บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประกาศสภาผู้แทนราษฎรลงวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เรื่องให้นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา ลำดับที่ ๑๗ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน นางปวีณา หงสกุล
ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๑๑๘ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำ
นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๗
ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบัน
อุดมศึกษา พ.ศ. ….
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่
๒๗ เมษายน ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. ….
๔. ที่ประชุมวุฒิสภาครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๗
ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๔ จำนวน ๔ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
นับแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
(๒) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. …. นับแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
(๓) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. …. นับแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
(๔) ร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ พ.ศ. ….
นับแต่วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗
๕. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๑ ฉบับ
คือ ร่างพระราชบัญญัติอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. …. ซึ่ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และนายจุติ ไกรฤกษ์ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๘ และ ๑๙
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาส
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๘)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้แถลงหลักการและเหตุผลแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
และเนื่องจากที่ประชุมได้มีมติอนุมัติให้พิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาตามที่
สมาชิกฯ เสนอ ที่ประชุมจึงได้พิจารณาในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง
และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. …. ซึ่งวุฒิสภา
ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๑๙)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีสมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญและวุฒิสภาก็ได้ลงมติเห็นชอบด้วยแล้ว
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมา
พิจารณาก่อนลำดับที่ ๑)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี)
ได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวันชัย ศารทูลทัต ๒. นายสมพร ไพสิน
๓. นายสมศักดิ์ ห่มม่วง ๔. นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์
๕. นายโกวิท กุวานนท์ ๖. นายโสภณ เพชรสว่าง
๗. นายมงคล กิมสูนจันทร์ ๘. นายวิทยา บุรณศิริ
๙. นายเสถียร วงษ์วิเชียร ๑๐. นายวิทยา บัณฑิตกฤษดา
๑๑. นายมงคล สิมะโรจน์ ๑๒. นายอิทธิเดช แก้วหลวง
๑๓. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง ๑๔. นายเจริญ จรรย์โกมล
๑๕. พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ ๑๖. นายสมัคร เจียมบุรเศรษฐ์
๑๗. นายจำรัส เวียงสงค์ ๑๘. นายสอนชัย สิราริยกุล
๑๙. นายประเสริฐศิริ สุขะวัธนกุล ๒๐. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๒๑. นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ๒๒. นายวัฒนา สวัสดิ์ทอง
๒๓. นายลิขิต เพชรสว่าง ๒๔. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร
๒๕. นายไพร พัฒโน ๒๖. นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ
๒๗. นายปัญญา จีนาคำ ๒๘. นายเจือ ราชสีห์
๒๙. นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ๓๐. นายอาคม เอ่งฉ้วน
๓๑. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๓๒. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ
๓๓. นายบุญเดช มีวงศ์อุโฆษ ๓๔. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์
๓๕. นายสาธิต อุไรเวโรจนกร
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมา
พิจารณาก่อนลำดับที่ ๒) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนอง
เดียวกันอีก ๕ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
ซึ่ง นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๑)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
ซึ่ง นายประกอบ รัตนพันธ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๒)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
พ.ศ. …. ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก และนายพงษ์พิช รุ่งเป้า เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๓)
(๔) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
พ.ศ. …. ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑)
(๕) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
พ.ศ. …. ซึ่ง นายตรีพล เจาะจิตต์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๓)
แต่เนื่องจากผู้เสนอได้ขอถอนร่างพระราชบัญญัติในลำดับที่ ๒
ออกจากระเบียบวาระการประชุม ซึ่งที่ประชุมยินยอมให้ถอนได้ ตามข้อบังคับฯ
ข้อ ๕๓
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เสนอได้แถลง
หลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๕ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสุธรรม แสงประทุม ๒. นายสฤต สันติเมทนีดล
๓. นายนำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ ๔. นางจริยา หาสิตพานิชกุล
๕. นายวราสิทธิ์ กาญจนสูตร ๖. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๗. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์ ๘. นายพ้อง ชีวานันท์
๙. นายสมภพ เพชรรัตน์ ๑๐. นายจำลอง วสุสิริกุล
๑๑. นายพรชัย อรรถปรียางกูร ๑๒. นายสุรพล เกียรติไชยากร
๑๓. นายเกรียงไกร ไชยมงคล ๑๔. นายชวลิต มหาจันทร์
๑๕. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ๑๖. นายธีระยุทธ วานิชชัง
๑๗. นายสงกรานต์ คำพิไสย์ ๑๘. นายกิตติพงษ์ เทียมสุวรรณ
๑๙. นายธเนศ เครือรัตน์ ๒๐. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๒๑. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ๒๒. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ
๒๓. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๒๔. นายตรีพล เจาะจิตต์
๒๕. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๒๖. นางนิภา พริ้งศุลกะ
๒๗. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๒๘. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
๒๙. นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ๓๐. นายเจือ ราชสีห์
๓๑. นายเอกพจน์ ปานแย้ม ๓๒. นายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง
๓๓. นายอานนท์ เที่ยงตรง ๓๔. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
๓๕. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระที่ ๔.๓
ระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒, ๑๔, ๑๕, ๑๖ และระเบียบวาระที่ ๔.๔ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระการประชุมตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง ที่ประชุมได้ลงมติ
เห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติ
ไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคล
ที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน
๒๔ คน และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายปกิต พัฒนกุล ๒. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
๓. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ ๔. นายวิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง
๕. นายจตุพร เจริญเชื้อ ๖. นายสุชาติ บรรดาศักดิ์
๗. นายอิทธิเดช แก้วหลวง ๘. นายจุติ ไกรฤกษ์
๙. นายเชน เทือกสุบรรณ ๑๐. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๑๑. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ๑๒. นายสมศักดิ์ พันธ์เกษม
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๑๔)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ๒. นายดล บุนนาค
๓. พันตำรวจโท พงษ์ธร ธัญญสิริ ๔. นายพรชัย อัศววัฒนาพร
๕. นายวรรณชัย บุญบำรุง ๖. นาวาโท เดชา สุขารมณ์
๗. พลตรี ศรชัย มนตริวัต ๘. นายสันทัด จีนาภักดิ์
๙. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๑๐. นายนพดล อินนา
๑๑. นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน ๑๒. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
๑๓. นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ ๑๔. นายอนุสรณ์ ปั้นทอง
๑๕. เรืออากาศโท อุดม ประสิทธิ์ ๑๖. นายจำลอง วสุสิริกุล
๑๗. นายสุรชัย พันธุมาศ ๑๘. นายนพดล มีวรรณะ
๑๙. นางสาววรวรรณ ปลั่งศรีสกุล ๒๐. นายบัณฑิต สังขนันท์
๒๑. นายชัยพร ธนถาวรลาภ ๒๒. นายณรงค์ศักดิ์ วงศ์สังวาลย์
๒๓. นายอังคาร ดวงตาเวียง ๒๔. นายเรวัต สิรินุกุล
๒๕. นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร ๒๖. นายโกเมศ ขวัญเมือง
๒๗. นายวิทยา แก้วภราดัย ๒๘. นายประชา โพธิพิพิธ
๒๙. นายสุเมธ โพธิพิพิธ ๓๐. นายจักรวาล ท้วมเจริญ
๓๑. นายสหรัฐ กุลศรี ๓๒. นายปิลันธน์ จิตต์ธรรม
๓๓. นายวิพัฒน์ คงมาลัย ๓๔. นายสมศักดิ์ โสมกลาง
๓๕. นายสุชาติ ศรีสังข์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๓๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ….
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรี และสมาชิกฯ เสนอรวม ๕ ฉบับ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
พ.ศ. ….
ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
************************************
ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประกาศสภาผู้แทนราษฎรลงวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เรื่องให้นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา ลำดับที่ ๑๗ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน นางปวีณา หงสกุล
ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๑๑๘ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำ
นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๗
ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบัน
อุดมศึกษา พ.ศ. ….
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่
๒๗ เมษายน ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. ….
๔. ที่ประชุมวุฒิสภาครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๗
ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๔ จำนวน ๔ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
นับแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
(๒) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. …. นับแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
(๓) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. …. นับแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
(๔) ร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ พ.ศ. ….
นับแต่วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗
๕. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๑ ฉบับ
คือ ร่างพระราชบัญญัติอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. …. ซึ่ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และนายจุติ ไกรฤกษ์ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๘ และ ๑๙
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาส
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๘)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้แถลงหลักการและเหตุผลแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
และเนื่องจากที่ประชุมได้มีมติอนุมัติให้พิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาตามที่
สมาชิกฯ เสนอ ที่ประชุมจึงได้พิจารณาในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง
และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. …. ซึ่งวุฒิสภา
ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๑๙)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีสมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญและวุฒิสภาก็ได้ลงมติเห็นชอบด้วยแล้ว
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมา
พิจารณาก่อนลำดับที่ ๑)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี)
ได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวันชัย ศารทูลทัต ๒. นายสมพร ไพสิน
๓. นายสมศักดิ์ ห่มม่วง ๔. นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์
๕. นายโกวิท กุวานนท์ ๖. นายโสภณ เพชรสว่าง
๗. นายมงคล กิมสูนจันทร์ ๘. นายวิทยา บุรณศิริ
๙. นายเสถียร วงษ์วิเชียร ๑๐. นายวิทยา บัณฑิตกฤษดา
๑๑. นายมงคล สิมะโรจน์ ๑๒. นายอิทธิเดช แก้วหลวง
๑๓. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง ๑๔. นายเจริญ จรรย์โกมล
๑๕. พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ ๑๖. นายสมัคร เจียมบุรเศรษฐ์
๑๗. นายจำรัส เวียงสงค์ ๑๘. นายสอนชัย สิราริยกุล
๑๙. นายประเสริฐศิริ สุขะวัธนกุล ๒๐. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๒๑. นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ๒๒. นายวัฒนา สวัสดิ์ทอง
๒๓. นายลิขิต เพชรสว่าง ๒๔. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร
๒๕. นายไพร พัฒโน ๒๖. นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ
๒๗. นายปัญญา จีนาคำ ๒๘. นายเจือ ราชสีห์
๒๙. นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ๓๐. นายอาคม เอ่งฉ้วน
๓๑. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๓๒. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ
๓๓. นายบุญเดช มีวงศ์อุโฆษ ๓๔. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์
๓๕. นายสาธิต อุไรเวโรจนกร
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมา
พิจารณาก่อนลำดับที่ ๒) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนอง
เดียวกันอีก ๕ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
ซึ่ง นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๑)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
ซึ่ง นายประกอบ รัตนพันธ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๒)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
พ.ศ. …. ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก และนายพงษ์พิช รุ่งเป้า เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๓)
(๔) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
พ.ศ. …. ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑)
(๕) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
พ.ศ. …. ซึ่ง นายตรีพล เจาะจิตต์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๓)
แต่เนื่องจากผู้เสนอได้ขอถอนร่างพระราชบัญญัติในลำดับที่ ๒
ออกจากระเบียบวาระการประชุม ซึ่งที่ประชุมยินยอมให้ถอนได้ ตามข้อบังคับฯ
ข้อ ๕๓
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เสนอได้แถลง
หลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๕ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสุธรรม แสงประทุม ๒. นายสฤต สันติเมทนีดล
๓. นายนำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ ๔. นางจริยา หาสิตพานิชกุล
๕. นายวราสิทธิ์ กาญจนสูตร ๖. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๗. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์ ๘. นายพ้อง ชีวานันท์
๙. นายสมภพ เพชรรัตน์ ๑๐. นายจำลอง วสุสิริกุล
๑๑. นายพรชัย อรรถปรียางกูร ๑๒. นายสุรพล เกียรติไชยากร
๑๓. นายเกรียงไกร ไชยมงคล ๑๔. นายชวลิต มหาจันทร์
๑๕. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ๑๖. นายธีระยุทธ วานิชชัง
๑๗. นายสงกรานต์ คำพิไสย์ ๑๘. นายกิตติพงษ์ เทียมสุวรรณ
๑๙. นายธเนศ เครือรัตน์ ๒๐. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๒๑. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ๒๒. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ
๒๓. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๒๔. นายตรีพล เจาะจิตต์
๒๕. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๒๖. นางนิภา พริ้งศุลกะ
๒๗. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๒๘. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
๒๙. นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ๓๐. นายเจือ ราชสีห์
๓๑. นายเอกพจน์ ปานแย้ม ๓๒. นายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง
๓๓. นายอานนท์ เที่ยงตรง ๓๔. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
๓๕. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระที่ ๔.๓
ระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒, ๑๔, ๑๕, ๑๖ และระเบียบวาระที่ ๔.๔ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระการประชุมตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง ที่ประชุมได้ลงมติ
เห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติ
ไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคล
ที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน
๒๔ คน และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายปกิต พัฒนกุล ๒. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
๓. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ ๔. นายวิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง
๕. นายจตุพร เจริญเชื้อ ๖. นายสุชาติ บรรดาศักดิ์
๗. นายอิทธิเดช แก้วหลวง ๘. นายจุติ ไกรฤกษ์
๙. นายเชน เทือกสุบรรณ ๑๐. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๑๑. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ๑๒. นายสมศักดิ์ พันธ์เกษม
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๑๔)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ๒. นายดล บุนนาค
๓. พันตำรวจโท พงษ์ธร ธัญญสิริ ๔. นายพรชัย อัศววัฒนาพร
๕. นายวรรณชัย บุญบำรุง ๖. นาวาโท เดชา สุขารมณ์
๗. พลตรี ศรชัย มนตริวัต ๘. นายสันทัด จีนาภักดิ์
๙. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๑๐. นายนพดล อินนา
๑๑. นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน ๑๒. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
๑๓. นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ ๑๔. นายอนุสรณ์ ปั้นทอง
๑๕. เรืออากาศโท อุดม ประสิทธิ์ ๑๖. นายจำลอง วสุสิริกุล
๑๗. นายสุรชัย พันธุมาศ ๑๘. นายนพดล มีวรรณะ
๑๙. นางสาววรวรรณ ปลั่งศรีสกุล ๒๐. นายบัณฑิต สังขนันท์
๒๑. นายชัยพร ธนถาวรลาภ ๒๒. นายณรงค์ศักดิ์ วงศ์สังวาลย์
๒๓. นายอังคาร ดวงตาเวียง ๒๔. นายเรวัต สิรินุกุล
๒๕. นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร ๒๖. นายโกเมศ ขวัญเมือง
๒๗. นายวิทยา แก้วภราดัย ๒๘. นายประชา โพธิพิพิธ
๒๙. นายสุเมธ โพธิพิพิธ ๓๐. นายจักรวาล ท้วมเจริญ
๓๑. นายสหรัฐ กุลศรี ๓๒. นายปิลันธน์ จิตต์ธรรม
๓๓. นายวิพัฒน์ คงมาลัย ๓๔. นายสมศักดิ์ โสมกลาง
๓๕. นายสุชาติ ศรีสังข์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๓๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ….
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรี และสมาชิกฯ เสนอรวม ๕ ฉบับ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
พ.ศ. ….
ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
************************************