กรุงเทพ--19 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ศาสตราจารย์ ดร.สอน สัมนาง, ผู้อำนวยการ Royal Academy of Cambodia และ ประธานร่วมของคณะกรรมการท่านผู้มีเกียรติและผู้ร่วมการประชุมทุกท่านผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับตำแหน่งประธานร่วมกับดร.สอน สัมนาง ในการประชุมคณะกรรมการสมาคมวัฒนธรรมไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 1 นี้ ในนามของคณะผู้แทนไทย ผมรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างมาก สำหรับการต้อนรับที่อบอุ่น อัธยาศัยไมตรีที่งดงาม ที่มีให้กับคณะของเรา รวมทั้งการเตรียมงานที่ยอดเยี่ยมสำหรับการประชุมนี้ในช่วงต้นนี้ ผมอยากจะเน้นว่า รัฐบาลไทยให้คุณค่ากับความสัมพันธ์อันยาวนานที่มีกับประเทศกัมพูชา ในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน อนาคตของเรามีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน เราหวังที่จะเห็นความสัมพันธ์ของเราพัฒนาในทุกด้านและทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ภาคเอกชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างประชาชน ด้วยวัตถุประสงค์นี้เอง ทำให้เรามาพบกันที่กรุงพนมเปญแห่งนี้ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านการประชุมร่วมของเราในครั้งแรกนี้ มีความสำคัญอย่างมาก ด้วยสาเหตุหลายประการ ดังนี้ประการแรก การประชุมนี้ได้เน้นถึงความแน่วแน่ของรัฐบาลทั้งสองในการทำงานร่วมกัน เพื่อวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับความสัมพันธ์ของเราในระยะยาว ประการที่สอง การประชุมนี้ได้สะท้อนให้เห็นการยอมรับว่ารากฐานดังกล่าว จะต้องถูกสร้างขึ้นบนความสัมพันธ์ที่เปี่ยมไปด้วยความเข้าใจร่วมกัน มีความเชื่อใจ
และไมตรีจิตระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ และประการที่สาม เราตระหนักดีว่าประเทศและประชาชน ทั้งไทยและกัมพูชา ผูกพันกันจากความใกล้ชิดทางทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกัน และที่สำคัญที่สุดคือ เรามีอนาคตร่วมกันเป็นเรื่องที่น่าเสียใจว่าเหตุการณ์สะเทือนขวัญเมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว ได้นำมาสู่การจัดตั้งคณะกรรมการนี้ ดังนั้น เราจึงต้องเตือนตัวเองอย่างสม่ำเสมอถึงบทเรียนล้ำค่า ที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดในครั้งนั้น เราไม่ควรนิ่งนอนใจในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของเรา สายสัมพันธ์ของเราควรจะต้องได้รับการเอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง และใช้ความพยายามทั้งหมดเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับสายสัมพันธ์นี้ความจริงที่ว่าคณะกรรมการนี้ได้ถูกจัดตั้งขึ้นจากการประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2546 สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญที่รัฐบาลทั้งสองมีต่อภารกิจนี้ โดยมีการตั้งความหวังไว้อย่างสูงต่อคณะทำงานและภาระหน้าที่ ที่ได้มอบหมายมาในวันนี้ ขณะที่เราพิจารณาและหารือหัวข้อวาระต่าง ๆของการประชุมนี้ สิ่งสำคัญสำหรับเราคือการมีแนวทางชี้นำโดยวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ซึ่งสำหรับฝ่ายไทยแล้ววัตถุประสงค์เหล่านั้น ได้แก่ประการแรก เพื่อส่งเสริมความเข้าใจร่วมกัน และเคารพในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และค่านิยมของกันและกันประการที่สอง เพื่อส่งเสริมการยอมรับ และการชื่นชมในประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกัน และมรดกทางวัฒนธรรม ที่ผูกพันประชากรของทั้งสองประเทศไว้ด้วยกันประการที่สาม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในมิติใหม่ที่มองไปข้างหน้า ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของเอกลักษณ์ ประวัติศาสตร์ และมรดกทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน รวมทั้งการตระหนักถึงอนาคตร่วมกัน ในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน และหุ้นส่วนในกรอบของสมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ความร่วมมือเอเชีย (ACD) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) ภาระหน้าที่ของเราไม่ใช่การเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการดึงเอาบทเรียนอันล้ำค่าจากอดีตมาเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคง สำหรับความสัมพันธ์ของเราในอนาคต ความสำเร็จของภารกิจของคณะกรรมการ ขึ้นอยู่กับการมีวัตถุประสงค์ และมาตรการที่เน้นการกระทำ โดยจะต้องมุ่งไปที่กิจกรรมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ของเราในทุกด้าน และการมีเป้าหมายในการส่งเสริมความเข้าใจร่วมกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดและความรู้ ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ความพยายามของเราควรจะได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ นักวิชาการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อมวลชน ผู้ซึ่งมีบทบาทอย่างมากต่อความสัมพันธ์ของเรา เนื่องจากทัศนคติระหว่างกันของประชาชน เกิดจากสิ่งที่ได้อ่าน เห็น หรือได้ยินจากสื่อมวลชน นอกจากนี้ คณะกรรมการต้องสร้างความมั่นใจว่ากิจกรรมต่าง ๆ ของเราจะเข้าถึงสาธารณชนทุกระดับของสังคม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
ศาสตราจารย์ ดร.สอน สัมนาง, ผู้อำนวยการ Royal Academy of Cambodia และ ประธานร่วมของคณะกรรมการท่านผู้มีเกียรติและผู้ร่วมการประชุมทุกท่านผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับตำแหน่งประธานร่วมกับดร.สอน สัมนาง ในการประชุมคณะกรรมการสมาคมวัฒนธรรมไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 1 นี้ ในนามของคณะผู้แทนไทย ผมรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างมาก สำหรับการต้อนรับที่อบอุ่น อัธยาศัยไมตรีที่งดงาม ที่มีให้กับคณะของเรา รวมทั้งการเตรียมงานที่ยอดเยี่ยมสำหรับการประชุมนี้ในช่วงต้นนี้ ผมอยากจะเน้นว่า รัฐบาลไทยให้คุณค่ากับความสัมพันธ์อันยาวนานที่มีกับประเทศกัมพูชา ในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน อนาคตของเรามีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน เราหวังที่จะเห็นความสัมพันธ์ของเราพัฒนาในทุกด้านและทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ภาคเอกชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างประชาชน ด้วยวัตถุประสงค์นี้เอง ทำให้เรามาพบกันที่กรุงพนมเปญแห่งนี้ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านการประชุมร่วมของเราในครั้งแรกนี้ มีความสำคัญอย่างมาก ด้วยสาเหตุหลายประการ ดังนี้ประการแรก การประชุมนี้ได้เน้นถึงความแน่วแน่ของรัฐบาลทั้งสองในการทำงานร่วมกัน เพื่อวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับความสัมพันธ์ของเราในระยะยาว ประการที่สอง การประชุมนี้ได้สะท้อนให้เห็นการยอมรับว่ารากฐานดังกล่าว จะต้องถูกสร้างขึ้นบนความสัมพันธ์ที่เปี่ยมไปด้วยความเข้าใจร่วมกัน มีความเชื่อใจ
และไมตรีจิตระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ และประการที่สาม เราตระหนักดีว่าประเทศและประชาชน ทั้งไทยและกัมพูชา ผูกพันกันจากความใกล้ชิดทางทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกัน และที่สำคัญที่สุดคือ เรามีอนาคตร่วมกันเป็นเรื่องที่น่าเสียใจว่าเหตุการณ์สะเทือนขวัญเมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว ได้นำมาสู่การจัดตั้งคณะกรรมการนี้ ดังนั้น เราจึงต้องเตือนตัวเองอย่างสม่ำเสมอถึงบทเรียนล้ำค่า ที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดในครั้งนั้น เราไม่ควรนิ่งนอนใจในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของเรา สายสัมพันธ์ของเราควรจะต้องได้รับการเอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง และใช้ความพยายามทั้งหมดเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับสายสัมพันธ์นี้ความจริงที่ว่าคณะกรรมการนี้ได้ถูกจัดตั้งขึ้นจากการประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2546 สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญที่รัฐบาลทั้งสองมีต่อภารกิจนี้ โดยมีการตั้งความหวังไว้อย่างสูงต่อคณะทำงานและภาระหน้าที่ ที่ได้มอบหมายมาในวันนี้ ขณะที่เราพิจารณาและหารือหัวข้อวาระต่าง ๆของการประชุมนี้ สิ่งสำคัญสำหรับเราคือการมีแนวทางชี้นำโดยวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ซึ่งสำหรับฝ่ายไทยแล้ววัตถุประสงค์เหล่านั้น ได้แก่ประการแรก เพื่อส่งเสริมความเข้าใจร่วมกัน และเคารพในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และค่านิยมของกันและกันประการที่สอง เพื่อส่งเสริมการยอมรับ และการชื่นชมในประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกัน และมรดกทางวัฒนธรรม ที่ผูกพันประชากรของทั้งสองประเทศไว้ด้วยกันประการที่สาม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในมิติใหม่ที่มองไปข้างหน้า ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของเอกลักษณ์ ประวัติศาสตร์ และมรดกทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน รวมทั้งการตระหนักถึงอนาคตร่วมกัน ในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน และหุ้นส่วนในกรอบของสมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ความร่วมมือเอเชีย (ACD) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) ภาระหน้าที่ของเราไม่ใช่การเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการดึงเอาบทเรียนอันล้ำค่าจากอดีตมาเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคง สำหรับความสัมพันธ์ของเราในอนาคต ความสำเร็จของภารกิจของคณะกรรมการ ขึ้นอยู่กับการมีวัตถุประสงค์ และมาตรการที่เน้นการกระทำ โดยจะต้องมุ่งไปที่กิจกรรมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ของเราในทุกด้าน และการมีเป้าหมายในการส่งเสริมความเข้าใจร่วมกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดและความรู้ ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ความพยายามของเราควรจะได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ นักวิชาการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อมวลชน ผู้ซึ่งมีบทบาทอย่างมากต่อความสัมพันธ์ของเรา เนื่องจากทัศนคติระหว่างกันของประชาชน เกิดจากสิ่งที่ได้อ่าน เห็น หรือได้ยินจากสื่อมวลชน นอกจากนี้ คณะกรรมการต้องสร้างความมั่นใจว่ากิจกรรมต่าง ๆ ของเราจะเข้าถึงสาธารณชนทุกระดับของสังคม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-