ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. การอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปตามกลไกตลาด ขณะที่เงินทุนไหลออกเป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราว ผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การอ่อนค่าของเงินบาทในขณะนี้ เป็นไปตามภาวะตลาดโลกและภูมิภาค โดยเป็นผลจากการที่ดอลลาร์
แข็งค่าขึ้น ทำให้เงินยูโรและเงินเยน รวมถึงเงินบาทอ่อนค่าตาม ซึ่งเป็นการปรับตัวตามธรรมชาติของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับเงินทุน
ที่ไหลออกมากในขณะนี้ ไม่ได้เกิดจากความไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย แต่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วเอเชียและยุโรป เนื่องจากผู้ลงทุน
รายใหญ่ของโลกเคลื่อนย้ายเงินกลับไปลงทุนในตลาดสหรัฐฯ เพราะเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายตัวในไตรมาสแรก 4.7-4.9% หลัง
จากที่ปีก่อน นักลงทุนต่างหันมาลงทุนในเอเชียเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซบเซา ซึ่งต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง เมื่อนักลงทุนทำกำไรในตลาด
สหรัฐฯ ได้ระดับหนึ่ง ก็จะกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียเพิ่มขึ้น (โลกวันนี้,มติชน)
2. คณะกรรมการนโยบายการเงินเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในปี 47 จะขยายตัวที่ระดับ 7.1% รมว.คลัง เปิดเผยภายหลัง
การประชุมหารือสถานการณ์เศรษฐกิจร่วมกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการนโยบายการเงินว่า ธปท.ได้รายงานดัชนีชี้
นำภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งดีขึ้นมาก โดยเฉพาะภาคการลงทุนซึ่งไม่เคยสูงมานานมากแล้ว โดยกำลังการผลิตของภาคเอกชนขณะนี้สูงถึง 79-80%
สูงกว่าช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ แสดงถึงความมั่นใจของนักลงทุน และเป็นสัญญาณที่ดีว่าอาจมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในอนาคต สำหรับสินเชื่อขยายตัวที่
6% การส่งออกขยายตัว 20% ส่วนปัญหาที่เป็นผลกระทบก็ดีขึ้นในทุกด้าน ทั้ง การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก สถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้
รวมถึงการปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ทั้งนี้ จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของที่ประชุม ทำให้มีความมั่นใจว่าปี 47 เศรษฐกิจ
ไทยจะขยายตัวในระดับ 7.1% อย่างแน่นอน สำหรับประเด็นราคาน้ำมันโลกที่มีความเป็นห่วงว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น จากการประเมิน
ผลกระทบจากราคาน้ำมันเปรียบเทียบกับมาตรการบรรเทาความเสียหายของ ก.พลังงานแล้ว พบว่า หากราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นทั้งปีเฉลี่ยที่ 35
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเล็กน้อย จะทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจลดลงเพียง 0.2% ของจีดีพี
เท่านั้น (โลกวันนี้)
3. ก.พลังงานปรับแนวทางการยกเลิกเพดานตรึงราคาน้ำมัน รายงานข่าวจาก ก.พลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมครม.วันนี้
(18 พ.ค.47) รมว.พลังงานจะเสนอปรับแนวทางการยกเลิกเพดานตรึงราคาน้ำมันเบนซิน ด้วยการทยอยปรับราคาขึ้นครั้งละ 1 บาทต่อลิตร
รวม 3 ครั้ง เพื่อให้ราคาเบนซินเป็นไปตามราคาตลาด โดยก่อนหน้านี้ ก.พลังงานเคยเสนอให้ปรับราคาครั้งละ 60 สตางค์ต่อลิตร เป็นเวลา
3 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งได้ดำเนินการไปเพียง 1 ครั้งคือเมื่อวันที่ 7 พ.ค.47 สำหรับน้ำมันดีเซลจะตรึงราคาต่อไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าช่องว่าง
ระหว่างราคาตลาดกับราคาตรึงจะเกินลิตรละ 3 บาท จึงจะพิจารณาปรับเพดานขึ้น ส่วนก๊าซหุงต้มนั้น มีแผนที่จะลอยตัวในช่วงระหว่างเดือน
มิ.ย.-ก.ค. เพราะที่ผ่านมาโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มบิดเบือนจากข้อเท็จจริงที่รัฐต้องเก็บเงินภาษีของผู้ที่ใช้น้ำมันมาอุ้มคนใช้ก๊าซหุ้งต้ม ซึ่งจะ
มีผลให้ราคาก๊าซหุงต้มจะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีก 1-2 ครั้ง จากปัจจุบันที่ชดเชยอยู่กิโลกรัมละ 2 บาทเศษ (ผู้จัดการรายวัน)
4. ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงที่ระดับต่ำกว่า 600 จุด ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่
17 พ.ค.47 ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่ำกว่า 600 จุด ตามการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นเอเชียและยุโรป โดยปิดตลาดที่ระดับ 581.61 จุด
ลดลง 28.11 จุด มูลค่าการซื้อขาย 15,130.83 ล.บาท ต่ำสุดในรอบ 7 เดือนนับจากวันที่ 15 ต.ค.46 ที่ดัชนีอยู่ที่ 576.10 จุด สำหรับ
ปัจจัยที่มีผลต่อราคาหุ้นทั่วโลก คือ ราคาน้ำมันดิบที่นิวยอร์กซึ่งสูงกว่า 40 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 21 ปี รวมถึง
ความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ยของ สรอ. และกรณีการก่อการร้ายด้วยระเบิดพลีชีพในอิรัก (โลกวันนี้)
5. ก.พาณิชย์เตรียมปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกปี 47 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการ
ส่งออกจะปรับตัวเลขการส่งออกของไทยในปี 47 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการขยายตัว 15% หรือมีมูลค่าประมาณ 92,000
ล.ดอลลาร์ สรอ. เป็น 18.2% หรือคิดเป็นมูลค่า 94,577 ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากได้ทำการประเมินตลาดส่งออกในต่างประเทศด้วย
การสอบถามจากภาคเอกชนในรายสินค้าหลักๆ เช่น สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 80% ของมูลค่า
การส่งออกทั้งหมด และพบว่าสินค้าไทยยังสามารถขยายตลาดส่งออกได้ต่อเนื่อง โดยลูกค้าต่างประเทศยังมีคำสั่งซื้อสินค้าไทยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี
จนถึงสิ้นเดือน ก.ย.47 แสดงให้เห็นว่าตลาดส่งออกของไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น (สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. นโยบายลดภาษีและอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำของสรอ.ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ วันที่ 17 พ.ค. 47 นาย
John Snow รมว.คลังสรอ. เปิดเผยว่า การลดภาษีของสรอ. และดอกเบี้ยที่ต่ำช่วยให้เศรษฐกิจสรอ.ขยายตัวอย่างแข่งแกร่ง ปัจจุบันมีการ
ลดภาษีให้แก่องค์กรท้องถิ่น 7 แห่งเพื่อการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนที่มีรายได้ต่ำทำให้อุตสาหกรรมการผลิตและการจ้างงาน
กลับคืนมา อย่างไรก็ตามการที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่คาดว่ากลุ่มประเทศผู้ผลิตเพื่อการส่งออกน้ำมัน- OPEC จะเพิ่ม
ปริมาณการผลิตน้ำมันขึ้นอีก สำหรับนโยบายการเงินและการคลัง อาทิการปรับลดภาษี ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การ ปฎิรูปเศรษฐกิจสรอ. เป็นไป
ด้วยดี สำหรับการขาดดุลการค้าจำนวนมากของสรอ.นั้นเป็นการทดสอบความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสรอ. ที่สะท้อนถึงการโอกาสทางการลงทุน
ที่ดีและชาวอเมริกันมีความมั่งคั่งเพียงพอที่จะนำเข้าสินค้ามากขึ้น และเพื่อที่จะลดการขาดดุลการค้า ชาวอเมริกันจำเป็นต้องประหยัดให้มากขึ้น
ด้วย (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกปีนี้ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 18 พ.ค.47 เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัว
ร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกปีนี้ สูงกว่าที่คาดไว้จากผลสำรวจของรอยเตอร์ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9 หลังจากขยายตัวร้อยละ 1.6 และ
1.7 ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ปีที่แล้วตามลำดับ นับเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 8 ติดต่อกัน โดยขยายตัวร้อยละ 3.2 ในรอบ
1 ปีสิ้นสุดเดือน มี.ค.47 สูงกว่าที่รัฐบาลคาดไว้ที่ร้อยละ 2.0 จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น นอก
เหนือจากการส่งออกซึ่งเป็นตัวหลักในการผลักดันเศรษฐกิจญี่ปุ่นในขณะนี้ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไฮเทคเช่น ทีวีจอแบนและเครื่องเล่นดีวีดี
ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจีนเป็นลูกค้ารายใหญ่ แต่จากการที่ค่าเงินเยนได้อ่อนตัวลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.
ทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอาศัยน้ำมันนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมดมีต้นทุนพลังงานสูงขึ้นจากราคาน้ำมันดิบในขณะนี้ที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ
21 ปีที่ 41.56 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล นอกจากนี้การที่ สรอ.และจีนมีแนวโน้มที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการส่ง
ออกของญี่ปุ่นไปยังประเทศทั้งสองซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของญี่ปุ่นได้ (รอยเตอร์)
3. จีนอาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยหากเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 5 รายงานจากจีน เมื่อ วันที่ 17 พ.ค. 47 นาย Li Yang กรรมา
ธิการนโยบายการเงินธ.กลางจีน เปิดเผยว่า จีนจะยังคงควบคุมสินเชื่อธพ. ปริมาณเงินหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง โดยอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
เพื่อที่จะลดความร้อนแรงของการขยายตัวทางศรษฐกิจของจีน หากดัชนีราคาผู้บริโภคสูงเกินกว่าร้อยละ 5 โดยเมื่อเดือนที่แล้วดัชนีราคาผู้บริโภค
ของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้มีการคาดการณ์กันว่าภาวะเงินเฟ้อจะทำให้รัฐบาลจีนต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี อย่างไรก็ตามเขาเชื่อว่ารัฐบาลจีนจะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในระยะ 6 เดือนข้างหน้านี้ เนื่องจากความ
สัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยและ ปริมาณเงินหมุนเวียน ของประเทศจีนยังไม่สูงมากเท่ากับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ดังนั้นการที่อัตราดอกเบี้ยสูง
ในจีนจึงไม่ได้หมายความว่า ปริมาณเงินหมุนเวียน จะลดลง ทั้งนี้การกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยของรัฐบาลจีนประกอบด้วย 3 ปัจจัยคือ อัตรา
เงินเฟ้อ ปริมาณเงินหมุนเวียน และช่วงแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างจีนและสรอ. (รอยเตอร์)
4. สิงคโปร์ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 47 จากร้อยละ 5.5 เป็นร้อยละ 7.5 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่
16 พ.ค.47 สิงคโปร์ได้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 47 อีกร้อยละ 2 จากเดิมร้อยละ 5.5 เป็นร้อยละ 7.5 เทียบกับที่
เคยประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 3.5 — 5.5 นับเป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 4 ปี โดยมีปัจจัยจากอัตราการเติบโตในช่วง 3
เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นสูงเกินคาดถึงร้อยละ 11.2 และการส่งออกที่ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำมันของเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากเดือน
มี.ค.47 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 จากปีก่อน โดยเป็นการส่งออกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไปจีนและฮ่องกงที่เพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐ
ศาสตร์จาก UBS มีความเห็นว่า หากสิงคโปร์ต้องการรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับนี้ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ก็ต้องมีการ
จัดการกับปัญหาการว่างงานด้วย โดยอัตราการว่างงานที่เหมาะสมควรลดลงอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 4.0 จากปัจจุบันที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18/5/47 17/5/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.832 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6232/40.9032 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 581.61/15.13 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,300/7,400 7,300/7,400 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.7 36.16 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. การอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปตามกลไกตลาด ขณะที่เงินทุนไหลออกเป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราว ผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การอ่อนค่าของเงินบาทในขณะนี้ เป็นไปตามภาวะตลาดโลกและภูมิภาค โดยเป็นผลจากการที่ดอลลาร์
แข็งค่าขึ้น ทำให้เงินยูโรและเงินเยน รวมถึงเงินบาทอ่อนค่าตาม ซึ่งเป็นการปรับตัวตามธรรมชาติของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับเงินทุน
ที่ไหลออกมากในขณะนี้ ไม่ได้เกิดจากความไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย แต่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วเอเชียและยุโรป เนื่องจากผู้ลงทุน
รายใหญ่ของโลกเคลื่อนย้ายเงินกลับไปลงทุนในตลาดสหรัฐฯ เพราะเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายตัวในไตรมาสแรก 4.7-4.9% หลัง
จากที่ปีก่อน นักลงทุนต่างหันมาลงทุนในเอเชียเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซบเซา ซึ่งต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง เมื่อนักลงทุนทำกำไรในตลาด
สหรัฐฯ ได้ระดับหนึ่ง ก็จะกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียเพิ่มขึ้น (โลกวันนี้,มติชน)
2. คณะกรรมการนโยบายการเงินเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในปี 47 จะขยายตัวที่ระดับ 7.1% รมว.คลัง เปิดเผยภายหลัง
การประชุมหารือสถานการณ์เศรษฐกิจร่วมกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการนโยบายการเงินว่า ธปท.ได้รายงานดัชนีชี้
นำภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งดีขึ้นมาก โดยเฉพาะภาคการลงทุนซึ่งไม่เคยสูงมานานมากแล้ว โดยกำลังการผลิตของภาคเอกชนขณะนี้สูงถึง 79-80%
สูงกว่าช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ แสดงถึงความมั่นใจของนักลงทุน และเป็นสัญญาณที่ดีว่าอาจมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในอนาคต สำหรับสินเชื่อขยายตัวที่
6% การส่งออกขยายตัว 20% ส่วนปัญหาที่เป็นผลกระทบก็ดีขึ้นในทุกด้าน ทั้ง การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก สถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้
รวมถึงการปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ทั้งนี้ จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของที่ประชุม ทำให้มีความมั่นใจว่าปี 47 เศรษฐกิจ
ไทยจะขยายตัวในระดับ 7.1% อย่างแน่นอน สำหรับประเด็นราคาน้ำมันโลกที่มีความเป็นห่วงว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น จากการประเมิน
ผลกระทบจากราคาน้ำมันเปรียบเทียบกับมาตรการบรรเทาความเสียหายของ ก.พลังงานแล้ว พบว่า หากราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นทั้งปีเฉลี่ยที่ 35
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเล็กน้อย จะทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจลดลงเพียง 0.2% ของจีดีพี
เท่านั้น (โลกวันนี้)
3. ก.พลังงานปรับแนวทางการยกเลิกเพดานตรึงราคาน้ำมัน รายงานข่าวจาก ก.พลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมครม.วันนี้
(18 พ.ค.47) รมว.พลังงานจะเสนอปรับแนวทางการยกเลิกเพดานตรึงราคาน้ำมันเบนซิน ด้วยการทยอยปรับราคาขึ้นครั้งละ 1 บาทต่อลิตร
รวม 3 ครั้ง เพื่อให้ราคาเบนซินเป็นไปตามราคาตลาด โดยก่อนหน้านี้ ก.พลังงานเคยเสนอให้ปรับราคาครั้งละ 60 สตางค์ต่อลิตร เป็นเวลา
3 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งได้ดำเนินการไปเพียง 1 ครั้งคือเมื่อวันที่ 7 พ.ค.47 สำหรับน้ำมันดีเซลจะตรึงราคาต่อไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าช่องว่าง
ระหว่างราคาตลาดกับราคาตรึงจะเกินลิตรละ 3 บาท จึงจะพิจารณาปรับเพดานขึ้น ส่วนก๊าซหุงต้มนั้น มีแผนที่จะลอยตัวในช่วงระหว่างเดือน
มิ.ย.-ก.ค. เพราะที่ผ่านมาโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มบิดเบือนจากข้อเท็จจริงที่รัฐต้องเก็บเงินภาษีของผู้ที่ใช้น้ำมันมาอุ้มคนใช้ก๊าซหุ้งต้ม ซึ่งจะ
มีผลให้ราคาก๊าซหุงต้มจะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีก 1-2 ครั้ง จากปัจจุบันที่ชดเชยอยู่กิโลกรัมละ 2 บาทเศษ (ผู้จัดการรายวัน)
4. ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงที่ระดับต่ำกว่า 600 จุด ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่
17 พ.ค.47 ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่ำกว่า 600 จุด ตามการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นเอเชียและยุโรป โดยปิดตลาดที่ระดับ 581.61 จุด
ลดลง 28.11 จุด มูลค่าการซื้อขาย 15,130.83 ล.บาท ต่ำสุดในรอบ 7 เดือนนับจากวันที่ 15 ต.ค.46 ที่ดัชนีอยู่ที่ 576.10 จุด สำหรับ
ปัจจัยที่มีผลต่อราคาหุ้นทั่วโลก คือ ราคาน้ำมันดิบที่นิวยอร์กซึ่งสูงกว่า 40 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 21 ปี รวมถึง
ความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ยของ สรอ. และกรณีการก่อการร้ายด้วยระเบิดพลีชีพในอิรัก (โลกวันนี้)
5. ก.พาณิชย์เตรียมปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกปี 47 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการ
ส่งออกจะปรับตัวเลขการส่งออกของไทยในปี 47 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการขยายตัว 15% หรือมีมูลค่าประมาณ 92,000
ล.ดอลลาร์ สรอ. เป็น 18.2% หรือคิดเป็นมูลค่า 94,577 ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากได้ทำการประเมินตลาดส่งออกในต่างประเทศด้วย
การสอบถามจากภาคเอกชนในรายสินค้าหลักๆ เช่น สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 80% ของมูลค่า
การส่งออกทั้งหมด และพบว่าสินค้าไทยยังสามารถขยายตลาดส่งออกได้ต่อเนื่อง โดยลูกค้าต่างประเทศยังมีคำสั่งซื้อสินค้าไทยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี
จนถึงสิ้นเดือน ก.ย.47 แสดงให้เห็นว่าตลาดส่งออกของไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น (สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. นโยบายลดภาษีและอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำของสรอ.ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ วันที่ 17 พ.ค. 47 นาย
John Snow รมว.คลังสรอ. เปิดเผยว่า การลดภาษีของสรอ. และดอกเบี้ยที่ต่ำช่วยให้เศรษฐกิจสรอ.ขยายตัวอย่างแข่งแกร่ง ปัจจุบันมีการ
ลดภาษีให้แก่องค์กรท้องถิ่น 7 แห่งเพื่อการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนที่มีรายได้ต่ำทำให้อุตสาหกรรมการผลิตและการจ้างงาน
กลับคืนมา อย่างไรก็ตามการที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่คาดว่ากลุ่มประเทศผู้ผลิตเพื่อการส่งออกน้ำมัน- OPEC จะเพิ่ม
ปริมาณการผลิตน้ำมันขึ้นอีก สำหรับนโยบายการเงินและการคลัง อาทิการปรับลดภาษี ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การ ปฎิรูปเศรษฐกิจสรอ. เป็นไป
ด้วยดี สำหรับการขาดดุลการค้าจำนวนมากของสรอ.นั้นเป็นการทดสอบความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสรอ. ที่สะท้อนถึงการโอกาสทางการลงทุน
ที่ดีและชาวอเมริกันมีความมั่งคั่งเพียงพอที่จะนำเข้าสินค้ามากขึ้น และเพื่อที่จะลดการขาดดุลการค้า ชาวอเมริกันจำเป็นต้องประหยัดให้มากขึ้น
ด้วย (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกปีนี้ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 18 พ.ค.47 เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัว
ร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกปีนี้ สูงกว่าที่คาดไว้จากผลสำรวจของรอยเตอร์ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9 หลังจากขยายตัวร้อยละ 1.6 และ
1.7 ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ปีที่แล้วตามลำดับ นับเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 8 ติดต่อกัน โดยขยายตัวร้อยละ 3.2 ในรอบ
1 ปีสิ้นสุดเดือน มี.ค.47 สูงกว่าที่รัฐบาลคาดไว้ที่ร้อยละ 2.0 จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น นอก
เหนือจากการส่งออกซึ่งเป็นตัวหลักในการผลักดันเศรษฐกิจญี่ปุ่นในขณะนี้ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไฮเทคเช่น ทีวีจอแบนและเครื่องเล่นดีวีดี
ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจีนเป็นลูกค้ารายใหญ่ แต่จากการที่ค่าเงินเยนได้อ่อนตัวลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.
ทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอาศัยน้ำมันนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมดมีต้นทุนพลังงานสูงขึ้นจากราคาน้ำมันดิบในขณะนี้ที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ
21 ปีที่ 41.56 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล นอกจากนี้การที่ สรอ.และจีนมีแนวโน้มที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการส่ง
ออกของญี่ปุ่นไปยังประเทศทั้งสองซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของญี่ปุ่นได้ (รอยเตอร์)
3. จีนอาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยหากเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 5 รายงานจากจีน เมื่อ วันที่ 17 พ.ค. 47 นาย Li Yang กรรมา
ธิการนโยบายการเงินธ.กลางจีน เปิดเผยว่า จีนจะยังคงควบคุมสินเชื่อธพ. ปริมาณเงินหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง โดยอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
เพื่อที่จะลดความร้อนแรงของการขยายตัวทางศรษฐกิจของจีน หากดัชนีราคาผู้บริโภคสูงเกินกว่าร้อยละ 5 โดยเมื่อเดือนที่แล้วดัชนีราคาผู้บริโภค
ของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้มีการคาดการณ์กันว่าภาวะเงินเฟ้อจะทำให้รัฐบาลจีนต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี อย่างไรก็ตามเขาเชื่อว่ารัฐบาลจีนจะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในระยะ 6 เดือนข้างหน้านี้ เนื่องจากความ
สัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยและ ปริมาณเงินหมุนเวียน ของประเทศจีนยังไม่สูงมากเท่ากับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ดังนั้นการที่อัตราดอกเบี้ยสูง
ในจีนจึงไม่ได้หมายความว่า ปริมาณเงินหมุนเวียน จะลดลง ทั้งนี้การกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยของรัฐบาลจีนประกอบด้วย 3 ปัจจัยคือ อัตรา
เงินเฟ้อ ปริมาณเงินหมุนเวียน และช่วงแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างจีนและสรอ. (รอยเตอร์)
4. สิงคโปร์ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 47 จากร้อยละ 5.5 เป็นร้อยละ 7.5 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่
16 พ.ค.47 สิงคโปร์ได้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 47 อีกร้อยละ 2 จากเดิมร้อยละ 5.5 เป็นร้อยละ 7.5 เทียบกับที่
เคยประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 3.5 — 5.5 นับเป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 4 ปี โดยมีปัจจัยจากอัตราการเติบโตในช่วง 3
เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นสูงเกินคาดถึงร้อยละ 11.2 และการส่งออกที่ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำมันของเดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากเดือน
มี.ค.47 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 จากปีก่อน โดยเป็นการส่งออกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไปจีนและฮ่องกงที่เพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐ
ศาสตร์จาก UBS มีความเห็นว่า หากสิงคโปร์ต้องการรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับนี้ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ก็ต้องมีการ
จัดการกับปัญหาการว่างงานด้วย โดยอัตราการว่างงานที่เหมาะสมควรลดลงอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 4.0 จากปัจจุบันที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18/5/47 17/5/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.832 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6232/40.9032 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 581.61/15.13 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,300/7,400 7,300/7,400 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.7 36.16 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 17.59*/14.59 17.59*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 13 พ.ค..47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-