ปี 2546 ฐานะการคลังในภาคเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 99,054.3 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับที่ขาดดุล 105,930.8 ล้านบาท ในปีก่อน ตามการลดลงของรายจ่ายเพื่อการลงทุนเป็นสำคัญ
รายได้
การจัดเก็บรายได้นำส่งคลังจังหวัดในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 เป็น 14,576.3 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน ประกอบกับยังมีมาตรการปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ ส่งผลให้รายได้จากภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 เป็น 12,441.2 ล้านบาท เป็นการเพิ่มขึ้นของภาษีที่จัดเก็บจากรายได้และการบริโภค ได้แก่ ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่รายได้อื่นที่ไม่ใช่ภาษีลดลงร้อยละ 28.3 เหลือ 2,135.1 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นจาก (1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เป็นการเพิ่มขึ้นจากภาษีอื่นที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเงินฝาก เช่น เงินเดือนและค่าจ้างที่ขยายตัวตามภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น (2) ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 เนื่องจากผลประกอบการของภาคเศรษฐกิจ และ (3) ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ที่เพิ่มขึ้นตามการจัดเก็บจากการซื้อขายสินค้าและบริการเป็นสำคัญ
รายจ่าย
ปี 2546 มีการใช้จ่ายภาครัฐผ่านคลังจังหวัดและคลังอำเภอในภาคเหนือทั้งสิ้น 113,630.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 เทียบกับปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เป็น 118,956.6 ล้านบาท ตามการลดลงของรายจ่ายลงทุนของภาครัฐเป็นสำคัญ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น โดยการเบิกจ่ายงบประมาณที่เป็นรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.1 เป็น 78,566.3 ล้านบาท ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็น 78,499.8 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายลงทุนอยู่ในเกณฑ์หดตัวโดยลดลงร้อยละ 23.0 เหลือ 23,770.7 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.2 เหลือ 30,887.9 ล้านบาท ปีก่อน อย่างไรก็ตามรายจ่ายบางประเภทมีการเบิกจ่ายเหลื่อมปีมากขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน พิจารณาจากรายจ่ายงบประมาณปีก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 เป็น 11,293.6 ล้านบาท ทางด้านอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2546 เท่ากับร้อยละ 93.5 ลดลงจากร้อยละ 94.6 ของปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
รายได้
การจัดเก็บรายได้นำส่งคลังจังหวัดในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 เป็น 14,576.3 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน ประกอบกับยังมีมาตรการปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ ส่งผลให้รายได้จากภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 เป็น 12,441.2 ล้านบาท เป็นการเพิ่มขึ้นของภาษีที่จัดเก็บจากรายได้และการบริโภค ได้แก่ ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่รายได้อื่นที่ไม่ใช่ภาษีลดลงร้อยละ 28.3 เหลือ 2,135.1 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นจาก (1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เป็นการเพิ่มขึ้นจากภาษีอื่นที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเงินฝาก เช่น เงินเดือนและค่าจ้างที่ขยายตัวตามภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น (2) ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 เนื่องจากผลประกอบการของภาคเศรษฐกิจ และ (3) ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ที่เพิ่มขึ้นตามการจัดเก็บจากการซื้อขายสินค้าและบริการเป็นสำคัญ
รายจ่าย
ปี 2546 มีการใช้จ่ายภาครัฐผ่านคลังจังหวัดและคลังอำเภอในภาคเหนือทั้งสิ้น 113,630.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 เทียบกับปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เป็น 118,956.6 ล้านบาท ตามการลดลงของรายจ่ายลงทุนของภาครัฐเป็นสำคัญ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น โดยการเบิกจ่ายงบประมาณที่เป็นรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.1 เป็น 78,566.3 ล้านบาท ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็น 78,499.8 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายลงทุนอยู่ในเกณฑ์หดตัวโดยลดลงร้อยละ 23.0 เหลือ 23,770.7 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.2 เหลือ 30,887.9 ล้านบาท ปีก่อน อย่างไรก็ตามรายจ่ายบางประเภทมีการเบิกจ่ายเหลื่อมปีมากขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน พิจารณาจากรายจ่ายงบประมาณปีก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 เป็น 11,293.6 ล้านบาท ทางด้านอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2546 เท่ากับร้อยละ 93.5 ลดลงจากร้อยละ 94.6 ของปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--