แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 24 - 30 เมษายน 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,338.27 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 593.22 ตัน สัตว์น้ำจืด 745.05 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.52 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.77 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 83.74 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 18.68 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 54.97 ตัน
การตลาด
สหรัฐระงับไทยส่งออกกุ้งจับจากธรรมชาติ
นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง แถลงว่า ที่ปรึกษาพาณิชย์สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นายโจเซฟ ยัน (Mr. Joseph Yun) ได้เข้าหารือกับรองอธิบดีกรมประมง นายจรัลธาดา กรรณสูต เรื่องที่ไทยไม่สามารถส่งกุ้งที่จับจากทะเลไปสหรัฐอเมริกาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2547 เป็นต้นไป เนื่องจากชาวประมงไทยยังไม่ได้ใช้เครื่องมือเทดส์ (TEDS) ทำการประมง ซึ่งเป็นเครื่องมืออนุรักษ์เต่าทะเลโดยมีช่องเปิดให้เต่าทะเลที่ติดเครื่องมือประมงสามารถหลุดรอดออกไปได้ สำหรับกุ้งที่ได้จากการเพาะเลี้ยงยังสามารถส่งออกได้ตามปกติ แต่ต้องแนบเอกสาร DS.2031 ซึ่งเป็นแบบฟอร์มรับรองว่ากุ้งที่ส่งออกไปยังสหรัฐเป็นกุ้งที่ได้จากการเพาะเลี้ยง เอกสารนี้ต้องรับรองโดยทางการของไทย ส่วนกุ้งที่จับโดยเครื่องมือประมงพื้นบ้าน เช่น แห สามารถส่งออกไปยังสหรัฐได้ แต่สหรัฐต้องเข้ามาตรวจสอบก่อนว่ามีกลุ่มเรือประมงที่จับโดยเครื่องมือประมงพื้นบ้านจำนวนมากน้อยเพียงใด
ฝ่ายไทยได้เจรจาขอให้ขยายเวลาบังคับใช้ในการส่งกุ้งไปสหรัฐออกไปอีกสักระยะหนึ่ง โดยขอให้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เพราะการรับรองเมื่อปีที่แล้วจะครบ 1 ปีในวันที่ 30 มิถุนายน 2547 แต่สหรัฐแจ้งว่าการรับรองเมื่อปีที่แล้วไม่ได้กำหนดว่าเป็นเวลา 1 ปี ดังนั้น ยังคงยืนยันไม่อนุญาตให้ส่งกุ้งที่จับจากทะเลไปยังสหรัฐได้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2547 ฝ่ายไทยจึงได้สอบถามว่าหากไทยพร้อมที่จะให้สหรัฐเข้ามาตรวจสอบการใช้เครื่องมือเทดส์ของเรือประมงจะดำเนินการได้เมื่อไร ทางสหรัฐแจ้งว่าฝ่ายไทยสามารถขอให้ เข้ามาประเมินได้ทุกเมื่อ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเวลาและงบประมาณของสหรัฐว่าจะสะดวกเมื่อใด ในขณะนี้ รองอธิบดีกรมประมง นายจรัลธาดา กรรณสูต ได้ดำเนินการมอบให้กองประมงต่างประเทศทำหนังสือถึง สถานฑูตสหรัฐ เพื่อขอขยายเวลาบังคับใช้ออกไปอีกระยะหนึ่ง คือ ขอใช้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 พร้อมจัดส่งรายชื่อผู้มีอำนาจในการ ลงนามรับรองแบบฟอร์ม DS.2031 พร้อมตัวอย่างลายเซ็นไปให้สหรัฐทราบโดยด่วน และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมจำนวนและรายชื่อเรือประมง พร้อมทั้งปริมาณกุ้งที่จับจากทะเลในแต่ละปี เพื่อให้สหรัฐเข้ามาตรวจสอบโดยเร็วที่สุด พร้อมกันนี้ได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เลี้ยงกุ้งผู้ส่งออกกุ้งทราบถึงการเปลี่ยนแปลงการส่งออกกุ้งไปสหรัฐให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นล่วงหน้าได้ทันท่วงที
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.92 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 249.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 251.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 245.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.77 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.38 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.53 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.03 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 10-14 พ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 18 ประจำวันที่ 10-16 พฤษภาคม 2547--จบ--
-สก-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 24 - 30 เมษายน 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,338.27 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 593.22 ตัน สัตว์น้ำจืด 745.05 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.52 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.77 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 83.74 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 18.68 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 54.97 ตัน
การตลาด
สหรัฐระงับไทยส่งออกกุ้งจับจากธรรมชาติ
นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง แถลงว่า ที่ปรึกษาพาณิชย์สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นายโจเซฟ ยัน (Mr. Joseph Yun) ได้เข้าหารือกับรองอธิบดีกรมประมง นายจรัลธาดา กรรณสูต เรื่องที่ไทยไม่สามารถส่งกุ้งที่จับจากทะเลไปสหรัฐอเมริกาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2547 เป็นต้นไป เนื่องจากชาวประมงไทยยังไม่ได้ใช้เครื่องมือเทดส์ (TEDS) ทำการประมง ซึ่งเป็นเครื่องมืออนุรักษ์เต่าทะเลโดยมีช่องเปิดให้เต่าทะเลที่ติดเครื่องมือประมงสามารถหลุดรอดออกไปได้ สำหรับกุ้งที่ได้จากการเพาะเลี้ยงยังสามารถส่งออกได้ตามปกติ แต่ต้องแนบเอกสาร DS.2031 ซึ่งเป็นแบบฟอร์มรับรองว่ากุ้งที่ส่งออกไปยังสหรัฐเป็นกุ้งที่ได้จากการเพาะเลี้ยง เอกสารนี้ต้องรับรองโดยทางการของไทย ส่วนกุ้งที่จับโดยเครื่องมือประมงพื้นบ้าน เช่น แห สามารถส่งออกไปยังสหรัฐได้ แต่สหรัฐต้องเข้ามาตรวจสอบก่อนว่ามีกลุ่มเรือประมงที่จับโดยเครื่องมือประมงพื้นบ้านจำนวนมากน้อยเพียงใด
ฝ่ายไทยได้เจรจาขอให้ขยายเวลาบังคับใช้ในการส่งกุ้งไปสหรัฐออกไปอีกสักระยะหนึ่ง โดยขอให้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เพราะการรับรองเมื่อปีที่แล้วจะครบ 1 ปีในวันที่ 30 มิถุนายน 2547 แต่สหรัฐแจ้งว่าการรับรองเมื่อปีที่แล้วไม่ได้กำหนดว่าเป็นเวลา 1 ปี ดังนั้น ยังคงยืนยันไม่อนุญาตให้ส่งกุ้งที่จับจากทะเลไปยังสหรัฐได้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2547 ฝ่ายไทยจึงได้สอบถามว่าหากไทยพร้อมที่จะให้สหรัฐเข้ามาตรวจสอบการใช้เครื่องมือเทดส์ของเรือประมงจะดำเนินการได้เมื่อไร ทางสหรัฐแจ้งว่าฝ่ายไทยสามารถขอให้ เข้ามาประเมินได้ทุกเมื่อ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเวลาและงบประมาณของสหรัฐว่าจะสะดวกเมื่อใด ในขณะนี้ รองอธิบดีกรมประมง นายจรัลธาดา กรรณสูต ได้ดำเนินการมอบให้กองประมงต่างประเทศทำหนังสือถึง สถานฑูตสหรัฐ เพื่อขอขยายเวลาบังคับใช้ออกไปอีกระยะหนึ่ง คือ ขอใช้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 พร้อมจัดส่งรายชื่อผู้มีอำนาจในการ ลงนามรับรองแบบฟอร์ม DS.2031 พร้อมตัวอย่างลายเซ็นไปให้สหรัฐทราบโดยด่วน และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมจำนวนและรายชื่อเรือประมง พร้อมทั้งปริมาณกุ้งที่จับจากทะเลในแต่ละปี เพื่อให้สหรัฐเข้ามาตรวจสอบโดยเร็วที่สุด พร้อมกันนี้ได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เลี้ยงกุ้งผู้ส่งออกกุ้งทราบถึงการเปลี่ยนแปลงการส่งออกกุ้งไปสหรัฐให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นล่วงหน้าได้ทันท่วงที
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.92 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 249.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 251.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 245.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.77 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.38 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.53 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.03 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 10-14 พ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 18 ประจำวันที่ 10-16 พฤษภาคม 2547--จบ--
-สก-