การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอญัตติขอเลื่อนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาพิจารณาปัญหาความไม่สงบใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายวิทยา แก้วภราดัย เป็นผู้เสนอ โดยอาศัยข้อบังคับฯ ข้อ ๔๖ (๑) ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้นำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๗
จากนั้น ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม รวม ๒ เรื่อง
๒.๑ รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๑ ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งนางปวีณา หงสกุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒.๒ รับทราบเรื่องวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๑๙
เมษายน ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้พิจารณาเรื่องด่วนที่ ๑๓, ๑๖ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ ๔.๔, ๔.๕ ตามที่นายสุขุมพันธ์ โง่นคำ เสนอให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาตามลำดับดังนี้
๓.๑ พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วน ที่ ๑๓) ก่อนการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า วุฒิสภา มีมติแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ วุฒิสภาได้เพิ่มถ้อยคำว่า "และ" ในมาตรา ๗๑ (อนุมาตรา ๑) เป็นดังนี้ คือ "ให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ที่แบ่งทรัพย์สินชำระหนี้แก่เจ้าหน้าที่ ได้ขอรับชำระหนี้ไว้แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ทุจริต" ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของ วุฒิสภา ด้วยคะแนน ๒๘๓ เสียง จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๓.๒ พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาล
ล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๖) ก่อนการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า วุฒิสภามีมติแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยเฉพาะในมาตรา ๔ และ มาตรา ๒๖ เกี่ยวกับการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ขออนุญาตฎีกาไปได้ที่ศาลฎีกา ซึ่งวุฒิสภา มีเจตนาให้การพิจารณาคดีล้มละลายเกิดความคล่องตัว รวดเร็วขึ้น เพราะเป็นการพิจารณาคดีเพียง ๒ ศาลเท่านั้น คือศาลชั้นต้นและศาลฎีกา จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงอภิปรายการไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา พร้อมทั้งมีมติไม่เห็นด้วย ๒๘๕ เสียง จึงมีมติตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายปกิต พัฒนกุล
๒. นายพินิจ จันทรสุรินทร์
๓. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
๔. นายนพคุณ รัฐผไท
๕. นายเจริญ จรรย์โกมล
๖. นายวิชาญ มีนชัยนันท์
๗. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ
๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๙. นายโกเมศ ขวัญเมือง
๑๐. นายสุทัศน์ เงินหมื่น
๑๑. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
๑๒. นายประเชิญ ติยะปัญจนิตย์
๓.๓ ร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔) ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในหลายประเด็นดังนี้ คือ คณะกรรมการผู้มีอำนาจในการออกใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ การกำหนดเส้นทางการบริการ การจำกัดความอิสระในการรับผู้โดยสาร การกำหนดจุด ให้บริการ การกำหนดจำนวน (โควตา) รถจักรยานยนต์ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นการสร้างความเดือดร้อน ให้กับผู้ประกอบอาชีพนี้และผู้จะใช้บริการ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ด้วยคะแนน ๓๑๓ เสียง โดยที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ๒ ประเด็น ด้วยคะแนนเสียง ๓๒๕ เสียง คือ ควรให้มีการปรับปรุงบทบัญญัติให้เป็นหลักการทั่วไป ส่วนรายละเอียดให้ออกเป็นประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎกระทรวง เพื่อให้ง่ายสำหรับผู้ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ และควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง โดยประธานฯ จะส่งข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
๓.๔ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๕) ซึ่งไม่มีกรรมาธิการแปรญัตติและมีการแก้ไขเพิ่มเติม คือ มาตรา ๓๐๙ (ทวิ) โดยเพิ่มเติมคำว่า "และ" ให้เชื่อมวรรคแรกกับวรรค ๒ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายเดิมในมาตรา ๒๙๖ วรรค ๓ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเพิ่มถ้อยคำว่า
"จาก ๑ เป็น ๒" จากนั้นสมาชิกได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง ในหลายประเด็น คือ การงดบังคับคดี ควรคุ้มครองเจ้าหนี้กับลูกหนี้ให้เท่าเทียมกัน การเลื่อนการบังคับคดี ขั้นตอนการเสนอราคา การประมูลทรัพย์สิน การขายทอดตลาด การร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ภายหลังการอภิปรายที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนน ๓๐๘ เสียง
ปิดการประชุมเวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา
----------------------------------------------------
จากนั้น ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม รวม ๒ เรื่อง
๒.๑ รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๑ ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งนางปวีณา หงสกุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒.๒ รับทราบเรื่องวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๑๙
เมษายน ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้พิจารณาเรื่องด่วนที่ ๑๓, ๑๖ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ ๔.๔, ๔.๕ ตามที่นายสุขุมพันธ์ โง่นคำ เสนอให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาตามลำดับดังนี้
๓.๑ พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วน ที่ ๑๓) ก่อนการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า วุฒิสภา มีมติแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ วุฒิสภาได้เพิ่มถ้อยคำว่า "และ" ในมาตรา ๗๑ (อนุมาตรา ๑) เป็นดังนี้ คือ "ให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ที่แบ่งทรัพย์สินชำระหนี้แก่เจ้าหน้าที่ ได้ขอรับชำระหนี้ไว้แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ทุจริต" ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของ วุฒิสภา ด้วยคะแนน ๒๘๓ เสียง จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๓.๒ พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาล
ล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๖) ก่อนการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า วุฒิสภามีมติแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยเฉพาะในมาตรา ๔ และ มาตรา ๒๖ เกี่ยวกับการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ขออนุญาตฎีกาไปได้ที่ศาลฎีกา ซึ่งวุฒิสภา มีเจตนาให้การพิจารณาคดีล้มละลายเกิดความคล่องตัว รวดเร็วขึ้น เพราะเป็นการพิจารณาคดีเพียง ๒ ศาลเท่านั้น คือศาลชั้นต้นและศาลฎีกา จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงอภิปรายการไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา พร้อมทั้งมีมติไม่เห็นด้วย ๒๘๕ เสียง จึงมีมติตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายปกิต พัฒนกุล
๒. นายพินิจ จันทรสุรินทร์
๓. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
๔. นายนพคุณ รัฐผไท
๕. นายเจริญ จรรย์โกมล
๖. นายวิชาญ มีนชัยนันท์
๗. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ
๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๙. นายโกเมศ ขวัญเมือง
๑๐. นายสุทัศน์ เงินหมื่น
๑๑. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
๑๒. นายประเชิญ ติยะปัญจนิตย์
๓.๓ ร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔) ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในหลายประเด็นดังนี้ คือ คณะกรรมการผู้มีอำนาจในการออกใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ การกำหนดเส้นทางการบริการ การจำกัดความอิสระในการรับผู้โดยสาร การกำหนดจุด ให้บริการ การกำหนดจำนวน (โควตา) รถจักรยานยนต์ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นการสร้างความเดือดร้อน ให้กับผู้ประกอบอาชีพนี้และผู้จะใช้บริการ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ด้วยคะแนน ๓๑๓ เสียง โดยที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ๒ ประเด็น ด้วยคะแนนเสียง ๓๒๕ เสียง คือ ควรให้มีการปรับปรุงบทบัญญัติให้เป็นหลักการทั่วไป ส่วนรายละเอียดให้ออกเป็นประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎกระทรวง เพื่อให้ง่ายสำหรับผู้ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ และควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง โดยประธานฯ จะส่งข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
๓.๔ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๕) ซึ่งไม่มีกรรมาธิการแปรญัตติและมีการแก้ไขเพิ่มเติม คือ มาตรา ๓๐๙ (ทวิ) โดยเพิ่มเติมคำว่า "และ" ให้เชื่อมวรรคแรกกับวรรค ๒ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายเดิมในมาตรา ๒๙๖ วรรค ๓ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเพิ่มถ้อยคำว่า
"จาก ๑ เป็น ๒" จากนั้นสมาชิกได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง ในหลายประเด็น คือ การงดบังคับคดี ควรคุ้มครองเจ้าหนี้กับลูกหนี้ให้เท่าเทียมกัน การเลื่อนการบังคับคดี ขั้นตอนการเสนอราคา การประมูลทรัพย์สิน การขายทอดตลาด การร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ภายหลังการอภิปรายที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนน ๓๐๘ เสียง
ปิดการประชุมเวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา
----------------------------------------------------