หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปประกาศใช้สมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ตั้งแต่ปี 2544 ล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2546 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกร่างระเบียบฉบับใหม่ว่าด้วยการควบคุมเคมีภัณฑ์ทุกชนิดที่ผลิตและจำหน่ายในสหภาพยุโรป (European Union: EU) ภายใต้ระบบ REACH (Registration, Evaluation and Authorization of Chemicals) ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจดทะเบียน การประเมินความเสี่ยง การอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย ใช้ หรือนำเข้าเคมีภัณฑ์ใน EU มีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันร่างระเบียบดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภายุโรป คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2548
สาระสำคัญผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเคมีภัณฑ์ปริมาณตั้งแต่ 1 ตัน/ปี/ราย ต้องยื่นขอจดทะเบียนกับ European Chemical Agency ข้อมูลที่ต้องแจ้งสำหรับการจดทะเบียน ได้แก่ ข้อมูลของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า คุณสมบัติของเคมีภัณฑ์ วัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นและมาตรการป้องกัน เป็นต้น โดยผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องจดทะเบียนภายในเวลาที่กำหนดนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้ ดังนี้
- เคมีภัณฑ์ที่ผลิตหรือนำเข้าปริมาณตั้งแต่ 1,000 ตัน/ปี/ราย และเคมีภัณฑ์ประเภทที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง (Carcinogenic, Mutagenic and Reprotoxic Substances: CMRs) ต้องจดทะเบียนภายใน 3 ปี
- เคมีภัณฑ์ที่ผลิตหรือนำเข้าปริมาณตั้งแต่ 100 ตัน แต่ไม่เกิน 1,000 ตัน/ปี/ราย ต้องจดทะเบียนภายใน 6 ปี
- เคมีภัณฑ์ที่ผลิตหรือนำเข้าปริมาณตั้งแต่ 1 ตัน แต่ไม่เกิน 100 ตัน/ปี/ราย ต้องจดทะเบียนภายใน 11 ปี
สำหรับเคมีภัณฑ์ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน ได้แก่ โพลิเมอร์ทุกประเภท และเคมีภัณฑ์ที่มีระเบียบอื่นบังคับอยู่แล้ว อาทิ เคมีภัณฑ์ที่ใช้ผลิตยารักษาโรค สิ่งปรุงรสอาหาร ส่วนผสมในอาหารสัตว์ และเครื่องสำอาง เป็นต้น
ทั้งนี้ คาดว่าจะมีเคมีภัณฑ์ประมาณ 30,000 รายการ ที่ต้องจดทะเบียนกับ European Chemical Agency ในจำนวนนี้ประมาณ 24,000 รายการ เป็นเคมีภัณฑ์ที่ผลิตหรือนำเข้าได้ทันทีหลังการจดทะเบียน ส่วนอีก 6,000 รายการ ซึ่งผลิตหรือนำเข้าเกินกว่า 100 ตัน/ปี/ราย ต้องผ่านระบบประเมินความเสี่ยงก่อนจึงจะผลิตหรือนำเข้าได้ โดยมีเคมีภัณฑ์ราว 1,500 รายการ จาก 6,000 รายการ อาทิ เคมีภัณฑ์ประเภท CMRs, PBTs (Persistent, Bioaccumulative and Toxic Substances) และ vPvBs (Very Persistent and Very Bioaccumulative Substances) จะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ EU ก่อนจึงจะผลิตหรือนำเข้าได้หลังจากผ่านระบบประเมินความเสี่ยงแล้ว
ผลกระทบต่อผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทย- ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเคมีภัณฑ์ อาจได้รับผลกระทบจากภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการดำเนินการตามระบบ REACH ของ EU ขณะเดียวกันผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกเคมีภัณฑ์ไปประเทศอื่นๆ อาจได้รับผลกระทบเช่นกัน หากประเทศคู่ค้านำเคมีภัณฑ์จากไทยไปผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไป EU อีกต่อหนึ่ง
- ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบ อาทิ สิ่งทอ รองเท้า เครื่องหนัง บรรจุภัณฑ์ ของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ต้องจดทะเบียนเคมีภัณฑ์ (ทั้งที่นำเข้าจาก EU และประเทศอื่นๆ) ซึ่งนำมาใช้ในกระบวนการผลิต มิฉะนั้นผู้ผลิตต้องเปลี่ยนไปใช้สารเคมีอื่นที่จดทะเบียนแล้วแทน ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าที่ใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบจึงมีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงต้นทุนที่เกิดจากราคาเคมีภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ที่ต้องปฎิบัติตามระบบ REACH และการต้องปิดฉลากสินค้าเพื่อระบุถึงส่วนประกอบที่เป็นเคมีภัณฑ์ตามข้อกำหนดของ EU
แม้ว่าร่างระเบียบดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเคมีภัณฑ์ไทย รวมถึงผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบในการผลิตมีต้นทุนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการลดอุปสรรคในการส่งออกไป EU และเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเคมีภัณฑ์ ตลอดจนสินค้าอุตสาหกรรมของไทยที่มีเคมีภัณฑ์เป็นส่วนประกอบในตลาด EU ไว้ จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยควรศึกษาร่างระเบียบดังกล่าวโดยละเอียดและเร่งปรับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นไปตามระบบ REACH
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2547--
-สส-
สาระสำคัญผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเคมีภัณฑ์ปริมาณตั้งแต่ 1 ตัน/ปี/ราย ต้องยื่นขอจดทะเบียนกับ European Chemical Agency ข้อมูลที่ต้องแจ้งสำหรับการจดทะเบียน ได้แก่ ข้อมูลของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า คุณสมบัติของเคมีภัณฑ์ วัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นและมาตรการป้องกัน เป็นต้น โดยผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องจดทะเบียนภายในเวลาที่กำหนดนับจากวันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้ ดังนี้
- เคมีภัณฑ์ที่ผลิตหรือนำเข้าปริมาณตั้งแต่ 1,000 ตัน/ปี/ราย และเคมีภัณฑ์ประเภทที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง (Carcinogenic, Mutagenic and Reprotoxic Substances: CMRs) ต้องจดทะเบียนภายใน 3 ปี
- เคมีภัณฑ์ที่ผลิตหรือนำเข้าปริมาณตั้งแต่ 100 ตัน แต่ไม่เกิน 1,000 ตัน/ปี/ราย ต้องจดทะเบียนภายใน 6 ปี
- เคมีภัณฑ์ที่ผลิตหรือนำเข้าปริมาณตั้งแต่ 1 ตัน แต่ไม่เกิน 100 ตัน/ปี/ราย ต้องจดทะเบียนภายใน 11 ปี
สำหรับเคมีภัณฑ์ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน ได้แก่ โพลิเมอร์ทุกประเภท และเคมีภัณฑ์ที่มีระเบียบอื่นบังคับอยู่แล้ว อาทิ เคมีภัณฑ์ที่ใช้ผลิตยารักษาโรค สิ่งปรุงรสอาหาร ส่วนผสมในอาหารสัตว์ และเครื่องสำอาง เป็นต้น
ทั้งนี้ คาดว่าจะมีเคมีภัณฑ์ประมาณ 30,000 รายการ ที่ต้องจดทะเบียนกับ European Chemical Agency ในจำนวนนี้ประมาณ 24,000 รายการ เป็นเคมีภัณฑ์ที่ผลิตหรือนำเข้าได้ทันทีหลังการจดทะเบียน ส่วนอีก 6,000 รายการ ซึ่งผลิตหรือนำเข้าเกินกว่า 100 ตัน/ปี/ราย ต้องผ่านระบบประเมินความเสี่ยงก่อนจึงจะผลิตหรือนำเข้าได้ โดยมีเคมีภัณฑ์ราว 1,500 รายการ จาก 6,000 รายการ อาทิ เคมีภัณฑ์ประเภท CMRs, PBTs (Persistent, Bioaccumulative and Toxic Substances) และ vPvBs (Very Persistent and Very Bioaccumulative Substances) จะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ EU ก่อนจึงจะผลิตหรือนำเข้าได้หลังจากผ่านระบบประเมินความเสี่ยงแล้ว
ผลกระทบต่อผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทย- ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเคมีภัณฑ์ อาจได้รับผลกระทบจากภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการดำเนินการตามระบบ REACH ของ EU ขณะเดียวกันผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกเคมีภัณฑ์ไปประเทศอื่นๆ อาจได้รับผลกระทบเช่นกัน หากประเทศคู่ค้านำเคมีภัณฑ์จากไทยไปผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไป EU อีกต่อหนึ่ง
- ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบ อาทิ สิ่งทอ รองเท้า เครื่องหนัง บรรจุภัณฑ์ ของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ต้องจดทะเบียนเคมีภัณฑ์ (ทั้งที่นำเข้าจาก EU และประเทศอื่นๆ) ซึ่งนำมาใช้ในกระบวนการผลิต มิฉะนั้นผู้ผลิตต้องเปลี่ยนไปใช้สารเคมีอื่นที่จดทะเบียนแล้วแทน ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าที่ใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบจึงมีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงต้นทุนที่เกิดจากราคาเคมีภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ที่ต้องปฎิบัติตามระบบ REACH และการต้องปิดฉลากสินค้าเพื่อระบุถึงส่วนประกอบที่เป็นเคมีภัณฑ์ตามข้อกำหนดของ EU
แม้ว่าร่างระเบียบดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเคมีภัณฑ์ไทย รวมถึงผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบในการผลิตมีต้นทุนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการลดอุปสรรคในการส่งออกไป EU และเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเคมีภัณฑ์ ตลอดจนสินค้าอุตสาหกรรมของไทยที่มีเคมีภัณฑ์เป็นส่วนประกอบในตลาด EU ไว้ จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยควรศึกษาร่างระเบียบดังกล่าวโดยละเอียดและเร่งปรับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นไปตามระบบ REACH
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2547--
-สส-