แท็ก
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
อภิปรายไม่ไว้วางใจ
บัญญัติ บรรทัดฐาน
นิพนธ์ บุญญามณี
อุทัย พิมพ์ใจชน
สภาผู้แทนราษฎร
วันนี้ (13 พ.ค. 47) เวลา 10.20 น. อาคารรัฐสภา ฝ่ายค้านนำโดย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยสมาชิกพรรคฝ่ายค้าน อาทิ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นายนิพนธ์ บุญญามณี เป็นต้น เข้ายื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลต่อนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายในครั้งนี้จำนวน 8 คน ในข้อหาบริหารราชการแผ่นดินบกพร่อง ล้มเหลว ไร้ประสิทธิภาพ ขาดคุณธรรม จริยธรรม มุ่งประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากกว่าการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ ทั้งมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ จงใจกระทำผิดรัฐธรรมนูญและตัวบทกฏหมายหลายประการ หากปล่อยให้บริหารราชการแผ่นดินต่อไปจะเกิดความเสียหายแก่ราชการและบ้านเมืองไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งนี้มีสมาชิกพรรคฝ่ายค้านเข้าร่วมลงชื่อทั้งสิ้น 159 คน ประกอบด้วย สมาชิกจากพรรคประชาธิปัตย์ 127 คน พรรคชาติพัฒนา 30 คน พรรคความหวังใหม่ 1 คน และ พรรคมวลชน 1 คน
โดยรัฐมนตรีที่ถูกเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจมีรายนามดังต่อไปนี้
1. นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
2. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี
3. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี
4. ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองนายกรัฐมนตรี
5. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
6. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
7. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
8. นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ภายหลังการยื่นญัตตินายบัญญัติ บรรทัดฐาน ให้สัมภาษณ์ว่า ความตั้งใจในเบื้องต้นที่ไม่ต้องการให้มีรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายในจำนวนมากนั้น คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเมื่อพิจารณาจากข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องที่แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดบกพร่องมากมาย หากปล่อยไปก็ไม่ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ที่ดีของฝ่ายค้าน ทั้งนี้นายบัญญัติเห็นว่าจำนวนรัฐมนตรีที่จะถูกอภิปรายนั้นเป็นจำนวนที่ไม่มาก
‘โดยภาระการตรวจสอบของฝ่ายค้านเมื่อพบข้อเท็จจริงเช่นนี้ เราจะมามุ่งจำนวนให้น้อยอย่างเดียวแล้วก็ปล่อยให้คนที่กระทำความผิดลอยนวลไปคงไม่ได้ ผมคิดว่าคงไม่ใช่หน้าที่ ถ้าปล่อยคงเหมือนละเว้นปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหมือนกัน เลยต้องเพิ่มจำนวน’ นายบัญญัติกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การอภิปรายครั้งนี้หวังผลหรือไม่ ผู้นำฝ่ายค้านกล่าวว่า เมื่อถึงเวลายกมือเพื่อลงมติรัฐมนตรีก็จะผ่านความไว้วางใจไปได้ทุกครั้ง ถึงแม้ว่าฝ่ายค้านจะมีข้อมูลดีแค่ไหนก็ตาม ดังนั้นจึงหวังผลเพียงทำหน้าที่ในการตรวจสอบ และต้องการสะท้อนความเป็นจริงให้สังคมได้รับรู้
‘รัฐธรรมนูญมอบภารกิจให้พรรคฝ่ายค้านมีหน้าที่ในการตรวจสอบรัฐบาล เมื่อพบความจริงว่ารัฐบาลโดยรัฐมนตรีหลายคนทำผิดพลาด บกพร่อง สร้างความเสียหายมากจนสังคมรับรู้กันแล้ว ซึ่งในช่วงหลังๆจะเห็นได้ว่ามีการตรวจสอบรัฐบาลโดยคนนอกสภาฯมากขึ้น ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราซึ่งกลไกของระบบรัฐสภามอบภารกิจไว้ ก็ต้องทำตรงนั้นให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ขณะนี้ขนาดยังไม่ได้อภิปรายเลยนายกฯท่านก็ออกมาการันตีรับรองความถูกต้องให้ตั้งหลายท่านแล้ว เป็นเรื่องธรรมดา คงไม่ว่ากัน แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของสังคมที่จะต้องสนใจติดตามกันเอง เราจะสะท้อนความเป็นจริงให้สังคมและเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงได้รับรู้รับทราบว่าใครทำอะไรกันอย่างไร นี่คือภารกิจที่ต้องทำ’ ผู้นำฝ่ายค้านกล่าว
ส่วนกรณีที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่มีชื่อในการอภิปรายครั้งนี้ ทั้งที่เป็นผู้ที่เชื่อว่าน่าจะถูกฝ่ายค้านอภิปรายมากคนหนึ่ง จากกรณีโรคไข้หวัดนกระบาดนั้น นายบัญญัติให้เหตุผลว่า การอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรต้องใช้เอกสารหลักฐานข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในยุคนี้ที่จะหาข้อมูล ดังนั้นการจะอภิปรายปากเปล่าโดยไม่มีข้อมูลประกอบดูจะไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามเห็นว่าแม้จะไม่ได้อภิปราย แต่เมื่อสังคมรับรู้และพิพากษาไปแล้วก็ถือว่าจบไปขั้นหนึ่งแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี
ทั้งนี้นายบัญญัติยืนยันอีกครั้งว่า การอภิปรายครั้งนี้ไม่มีการล็อบบี้แน่นอน เป็นการทำตามหน้าที่และจะทำอย่างดีที่สุดตามข้อมูลและข้อเท็จจริงที่มี ‘สบายใจได้ครับ เรื่องล็อบบี้ เรื่องพยายามขอกัน เป็นเรื่องธรรมดา แต่พรรคประชาธิปัตย์ส่วนนี้ผมคิดว่ามั่นใจได้ แม้กระทั่งพรรคชาติพัฒนาก็ยืนยันได้ว่าข้อมูลคือข้อมูล หลักฐานคือหลักฐาน หน้าที่คือหน้าที่ ไม่เคยมีใครมาคุยกับผม’ นายบัญญัติกล่าว อย่างไรก็ตามมั่นใจว่าข้อมูลการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้จะดีกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากคณะทำงานมีความตั้งใจในการทำงานอย่างเต็มที่
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13/05/47--จบ--
-สส-
โดยรัฐมนตรีที่ถูกเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจมีรายนามดังต่อไปนี้
1. นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
2. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี
3. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี
4. ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองนายกรัฐมนตรี
5. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
6. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
7. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
8. นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ภายหลังการยื่นญัตตินายบัญญัติ บรรทัดฐาน ให้สัมภาษณ์ว่า ความตั้งใจในเบื้องต้นที่ไม่ต้องการให้มีรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายในจำนวนมากนั้น คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเมื่อพิจารณาจากข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องที่แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดบกพร่องมากมาย หากปล่อยไปก็ไม่ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ที่ดีของฝ่ายค้าน ทั้งนี้นายบัญญัติเห็นว่าจำนวนรัฐมนตรีที่จะถูกอภิปรายนั้นเป็นจำนวนที่ไม่มาก
‘โดยภาระการตรวจสอบของฝ่ายค้านเมื่อพบข้อเท็จจริงเช่นนี้ เราจะมามุ่งจำนวนให้น้อยอย่างเดียวแล้วก็ปล่อยให้คนที่กระทำความผิดลอยนวลไปคงไม่ได้ ผมคิดว่าคงไม่ใช่หน้าที่ ถ้าปล่อยคงเหมือนละเว้นปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหมือนกัน เลยต้องเพิ่มจำนวน’ นายบัญญัติกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การอภิปรายครั้งนี้หวังผลหรือไม่ ผู้นำฝ่ายค้านกล่าวว่า เมื่อถึงเวลายกมือเพื่อลงมติรัฐมนตรีก็จะผ่านความไว้วางใจไปได้ทุกครั้ง ถึงแม้ว่าฝ่ายค้านจะมีข้อมูลดีแค่ไหนก็ตาม ดังนั้นจึงหวังผลเพียงทำหน้าที่ในการตรวจสอบ และต้องการสะท้อนความเป็นจริงให้สังคมได้รับรู้
‘รัฐธรรมนูญมอบภารกิจให้พรรคฝ่ายค้านมีหน้าที่ในการตรวจสอบรัฐบาล เมื่อพบความจริงว่ารัฐบาลโดยรัฐมนตรีหลายคนทำผิดพลาด บกพร่อง สร้างความเสียหายมากจนสังคมรับรู้กันแล้ว ซึ่งในช่วงหลังๆจะเห็นได้ว่ามีการตรวจสอบรัฐบาลโดยคนนอกสภาฯมากขึ้น ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราซึ่งกลไกของระบบรัฐสภามอบภารกิจไว้ ก็ต้องทำตรงนั้นให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ขณะนี้ขนาดยังไม่ได้อภิปรายเลยนายกฯท่านก็ออกมาการันตีรับรองความถูกต้องให้ตั้งหลายท่านแล้ว เป็นเรื่องธรรมดา คงไม่ว่ากัน แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของสังคมที่จะต้องสนใจติดตามกันเอง เราจะสะท้อนความเป็นจริงให้สังคมและเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงได้รับรู้รับทราบว่าใครทำอะไรกันอย่างไร นี่คือภารกิจที่ต้องทำ’ ผู้นำฝ่ายค้านกล่าว
ส่วนกรณีที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่มีชื่อในการอภิปรายครั้งนี้ ทั้งที่เป็นผู้ที่เชื่อว่าน่าจะถูกฝ่ายค้านอภิปรายมากคนหนึ่ง จากกรณีโรคไข้หวัดนกระบาดนั้น นายบัญญัติให้เหตุผลว่า การอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรต้องใช้เอกสารหลักฐานข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในยุคนี้ที่จะหาข้อมูล ดังนั้นการจะอภิปรายปากเปล่าโดยไม่มีข้อมูลประกอบดูจะไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามเห็นว่าแม้จะไม่ได้อภิปราย แต่เมื่อสังคมรับรู้และพิพากษาไปแล้วก็ถือว่าจบไปขั้นหนึ่งแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี
ทั้งนี้นายบัญญัติยืนยันอีกครั้งว่า การอภิปรายครั้งนี้ไม่มีการล็อบบี้แน่นอน เป็นการทำตามหน้าที่และจะทำอย่างดีที่สุดตามข้อมูลและข้อเท็จจริงที่มี ‘สบายใจได้ครับ เรื่องล็อบบี้ เรื่องพยายามขอกัน เป็นเรื่องธรรมดา แต่พรรคประชาธิปัตย์ส่วนนี้ผมคิดว่ามั่นใจได้ แม้กระทั่งพรรคชาติพัฒนาก็ยืนยันได้ว่าข้อมูลคือข้อมูล หลักฐานคือหลักฐาน หน้าที่คือหน้าที่ ไม่เคยมีใครมาคุยกับผม’ นายบัญญัติกล่าว อย่างไรก็ตามมั่นใจว่าข้อมูลการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้จะดีกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากคณะทำงานมีความตั้งใจในการทำงานอย่างเต็มที่
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13/05/47--จบ--
-สส-