หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ‘บัญญัติ บรรทัดฐาน’ ระบุฝ่ายค้านพร้อมให้ความร่วมมือเรื่องการอภิปราย เพื่อให้การประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนการพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 หากจำเป็นก็ต้องทำ พร้อมเรียกร้องนายกฯ ให้ความสำคัญในการอภิปราย อย่ามีอคติ
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะมีขึ้นในวันพุธที่ 19 พฤษภาคมนี้ว่า เรื่องการเรียงลำดับรัฐมนตรีที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจรวมถึงการกำหนดตัวผู้ที่จะอภิปรายนั้น จะได้ข้อสรุปในที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์วันพรุ่งนี้ (18 พ.ค.47) ส่วนจะแจ้งเรื่องลำดับการอภิปรายรมต.ต่อประธานสภาก่อนหรือไม่นั้น ไม่มีข้อบังคับอะไรกำหนดไว้ แต่คิดว่าสิ่งใดที่จะทำให้การอภิปรายในสภาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ฝ่ายค้านก็พร้อมให้ความร่วมมือ
เมื่อถามว่าฝ่ายค้านจะให้ความมั่นใจเรื่องการพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 อย่างไร นายบัญญัติกล่าวว่า ฝ่ายค้านประกาศไปอย่างชัดเจนแล้วว่า หากไม่จำเป็นฝ่ายค้านก็จะไม่พาดพิงถึงใคร แต่หากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการบริหารราชการแผ่นดินของรมต.มีบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ฝ่ายค้านก็ต้องพูดในส่วนนั้น แต่การพูดดังกล่าวก็จะอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ ‘ความจริงข้อกฎหมายหรรือกฎข้อบังคับก็กำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าการพาดพิงถึงบุคคลภายนอกนั้น เขามีสิทธิที่จะฟ้องร้องตามกฎหมายได้ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าคนพูดก็ต้องตระหนักในเรื่องนี้อยู่แล้ว ถ้าไม่จำเป็นคงไม่เสี่ยง แต่ถ้าจำเป็นเพราะเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของแผ่นดิน ก็อาจจะต้องพูด’ นายบัญญัติกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าการตั้งศูนย์จับเท็จของพรรคไทยรักไทย ทำให้ต้องระมัดระวังมากขึ้นเป็นพิเศษหรือไม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนได้ชี้แจงไปแล้วว่าศูนย์ดังกล่าวคงไม่ใช่ศูนย์จับเท็จ เพราะฝ่ายค้านคงไม่มีเรื่องเท็จจะไปอภิปรายอยู่แล้ว เมื่อถามถึงระยะเวลาในการอภิปรายจะต้องประสานกับวิปรัฐบาลหรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่า คงต้องประสานกัน ทั้งนี้ยอมรับว่าคงไม่ง่ายเพราะทั้ง 2 ฝ่ายก็มีต้องการที่สวนทางกัน แต่คิดว่าเพื่อให้กระบวนการของสภาได้ทำหน้าที่อย่างครบถ้วน ก็น่าจะมีการพูดจากันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
ต่อข้อถามว่านายกฯควรจะมาฟังการอภิปรายหรือไม่ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯกล่าวว่า การอภิปรายรมต.ก็คือการอภิปรายคนของนายกฯ ดังนั้นคิดว่านายกฯควรมารับฟัง เพราะจะทำให้เห็นอะไรที่ชัดเจนขึ้น ส่วนที่นายกฯระบุว่าการอภิปรายเป็นเพียงการแสดงผลงานของฝ่ายค้านนั้น ตนคิดว่าเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะหากนายกฯตั้งความรู้สึกบนพื้นฐานของการไม่ให้ความสำคัญแต่ต้น ความคิดความเห็นของฝ่ายค้านที่แสดงออกไป นายกฯก็คงปฏิเสธตั้งแต่ต้นเช่นเดียวกัน ซึ่งคงไม่มีประโยชน์อะไรต่อนายกฯที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวันข้างหน้า นอกจากนี้คำพูดดังกล่าวเท่ากับเป็นการปฏิเสธการตรวจสอบตามกลไกของสภาผู้แทนฯในระบอบประชาธิปไตย
เมื่อถามว่าการอภิปรายครั้งนี้จะทำให้เกิดการปรับปรุงการทำงานการเมืองของรัฐบาลหรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่า หากมองในแง่ที่เป็นประโยชน์คือ น่าจะทำให้มีความระมัดระวังในเรื่องที่จะทำผิดพลาดในอนาคตได้มากขึ้น เพราะอย่างน้อยก็จะรู้ว่ามีคนกำลังจับตามองอยู่ และคนที่จับตามองก็จับได้ไล่ทันรัฐบาล ‘ผมถึงเรียกร้องมาตลอดว่าลำพังการตรวจสอบตามระบบรัฐสภา คงไม่มีน้ำหนักเท่าที่ควร โดยเฉพาะในสภาผู้แทนราษฎร เสียงข้างมากของฝ่ายรัฐบาลฝ่ายค้านคงไม่สามารถทำอะไรได้มาก แต่ว่าถ้าสังคมจะร่วมกันตรวจสอบด้วย คือถกเถียงอะไรก็ฟัง แล้วพอได้ฟังได้ความว่าใครผิดใครถูกก็ช่วยกันวิพากษ์วิจารณ์ต่อ อย่างนี้นักการเมืองก็จะระมัดระวังตัวมากขึ้น ซึ่งก็จะเป็นผลประโยชน์ของบ้านเมืองและประชาชนเอง’ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนฯกล่าว
ส่วนพลังของฝ่ายค้านจะทำให้มีผลถึงการปรับครม.หรือไม่นั้น นายบัญญัติกล่าวว่า ตนไม่มั่นใจในส่วนนั้น เพราะนายกฯก็ปฏิเสธตั้งแต่ต้นในทำนองว่าการอภิปรายครั้งนี้เป็นเทศกาลบ้าง ปีละหนคนกันเอง หรือพาลมีความรู้สึกอคติว่าฝ่ายค้านมุ่งอภิปรายกระทบไปที่ตัวนายกฯเป็นสำคัญ ‘ถ้าคนเรามีความรู้สึกแบบนี้ตั้งแต่ต้นก็เท่ากับว่าอคติ คนที่มีความรู้สึกอคติก็จะปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง นอกเหนือจากความคิดของตัวเองที่มีธงคำตอบอยู่ในใจอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นความเปลี่ยนแปลงที่จะมีต่อไปในวันข้างหน้า ผมคิดว่าคงเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ตั้งธงไว้ในใจแล้วมากกว่าที่จะมาฟังคนอื่น’ นายบัญญัติกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17/05/47--จบ--
-สส-
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะมีขึ้นในวันพุธที่ 19 พฤษภาคมนี้ว่า เรื่องการเรียงลำดับรัฐมนตรีที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจรวมถึงการกำหนดตัวผู้ที่จะอภิปรายนั้น จะได้ข้อสรุปในที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์วันพรุ่งนี้ (18 พ.ค.47) ส่วนจะแจ้งเรื่องลำดับการอภิปรายรมต.ต่อประธานสภาก่อนหรือไม่นั้น ไม่มีข้อบังคับอะไรกำหนดไว้ แต่คิดว่าสิ่งใดที่จะทำให้การอภิปรายในสภาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ฝ่ายค้านก็พร้อมให้ความร่วมมือ
เมื่อถามว่าฝ่ายค้านจะให้ความมั่นใจเรื่องการพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 อย่างไร นายบัญญัติกล่าวว่า ฝ่ายค้านประกาศไปอย่างชัดเจนแล้วว่า หากไม่จำเป็นฝ่ายค้านก็จะไม่พาดพิงถึงใคร แต่หากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการบริหารราชการแผ่นดินของรมต.มีบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ฝ่ายค้านก็ต้องพูดในส่วนนั้น แต่การพูดดังกล่าวก็จะอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ ‘ความจริงข้อกฎหมายหรรือกฎข้อบังคับก็กำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าการพาดพิงถึงบุคคลภายนอกนั้น เขามีสิทธิที่จะฟ้องร้องตามกฎหมายได้ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าคนพูดก็ต้องตระหนักในเรื่องนี้อยู่แล้ว ถ้าไม่จำเป็นคงไม่เสี่ยง แต่ถ้าจำเป็นเพราะเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของแผ่นดิน ก็อาจจะต้องพูด’ นายบัญญัติกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าการตั้งศูนย์จับเท็จของพรรคไทยรักไทย ทำให้ต้องระมัดระวังมากขึ้นเป็นพิเศษหรือไม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนได้ชี้แจงไปแล้วว่าศูนย์ดังกล่าวคงไม่ใช่ศูนย์จับเท็จ เพราะฝ่ายค้านคงไม่มีเรื่องเท็จจะไปอภิปรายอยู่แล้ว เมื่อถามถึงระยะเวลาในการอภิปรายจะต้องประสานกับวิปรัฐบาลหรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่า คงต้องประสานกัน ทั้งนี้ยอมรับว่าคงไม่ง่ายเพราะทั้ง 2 ฝ่ายก็มีต้องการที่สวนทางกัน แต่คิดว่าเพื่อให้กระบวนการของสภาได้ทำหน้าที่อย่างครบถ้วน ก็น่าจะมีการพูดจากันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
ต่อข้อถามว่านายกฯควรจะมาฟังการอภิปรายหรือไม่ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯกล่าวว่า การอภิปรายรมต.ก็คือการอภิปรายคนของนายกฯ ดังนั้นคิดว่านายกฯควรมารับฟัง เพราะจะทำให้เห็นอะไรที่ชัดเจนขึ้น ส่วนที่นายกฯระบุว่าการอภิปรายเป็นเพียงการแสดงผลงานของฝ่ายค้านนั้น ตนคิดว่าเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะหากนายกฯตั้งความรู้สึกบนพื้นฐานของการไม่ให้ความสำคัญแต่ต้น ความคิดความเห็นของฝ่ายค้านที่แสดงออกไป นายกฯก็คงปฏิเสธตั้งแต่ต้นเช่นเดียวกัน ซึ่งคงไม่มีประโยชน์อะไรต่อนายกฯที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวันข้างหน้า นอกจากนี้คำพูดดังกล่าวเท่ากับเป็นการปฏิเสธการตรวจสอบตามกลไกของสภาผู้แทนฯในระบอบประชาธิปไตย
เมื่อถามว่าการอภิปรายครั้งนี้จะทำให้เกิดการปรับปรุงการทำงานการเมืองของรัฐบาลหรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่า หากมองในแง่ที่เป็นประโยชน์คือ น่าจะทำให้มีความระมัดระวังในเรื่องที่จะทำผิดพลาดในอนาคตได้มากขึ้น เพราะอย่างน้อยก็จะรู้ว่ามีคนกำลังจับตามองอยู่ และคนที่จับตามองก็จับได้ไล่ทันรัฐบาล ‘ผมถึงเรียกร้องมาตลอดว่าลำพังการตรวจสอบตามระบบรัฐสภา คงไม่มีน้ำหนักเท่าที่ควร โดยเฉพาะในสภาผู้แทนราษฎร เสียงข้างมากของฝ่ายรัฐบาลฝ่ายค้านคงไม่สามารถทำอะไรได้มาก แต่ว่าถ้าสังคมจะร่วมกันตรวจสอบด้วย คือถกเถียงอะไรก็ฟัง แล้วพอได้ฟังได้ความว่าใครผิดใครถูกก็ช่วยกันวิพากษ์วิจารณ์ต่อ อย่างนี้นักการเมืองก็จะระมัดระวังตัวมากขึ้น ซึ่งก็จะเป็นผลประโยชน์ของบ้านเมืองและประชาชนเอง’ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนฯกล่าว
ส่วนพลังของฝ่ายค้านจะทำให้มีผลถึงการปรับครม.หรือไม่นั้น นายบัญญัติกล่าวว่า ตนไม่มั่นใจในส่วนนั้น เพราะนายกฯก็ปฏิเสธตั้งแต่ต้นในทำนองว่าการอภิปรายครั้งนี้เป็นเทศกาลบ้าง ปีละหนคนกันเอง หรือพาลมีความรู้สึกอคติว่าฝ่ายค้านมุ่งอภิปรายกระทบไปที่ตัวนายกฯเป็นสำคัญ ‘ถ้าคนเรามีความรู้สึกแบบนี้ตั้งแต่ต้นก็เท่ากับว่าอคติ คนที่มีความรู้สึกอคติก็จะปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง นอกเหนือจากความคิดของตัวเองที่มีธงคำตอบอยู่ในใจอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นความเปลี่ยนแปลงที่จะมีต่อไปในวันข้างหน้า ผมคิดว่าคงเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ตั้งธงไว้ในใจแล้วมากกว่าที่จะมาฟังคนอื่น’ นายบัญญัติกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17/05/47--จบ--
-สส-