ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์มีความพร้อมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้าแล้ว โดยคณะผู้อภิปรายได้มีการซักซ้อมและตรวจสอบข้อมูลต่างๆอีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะนำข้อมูลและหลักฐานต่างๆมาแสดงให้ประชาชนรวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เห็นว่ารัฐมนตรีที่ถูกยื่นอภิปรายทั้ง 8 คน ไม่สมควรได้รับความไว้วางใจให้บริหารราชการแผ่นดินต่อไป พร้อมทั้งยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยอย่างดีที่สุด เพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชน และประเทศชาติ เพราะพรรคฯ ถือว่าการตรวจสอบคือ หัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า พรรคฯได้กำหนดแนวทางในการอภิปรายฯไว้ 7 แนวทาง คือ
จะอภิปรายโดยยึดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเป็นหลัก
จะปฏิบัติตามข้อบังคับของการประชุมสภาผู้แทนราษฎรอย่างเคร่งครัด
จะอภิปรายตามข้อมูลและพยานหลักฐานต่างๆที่รวบรวมมาได้ ประกอบกับสภาพแวดล้อมในการอภิปราย
จะใช้ผู้อภิปรายเฉลี่ย 2 คน ต่อ 1 รัฐมนตรี ทั้งนี้อาจจะใช้ผู้อภิปรายมากกว่า 2 คน กรณีเรื่องที่อภิปรายมีความซับซ้อนและเข้าใจยาก ผู้อภิปรายแต่ละคนจะใช้เวลาในการอภิปรายฯ ประมาณ 30 — 45 นาที
จะไม่อภิปรายพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 โดยไม่จำเป็น เว้นแต่ บุคคลที่ 3 นั้นมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาหรือประเด็นที่นำมาอภิปราย จะไม่อภิปรายเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ นายองอาจกล่าวว่า ทุกครั้งที่มีการอภิปรายรัฐบาลพยายามที่จะเบี่ยงเบนประเด็นและลดความน่าเชื่อถือของฝ่ายค้าน ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นพฤติกรรมที่เลวร้ายทางการเมือง และไม่ควรเกิดขึ้นในยุคปฏิรูปการเมืองใหม่ ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลห้ามปรามและยุติผู้ที่กระทำการดังกล่าว ‘รัฐบาลไม่ควรใช้กลไกอำนาจรัฐโดยไม่ถูกต้อง ในการทำลายล้างคู่แข่งขันทางการเมือง โดยเฉพาะในเวลาที่พรรคฝ่ายค้านกำลังจะทำหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตยในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ การพยายามที่จะเคลื่อนไหวและดำเนินการต่างๆกับแกนนำหรือผู้อภิปรายของพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงนี้ ถือเป็นการสร้างเงื่อนไขให้พรรคฯขาดความน่าเชื่อถือ เท่ากับเป็นการเล่นการเมืองนอกรูปแบบของรัฐบาล ซึ่งขัดกับสิ่งที่นายกฯขึ้นป้ายว่าไม่สนใจที่จะเล่นการเมือง’ นายองอาจกล่าว
ทั้งนี้โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในระหว่างการอภิปรายหลายครั้งที่ผ่านมา พบว่ารัฐบาลจะดำเนินการที่ทำให้เกิดปัญหาเป็นอย่างมาก ซึ่งกระทบต่อการอภิปรายของฝ่ายค้าน ดังนั้นจึงเสนอสิ่งที่รัฐบาลไม่ควรกระทำในการอภิปรายครั้งนี้ คือ รัฐมนตรีควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น ไม่ควรชี้แจงเยิ่นเย้อ และไม่ควรชี้แจงในลักษณะถ่วงเวลา รัฐมนตรีไม่ควรตอบชี้แจงพาดพิงถึงบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการอภิปราย และรัฐบาลไม่ควรตั้งองครักษ์พิทักษ์รัฐมนตรีขึ้นมาเพื่อปั่นปวนการอภิปราย อย่างไรก็ตามหากการอภิปรายครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยก็คาดว่าจะมีการลงมติได้ในวันเสาร์ที่ 22 พ.ค. 2547
ส่วนกรณีการลาออกของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์นั้น นายองอาจกล่าวว่า คงไม่มีผลกระทบต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่อาจจะมีผลกระทบต่อการเตรียมการเลือกตั้งที่ พล.ต.สนั่น เป็นประธานบ้าง แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเมื่อมีการพูดคุยทำความเข้าใจกันแล้ว พล.ต.สนั่นจะกลับมาทำงานที่พรรคประชาธิปัตย์ตามเดิม เพราะมีความผูกพันและช่วยเหลือพรรคฯมานาน นอกจากนี้พล.ต.สนั่นถือเป็นบุคคลที่มีคุณค่าต่อพรรคฯอีกคนหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตามนายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคฯ จะนำเรื่องนี้เข้าหารือในการประชุมคณะผู้บริหารและ ส.ส. ของพรรคฯ ในวันอังคารที่ 18 พ.ค. 47 นี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17/05/47--จบ--
-สส-
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า พรรคฯได้กำหนดแนวทางในการอภิปรายฯไว้ 7 แนวทาง คือ
จะอภิปรายโดยยึดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเป็นหลัก
จะปฏิบัติตามข้อบังคับของการประชุมสภาผู้แทนราษฎรอย่างเคร่งครัด
จะอภิปรายตามข้อมูลและพยานหลักฐานต่างๆที่รวบรวมมาได้ ประกอบกับสภาพแวดล้อมในการอภิปราย
จะใช้ผู้อภิปรายเฉลี่ย 2 คน ต่อ 1 รัฐมนตรี ทั้งนี้อาจจะใช้ผู้อภิปรายมากกว่า 2 คน กรณีเรื่องที่อภิปรายมีความซับซ้อนและเข้าใจยาก ผู้อภิปรายแต่ละคนจะใช้เวลาในการอภิปรายฯ ประมาณ 30 — 45 นาที
จะไม่อภิปรายพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 โดยไม่จำเป็น เว้นแต่ บุคคลที่ 3 นั้นมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาหรือประเด็นที่นำมาอภิปราย จะไม่อภิปรายเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ นายองอาจกล่าวว่า ทุกครั้งที่มีการอภิปรายรัฐบาลพยายามที่จะเบี่ยงเบนประเด็นและลดความน่าเชื่อถือของฝ่ายค้าน ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นพฤติกรรมที่เลวร้ายทางการเมือง และไม่ควรเกิดขึ้นในยุคปฏิรูปการเมืองใหม่ ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลห้ามปรามและยุติผู้ที่กระทำการดังกล่าว ‘รัฐบาลไม่ควรใช้กลไกอำนาจรัฐโดยไม่ถูกต้อง ในการทำลายล้างคู่แข่งขันทางการเมือง โดยเฉพาะในเวลาที่พรรคฝ่ายค้านกำลังจะทำหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตยในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ การพยายามที่จะเคลื่อนไหวและดำเนินการต่างๆกับแกนนำหรือผู้อภิปรายของพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงนี้ ถือเป็นการสร้างเงื่อนไขให้พรรคฯขาดความน่าเชื่อถือ เท่ากับเป็นการเล่นการเมืองนอกรูปแบบของรัฐบาล ซึ่งขัดกับสิ่งที่นายกฯขึ้นป้ายว่าไม่สนใจที่จะเล่นการเมือง’ นายองอาจกล่าว
ทั้งนี้โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในระหว่างการอภิปรายหลายครั้งที่ผ่านมา พบว่ารัฐบาลจะดำเนินการที่ทำให้เกิดปัญหาเป็นอย่างมาก ซึ่งกระทบต่อการอภิปรายของฝ่ายค้าน ดังนั้นจึงเสนอสิ่งที่รัฐบาลไม่ควรกระทำในการอภิปรายครั้งนี้ คือ รัฐมนตรีควรตอบคำถามให้ตรงประเด็น ไม่ควรชี้แจงเยิ่นเย้อ และไม่ควรชี้แจงในลักษณะถ่วงเวลา รัฐมนตรีไม่ควรตอบชี้แจงพาดพิงถึงบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการอภิปราย และรัฐบาลไม่ควรตั้งองครักษ์พิทักษ์รัฐมนตรีขึ้นมาเพื่อปั่นปวนการอภิปราย อย่างไรก็ตามหากการอภิปรายครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยก็คาดว่าจะมีการลงมติได้ในวันเสาร์ที่ 22 พ.ค. 2547
ส่วนกรณีการลาออกของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์นั้น นายองอาจกล่าวว่า คงไม่มีผลกระทบต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่อาจจะมีผลกระทบต่อการเตรียมการเลือกตั้งที่ พล.ต.สนั่น เป็นประธานบ้าง แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเมื่อมีการพูดคุยทำความเข้าใจกันแล้ว พล.ต.สนั่นจะกลับมาทำงานที่พรรคประชาธิปัตย์ตามเดิม เพราะมีความผูกพันและช่วยเหลือพรรคฯมานาน นอกจากนี้พล.ต.สนั่นถือเป็นบุคคลที่มีคุณค่าต่อพรรคฯอีกคนหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตามนายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคฯ จะนำเรื่องนี้เข้าหารือในการประชุมคณะผู้บริหารและ ส.ส. ของพรรคฯ ในวันอังคารที่ 18 พ.ค. 47 นี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17/05/47--จบ--
-สส-