ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ส่งผลต่อการขยายตัวของสินเชื่อ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นว่า ยังไม่ส่งผลให้การขยายตัวของสินเชื่อในปัจจุบันลดลง เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อเป็นเรื่อง
ของอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งการขยายตัวของสินเชื่อในปัจจุบัน ยังไม่มีความร้อนแรงในภาคใด และธพ.ไม่จำเป็นต้องชะลอการปล่อยสินเชื่อลง ทั้งนี้
ตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ตัวเลขการปล่อยสินเชื่อน่าจะขยายได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หาก ธพ.ขยายสินเชื่อเร็วเกินไป หรือขยายสินเชื่อไป
ในภาคที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กลับคืน จึงจะเป็นเรื่องที่ต้องกังวล สำหรับสินเชื่อที่ ธปท.ยังคงมีความเป็นห่วง เนื่องจากมีการขยายตัวมากกว่าสินเชื่อ
ในภาคอื่นๆ คือสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer Loan) ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 10% ของสินเชื่อรวมทั้งหมด และยังมีการขยายตัวไม่มาก
โดยเป็นสินเชื่อที่ ธปท.ติดตามใกล้ชิดอยู่แล้ว (ผู้จัดการรายวัน)
2. คลังเตรียมปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 47 แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ประมาณปลายเดือน
พ.ค.47 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะมีการปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ใหม่ หลังจาก
ได้มีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลกระทบในเชิงบวกและเชิงลบแล้ว โดยการปรับประมาณการครั้งนี้จะรวมปัจจัยราคาน้ำมัน การปรับเพิ่มขึ้นของอัตรา
ดอกเบี้ย การชะลอเศรษฐกิจของจีน และสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคาดว่าปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันจะมีผลกระทบต่อภาพ
รวมเศรษฐกิจมากที่สุด คือ ราคาน้ำมัน ซึ่งมีการปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้ เนื่องจาก ความขัดแย้งในประเทศตะวันออกกลาง และการเก็งกำไรราคาน้ำมัน
3. การพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยมีปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขคือการศึกษาและโครงสร้างพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยว่า ปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข
คือ เรื่องการศึกษาและโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการขนส่งหลายรูปแบบ (โลจิสติกส์) สำหรับการที่สถาบัน IMD จัดอันดับความสามารถในการ
แข่งขันของไทยเพิ่มขึ้นจาก 30 เป็นระดับ 29 เนื่องมาจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุม
ครม.วันที่ 18 พ.ค.นี้ สศช.จะเสนอของบกลางเพื่อใช้สนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างต่อเนื่องในวงเงิน 380 ล.บาท
(กรุงเทพธุรกิจ)
4. เดือน เม.ย.47 กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าประมาณการ 17.20% อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย.47
กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้รวมทั้งสิ้น 24,091.58 ล.บาท สูงกว่าประมาณการ 17.20% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.43% โดยสินค้าที่มี
ยอดรายได้สูงสุด 5 อันดับแรก คือ ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ภาษีรถยนต์ ภาษีเบียร์ ภาษียาสูบ และภาษีสุรา สำหรับปริมาณการบริโภครถยนต์ที่
สูงขึ้น เนื่องจากตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ประกอบกับการจัด
กิจกรรมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ. มองเศรษฐกิจโลกกำลังเติบโตไปด้วยดี แต่อาจมีปัญหาจากราคาน้ำมัน รายงานจากเมืองแชจู เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 16 พ.ค.47
John Taylor รมช.คลัง สรอ. กล่าวในการประชุมประจำปีของ ADB ที่เกาหลีใต้ว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่งกว่าที่
เคยเป็นมา โดยอ้างถึงเศรษฐกิจของ สรอ. ที่กำลังเติบโตจากการจ้างงานและกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการขยายตัวอย่างเหมาะสมของพันธบัตร
ราคาในตลาดเกิดใหม่ ดังนั้น ตราบเท่าที่ สรอ. ยังมีการใช้นโยบายการเงินและการคลังที่ดีก็จะสามารถจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้ ซึ่งที่ผ่านมาปัญหาที่
เกิดขึ้นมาจากการขาดนโยบายการดำเนินงานที่ดี ส่วนปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นสูงสุดในรอบ 21 ปี ที่ระดับราคาสูงกว่า 41 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรล นั้น ถ้าราคายังสูงอยู่ในระดับนี้ก็อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอียูคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนปี 47 จะต่ำกว่าร้อยละ 2 รายงานจากเมืองดัลลัส สรอ. เมื่อวันที่ 14 พ.ค.47
Christian Noyer ผวก. ธ.กลางของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกสภา ผวก. ธ.กลางสหภาพยุโรป (ECB) กล่าวว่า จากการประเมินดัชนี
ชี้วัดของตลาดการเงินหลายแห่งทำให้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนปี 47 จะอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 โดย ECB ได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ระดับ
ร้อยละ 1.8 — 1.9 ซึ่งการรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ในระยะปานกลางจะช่วยทำให้ราคาสินค้ามีเสถียรภาพมากขึ้น
(รอยเตอร์)
3. เงินยูโรที่แข็งค่าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยูโรโซน รายงานจาก Dallas เมื่อ วันที่ 14 พ.ค. 47 กรรมาธิการ ธ.กลางยุโรป
เปิดเผยว่า การที่เงินยูโรแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มยูโรโซน ทั้งนี้เมื่อต้นปีนี้ ธ.กลางยุโรปได้ส่งสัญญานเตือน
การแข็งค่าของเงินยูโรจะกระทบต่อการส่งออกที่กำลังฟื้นตัว แต่ภายหลังจากการประชุม G7 เงินยูโรเมื่อเทียบต่อดอลลาร์สรอ.อ่อนค่าลง 11 เซนต์
จากระดับที่สูงสุดเมื่อเดือนก.พ. อย่างไรก็ตามไม่ได้กล่าวถึงระดับที่เหมาะสมของค่าเงินยูโร แต่ทางกลุ่มได้กล่าวเตือนกลุ่มประเทศอาเซียนให้เพิ่ม
ความยืดหยุ่นของค่าเงินให้มากขึ้น (รอยเตอร์)
4. การลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีนอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ วันที่ 14 พ.ค. 47
กลุ่มผู้ประกอบการธพ.โลก กล่าวว่า การลดความร้อนแรงในการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ในภูมิภาค ทั้งนี้ The Washington-based Institute of International Finance ซึ่งเป็นสมาคมสถาบันการเงินเฉพาะที่ก่อตั้งเมื่อปี 26
เพื่อรองรับวิกฤติการณ์หนี้ระหว่างประเทศโดยมีผู้บริหารระดับสูงและประธานจากสถาบันการเงินต่างๆ อาทิ Citigroup, Bank of
Tokyo-Mitsubishi, Bank of China ,Bank of Scotland เป็นต้น เป็นคณะกรรมการ กล่าวในรายงานที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจเอเซียว่า
การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนควรจะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.5 ในปี 48 จากระดับร้อยละ 10 ถึงร้อยละ 11ในช่วงครึ่งแรกปี 47 กิจกรรม
ทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นนักลงทุนในแถบเอเซียซึ่งส่วนหนึ่งเคยคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนจะยังคงเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพนั้น
อาจจะเริ่มลดความเชื่อมั่นลงได้แต่ก็เป็นเพียงส่วนเดียวเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนส่วนที่เหลือเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัว โดย IIF
คาดว่าในปีนี้การขยายตัวของตลาดในแถบเอเซียซึ่งนำโดยจีนจะขยายตัวสูงสุดถึงเกือบร้อยละ 8.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.0 เมื่อปีที่แล้ว สำหรับ
5 ประเทศในแถบเอเซียได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์การเงิน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และไทยนั้น ในปีนี้เศรษฐกิจ
จะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.0 จากร้อยละ 4.0 เมื่อปี 46 และในปี 48 จะชะลอตัวที่ร้อยละ 5.0 ทั้งนี้แนวโน้มทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการ
จัดการของรัฐบาลจีนในการป้องกันภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงโดยปราศจากภาวะชะงักงัน โดยจีนได้ให้สัญญาว่าจะลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ
ของตนลงหลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้กล่าวเตือนจีนเมื่อเร็ว ๆนี้
(รอยเตอร์)
5. โอเปคจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเป็นวันละ 1.5 ล้านบาร์เรล รายงานจากกรุงเตหะราน อิหร่าน เมื่อวันที่ 16 พ.ค.47
แหล่งข่าวอ้างคำพูดของผู้นำกลุ่มโอเปคว่า มีความเป็นไปได้ที่โอเปคจะผลิตน้ำมันเพิ่มเป็น 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อเป็นการแสดงความร่วมมือ
และความเข้าใจต่อประชาคมโลกในวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำมันที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงสุดในรอบ 21 ปี แม้ว่าโอเปคจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง
รับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าวก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันมีสาเหตุมาจากความไม่มีเสถียรภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมถึงการ
ประสบปัญหาด้านการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันใน สรอ. ส่วนการกักตุนน้ำมันดิบของประเทศผู้บริโภคอาจะมีผลต่อราคาน้ำมันไปจนถึงฤดูใบไม้ร่วง
โดยราคาน้ำมันดิบที่ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. เมื่อวันศุกร์ซื้อขายระหว่างวันสูงสุดที่ระดับ 41.56 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล สูงสุดใน
รอบ 21 ปี ก่อนที่จะลดลงเล็กน้อยมาปิดที่ระดับ 41.38 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17/5/47 14/5/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.863 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6426/40.9243 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 609.72/9.96 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,300/7,400 7,250/7,350 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.16 35.36 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ส่งผลต่อการขยายตัวของสินเชื่อ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นว่า ยังไม่ส่งผลให้การขยายตัวของสินเชื่อในปัจจุบันลดลง เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อเป็นเรื่อง
ของอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งการขยายตัวของสินเชื่อในปัจจุบัน ยังไม่มีความร้อนแรงในภาคใด และธพ.ไม่จำเป็นต้องชะลอการปล่อยสินเชื่อลง ทั้งนี้
ตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ตัวเลขการปล่อยสินเชื่อน่าจะขยายได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หาก ธพ.ขยายสินเชื่อเร็วเกินไป หรือขยายสินเชื่อไป
ในภาคที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กลับคืน จึงจะเป็นเรื่องที่ต้องกังวล สำหรับสินเชื่อที่ ธปท.ยังคงมีความเป็นห่วง เนื่องจากมีการขยายตัวมากกว่าสินเชื่อ
ในภาคอื่นๆ คือสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer Loan) ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 10% ของสินเชื่อรวมทั้งหมด และยังมีการขยายตัวไม่มาก
โดยเป็นสินเชื่อที่ ธปท.ติดตามใกล้ชิดอยู่แล้ว (ผู้จัดการรายวัน)
2. คลังเตรียมปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 47 แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ประมาณปลายเดือน
พ.ค.47 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะมีการปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ใหม่ หลังจาก
ได้มีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลกระทบในเชิงบวกและเชิงลบแล้ว โดยการปรับประมาณการครั้งนี้จะรวมปัจจัยราคาน้ำมัน การปรับเพิ่มขึ้นของอัตรา
ดอกเบี้ย การชะลอเศรษฐกิจของจีน และสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคาดว่าปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันจะมีผลกระทบต่อภาพ
รวมเศรษฐกิจมากที่สุด คือ ราคาน้ำมัน ซึ่งมีการปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้ เนื่องจาก ความขัดแย้งในประเทศตะวันออกกลาง และการเก็งกำไรราคาน้ำมัน
3. การพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยมีปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขคือการศึกษาและโครงสร้างพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยว่า ปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข
คือ เรื่องการศึกษาและโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการขนส่งหลายรูปแบบ (โลจิสติกส์) สำหรับการที่สถาบัน IMD จัดอันดับความสามารถในการ
แข่งขันของไทยเพิ่มขึ้นจาก 30 เป็นระดับ 29 เนื่องมาจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุม
ครม.วันที่ 18 พ.ค.นี้ สศช.จะเสนอของบกลางเพื่อใช้สนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างต่อเนื่องในวงเงิน 380 ล.บาท
(กรุงเทพธุรกิจ)
4. เดือน เม.ย.47 กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าประมาณการ 17.20% อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย.47
กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้รวมทั้งสิ้น 24,091.58 ล.บาท สูงกว่าประมาณการ 17.20% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.43% โดยสินค้าที่มี
ยอดรายได้สูงสุด 5 อันดับแรก คือ ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ภาษีรถยนต์ ภาษีเบียร์ ภาษียาสูบ และภาษีสุรา สำหรับปริมาณการบริโภครถยนต์ที่
สูงขึ้น เนื่องจากตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ประกอบกับการจัด
กิจกรรมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ. มองเศรษฐกิจโลกกำลังเติบโตไปด้วยดี แต่อาจมีปัญหาจากราคาน้ำมัน รายงานจากเมืองแชจู เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 16 พ.ค.47
John Taylor รมช.คลัง สรอ. กล่าวในการประชุมประจำปีของ ADB ที่เกาหลีใต้ว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่งกว่าที่
เคยเป็นมา โดยอ้างถึงเศรษฐกิจของ สรอ. ที่กำลังเติบโตจากการจ้างงานและกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการขยายตัวอย่างเหมาะสมของพันธบัตร
ราคาในตลาดเกิดใหม่ ดังนั้น ตราบเท่าที่ สรอ. ยังมีการใช้นโยบายการเงินและการคลังที่ดีก็จะสามารถจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้ ซึ่งที่ผ่านมาปัญหาที่
เกิดขึ้นมาจากการขาดนโยบายการดำเนินงานที่ดี ส่วนปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นสูงสุดในรอบ 21 ปี ที่ระดับราคาสูงกว่า 41 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรล นั้น ถ้าราคายังสูงอยู่ในระดับนี้ก็อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอียูคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนปี 47 จะต่ำกว่าร้อยละ 2 รายงานจากเมืองดัลลัส สรอ. เมื่อวันที่ 14 พ.ค.47
Christian Noyer ผวก. ธ.กลางของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกสภา ผวก. ธ.กลางสหภาพยุโรป (ECB) กล่าวว่า จากการประเมินดัชนี
ชี้วัดของตลาดการเงินหลายแห่งทำให้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนปี 47 จะอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 โดย ECB ได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ระดับ
ร้อยละ 1.8 — 1.9 ซึ่งการรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ในระยะปานกลางจะช่วยทำให้ราคาสินค้ามีเสถียรภาพมากขึ้น
(รอยเตอร์)
3. เงินยูโรที่แข็งค่าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยูโรโซน รายงานจาก Dallas เมื่อ วันที่ 14 พ.ค. 47 กรรมาธิการ ธ.กลางยุโรป
เปิดเผยว่า การที่เงินยูโรแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มยูโรโซน ทั้งนี้เมื่อต้นปีนี้ ธ.กลางยุโรปได้ส่งสัญญานเตือน
การแข็งค่าของเงินยูโรจะกระทบต่อการส่งออกที่กำลังฟื้นตัว แต่ภายหลังจากการประชุม G7 เงินยูโรเมื่อเทียบต่อดอลลาร์สรอ.อ่อนค่าลง 11 เซนต์
จากระดับที่สูงสุดเมื่อเดือนก.พ. อย่างไรก็ตามไม่ได้กล่าวถึงระดับที่เหมาะสมของค่าเงินยูโร แต่ทางกลุ่มได้กล่าวเตือนกลุ่มประเทศอาเซียนให้เพิ่ม
ความยืดหยุ่นของค่าเงินให้มากขึ้น (รอยเตอร์)
4. การลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีนอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ วันที่ 14 พ.ค. 47
กลุ่มผู้ประกอบการธพ.โลก กล่าวว่า การลดความร้อนแรงในการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ในภูมิภาค ทั้งนี้ The Washington-based Institute of International Finance ซึ่งเป็นสมาคมสถาบันการเงินเฉพาะที่ก่อตั้งเมื่อปี 26
เพื่อรองรับวิกฤติการณ์หนี้ระหว่างประเทศโดยมีผู้บริหารระดับสูงและประธานจากสถาบันการเงินต่างๆ อาทิ Citigroup, Bank of
Tokyo-Mitsubishi, Bank of China ,Bank of Scotland เป็นต้น เป็นคณะกรรมการ กล่าวในรายงานที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจเอเซียว่า
การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนควรจะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.5 ในปี 48 จากระดับร้อยละ 10 ถึงร้อยละ 11ในช่วงครึ่งแรกปี 47 กิจกรรม
ทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นนักลงทุนในแถบเอเซียซึ่งส่วนหนึ่งเคยคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนจะยังคงเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพนั้น
อาจจะเริ่มลดความเชื่อมั่นลงได้แต่ก็เป็นเพียงส่วนเดียวเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนส่วนที่เหลือเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัว โดย IIF
คาดว่าในปีนี้การขยายตัวของตลาดในแถบเอเซียซึ่งนำโดยจีนจะขยายตัวสูงสุดถึงเกือบร้อยละ 8.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.0 เมื่อปีที่แล้ว สำหรับ
5 ประเทศในแถบเอเซียได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์การเงิน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และไทยนั้น ในปีนี้เศรษฐกิจ
จะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.0 จากร้อยละ 4.0 เมื่อปี 46 และในปี 48 จะชะลอตัวที่ร้อยละ 5.0 ทั้งนี้แนวโน้มทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการ
จัดการของรัฐบาลจีนในการป้องกันภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงโดยปราศจากภาวะชะงักงัน โดยจีนได้ให้สัญญาว่าจะลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ
ของตนลงหลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้กล่าวเตือนจีนเมื่อเร็ว ๆนี้
(รอยเตอร์)
5. โอเปคจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเป็นวันละ 1.5 ล้านบาร์เรล รายงานจากกรุงเตหะราน อิหร่าน เมื่อวันที่ 16 พ.ค.47
แหล่งข่าวอ้างคำพูดของผู้นำกลุ่มโอเปคว่า มีความเป็นไปได้ที่โอเปคจะผลิตน้ำมันเพิ่มเป็น 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อเป็นการแสดงความร่วมมือ
และความเข้าใจต่อประชาคมโลกในวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำมันที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงสุดในรอบ 21 ปี แม้ว่าโอเปคจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง
รับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าวก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันมีสาเหตุมาจากความไม่มีเสถียรภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมถึงการ
ประสบปัญหาด้านการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันใน สรอ. ส่วนการกักตุนน้ำมันดิบของประเทศผู้บริโภคอาจะมีผลต่อราคาน้ำมันไปจนถึงฤดูใบไม้ร่วง
โดยราคาน้ำมันดิบที่ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. เมื่อวันศุกร์ซื้อขายระหว่างวันสูงสุดที่ระดับ 41.56 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล สูงสุดใน
รอบ 21 ปี ก่อนที่จะลดลงเล็กน้อยมาปิดที่ระดับ 41.38 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17/5/47 14/5/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.863 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6426/40.9243 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 609.72/9.96 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,300/7,400 7,250/7,350 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.16 35.36 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-