถาบันการศึกษาของต่างประเทศที่เข้ามาเปิดสอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่มีอยู่อีกหลายแห่ง ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์ทางการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เช่นกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา ว่า ระหว่างวันที่
28 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2548 สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้นำคณะสื่อมวลชนจากรัฐเบงกอลตะวันตกเดินทางมาเยือน
ประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ในวันที่ 29 มิถุนายน 2548 คณะฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลกรุงเทพฯ โดยมีนาย Ralt Krewer ตำแหน่ง Marketing Manager ของ ( International Medical Center) และนายแพทย์ Shakti R. Paul ชาวบังกลาเทศ ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปการดำเนินงานของโรงพยาบาล และนำชมแผนกต่างๆ โดยเฉพาะศูนย์ผู้ป่วยนานาชาติ ภายในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสุขภาพสากลและจากกระทรวงสาธารณสุข ในวันเดียวกันคณะฯ ได้เยี่ยมชมโรงพยาบาลพญาไท 2 โดยมีนายแพทย์ สุรพงษ์ อำพันวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการโรงพยาบาลพญาไท และคณะนายแพทย์และผู้บริหารโรงพยาบาลนำเสนอข้อสนเทศการให้บริการด้านสุขภาพโดยเฉพาะผู้ป่วยต่างชาติที่มารับการบริการในโรงพยาบาล
วันที่ 30 มิถุนายน 2548 คณะฯ ได้เยี่ยมชมกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับการเสนอนโยบายส่งเสริมธุรกิจด้านสุขภาพและการศึกษานานาชาติในประเทศไทย โดยกระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ในการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชนในด้านการตลาดและทำ Road Show ในต่างประเทศ
ในวันเดียวกัน คณะฯ ได้เข้าพบนายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ นางขันธ์ทอง อูนากูล รองอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา และนายจักร บุญ-หลง รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการแลกเปลี่ยนทัศนะอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทยและการส่งเสริมการศึกษานานาชาติในประเทศไทย และใน
วันเดียวกันคณะฯ ได้เยี่ยมชมศูนย์รับสมัครนักศึกษามหาวิทยาลัย Webster University ซึ่งปัจจุบันมีนักศึกษาอินเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเมืองกัลกัตตาและรัฐเบงกอลตะวันตกที่กำลังศึกษาอยู่ประมาณ 30 คน
วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 คณะฯ ได้เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยศรีปทุม และเยี่ยมชมโรงเรียน Sikh International School ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ และวันที่ 2 กรกฎาคม 2548 คณะฯ ได้พบกับ
พ.ญ. ดร. ประภา วงศ์แพทย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน โดยนายกสมาคมฯ ได้บรรยายถึงภารกิจของสมาคมฯ ศักยภาพของโรงพยาบาลเอกชนไทย ตลอดจนนโยบายการรักษาสุขภาพของไทย ระบบ การประกันสุขภาพของรัฐ และเอกชน รวมทั้งโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคของทุกโรงพยาบาล
การนำคณะสื่อมวลชนจากรัฐเบงกอลตะวันตกเดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากสื่อมวลชนอินเดียได้รับรู้ข้อสนเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง โดยได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและทัศนะกับผู้บริหารของหน่วยงานดังกล่าว ทั้งยังได้สัมผัสกับสถานที่จริงซึ่งจะเป็นการช่วยให้ได้รับข้อมูล ที่ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและการศึกษานานาชาติของไทย ได้อย่างถูกต้อง
การบริการด้านการแพทย์ที่ทันสมัยสำหรับผู้ป่วยต่างชาติของโรงพยาบาลเอกชนไทย รวมทั้ง เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย บุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ส่งผลให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และพยาบาลในภูมิภาคนี้ได้ต่อไปขณะเดียวกันในด้านการศึกษานานาชาติ ทั้งการศึกษาในระดับต้นและระดับมหาวิทยาลัย ไทยมีโรงเรียนนานาชาติที่เปิดสอนทั้งระบบอังกฤษและอเมริกันจำนวนมากทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด และ ค่าเล่าเรียนอยู่ในอัตราพอสมควรหรือต่ำกว่าประเทศเจ้าของภาษา สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยนั้น สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยทั้งของรัฐและเอกชนเกือบทุกแห่งเปิดสอนภาคภาษาต่างประเทศด้วย บางแห่ง เปิดสอนจนถึงระดับปริญญาเอกในสาขาที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงสถาบันการศึกษาของต่างประเทศที่เข้ามาเปิดสอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่มีอยู่อีกหลายแห่ง ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์ทางการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เช่นกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-