กรุงเทพ--17 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับสำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบที่กระทรวงการต่างประเทศ
ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นสักขีพยานใน พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านทุนระยะยาวระหว่างรัฐบาลไทยกับสำนัก
เลขาธิการแผนโคลัมโบ (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Colombo Plan Secretariat concerning the Thailand-Colombo Plan Long -Term Fellowship Programme) ระหว่างนายเปี่ยมศักดิ์ มิลินทจินดา อธิบดีกรมวิเทศสหการ และนายกิตติพันธ์
กาญจนพิพัฒน์กุล เลขาธิการแผนโคลัมโบ ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 เวลา 10.30 น. -11.00 น. ณ ห้องวิเทศสโมสร ส่วนที่ 3 กระทรวงการต่างประเทศ
ภูมิหลังความเป็นมาของการลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้มีดังนี้
1. แผนโคลัมโบก่อตั้งขึ้นในปี 2493 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิค โดยในปัจจุบันมีประเทศสมาชิกจำนวน 26 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน ออสเตรเลีย บังคลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา ฟิจิ อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ลาว มาเลเซีย
มองโกเลีย มัลดีฟส์ พม่า เนปาล นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย
สหรัฐอเมริกาและเวียดนาม
2. ในระยะเริ่มแรกของการดำเนินงานภายใต้แผนโคลัมโบประเทศที่พัฒนาแล้วได้พยายาม
หาแนวทางและรูปแบบที่จะช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย จึงได้ริเริ่มความร่วมมือแผนโคลัมโบ โดยมุ่งเน้นความช่วยเหลือซึ่งกัน ภายใต้ความร่วมมือแบบใต้-ใต้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างประเทศในภูมิภาคและสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ปัจจุบันแผนโคลัมโบได้ร่วมมือกับประเทศสมาชิก สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันและสร้างบทบาทในเชิงรุก เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากขึ้น
3. ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแผนโคลัมโบ ตั้งแต่ปี 2497 ซึ่งในระยะเวลา 50 ปี ที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือทางวิชาการภายใต้กรอบความร่วมมือแผนโคลัมโบโดยตลอด ปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายให้ไทยมีบทบาทนำในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งเปลี่ยนสถานะจากประเทศผู้รับไปเป็นประเทศผู้ให้ ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศในฐานะที่เป็นตัวแทนรัฐบาลในการดำเนินความร่วมมือกับต่างประเทศ ตลอดจนเป็น National Focal Point ของไทยในการดำเนินความร่วมมือกับแผนโคลัมโบ จึงได้ปรับเปลี่ยน แนวทางการดำเนินงานให้เป็นเชิงรุกตามนโยบายของรัฐบาล โดยได้เพิ่มบทบาทของประเทศไทยในเวที ความร่วมมือระหว่างประเทศในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น ได้มีการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบในลักษณะหุ้นส่วนโดยเฉพาะในเรื่องทุน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือกับประเทศสมาชิกแผนโคลัมโบในด้านทุนฝึกอบรมอยู่แล้วภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการทวิภาคี อย่างไรก็ดี ความร่วมมือดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมประเทศสมาชิกทุกประเทศ
4. ดังนั้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกแผน โคลัมโบ 50 ปี ในปี 2547 กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมวิเทศสหการจึงได้ทำความตกลงกับสำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบในความร่วมมือทางวิชาการลักษณะหุ้นส่วน โดยความร่วมมือดังกล่าวจะครอบคลุมประเทศสมาชิกทุกประเทศและจะเป็นการรื้อฟื้นการให้ความร่วมมือในเรื่องทุนปริญญาโทขึ้นใหม่ ซึ่งเดิม สำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบเคยร่วมมือกับประเทศแหล่งผู้ให้รายใหญ่ให้ทุนระดับปริญญาโทแก่ประเทศสมาชิก แต่ปัจจุบันลดน้อยลงไป โดยความร่วมมือทางวิชาการในลักษณะหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับ สำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบดังกล่าวในระยะแรกจะเป็นความร่วมมือทุนปริญญาโทในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศสมาชิก นอกจากนี้ รัฐบาลไทยและสำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบจะมีความร่วมมือด้านทุนฝึกอบรมระยะสั้นภายใต้กรอบหุ้นส่วนในสาขาต่างๆ อีกจำนวนมากด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมวิเทศสหการและสำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบจึงเห็นชอบที่จะลงนามร่วมกันในการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านทุนระยะยาวระหว่างรัฐบาลไทยกับสำนักเลขาธิการดังกล่าว ซึ่งการดำเนินงานโครงการนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อประเทศสมาชิกแผนโคลัมโบ
ทุกประเทศในแง่ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแก่ประเทศไทยในแง่ของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันการศึกษาในเวทีวิชาการระหว่างประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับสำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบที่กระทรวงการต่างประเทศ
ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นสักขีพยานใน พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านทุนระยะยาวระหว่างรัฐบาลไทยกับสำนัก
เลขาธิการแผนโคลัมโบ (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Colombo Plan Secretariat concerning the Thailand-Colombo Plan Long -Term Fellowship Programme) ระหว่างนายเปี่ยมศักดิ์ มิลินทจินดา อธิบดีกรมวิเทศสหการ และนายกิตติพันธ์
กาญจนพิพัฒน์กุล เลขาธิการแผนโคลัมโบ ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 เวลา 10.30 น. -11.00 น. ณ ห้องวิเทศสโมสร ส่วนที่ 3 กระทรวงการต่างประเทศ
ภูมิหลังความเป็นมาของการลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้มีดังนี้
1. แผนโคลัมโบก่อตั้งขึ้นในปี 2493 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิค โดยในปัจจุบันมีประเทศสมาชิกจำนวน 26 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน ออสเตรเลีย บังคลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา ฟิจิ อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ลาว มาเลเซีย
มองโกเลีย มัลดีฟส์ พม่า เนปาล นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย
สหรัฐอเมริกาและเวียดนาม
2. ในระยะเริ่มแรกของการดำเนินงานภายใต้แผนโคลัมโบประเทศที่พัฒนาแล้วได้พยายาม
หาแนวทางและรูปแบบที่จะช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย จึงได้ริเริ่มความร่วมมือแผนโคลัมโบ โดยมุ่งเน้นความช่วยเหลือซึ่งกัน ภายใต้ความร่วมมือแบบใต้-ใต้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างประเทศในภูมิภาคและสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ปัจจุบันแผนโคลัมโบได้ร่วมมือกับประเทศสมาชิก สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันและสร้างบทบาทในเชิงรุก เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากขึ้น
3. ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแผนโคลัมโบ ตั้งแต่ปี 2497 ซึ่งในระยะเวลา 50 ปี ที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือทางวิชาการภายใต้กรอบความร่วมมือแผนโคลัมโบโดยตลอด ปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายให้ไทยมีบทบาทนำในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งเปลี่ยนสถานะจากประเทศผู้รับไปเป็นประเทศผู้ให้ ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศในฐานะที่เป็นตัวแทนรัฐบาลในการดำเนินความร่วมมือกับต่างประเทศ ตลอดจนเป็น National Focal Point ของไทยในการดำเนินความร่วมมือกับแผนโคลัมโบ จึงได้ปรับเปลี่ยน แนวทางการดำเนินงานให้เป็นเชิงรุกตามนโยบายของรัฐบาล โดยได้เพิ่มบทบาทของประเทศไทยในเวที ความร่วมมือระหว่างประเทศในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น ได้มีการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบในลักษณะหุ้นส่วนโดยเฉพาะในเรื่องทุน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือกับประเทศสมาชิกแผนโคลัมโบในด้านทุนฝึกอบรมอยู่แล้วภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการทวิภาคี อย่างไรก็ดี ความร่วมมือดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมประเทศสมาชิกทุกประเทศ
4. ดังนั้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกแผน โคลัมโบ 50 ปี ในปี 2547 กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมวิเทศสหการจึงได้ทำความตกลงกับสำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบในความร่วมมือทางวิชาการลักษณะหุ้นส่วน โดยความร่วมมือดังกล่าวจะครอบคลุมประเทศสมาชิกทุกประเทศและจะเป็นการรื้อฟื้นการให้ความร่วมมือในเรื่องทุนปริญญาโทขึ้นใหม่ ซึ่งเดิม สำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบเคยร่วมมือกับประเทศแหล่งผู้ให้รายใหญ่ให้ทุนระดับปริญญาโทแก่ประเทศสมาชิก แต่ปัจจุบันลดน้อยลงไป โดยความร่วมมือทางวิชาการในลักษณะหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับ สำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบดังกล่าวในระยะแรกจะเป็นความร่วมมือทุนปริญญาโทในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศสมาชิก นอกจากนี้ รัฐบาลไทยและสำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบจะมีความร่วมมือด้านทุนฝึกอบรมระยะสั้นภายใต้กรอบหุ้นส่วนในสาขาต่างๆ อีกจำนวนมากด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมวิเทศสหการและสำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบจึงเห็นชอบที่จะลงนามร่วมกันในการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านทุนระยะยาวระหว่างรัฐบาลไทยกับสำนักเลขาธิการดังกล่าว ซึ่งการดำเนินงานโครงการนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อประเทศสมาชิกแผนโคลัมโบ
ทุกประเทศในแง่ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแก่ประเทศไทยในแง่ของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันการศึกษาในเวทีวิชาการระหว่างประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-