สุกร
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ราคาที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากการที่ราคาสุกรในช่วงที่ผ่านมาได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก กรมการค้าภายในจึงได้ขอความร่วมมือจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ และสมาคมผู้ชำแหละสุกรไทยในการตรึงราคาสุกรหน้าฟาร์มที่กิโลกรัมละ 52 บาท และได้ขอให้ปรับลดลงอีกเหลือ กิโลกรัมละ 50 บาท โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2547 นี้ซึ่งจะทำให้ราคาสุกรชำแหละที่จำหน่ายในท้องตลาด เหลือ กก.ละ 95-100 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 52.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 52.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 โดย
แยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 54.87 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 50.61 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 52.11 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 52.94 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 1,000 บาท (บวกลบ 46) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.60
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นในทุกพื้นที่ ตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เพราะผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อไก่มากขึ้น เนื่องจากราคาเนื้อสุกรได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก และจากภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดนกในรอบที่สอง ซึ่งกรมปศุสัตว์จะต้องเฝ้าระวังโรคจนครบ 90 วัน ตามหลักสากลของสำนักงานโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) โดยในวันนี้ ที่ 14 พค. 47 ได้ทำการเฝ้าระวังฟาร์มไก่ที่อยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการเกิดโรคแหล่งสุดท้ายครบ 21 วัน ตามหลักการเบื้องต้นของการควบคุมโรค แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องเฝ้าระวังต่อไปอีก 69 วัน จนกว่าจะครบ 90 วัน คาดว่ากระทรวงเกษตร ฯ จึงจะประกาศพื้นที่ปลอดโรคทั้งหมดได้ประมาณกลางเดือน กรกฏาคม 2547 นี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.37 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.36 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 33.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 32.83 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 32.35 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 41.00 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 40.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว และเป็นราคาที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 232 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 234 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 243 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 235 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 231 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 232 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 235 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 226 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.98 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 227 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 242 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 227 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 257 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 295 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 50.91 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 39.20 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 58.20 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 48.98 บาท และภาคกลาง ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.49 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 39.39 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 18 ประจำวันที่ 10-16 พฤษภาคม 2547--จบ--
-สก-
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ราคาที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากการที่ราคาสุกรในช่วงที่ผ่านมาได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก กรมการค้าภายในจึงได้ขอความร่วมมือจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ และสมาคมผู้ชำแหละสุกรไทยในการตรึงราคาสุกรหน้าฟาร์มที่กิโลกรัมละ 52 บาท และได้ขอให้ปรับลดลงอีกเหลือ กิโลกรัมละ 50 บาท โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2547 นี้ซึ่งจะทำให้ราคาสุกรชำแหละที่จำหน่ายในท้องตลาด เหลือ กก.ละ 95-100 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 52.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 52.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 โดย
แยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 54.87 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 50.61 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 52.11 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 52.94 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 1,000 บาท (บวกลบ 46) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.60
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นในทุกพื้นที่ ตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เพราะผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อไก่มากขึ้น เนื่องจากราคาเนื้อสุกรได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก และจากภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดนกในรอบที่สอง ซึ่งกรมปศุสัตว์จะต้องเฝ้าระวังโรคจนครบ 90 วัน ตามหลักสากลของสำนักงานโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) โดยในวันนี้ ที่ 14 พค. 47 ได้ทำการเฝ้าระวังฟาร์มไก่ที่อยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการเกิดโรคแหล่งสุดท้ายครบ 21 วัน ตามหลักการเบื้องต้นของการควบคุมโรค แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องเฝ้าระวังต่อไปอีก 69 วัน จนกว่าจะครบ 90 วัน คาดว่ากระทรวงเกษตร ฯ จึงจะประกาศพื้นที่ปลอดโรคทั้งหมดได้ประมาณกลางเดือน กรกฏาคม 2547 นี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.37 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.36 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 33.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 32.83 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 32.35 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 41.00 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 40.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว และเป็นราคาที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 232 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 234 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 243 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 235 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 231 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 232 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 235 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 226 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.98 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 227 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 242 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 227 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 257 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 295 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 50.91 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 39.20 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 58.20 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 48.98 บาท และภาคกลาง ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.49 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 39.39 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 18 ประจำวันที่ 10-16 พฤษภาคม 2547--จบ--
-สก-